backup og meta
สำรวจ
เครื่องมือตรวจเช็กสุขภาพ
ถามคุณหมอ
บันทึก
สารบัญ

คูเลีย (Quillaia)

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย Ploylada Prommate · แก้ไขล่าสุด 12/05/2020

คูเลีย (Quillaia)

การใช้ประโยชน์ คูเลีย

คูเลีย (Quillaia) ใช้ทำอะไร

เป็นพืชชนิดหนึ่ง เปลือกไม้ข้างในใช้ทำเป็นยารักษาโรค

ใช้ทาบริเวณที่ได้รับผลกระทบ ดังนี้

  • แผลเปื่อยที่ผิวหนัง
  • โรคน้ำกัดเท้า
  • คันหนังศีรษะ
  • รังแค
  • ตกขาว
  • การทำงานของคูเลียเป็นอย่างไร

    การศึกษาเกี่ยวกับกลไกการออกฤทธิ์ของคูเลียยังมีไม่เพียงพอ ควรสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมจากผู้เชี่ยวชาญด้านสมุนไพร หรือ แพทย์ อย่างไรก็ตาม เป็นที่รู้กันว่า คูเลีย ประกอบด้วยแทนนินส์ (Tannins) ที่มีความเข้มข้นสูง สารที่เป็นยาสมานแผล เช่น แทนนินส์ (Tannins) มีเมือกที่เป็นสาเหตุให้เกิดอากรไอ อีกทั้งคูเลียยังมีสารเคมีที่ช่วยกระตุ้นระบบภูมิคุ้มกัน

    ข้อควรระวังและคำเตือน

    เราควรรู้อะไรบ้างก่อนใช้คูเลีย

    ปรึกษาแพทย์ เภสัชกรหรือผู้เชี่ยวชาญด้านสมุนไพรในกรณีที่:

    • ตั้งครรภ์หรืออยู่ในช่วงให้นมบุตร เพราะเป็นเวลาที่ควรได้รับยารักษาโรคเฉพาะที่แพทย์สั่งเท่านั้น
    • ใช้ยาอื่นๆ ซึ่งรวมถึงยาที่ซื้อโดยไม่ต้องมีใบสั่งยา
    • แพ้สารที่อยู่ในคูเลีย หรือแพ้ยา หรือสมุนไพรอื่นๆ
    • มีอาการป่วย มีความผิดปกติ หรือ พยาธิสภาพอื่นๆ
    • มีอาการแพ้ต่างๆ เช่น แพ้อาหาร แพ้สีผสมอาหาร แพ้สารกันบูด หรือแพ้เนื้อสัตว์

    ข้อกำหนดสำหรับสมุนไพรนั้นมีความเข้มงวดน้อยกว่าการใช้ยาทั่วไป ควรมีการศึกษาเพื่อรับรองความปลอดภัยและมั่นใจว่ามีคุณประโยชน์มากกว่าอันตราย ควรปรึกษาผู้เชี่ยวชาญด้านสมุนไพรหรือแพทย์สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม

    คูเลียมีความปลอดภัยแค่ไหน

    การตั้งครรภ์และให้นมบุตร:

    • หลีกเลี่ยงการใช้ไม่ปลอดภัยต่อสตรีมีครรภ์ และทารก

    มีอาการกระเพาะอาหารและลำไส้ (กระเพาะและลำไส้)

    • คูเลียสามารถรบกวนทางเดินอาหาร อย่าใช้คูเลียถ้ามีความผิดปกติที่กระเพาะอาหาร หรือเกี่ยวกับลำไส้

    โรคไต

    • ในคูเลียเป็นสาเหตุให้เป็นนิ่วในไต อย่าใช้คูเลียถ้าคุณเป็นโรคไต หรือมีประวัติเป็นนิ่วในไต

    ผลข้างเคียง

    ผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้นจากการใช้คูเลียมีอะไรบ้าง

    • ในคูเลียมีสารแทนนินส์ (Tannins) สูง ทำให้เกิดการแปปรวนในลำไส้และไตได้
    • คูเลียประกอบด้วยสารเคมีเรียกว่า ออกซาเลต ซึ่งสามารถลดระดับบลัดแคลเซียม (Bloodcalcium) และทำให้เป็นนิ่วในไต
    • คูเลียทำให้เป็นอาการท้องร่วง
    • ความเจ็บปวดที่กระเพาะ
    • ปัญหาการหายใจอย่างรุนแรง อาการชักกระตุก โคม่า การทำลายเซลล์เม็ดเลือดแดง และไตล้มเหลว
    • คูเลียสามารถทำให้ระคายเคืองและทำลายเยื่อบุของปาก คอ และระบบทางเดินอาหาร 

