backup og meta
สำรวจ
เครื่องมือตรวจเช็กสุขภาพ
ถามคุณหมอ
บันทึก
สารบัญ

น้ำมันดอกทานตะวัน (Sunflower Oil)

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย Ploylada Prommate · แก้ไขล่าสุด 07/12/2017

การใช้ประโยชน์

น้ำมันดอกทานตะวันใช้ทำอะไร?

น้ำมันดอกทานตะวันถูกคั้นมาจากเมล็ดดอกทานตะวัน น้ำมันนั้นถูกใช้เป็นยา

น้ำมันดอกทานตะวันใช้เพื่อรักษา

  • อาการท้องผูก
  • แผลหายช้า อาการบาดเจ็บที่ผิวหนัง โรคสะเก็ดเงิน และโรคข้ออักเสบ (ใช้เฉพาะที่)
  • ลดไขมันเลว (คอเลสเตอรอลความหนาแน่นต่ำ)
  • ใช้เป็นยานวด

ในการทำอาหาร น้ำมันดอกทานตะวันถูกนำมาใช้เป็นน้ำมันประกอบอาหาร

สรรพคุณของน้ำมันดอกทานตะวัน

ยังมีการศึกษาไม่เพียงพอเกี่ยวกับการใช้ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารประเภทสมุนไพรชนิดนี้ว่ามีการทำงานอย่างไร ควรปรึกษาผู้เชี่ยวชาญด้านสมุนไพรหรือขอคำแนะนำจากแพทย์สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม อย่างไรก็ตาม เป็นที่ทราบว่าน้ำมันดอกทานตะวันนั้นถูกนำมาใช้เป็นแหล่งของไขมันไม่อิ่มตัวซึ่งใช้แทนที่ไขมันอิ่มตัว

ข้อควรระวังและคำเตือน

ควรรู้อะไรก่อนที่จะใช้น้ำมันดอกทานตะวัน  

ควรปรึกษากับแพทย์ เภสัชกร หรือผู้เชี่ยวชาญด้านสมุนไพร ถ้า:

  • ตั้งครรภ์หรือให้นมบุตร เนื่องจากในขณะตั้งครรภ์หรือให้นมบุตร ควรใช้ยาตามคำแนะนำของแพทย์เท่านั้น
  • ใช้ยาอื่นร่วมอยู่ รวมถึงยาที่กำลังใช้ที่สามารถหาซื้อได้โดยไม่ต้องมีใบสั่งยา
  • มีอาการภูมิแพ้สารใด ๆ ในน้ำมันดอกทานตะวัน หรือยาอื่น ๆ หรือสมุนไพรอื่น ๆ
  • มีโรค ความผิดปกติ หรือพยาธิสภาพอื่น ๆ
  • มีอาการแพ้อื่น ๆ เช่น แพ้อาหาร สีย้อมอาหาร สารกันบูด หรือเนื้อสัตว์

ข้อบังคับสำหรับอาหารเสริมนั้นมีความเข้มงวดน้อยกว่าข้อบังคับของการใช้ยา จึงจำเป็นที่จะต้องศึกษาให้มาก เพื่อความปลอดภัยในการใช้ คุณประโยชน์ของการรับประทานอาหารเสริมนี้ต้องมีค่าน้ำหนักมากกว่าความเสี่ยง ก่อนการใช้ หากต้องการข้อมูลเพิ่มเติมควรปรึกษาผู้เชี่ยวชาญด้านสมุนไพรหรือแพทย์

น้ำมันดอกทานตะวันมีความปลอดภัยเพียงใด

น้ำมันดอกทานตะวันนั้นค่อนข้างปลอดภัยในการรับประทานหรือทาบนผิวในปริมาณที่เหมาะสม

น้ำมันดอกทานตะวันมีไขมันอิ่มตัวอยู่ 14% ซึ่งอาจเพิ่มระดับคอเลสเตอรอล และอาจมีความสี่ยงการเป็นโรคหัวใจ

น้ำมันดอกทานตะวันมีไขมันไม่อิ่มตัวเชิงซ้อนอยู่ 7% ซึ่งเป็นไขมันที่มีโอเมก้า6 การมีอัตราส่วนโอเมก้า6 ต่อ โอเมก้า3 สูงนั้นอาจเพิ่มความเสี่ยงในการเป็นโรคเรื้อรัง เช่นโรคข้ออักเสบ โรคหืด มะเร็ง และโรคหัวใจ

