backup og meta
สำรวจ
เครื่องมือตรวจเช็กสุขภาพ
ถามคุณหมอ
บันทึก
สารบัญ

ลิลลี่ออฟเดอะวัลเลย์ (Lily Of The Valley)

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย Ploylada Prommate · แก้ไขล่าสุด 12/05/2020

ลิลลี่ออฟเดอะวัลเลย์ (Lily Of The Valley)

สรรพคุณของลิลลี่ออฟเดอะวัลเลย์

ลิลลี่ออฟเดอะวัลเลย์ (Lily Of The Valley) เป็นพืช บางส่วนของมันสามารถใช้เป็นยา เช่น ราก ลำต้นใต้ดิน และส่วนปลายของดอกไม้แห้ง

ลิลลี่ออฟเดอะวัลเลย์ใช้สำหรับ

ลิลลี่ออฟเดอะวัลเลย์อาจจะใช้กับอย่างอื่น สอบถามแพทย์ หรือเภสัชกรสำหรับข้อมูลเพิ่มเติม

กลไกการออกฤทธิ์

ลิลลี่ออฟเดอะวัลเลย์มีสารที่ส่งผลต่อการทำงานของกล้ามเนื้อหัวใจ การหดรัดตัว การเต้นของหัวใจ และภาวะที่ไวต่อการเร่งเร้าหรือถูกกระตุ้น ควรสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมกับผู้เชี่ยวชาญด้านสมุนไพร หรือ แพทย์ 

ข้อควรระวังและคำเตือน

สิ่งที่ควรทราบก่อนใช้ ลิลลี่ออฟเดอะวัลเลย์

ปรึกษาแพทย์ เภสัชกร หรือผู้เชี่ยวชาญด้านสมุนไพร ถ้าอยู่ในอาการตามลักษณะ ดังต่อไปนี้

  • ตั้งครรภ์หรืออยู่ในช่วงให้นมบุตร เพราะเป็นช่วงที่ควรรับยาตามคำแนะนำแพทย์เท่านั้น
  • ใช้ยาชนิดอื่น รวมถึงยาที่ไม่มีใบสั่งยาจากแพทย์
  • แพ้สารที่อยู่ในลิลลี่ออฟเดอะวัลเลย์ หรือแพ้ยา หรือสมุนไพรอื่นๆ
  • มีอาการป่วย มีความผิดปกติ หรือพยาธิสภาพ เช่น โรคหัวใจ หรือ ระดับโพแทสเซียมต่ำ (การขาดโพแทสเซียม)
  • มีอาการแพ้ต่างๆ เช่น แพ้อาหาร แพ้สีผสมอาหาร แพ้สารกันบูด หรือแพ้เนื้อสัตว์

ข้อกำหนดสำหรับอาหารเสริมประเภทสมุนไพรนั้น มีความเข้มงวดน้อยกว่าการใช้ยาทั่วไป ควรศึกษาการใช้เพื่อรับรองความปลอดภัยและมั่นใจว่ามีคุณประโยชน์มากกว่าอันตราย ควรปรึกษาผู้เชี่ยวชาญด้านสมุนไพรหรือแพทย์สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม

ความปลอดภัยในการใช้ลิลลี่ออฟเดอะวัลเลย์

หญิงตั้งครรภ์และผู้ที่อยู่ในช่วงให้นมบุตร

ไม่ควรใช้ลิลลี่ออฟเดอะวัลเลย์ ในขณะที่กำลังตั้งครรภ์ เพราะอาจเป็นอันตรายได้ หากไม่ได้รับคำแนะนำจากแพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญอย่างใกล้ชิด

ผลข้างเคียง

ผลข้างเคียงจากการใช้ลิลลี่ออฟเดอะวัลเลย์

ลิลลี่ออฟเดอะวัลเลย์อาจทำให้เกิดผลข้างเคียง ดังนี้

  • อาการคลื่นไส้
  • อาเจียน
  • การเต้นของหัวใจที่ผิดปกติ
  • ปวดศีรษะ
  • สติลดลง
  • การตอบสนอง
  • ความผิดปกติเกี่ยวกับการเห็นสี
  • อย่างไรก็ตาม ผลข้างเคียงเหล่านี้ไม่ได้เกิดขึ้นกับทุกคน และอาจมีผลข้างเคียงอื่น ๆ ที่ไม่ได้กล่าวไว้ข้างต้น หากมีความกังวลเกี่ยวกับผลข้างเคียง ควรปรึกษาผู้เชี่ยวชาญด้านสมุนไพรหรือแพทย์

