backup og meta
สำรวจ
เครื่องมือตรวจเช็กสุขภาพ
ถามคุณหมอ
บันทึก
สารบัญ

สไปรูลินา (Spirulina)

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย Ploylada Prommate · แก้ไขล่าสุด 11/09/2019

สรรพคุณ

สไปรูลิใช้สำหรับ:

  • ฝ้าขาว
  • โรคตากระตุก
  • โรคสมาธิสั้น (ADHD)
  • โรคเบาหวาน
  • อาการก่อนมีประจำเดือน (PMS)
  • อาการแพ้
  • ภาวะเครียด
  • อาการอ่อนเพลีย
  • ช่วยระบบการย่อยอาหาร
  • สมานแผล
  • เพิ่มระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย

กลไกการออกฤทธิ์

สไปรูลินามีโปรตีน, ธาตุเหล็ก, และแร่ธาตุอื่นๆในปริมาณสูงซึ่งสามารถดูดซึมได้เมื่อรับเข้าทางปากนอกจากนี้ปัจจุบันกำลังมีการวิจัยเกี่ยวกับประสิทธิผลของสาหร่ายเกรียวทองต่อระบบภูมิคุ้มกัน, อาการบวม(การอักเสบ),และการติดเชื้อไวรัส

ข้อควรระวังและคำเตือน

ปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรหรือผู้เชี่ยวชาญด้านสมุนไพร    หากมีสภาวะหรือมีลักษณะดังต่อไปนี้

  • ตั้งครรภ์หรือให้นมบุตร เนื่องจากในขณะตั้งครรภ์หรือให้นมบุตร ควรใช้ยาตามคำแนะนำของแพทย์เท่านั้น
  • ใช้ยาอื่นร่วมอยู่ รวมถึงยาที่กำลังใช้ที่สามารถหาซื้อได้โดยไม่ต้องมีใบสั่งยา
  • มีอาการแพ้สารใด ๆในสไปรูลินาหรือยาอื่น ๆ หรือสมุนไพรอื่น
  • มีโรค ความผิดปกติ หรือพยาธิสภาพอื่น ๆ
  • มีอาการแพ้อื่น ๆ เช่น แพ้อาหาร สีย้อมอาหาร สารกันบูด หรือเนื้อสัตว์ต่างๆ

ข้อกำหนดสำหรับผลิตภัณฑ์เสริมอาหารสไปรูลิน่านั้นมีความเข้มงวดน้อยกว่าข้อกำหนดยาอื่น ๆ จำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องมีการศึกษาเพิ่มเติมเพื่อความปลอดภัย การใช้ผลิตภัณฑ์นี้ต้องมีประโยชน์มากกว่าความเสี่ยง ควรปรึกษาแพทย์หากต้องการข้อมูลเพิ่มเติม

ความปลอดภัย

เด็ก:

ผลิตภัณฑ์จากสาหร่ายสไปรูลินาที่มีการปนเปื้อนอาจไม่ปลอดภัยสำหรับเด็กเนื่องจากเด็กมีความไวต่อสาหร่ายสไปรูลินาที่ปนเปื้อนมากกว่าผู้ใหญ่

การใช้ในระหว่างตั้งครรภ์และให้นมบุตร:

ยังไม่มีข้อมูลที่น่าเชื่อถือได้มากพอเกี่ยวกับความปลอดภัยของการใช้สไปรูลินาในช่วงระหว่างตั้งครรภ์และให้นมบุตร ดังนั้น หากท่านกำลังอยู่ในสภาวะนี้จึงควรหลีกเลี่ยงเพื่อความปลอดภัย

ผลข้างเคียง

ผลข้างเคียงโดยทั่วไปของสไปรูลินา:

  • การทำลายตับ
  • ปวดท้อง
  • คลื่นไส้
  • อาเจียน
  • ภาวะช็อก
  • หัวใจเต้นเร็ว
  • เสียชีวิต

อย่างไรก็ตามผลข้างเคียงเหล่านี้ไม่ได้เกิดขึ้นกับทุกคนและยังอาจมีผลข้างเคียงอื่นๆที่ไม่ได้ระบุไว้ข้างต้น หากท่านมีข้อสงสัยใดๆเกี่ยวกับผลข้างเคียงโปรดปรึกษาผู้เชี่ยวชาญด้านสมุนไพรหรือแพทย์

