backup og meta
สำรวจ
เครื่องมือตรวจเช็กสุขภาพ
ถามคุณหมอ
บันทึก
สารบัญ

จาเมกัน ด็อกวูด (Jamaican Dogwood)

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย Ploylada Prommate · แก้ไขล่าสุด 04/08/2020

จาเมกัน ด็อกวูด (Jamaican Dogwood)

จาเมกัน ด็อกวูด (Jamaican Dogwood) คือ ไม้ยืนต้นชนิดหนึ่งซึ่งอยู่ในตระกูลถั่ว ที่จัดว่ามีสรรพคุณทางยา ส่วนต่างๆ ของต้นจาเมกัน ด็อกวูด สามารถทำมาทำเป็นยาสำหรับใช้รักษาอาการทางสุขภาพได้

การใช้ประโยชน์

จาเมกัน ด็อกวูด (Jamaican Dogwood) ใช้ทำอะไร

ส่วนต่างๆ ของต้นจาเมกัน ด็อกวูด สามารถทำมาทำเป็นยาสำหรับใช้รักษาอาการทางสุขภาพได้ โดยเฉพาะส่วนเปลือกและรากซึ่งนิยมนำมาใช้ทำยาเพื่อรักษาอาการดังต่อไปนี้ :

  • ความวิตกกังวล
  • ความกลัว
  • ปัญหาการนอน (โดยเฉพาะการนอนไม่หลับจากความเครียด)
  • เป็นยาระงับประสาท
  • ปวดเส้นประสาท
  • ไมเกรน
  • ปวดประจำเดือน

นอกจากนี้ยังพบว่า ส่วนเปลือกต้มของจาเมกัน ด็อกวูด สามารถใช้เพื่อเป็นสมุนไพรบรรเทาอาการไอและไอกรนได้

อย่างไรก็ตาม จาเมกัน ด็อกวูดอาจสามารถนำมาใช้ประโยชน์ด้านอื่นๆ ได้อีก โปรดสอบถามแพทย์หรือเภสัชกรเพื่อข้อมูลเพิ่มเติม

การทำงานของจาเมกัน ด็อกวูดเป็นอย่างไร

มีผลศึกษารายงานว่าจาเมกัน ด็อกวูด สามารถทำให้ง่วง ลดอาการปวดหรือบวม (อักเสบ) และลดการปวดกล้ามเนื้อของอวัยวะภายใน อย่างไรก็ตาม มีการศึกษาเกี่ยวกับการทำงานของจาเมกัน ด็อกวูด ยังมีไม่มากพอ จึงจำเป็นต้องปรึกษาแพทย์ผู้ดูแลและนักสมุนไพรศาสตร์สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม

ข้อควรระวังและคำเตือน:

เราควรรู้อะไรบ้างก่อนใช้ จาเมกัน ด็อกวูด

ปรึกษาแพทย์ผู้ทำการรักษาหรือเภสัชกรหรือผู้เชี่ยวชาญด้านสมุนไพร ในกรณีที่ :

  • ตั้งครรภ์หรือให้นมบุตร เนื่องจากในขณะที่ตั้งครรภ์หรือให้นมบุตร ควรจะได้รับยาตามคำสั่งแพทย์เท่านั้น
  • ใช้ยาชนิดอื่นอยู่ รวมถึงยาทุกชนิดที่ซื้อรับประทานเองโดยไม่มีใบสั่งยาจากแพทย์
  • แพ้สารจากจาเมกัน ด็อกวูด หรือแพ้ยาชนิดอื่น หรือแพ้สมุนไพรชนิดอื่น
  • มีอาการป่วย มีอาการผิดปกติ หรือมีพยาธิสภาพอื่นๆ
  • มีอาการแพ้ต่าง ๆ เช่น แพ้อาหาร สีผสมอาหาร สารกันบูด หรือเนื้อสัตว์

ข้อปฏิบัติในการใช้สมุนไพรนั้นมีความเข้มงวดที่น้อยกว่าการใช้ยารักษาโรค จำเป็นต้องมีการศึกษาค้นคว้าเพิ่มเติมเพื่อรับรองความปลอดภัย ซึ่งการจะใช้ประโยชน์ของสมุนไพรนั้นต้องศึกษาความเสี่ยงก่อนใช้และควรสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมกับแพทย์ผู้ดูแลหรือนักสมุนไพรศาสตร์ก่อน

