backup og meta
สำรวจ
เครื่องมือตรวจเช็กสุขภาพ
ถามคุณหมอ
บันทึก
สารบัญ

ขมิ้นชัน (Turmeric)

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย Ploylada Prommate · แก้ไขล่าสุด 07/12/2017

การใช้ประโยชน์

ขมิ้นชันใช้ทำอะไร

ขมิ้นชันเป็นพืชมีรสเผ็ดได้จากต้นขมิ้น รากของขมิ้นชันใช้เป็นยาได้มากมาย

ขมิ้นชันใช้เพื่อแก้หลอดลมอักเสบ แสบร้อนหน้าอก (อาหารไม่ย่อย) ปวดข้อต่อ ปวดท้อง โรค Crohn’s และ โรคลำไส้ใหญ่อักเสบเป็นแผล การผ่าตัดทำบายพาส การตกเลือด ท้องร่วงท้องเสีย แก๊สในลำไส้ ท้องอืด ท้องเฟ้อ ปัญหาที่ตับ ติดเชื้อแบคทีเรีย Helicobacter pylori (H. pylori) แผลในช่องท้อง ลำไส้แปรปรวน (IBS) ถุงน้ำดีผิดปกติ คอเรสเทอรอลสูง โรคผิวหนังเช่น lichen planus ผิวหนังอักเสบจากการฉายรังสีและความเหนื่อยล้า

นอกจากนี้ยังใช้เพื่อบรรเทาอาการปวดหัว หลอดลมอักเสบ แก้หวัด ติดเชื้อในปอด อาการปวดกล้ามเนื้อเอ็นและเนื้อเยื่ออ่อน โรคเรื้อน ปัญหิตใจ ผิวพุพอง การรักษาหลังการศัลยกรรมและมะเร็ง

ส่วนการใช้ประโยชน์อื่นๆ เช่นโรคซึมเศร้า โรคอัลไซเมอร์ ตาชั้นกลางบวม (ยูเวียอักเสบ) โรคเบาหวาน อาการคั่งน้ำ พยาธิ โรคแพ้ภูมิคุ้มกันตนเองหรือ systemic lupus erythematosus (SLE) วัณโรค การอักเสบของกระเพาะปัสสาวะและปัญหาที่ไต

บางคนใช้ขมิ้นชันในการทาผิวเพื่อลดอาการเจ็บปวด ฆ่าพยาธิ ลดอาการขัดยอกและบวม ช้ำห้อเลือด รอยปลิงกัด ติดเชื้อในตา สิว ผิวอักเสบและแสบผิว อาการเจ็บภายในปาก แผลติดเชื้อและโรคเหงือก ขมิ้นชันยังใช้เป็นยาสวนทวารหนักในผู้เป็นโรคลำไส้อักเสบได้ด้วย

ในอาหารต่างๆ ขมิ้นชันจะช่วยเพิ่มกลิ่นหอม รสชาติและสีสันให้น่ารับประทาน

ขมิ้นชันแตกต่างจาก Javanese turmeric root (Curcuma zedoaria)

การทำงานของขมิ้นชันเป็นอย่างไร

มีการศึกษาเกี่ยวกับการทำงานของขมิ้นชันที่ไม่เพียงพอนัก จึงจำเป็นต้องปรึกษาแพทย์ผู้ดูแลและนักสมุนไพรศาสตร์สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม แต่อย่างไรก็ตาม เป็นที่ทราบกันว่าขมิ้นชันมีสารเคอร์คูมินและอื่นๆ ที่ลดอาการบวม (อักเสบ) ซึ่งมีประโยชน์ต่อการรักษาอาการอักเสบต่างๆ

ข้อควรระวังและคำเตือน

เราควรรู้อะไรบ้างก่อนใช้ขมิ้นชัน

ปรึกษาแพทย์ผู้ทำการรักษาหรือเภสัชกรหรือผู้เชี่ยวชาญด้านสมุนไพร ในกรณีที่ :

  • ตั้งครรภ์หรือให้นมบุตร เนื่องจากในขณะที่ตั้งครรภ์หรือให้นมบุตร ควรจะได้รับยาตามคำสั่งแพทย์เท่านั้น
  • ใช้ยาชนิดอื่นอยู่ รวมถึงยาทุกชนิดที่ซื้อรับประทานเองโดยไม่มีใบสั่งยาจากแพทย์
  • แพ้สารจากขมิ้นชัน หรือแพ้ยาชนิดอื่น หรือแพ้สมุนไพรชนิดอื่น
  • มีอาการป่วย มีอาการผิดปกติ หรือมีพยาธิสภาพอื่นๆ
  • มีอาการแพ้ต่าง ๆ เช่น แพ้อาหาร สีผสมอาหาร สารกันบูด หรือเนื้อสัตว์