ในการทานกับอาหาร การทานน้ำมันดอกทานตะวันมากๆอาจทำให้น้ำหนักขึ้นได้

ข้อควรระวังและคำเตือนพิเศษ

สำหรับผู้ตั้งครรภ์และอยู่ในระหว่างการให้นมบุตร: ข้อมูลด้านความปลอดภัยที่เชื่อถือได้ในการนำน้ำมันดอกทานตะวันมาใช้ในระหว่างการตั้งครรภ์และระหว่างการให้นมบุตรยังไม่เพียงพอ โปรดคำนึงถึงความปลอดภัยและหลีกเลี่ยงการนำมาใช้

โรคเบาหวาน: อาหารที่มีน้ำมันดอกทานตะวันมากเกรงจะเพิ่มระดับอินซูลินและระดับน้ำตาลในเลือด และจะเพิ่มไขมันในเลือดหลังรับอาหาร ที่อาจเพิ่มความเสี่ยงในการเป็นโรคหลอดเลือดแดงแข็งในผู้ป่วยเบาหวานประเภทสอง

ผลข้างเคียง

ผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้นจากการใช้น้ำมันดอกทานตะวัน

ผู้มีอาการแพ้หญ้าแร็กวีดและพืชที่เกี่ยวข้อง: น้ำมันดอกทานตะวันอาจทำให้เกิดอาการแพ้ในผู้ที่ไวต่อพืชในตระกูลทานตะวัน ซึ่งมีหญ้าแร็กวีด ดอกเบญจมาศ ดอกดาวเรือง ดอกเดซี และอื่นๆรวมอยู่ด้วย หากท่านมีอาการแพ้ ตรวจสอบกับผู้ให้บริการทางการแพทย์ก่อนการรับประทานน้ำมันดอกทานตะวัน

ผลข้างเคียงเหล่านี้ไม่ได้เกิดขึ้นกับทุกคน และอาจจะมีอาการของผลข้างเคียงอื่น ๆ ที่ไม่ได้กล่าวไว้ข้างต้นหากกังวลเรื่องผลข้างเคียง ให้ปรึกษาแพทย์

ปฏิกิริยาระหว่างยา

ปฏิกิริยาที่อาจเกิดขึ้นจากการใช้น้ำมันดอกทานตะวัน     

ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารสมุนไพรชนิดนี้อาจมีผลต่อยาหรือพยาธิสภาพในปัจจุบัน ควรปรึกษาแพทย์ก่อนการใช้งาน

ขนาดการใช้

ข้อมูลนี้ไม่ใช่คำแนะนำจากแพทย์โดยตรง ควรปรึกษาผู้เชี่ยวชาญทางด้านสมุนไพรหรือแพทย์ก่อนใช้ยาเสมอ

ขนาดในการใช้น้ำมันดอกทานตะวันโดยทั่วไปคือเท่าไหร่?

ขนาดการใช้อาหารเสริมประเภทสมุนไพรชนิดนี้อาจแตกต่างกันไปในผู้ป่วยแต่ละราย ปริมาณยาที่ใช้ขึ้นอยู่กับช่วงอายุ สุขภาพและปัจจัยอื่น ๆ ผลิตภัณฑ์อาหารเสริมอาจไม่ปลอดภัยเสมอไป โปรดปรึกษาผู้เชี่ยวชาญด้านสมุนไพรหรือแพทย์ผู้ทำการรักษาสำหรับปริมาณที่เหมาะสม

น้ำมันดอกทานตะวันมีจำหน่ายในรูปแบบใด:

ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารสมุนไพรนี้อาจมีจำหน่ายในรูปแบบต่อไปนี้:

  • น้ำมันดอกทานตะวันบริสุทธิ์ที่ผ่านการรับรองและการอบโอโซนแบบออร์แกนิค
  • น้ำมันดอกทานตะวันแบบบรรจุแคปซูล (ผสมกับส่วนประกอบอื่นๆ)

 

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำทางการแพทย์ วินิจฉัยหรือการรักษาแต่อย่างใด

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย Ploylada Prommate · แก้ไขล่าสุด 07/12/2017

advertisement iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

advertisement iconโฆษณา
advertisement iconโฆษณา