backup og meta
สำรวจ
เครื่องมือตรวจเช็กสุขภาพ
ถามคุณหมอ
บันทึก
สารบัญ

เจียวกู่หลาน (Jiaogulan)

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย Ploylada Prommate · แก้ไขล่าสุด 01/06/2020

เจียวกู่หลาน (Jiaogulan)

การใช้ประโยชน์ เจียวกู่หลาน

เจียวกู่หลาน ใช้ทำอะไร?

เจียวกู่หลาน (๋Jiaogulan) เป็นพืชที่โตในป่าของประเทศจีน ส่วนใบของมัยถูกนำมาใช้ทำยา เจียวกู่หลานใช้เพื่อ

  • รักษาคอเลสเตอรอลสูง ความดันสูง
  • รักษาอาการเบื่ออาหาร อาการไอ หลอดลมอักเสบเรื้อรัง โรคกระเพาะเรื้อรัง อาการปวดบวมอักเสบ แผลเปื่อยต่างๆ ท้องผูก ความเครียด นิวน้ำดี โรคอ้วน โรคมะเร็ง โรคเบาหวาน อาการนอนไม่หลับ ปวดหลัง และความเจ็บปวดอื่นๆ
  • เพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของหัวใจ เพิ่มภูมิคุ้มกัน เพิ่มความแข็งแรงและความอดทน เพิ่มการต่อต้านความเครียดจากสิ่งแวดล้อม ส่งเสริมระบบความจำ ป้องกันผมร่วง
  • บางรายใช้เจียวกู่หลานเป็นยาชะลอความแก่ สารต่อต้านอนุมูลอิสระ และเป็นสารล้างพิษ

การทำงานของเจียวกู่หลานเป็นอย่างไร

ยังมีการศึกษาไม่เพียงพอเกี่ยวกับการใช้ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารประเภทสมุนไพรชนิดนี้ว่ามีการทำงานอย่างไร ควรปรึกษาผู้เชี่ยวชาญด้านสมุนไพรหรือขอคำแนะนำจากแพทย์สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม อย่างไรก็ตาม มีการศึกษาบางชิ้นพบว่าเจียวกู่หลาน มีสารเคมีที่ช่วยลดระดับคอเลสเตอรอล

ข้อควรระวังและคำเตือน

เราควรรู้อะไรบ้างก่อนใช้เจียวกู่หลาน

ควรปรึกษากับแพทย์และเภสัชกรหรือผู้เชี่ยวชาญด้านสมุนไพรถ้ามีอาการหรือลักษณะ ดังต่อไปนี้

  • ตั้งครรภ์หรือให้นมบุตร เนื่องจากในขณะที่ตั้งครรภ์หรือให้นมบุตรควรจะได้รับยาหรือสมุนไพรบำรุง ที่จัดจำหน่ายโดยแพทย์เท่านั้น
  • อยู่ในระหว่างการใช้ยาหรือสมุนไพรอื่นๆ ร่วมด้วย รวมถึงยาทุกชนิดที่ซื้อรับประทานเองโดยไม่มีใบสั่งยาจากแพทย์
  • มีอาการแพ้สารที่มีส่วนประกอบของเจียวกู่หลานหรือยาและสมุนไพรชนิดอื่น
  • มีอาการเจ็บป่วย มีอาการผิดปกติ หรือมีโรคอื่นๆ แทรกซ้อน
  • มีอาการแพ้ต่าง ๆ เช่นแพ้อาหาร สีผสมอาหาร สารกันบูด หรือเนื้อสัตว์

ข้อบังคับสำหรับผลิตภัณฑ์สมุนไพรเสริมอาหารนั้นมีความเข้มงวดน้อยกว่าข้อบังคับของการใช้ยา จึงจำเป็นต้องศึกษาเพิ่มเติมเพื่อความปลอดภัยในการใช้ ประโยชน์ของการใช้ผลิตภัณฑ์สมุนไพรเสริมอาหารนี้จะต้องมีค่าน้ำหนักมากกว่าความเสี่ยง ควรปรึกษาผู้เชี่ยวชาญด้านสมุนไพรหรือแพทย์หากต้องการข้อมูลเพิ่มเติม

เจียวกู่หลานมีความปลอดภัยแค่ไหน

เจียวกู่หลานอาจจะปลอดภัยในการนำไปรับประทานเป็นระยะสั้นๆ (ถึง 4 เดือน)

ผลข้างเคียง

ผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้นจากการใช้เจียวกู่หลานมีอะไรบ้าง

