backup og meta

สัญญาณเตือนที่บอกว่าคุณ ติดมือถือ มากเกินไปแล้ว

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย ออมสิน แสนล้อม · แก้ไขล่าสุด 11/05/2020

    สัญญาณเตือนที่บอกว่าคุณ ติดมือถือ มากเกินไปแล้ว

    ติดมือถือ เป็นโรคที่กำลังระบาดอย่างหนักในทั่วทุกภูมิภาคของโลก ซึ่งมีผลร้ายต่อสุขภาพมากมายหลายประการ ฉะนั้น ถ้าใครยังไม่รู้ตัวว่าเป็นโรคนี้อยู่ ก็ลองตรวจเช็ดดูนะว่าคุณมีอาการดังต่อไปนี้อยู่หรือเปล่า

    5 สัญญาณเตือนว่าคุณกำลัง ติดมือถือ

    1. คุณประสาทกินเมื่อแบตมือถือเหลือน้อย

    ถ้าหัวใจของคุณเต้นตูมตามหรือมีเหงื่อออกที่มือ เวลาที่แบตมือถือกำลังจะหมดล่ะก็ ขอให้เข้าใจไว้เลยว่าคุณกำลังโดนโรคติดโทรศัพท์มือถือเล่นงานเข้าให้แล้วล่ะ เนื่องจากการวิตกกังวลว่าคุณจะไม่สามารถติดต่อใครได้ ไม่สามารถเช็คอีเมล และไม่สามารถตรวจดูความเคลื่อนไหวในสื่อสังคมออนไลน์นั้น คือตัวบ่งบอกที่ชัดเจนว่าคุณเป็นโรคติดโทรศัพท์มือถือ!

    2. คุณออกจากบ้านไม่ได้ถ้าไม่มีมือถือ

    การไม่มีสมาธิที่จะทำอะไรได้ถ้าไม่มีสมาร์ทโฟนอยู่ในมือนั้น คือสัญญาณที่บ่งบอกว่าคุณกำลังหมกหมุ่นอยู่กับอะไรแบบไร้สติ ซึ่งควรหาวิธีบำบัดโรคติดโทรศัพท์มือถือได้แล้ว เพราะโลกใบนี้มีสิ่งที่น่าสนใจอยู่ตั้งมากมาย ถ้าคุณเอาแต่ก้มหน้าก้มตาสไลด์หน้าจอโทรศัพท์มือถืออยู่ คุณก็จะพลาดสิ่งที่น่าสนใจเหล่านี้ไปจนหมด

    3. คุณรู้สึกหงุดหงิดมากถ้าใช้มือถือไม่ได้

    สัญญาณที่ชัดเจนอีกอย่างหนึ่งก็คือ คุณจะรู้สึกระทมทุกข์มากถ้าอยู่ห่างจากโทรศัพท์มือถือ และรู้สึกประสาทเสียเอามากๆ ถ้าไม่สามารถใช้โทรศัพท์มือถือได้ ซึ่งถ้ามีใครมาบอกให้คุณวางมือถือลงในระหว่างดินเนอร์ล่ะก็ คุณอาจมีอารมณ์ฉุนเฉียวขึ้นมาเลยก็ได้

    4. คุณเช็คมือถือในขณะขับรถ

    การเช็คมือถือขณะขับรถ เป็นการกระทำที่เสี่ยงต่อชีวิตทั้งของคุณเองหรือของผู้อื่น อาการนี้ก็เป็นสัญญาณที่บ่งบอกว่าคุณเป็นโรคติดโทรศัพท์มือถือขั้นรุนแรง เพราะนั่นจะทำให้คุณตัดสินใจอะไรได้ช้ากว่าตอนเมาแล้วขับซะอีกนะ แถมยังช้าเป็นสามเท่า เมื่อเปรียบเทียบกับการยกโทรศัพท์ขึ้นมาแนบหูในขณะขับรถ นี่เป็นการกระทำที่บ่งบอกว่าคุณกลัวจะส่งข้อความไม่ทันมากกว่าจะกลัวตาย

    5. คุณใช้มือถือเช็คเรื่องงานในขณะลาพักร้อน

    ผลการศึกษาวิจัยพบว่าผู้คน 60 เปอร์เซ็นต์ที่กลับมาจากการไปเที่ยวพักร้อนนั้น มักจะไม่รู้สึกกระปรี้เปร่าหรือเฟรซขึ้น เนื่องจากยังต้องติดต่อเรื่องงานและเช็คอีเมลอยู่ ซึ่งนี่เป็นสัญญาณที่ชัดเจนของโรคติดโทรศัพท์มือถือ ซึ่งจะทำให้ไม่รุ่งทั้งในเรื่องการงานและชีวิตส่วนตัว