    อย่างไรก็ตาม ผลข้างเคียงเหล่านี้ไม่ได้เกิดขึ้นกับทุกคน และอาจมีอาการอื่นจากผลข้างเคียง ที่ไม่ได้กล่าวไว้ข้างต้น หากมีความกังวลเกี่ยวกับเรื่องผลข้างเคียง ควรปรึกษาผู้เชี่ยวชาญด้านสมุนไพร หรือ แพทย์

    ปฏิกิริยาระหว่างยา

    ยาที่อาจเกิดปฏิกิริยากับคูเลียมีอะไรบ้าง

    คูเลียอาจทำปฏิกิริยากับยาที่คุณกำลังใช้หรือส่งผลกระทบกับการรักษาของคุณในปัจจุบัน ดังนั้น ควรปรึกษาผู้เชี่ยวชาญด้านสมุนไพรหรือแพทย์ก่อนใช้

    ผลิตภัณฑ์ที่อาจมีปฏิกิริยากับคูเลีย ได้แก่

    • ชนิดรับประทาน
    • คูเลียประกอบด้วยสารเคมีจำนวนมากเรียกว่าแทนนินส์ (Tannins) ซึ่งจะดูดซับสารในกระเพาะอาหารและลำไส้ ใช้คูเลียร่วมกับยาทางปากสามารถลดจำนวนยาที่ร่างกายดูดซึม และลดประสิทธิภาพของยา ป้องกันการเกิดปฏิกิริยานี้ ให้ใช้คูเลียหลังทานยาอื่นอย่างน้อย 1 ชั่วโมง
    • เมทฟอร์มิน (Metformin) เช่น กลูโคเฟจ (Glucophage) ใช้ลดน้ำตาลในเลือด คูเลียอาจลดปริมาณการดูดซับเมทฟอร์มิน เช่น กลูโคเฟจ ในร่างกาย การใช้คูเลียร่วมกับเมทฟอร์มิน เช่น กลูโคเฟจ อาจลดประสิทธิภาพของเมทฟอร์มิน เช่น กลูโคเฟจ สำหรับผู้ที่น้ำตาลในเลือดต่ำลง ควรตรวจสอบน้ำตาลในเลือดอย่างใกล้ชิด ปริมาณของเมทฟอร์มิน เช่น กลูโคเฟจ อาจจำเป็นต้องเปลี่ยนแปลง

    ขนาดการใช้

    ข้อมูลนี้ไม่สามารถเป็นคำสั่งในการใช้ยาได้ ควรปรึกษานักสมุนไพรศาสตร์หรือแพทย์ก่อนการใช้ยาเสมอ

    ปกติแล้วควรใช้คูเลียในปริมาณเท่าใด

    ปริมาณของการใช้สมุนไพรนั้นจะแตกต่างกันในผู้ป่วยแต่ละราย  ขึ้นอยู่กับอายุ, ภาวะสุขภาพ รวมถึงเงื่อนไขอื่นๆ   การใช้สมุนไพรไม่ได้หมายความว่าจะปลอดภัยเสมอ  ดังนั้นจึงควรปรึกษาผู้เชี่ยวชาญทางด้านสมุนไพรหรือแพทย์เพื่อขนาดในการใช้ที่เหมาะสม

    สมุนไพรดังกล่าวอาจอยู่ในรูปแบบใด

    คูเลียอาจมีจำหน่ายในรูปแบบต่อไปนี้:

    • ผงคูเลีย
    • คูเลียดิบ

    ปริมาณของการใช้สมุนไพรนั้นจะแตกต่างกันในผู้ป่วยแต่ละราย  ขึ้นอยู่กับอายุ, ภาวะสุขภาพ รวมถึงเงื่อนไขอื่นๆ  การใช้สมุนไพรไม่ได้หมายความว่าจะปลอดภัยเสมอ  ดังนั้นจึงควรปรึกษาผู้เชี่ยวชาญทางด้านสมุนไพรหรือแพทย์เพื่อขนาดในการใช้ที่เหมา

    Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำทางการแพทย์ การวินิจฉัยโรค และการรักษาโรคแต่อย่างใด

    หมายเหตุ

    Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

    ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

    ทีม Hello คุณหมอ


    เขียนโดย Ploylada Prommate · แก้ไขล่าสุด 12/05/2020

    advertisement iconโฆษณา

    คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

    advertisement iconโฆษณา
    advertisement iconโฆษณา