ความปลอดภัย

สำหรับเด็ก: เด็กไม่ควรใช้จาเมกัน ด็อกวูด

ผู้ที่กำลังตั้งครรภ์หรือกำลังให้นมบุตร: จาเมกัน ด็อกวูดอาจไม่ปลอดภัยสำหรับผู้ที่ตั้งครรภ์เพราะมีผลต่อมดลูก และไม่ปลอดภัยสำหรับผู้ที่อยู่ในช่วงให้นมบุตรเพราะอาจเป็นพิษได้

ศัลยกรรม: หยุดใช้จาเมกัน ด็อกวูด อย่างน้อย 2 สัปดาห์ก่อนการศัลยกรรม

ผลข้างเคียง

ผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้นจากการใช้จาเมกัน ด็อกวูด มีอะไรบ้าง

จาเมกัน ด็อกวูดอาจทำให้ระคายเคืองและเกิดอาการเหน็บชา อาการสั่น น้ำลายไหล เหงื่อออก เครียดลงกระเพราะ คลื่นไส้

และภาวะซึมเศร้า

อย่างไรก็ตาม ไม่ใช่ทุกคนที่จะมีผลข้างเคียงดังกล่าว บางครั้งอาจเกิดผลข้างเคียงอื่นๆ ที่ไม่ได้กล่าวถึงซึ่งหากพบอาการข้างเคียงใดๆ ควรปรึกษาแพทย์หรือนักสมุนไพรศาสตร์

ปฏิกิริยาระหว่างยา

ยาที่อาจเกิดปฏิกิริยากับจาเมกัน ด็อกวูด มีอะไรบ้าง

ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารสมุนไพรชนิดนี้อาจมีผลต่อยาหรือพยาธิสภาพในปัจจุบัน ควรปรึกษาหมอผู้เชี่ยวชาญด้านสมุนไพรหรือแพทย์ก่อนการใช้งาน

การใช้จาเมกัน ด็อกวูดร่วมกับยากล่อมประสาทอาจทำให้เกิดอาการง่วงซึมมากเกินไป ยากล่อมประสาทนั้น ตัวอย่างเช่น clonazepam (Klonopin), lorazepam (Ativan), phenobarbital (Donnatal), zolpidem (Ambien) และอื่นๆ

 

ขนาดยา

ข้อมูลนี้ไม่สามารถเป็นคำสั่งในการใช้ยาได้ ควรปรึกษานักสมุนไพรศาสตร์หรือแพทย์ก่อนการใช้ยาเสมอ

ปกติแล้วควรใช้จาเมกัน ด็อกวูด ในปริมาณเท่าใด

เปลือกรากตากแห้ง:

  • เนื่องจากเป็นการยากที่จะแยกส่วนของเปลือกในน้ำ จึงต้องนำไปเตรียมโดยการต้ม (ต้มเดือด) เคี่ยวเปลือกรากตากแห้ง 1-2 ช้อนชา (1-4 กรัม) ในน้ำนาน 10-15 นาที
  • ในการเตรียมน้ำชา ควรใช้ภาชนะแก้วหรือเซรามิกเสมอเพื่อลดการปนเปื้อนของสมุนไพร

ทิงเจอร์ :

ขนาดที่แนะนำคือ 5-30 หยด(1-2 มิลลิลิตร) วันละ 3 ครั้งหรือตามต้องการ

ปริมาณในการใช้จาเมกัน ด็อกวูดอาจแตกต่างกันไปในแต่ละบุคคล โดยขึ้นอยู่กับอายุ สุขภาพและปัจจัยอื่นๆ การใช้ยาสมุนไพรนั้นอาจไม่ได้มีความปลอดภัยเสมอ จึงควรปรึกษานักสมุนไพรศาสตร์หรือแพทย์ในเรื่องปริมาณที่เหมาะสม

จาเมกัน ด็อกวูดอยู่ในรูปแบบใด

สมุนไพรดังกล่าวอาจอยู่ในรูปแบบต่อไปนี้ :

  • เปลือกรากจาเมกัน ด็อกวูด ขายเป็นชิ้น ยาวประมาณ 1-2 นิ้ว หนาประมาณ 1/8 นิ้ว
  • จาเมกัน ด็อกวูดยังสามารถแปรรูปเป็นสารสกัดหรือทิงเจอร์ได้ด้วย

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย Ploylada Prommate · แก้ไขล่าสุด 04/08/2020

advertisement iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

advertisement iconโฆษณา
advertisement iconโฆษณา