  • อาการคลื่นไส้รุนแรง
  • ลำไส้ทำงานมากขึ้น   
  • ผลข้างเคียงเหล่านี้ไม่ได้เกิดขึ้นกับทุกคน และอาจจะมีอาการของผลข้างเคียงอื่น ๆ ที่ไม่ได้กล่าวไว้ข้างต้นหากกังวลเรื่องผลข้างเคียง ให้ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญด้านสมุนไพรหรือแพทย์

    ปฏิกิริยาระหว่างยา

    ปฏิกิริยาที่อาจจะเกิดขึ้นกับเจียวกู่หลาน  

    ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารสมุนไพรชนิดนี้อาจมีผลต่อยาหรือพยาธิสภาพในปัจจุบัน ควรปรึกษาหมอผู้เชี่ยวชาญด้านสมุนไพรหรือแพทย์ก่อนการใช้งาน ผลิตภัณฑ์ที่อาจจะมีปฏิกิริยากับเจียวกู่หลานได้แก่:

    ยากดภูมิคุ้มกัน

    • อะซาไธโอพรีน (เช่น อิมูราน), บาซิลิซิแมบ (เช่น ซิมูเลคท์), ไซโคลสโปริน (เช่น นีโอรอล, แซนอิมมิวน์), ดาคลิซูแมบ (เช่น เซนาแพกซ์), มูโรโมแนบ ซีดี3 (เช่น โอเคที 3, ออโธโคลน โอเคที 3), ไมโคเฟโนเลท (เช่น เซลเซปท์), ทาโครลิมัส (เช่น เอฟเค 506, โปรกราฟ), ซิโรลิมัส (เช่น ราพามิวน์), เพรดนิโซน (เช่น เดลต้าโซน, โอราโซน), คอร์ติคอสเตรอยด์ (เช่น กลูโคคอร์ติคอยด์) และอื่นๆ เจียวกู่หลานเพิ่มระบบภูมิคุ้มกัน ซึ่งการเพิ่มระบบภูมิคุ้มกันนั้น เจียวกู่หลานอาจไปลดประสิทธิภาพของยากดภูมิคุ้มกันได้

    ยาต้านเกล็ดเลือด

    • แอสไพริน, โคลพิโดเกรล (เช่น พลาวิกซ์), ไดโคลฟีแนค (โวลทาเรน, คาทาเฟลม และอื่นๆ), อิบูโพรเฟน (แอดวิล, มอทริน และอื่นๆ), นาโพรเซน (แอนนาพรอกซ์, นาโพรซิน และอื่นๆ), ดาลเทพาริน (แฟรกมิน), เอโนซาพาริน (เลิฟนอกซ์), เฮพาริน, วาร์ฟาริน (คอมาดิน) และอื่นๆ เจี๋ยวกู่หลานทำให้เลือดเป็นลิ่มช้าลง การใช้เจี๋ยวกู่หลานร่วมกับยาต้านเกล็ดเลือดอาจเพิ่มโอกาสในการช้ำลือดหรือตกเลือด

    ขนาดการใช้

    ข้อมูลนี้ไม่ใช่คำแนะนำจากแพทย์โดยตรง ควรปรึกษาผู้เชี่ยวชาญทางด้านสมุนไพรหรือแพทย์ก่อนใช้ยาเสมอ

    ปกติแล้วควรใช้เจียวกู่หลานในปริมาณเท่าใด

    ขนาดการใช้อาหารเสริมประเภทสมุนไพรชนิดนี้อาจแตกต่างกันไปในผู้ป่วยแต่ละราย ปริมาณยาที่ใช้ขึ้นอยู่กับช่วงอายุ สุขภาพและปัจจัยอื่น ๆ ผลิตภัณฑ์อาหารเสริมอาจไม่ปลอดภัยเสมอไป โปรดปรึกษาผู้เชี่ยวชาญด้านสมุนไพรหรือแพทย์ผู้ทำการรักษาสำหรับปริมาณที่เหมาะสม

     

    สมุนไพรดังกล่าวอาจอยู่ในรูปแบบใด

    สมุนไพรดังกล่าวอาจอยู่ในรูปแบบต่อไปนี้ :

    • สารสกัดน้ำ
    • ชนิดผง
    • ทิงเจอร์

    Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำทางการแพทย์ การวินิจฉัยโรคหรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

    หมายเหตุ

    Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

    ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

    ทีม Hello คุณหมอ


    เขียนโดย Ploylada Prommate · แก้ไขล่าสุด 01/06/2020

    advertisement iconโฆษณา

    คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

    advertisement iconโฆษณา
    advertisement iconโฆษณา