    ปรับเปลี่ยนไลฟ์สไตล์ในการใช้มือถือ

    สำหรับผู้คนโดยส่วนใหญ่แล้ว การควบคุมการใช้สมาร์ทโฟนและอินเตอร์เน็ตน้น ไม่ใช่การเลิกใช้แบบหักดิบ แต่เป็นอะไรที่คล้ายๆ การควบคุมอาหารนั่นแหละ เพราะยังไงๆ คุณก็ยังต้องกินอาหารให้มีชีวิตอยู่ต่อไป แต่แค่กินให้น้อยลง เพื่อให้มีสุขภาพที่ดีขึ้นเท่านั้นเอง และนี่คือวิธี…

    • จัดตารางการใช้โทรศัพท์มือถือ เช่น จัดตารางการใช้โทรศัพท์ในช่วงเวลาที่แน่นอนในแต่ละวัน โดยอาจให้รางวัลตนเองที่จะมีเวลาใช้โทรศัพท์ได้มากขึ้น ถ้าสามารถทำงานบ้านหรืองานอะไรเสร็จเรียบร้อยแล้ว
    • ปิดโทรศัพท์มือถือ ในช่วงเวลาที่แน่นอนในแต่ละวัน อย่างเช่น เวลาที่คุณขับรถ เข้าประชุม ออกกำลังกาย กินข้าว หรือเล่นกับลูกน้อย และไม่ควรนำมือถือเข้าไปใช้ในห้องน้ำด้วย
    • อย่าใช้มือถือหรือแท็บเล็ตบนเตียงนอน แสงสีฟ้าที่ออกมาจากหน้าจอโทรศัพท์นั้นอาจรบกวนการนอนหลับของคุณได้ ถ้าคุณใช้มือถือในช่วงก่อนเข้านอนสองชั่วโมง ฉะนั้นก็ปิดมือถือแล้วเสียบสายชาร์จในอีกห้องหนึ่ง แล้วหยิบหนังสือที่เป็นหนังสือจริงๆ ขึ้นมาอ่านในช่วงก่อนนอนแทน
    • หากิจกรรมอย่างอื่นทำ ถ้าคุณรู้สึกเบื่อหรือเหงา การข่มความรู้สึกไม่ให้ใช้สมาร์ทโฟนจะกลายเป็นเรื่องยากลำบากได้ ฉะนั้น ก็วางแผนการฆ่าเวลาของคุณเอาไว้ให้ดี ไม่ว่าจะเป็นการนั่งสมาธิ การอ่านหนังสือ หรือการพบปะพูดคุยกับเพื่อนๆ
    • ลบแอปโซเชียลมีเดียออกจากมือถือ เพื่อจะได้เช็คเฟซบุค ทวิตเตอร์ และยอดไลค์ต่างๆ ได้ทางคอมพิวเตอร์ได้ทางเดียว แล้วอย่าลืมนะว่าสิ่งที่คุณเห็นบนโลกออนไลน์นั้น ไม่ใช่ภาพสะท้อนที่แท้จริงบนโลกแห่งความเป็นจริง ฉะนั้น หยุดนำตัวเองไปเปรียบเทียบกับใคร หรือเลิกใส่อารมณ์กับเรื่องราวดราม่าบนโลกอินเตอร์เน็ตได้แล้ว
    • จำกัดการตรวจเช็คมือถือ ถ้าคุณตรวจเช็คอะไรในมือถือทุกๆ สองนาทีอยู่ล่ะก็ เลื่อนเวลาออกไปให้นานขึ้นซะ โดยจำกัดเวลาตัวเองให้ตรวจเช็คได้ทุกๆ 15 นาที จากนั้น ก็เพิ่มเป็นทุกๆ 30 นาที และทุกๆ หนึ่งชั่วโมงในที่สุด
    • ไม่ต้องกลัวว่าจะพลาดอะไร คุณต้องทำใจยอมรับให้ได้ว่า คุณไม่มีทางที่จะติดตามข่าวเด็ดหรือเรื่องชวนเม้าท์มอยได้ทุกเรื่องหรอกนะ ซึ่งถ้าคุณทำใจยอมรับได้ คุณก็จะเป็นอิสระจากเครื่องมืออิเล็กทรอนิกส์ทุกชนิด

    Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค และการรักษาโรคแต่อย่างใด

    หมายเหตุ

    Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

    ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

    ทีม Hello คุณหมอ


    เขียนโดย ออมสิน แสนล้อม · แก้ไขล่าสุด 11/05/2020

    advertisement iconโฆษณา

    คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

    advertisement iconโฆษณา
    advertisement iconโฆษณา