ข้อปฏิบัติในการใช้สมุนไพรนั้นมีความเข้มงวดที่น้อยกว่าการใช้ยารักษาโรค จำเป็นต้องมีการศึกษาค้นคว้าเพิ่มเติมเพื่อรับรองความปลอดภัย ซึ่งการจะใช้ประโยชน์ของสมุนไพรนั้นต้องศึกษาความเสี่ยงก่อนใช้และควรสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมกับแพทย์ผู้ดูแลหรือนักสมุนไพรศาสตร์ก่อน

ขมิ้นชันนั้นมีความปลอดภัยแค่ไหน

ขมิ้นชันปลอดภัยสำหรับการรับประทานและทาผิวติดต่อกัน 8 เดือน

และมีความปลอดภัยหากใช้เป็นยาสวนทวารและล้างปากในระยะเวลาสั้น

ข้อควรระวังและคำเตือนพิเศษ

สำหรับผู้ที่ตั้งครรภ์หรืออยู่ในช่วงให้นมบุตร: ขมิ้นชันผลอดภัยสำหรับการรับประทานในปริมาณที่มีในอาหาร แต่อย่างไรก็ตาม ขมิ้นชันไม่ปลอดภัยหากรับประทานในขนาดยาระหว่างการตั้งครรภ์เพราะอาจกระตุ้นมดลูกและประจำเดือนทำให้มีความเสี่ยงระหว่างการตั้งครรภ์ ส่วนในระหว่างให้นมบุตรยังไม่มีการรับรองที่มากเพียงพอจึงควรหยุดใช้

ปัญหาที่ถุงน้ำดี: ขมิ้นชันอาจทำให้ปัญหาถุงน้ำดีแย่ลง หากมีภาวะเสี่ยงจึงไม่ควรใช้

ปัญหาเลือดออกผิดปกติ: การใช้ขมิ้นชันจะชะลอการแข็งตัวของเลือดซึ่งทำให้ผู้มีภาวะเสี่ยงนั้นอาการแย่ลง

โรคเบาหวาน : เคอร์คูมินในขมิ้นชันอาจลดระดับน้ำตาลในเลือดของผู้เป็นโรคเบาหวานซึ่งเมื่อใช้ร่วมกับการรักษาโรคเบาหวานอาจทำให้ระดับน้ำตาลลดต่ำเกินไป

ความผิดปกติในช่องท้อง gastroesophageal reflux disease (GERD): ขมิ้นชั้นอาจทำให้ปวดท้องซึ่งมีผลให้อาการปวดท้องหรือโรค GERD แย่ลง จึงไม่ควรใช้ขมิ้นชันหากทำให้อาการแย่ลง

ภาวะไวต่อฮอร์โมนเช่นมะเร็งเต้านม มะเร็งปากมดลูก  โรคเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่หรือเนื้องอกมดลูก: ขมิ้นชันมีสารเคอร์คูมินซึ่งมีการทำงานคล้ายฮอร์โมนเอสโทรเจน ในทางทฤษฎี ขมิ้นชันอาจทำให้ภาวะที่ไวต่อฮอร์โทนนี้แย่ลง อย่างไรก็ตาม มีการศึกษาบางงานที่กล่าวว่าขมิ้นชันอาจลดผลของเอสโทรเจนของเซลล์มะเร็งที่ไวต่อฮอร์โมน อีกทั้งยังอาจมีประโยชน์ต่อภาวะดังกล่าว แต่ยังไม่มีการรับรองที่มากพอจึงควรระมัดระวังในการใช้

หมัน: ขมิ้นชันอาจลดเทสโทสเตอโรนและการเคลื่อนไหวของสเปิร์ม ผู้ที่อยากมีบตรจึงควรหลีกเลี่ยงการใช้ขมิ้นชัน

การขาดธาตุเหล็ก: การับประทานขมิ้นชันอาจลดการดูดซึมธาตุเหล็ก ผู้ที่ขาดธาตุเหล็กจึงควรระมัดระวัง

การศัลยกรรม : ขมิ้นชันอาจชะลอการแข็งตัวของเลือดทำให้มีผลต่อการไหลของเลือดหลังผ่าตัดศัลยกรรม ควรหยุดใช้ขมิ้นชันอย่างน้อย 2 สัปดาห์ก่อนการศัลยกรรม

ผลข้างเคียง

ผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้นจากการใช้ขมิ้นชันมีอะไรบ้าง