ปฏิกิริยาระหว่างยา

สไปรูลินาอาจเกิดปฏิกิริยากับยาที่ท่านกำลังรับประทานอยู่หรือพยาธิสภาพทางการแพทย์อื่นๆ ควรปรึกษาผู้เชี่ยวชาญด้านสมุนไพรหรือแพทย์ก่อนใช้

การใช้สไปรูลินาร่วมกับยาที่ลดภูมิคุ้มกันอาจทำให้เกิดปฏิกิริยาต่อกันได้

  • ยาที่ลดภูมิคุ้มกันหมายรวมถึง อะซาไธโอพรีน (Imuran), บาซิลิซิแมบ (Simulect), ไซโคลสปอริน (Neoral, Sandimmune), ดาคลิซูแมบ (Zenapax), มูโรโมแนบ-ซีดี3 (OKT3, orthocloneOKT3), ไมโคฟีโนเลต(CellCept), ทาโครลิมัส (FK506, Prograf), ไซโลลิมัส (Rapamune), เพรดนิโซโลน (Deltasone, Orasone), คอร์ติโคสเตียรอยด์ (glucocorticoids), และอื่นๆ

สภาวะทางสุขภาพที่อาจเกิดปฎิกิริยากับสมุนไพรนี้หมายรวมถึง:

  • โรคภูมิต้านตนเองเหล่านี้ได้แก่ โรคปลอกประสาทอักเสบ(MS), โรคลูปัส(โรคแพ้ภูมิตัวเอง, SLE), โรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ (RA), โรคตุ่มน้ำพองจากภูมิคุ้มกัน(a skin condition), และอื่นๆ สไปรูลินาอาจทำให้ระบบภูมิคุ้มกันทำงานมากขึ้นซึ่งจะไปเพิ่มอาการของโรคภูมิต้านตัวเองดังนั้นหากท่านมีภาวะเหล่านี้ควรหลีกเลี่ยงการใช้
  • โรคฟีนิลคีโตนูเรีย: สไปรูลินามีส่วนประกอบของสารฟีนิลอะลานีนลซึ่งอาจทำให้โรคฟีนิลคีโตนูเรียแย่ลงจึงควรหลีกเลี่ยงการใช้ผลิตภัณฑ์จากสไปรูลินาหากท่านมีภาวะนี้

ขนาดยา

คำแนะนำนี้ไม่ใช่คำแนะนำจากแพทย์โดยตรง ควรปรึกษาผู้เชี่ยวชาญด้านสมุนไพรหรือแพทย์ก่อนใช้

 

ขนาดยาสำหรับผู้ใหญ่:

  • อาการฝ้าขาว(การมีแผ่นฝ้าขาวและเจ็บเหงือกภายในกระพุ้งแก้ม)

รับประทานวันละ 1 กรัมเป็นเวลา 12วัน

  • อาการตากระตุก(ตาขยิบผิดปกติ): รับประทานSBGA(สาหร่ายสีเขียวแกมน้ำเงิน)ชนิดแคปซูลขนาด1500 มิลลิกรัมทุกวันเป็นเวลา1เดือน
  • เพื่อกระตุ้นระบบภูมิคุ้มกัน: รับประทานสไปรูลินาสกัดขนาด 400 มิลลิกรัมต่อวัน สารสกัดสไปรูลินาใช้เพื่อเพิ่มการทำลายเซลล์อย่างเป็นธรรมชาติในผู้ที่มีสุขภาพดี

ขนาดการใช้สไปรูลินาอาจแตกต่างกันไปในผู้ป่วยแต่ละรายซึ่งขึ้นอยู่กับช่วงอายุ สุขภาพ และปัจจัยอื่นๆ การใช้ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารสมุนไพรอาจไม่ปลอดภัยเสมอไป ควรปรึกษาผู้เชี่ยวชาญด้านสมุนไพรหรือแพทย์สำหรับขนาดยาที่เหมาะสม

รูปแบบของสไปรูลินา

สไปรูลินาอาจมีจำหน่ายในรูปแบบดังต่อไปนี้ :

  • ชนิดแคปซูลเจล
  • ชนิดเม็ด
  • ชนิดผงหรือชนิดเกร็ดอาจเป็นแบบแห้งหรือแบบแห้งแข็ง

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย Ploylada Prommate · แก้ไขล่าสุด 11/09/2019

advertisement iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

advertisement iconโฆษณา
advertisement iconโฆษณา