    ปฏิกิริยาระหว่างการใช้

    ปฏิกิริยาของลิลลี่ออฟเดอะวัลเลย์

    ลิลลี่ออฟเดอะวัลเลย์อาจทำปฏิกิริยากับยาที่กำลังใช้หรือส่งผลกระทบกับการรักษาของคุณในปัจจุบัน ดังนั้น ควรปรึกษาผู้เชี่ยวชาญด้านสมุนไพร หรือแพทย์ก่อนใช้

    ยาเหล่านี้อาจรวมถึง :

    อาหารเสริมแคลเซียม

    ลิลลี่ออฟเดอะวัลเลย์สามารถส่งผลโดยไปกระตุ้นการทำงานของหัวใจ  การใช้ลิลลี่ออฟเดอะวัลเลย์ควบคู่กับแคลเซียมทำให้หัวใจได้รับการกระตุ้นมากเกินไป

    ไดจอกซิน (Digoxin (ชื่อการค้า Lanoxin))

    ไดจอกซิน (Digoxin (ชื่อการค้า Lanoxin)) ช่วยให้หัวใจเต้นอย่างแข็งแรงมากขึ้น การใช้ลิลลี่ออฟเดอะวัลเลย์ควบคู่กับไดจอกซินเพิ่มผลกระทบของไดจอกซินและความรุนแรงของผลข้างเคียง

    คอร์ติโคสเตียรอยด์ (Corticosteroids)

    การใช้ลิลลี่ออฟเดอะวัลเลย์ควบคู่กับยารักษาการอักเสบบางชนิดอาจะทำให้โพแทสเซียมในร่างกายลด ซึ่งอาจส่งผลเสียต่อหัวใจและเพิ่มความรุนแรงของผลข้างเคียง

    ยารักษาการอักเสบ เช่น เดกซาเมทาโซน (dexamethasone (ชื่อการค้า Decadron)) ไฮโดรคอร์ติโซน (hydrocortisone (ชื่อการค้า Cortef)) เมทิลเพรดนิโซโลน (methylprednisolone (ชื่อการค้า Medrol)) เพรดนิโซน (prednisone (ชื่อการค้า Deltasone)) และอื่น ๆ

    ควินิน (Quinine)

    การใช้ลิลลี่ออฟเดอะวัลเลย์ควบคู่กับควินินอาจเป็นเหตุที่ก่อให้เกิดปัญหาหัวใจอย่างร้ายแรง

    ปริมาณการใช้

    ข้อมูลนี้ไม่สามารถใช้แทนคำแนะนำจากแพทย์โดยตรง ควรปรึกษาผู้เชี่ยวชาญด้านสมุนไพรหรือแพทย์ก่อนใช้ยาชนิดนี้ทุกครั้ง

    ปริมาณการใช้ทั่วไปของลิลลี่ออฟเดอะวัลเลย์

    ผู้ป่วยแต่ละคนอาจใช้สมุนไพรชนิดนี้ในปริมาณที่แตกต่างกัน ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับอายุ สุขภาพ และเงื่อนไขอื่น ๆ สมุนไพรไม่ได้รับรองความปลอดภัยเสมอไป ควรสอบถามแพทย์สำหรับปริมาณการใช้ที่เหมาะสมกับตนเอง

    รูปแบบลิลลี่ออฟเดอะวัลเลย์

    ลิลลี่ออฟเดอะวัลเลย์อาจพบได้ในรูปแบบต่อไปนี้

    • ใบแห้งของลิลลี่ออฟเดอะวัลเลย์
    • สารสกัดชนิดน้ำของลิลลี่ออฟเดอะวัลเลย์
    • สารละลายแอลกอฮอล์ของลิลลี่ออฟเดอะวัลเลย์

    Hello Health Group ไม่ได้ให้คำปรึกษาด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

    หมายเหตุ

    Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

    ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

    ทีม Hello คุณหมอ


    เขียนโดย Ploylada Prommate · แก้ไขล่าสุด 12/05/2020

    advertisement iconโฆษณา

    คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

    advertisement iconโฆษณา
    advertisement iconโฆษณา