ขมิ้นชันไม่มีผลข้างเคียงที่ร้ายแรงมากนัก; อย่างไรก็ตาม มีหลายคนที่พบปัญหา เช่น:

  • อาการปวดท้อง
  • คลื่นไส้
  • อาการสั่น
  • อาการท้องร่วงท้องเสีย

ไม่ใช่ทุกคนที่จะมีผลข้างเคียงดังกล่าว บางครั้งอาจเกิดผลข้างเคียงอื่นๆ ที่ไม่ได้กล่าวถึงซึ่งหากพบอาการข้างเคียงใดๆ ควรปรึกษาแพทย์หรือนักสมุนไพรศาสตร์

ปฏิกิริยาระหว่างยา

ยาที่อาจเกิดปฏิกิริยากับขมิ้นชันมีอะไรบ้าง

การใช้ยาดังกล่าวนี้อาจเกิดปฏิกริยากับยาหรือการรักษาอื่นๆ ที่ใช้อยู่เป็นประจำได้ ควรปรึกษาแพทย์หรือนักสมุนไพรศาสตร์ก่อนใช้

ผลิตภัณท์ที่อาจมีผลกับขมิ้นชัน เช่น : การชะลอการแข็งตัวของเลือด (Anticoagulant / Antiplatelet drugs)

ขมิ้นชันอาจลดการแข็งตัวของเลือดซึ่งเมื่อใช้ร่วมกันอาจทำให้เกิดการเลือดออกได้

ยาที่ชะลอการแข็งตัวของเลือด เช่น aspirin, clopidogrel (Plavix), diclofenac (Voltaren, Cataflam, others), ibuprofen (Advil, Motrin, others), naproxen (Anaprox, Naprosyn, others), dalteparin (Fragmin), enoxaparin (Lovenox), heparin, warfarin (Coumadin) และอื่นๆ

ขนาดการใช้

ข้อมูลนี้ไม่สามารถเป็นคำสั่งในการใช้ยาได้ ควรปรึกษานักสมุนไพรศาสตร์หรือแพทย์ก่อนการใช้ยาเสมอ

ปกติแล้วควรใช้ขมิ้นชันในปริมาณเท่าใด

สำหรับผู้ใหญ่

การรับประทาน :

ในการลดคอเรสเทอรอล: สารสกัดจากขมิ้นชัน 1.4 กรัม แบ่งสองครั้งต่อวันติดต่อกันสามเดือน อาการแสบ (คัน): ขมิ้นชัน 1500 มิลลิกรัมแบ่งสามครั้งต่อวันติดต่อกันแปดสัปดาห์เช่นเดียวกับยาที่มีสารสกัดขมิ้นชัน(C3 Complex, Sami Labs LTD) ร่วมกับพริกไทยดำหรือพริกยาวทุกวันติดต่อกันสี่สัปดาห์

สำหรับโรคข้อเข่าเสื่อม: ขมิ้นชัน 500 มิลลิกรัมสี่ครั้งต่อสันติดต่อกัน 4-6สัปดาห์ สารสกัดขมิ้นชัน(Turmacin, Natural Remedies Pvt. Ltd.)  500 มิลลิกรัม สองครั้งต่อวันติดต่อกัน 6 สัปดาห์ สารสกัดขมิ้นชัน(Meriva, Indena)  500 มิลลิกรัมซึ่งมีส่วนผสมของ phosphatidylcholine สองครั้งต่อวันติดต่อกัน 2-3 เดือน

สำหรับเด็ก

การรับประทาน:

เพื่อลดคอเรสเทอรอล: สารสกัดขมิ้นชัน 1.4 กรัม แบ่งสองครั้งต่อวันติดต่อกัน 3 เดือนสำหรับเด็กอายุต่ำกว่า 15 ปี

ปริมาณในการใช้ขมิ้นชันอาจแตกต่างกันไปในแต่ละบุคคล โดยขึ้นอยู่กับอายุ สุขภาพและปัจจัยอื่นๆ การใช้ยาสมุนไพรนั้นอาจไม่ได้มีความปลอดภัยเสมอ จึงควรปรึกษานักสมุนไพรศาสตร์หรือแพทย์ในเรื่องปริมาณที่เหมาะสม

ขมิ้นชันนั้นอยู่ในรูปแบบใด

ชมิ้นชันอาจอยู่ในรูปแบบต่อไปนี้ :

  • แคปซูล
  • ผง
  • สารสกัด
  • น้ำชา

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำทางการแพทย์ การวินิจฉัย หรือการรักษาแต่อย่างใด

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย Ploylada Prommate · แก้ไขล่าสุด 07/12/2017

advertisement iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

advertisement iconโฆษณา
advertisement iconโฆษณา