backup og meta

วิธีจัดการกับ ความเหงา ก่อนกลายเป็นปัญหาสุขภาพจิต

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย Sopista Kongchon · แก้ไขล่าสุด 29/03/2021

    วิธีจัดการกับ ความเหงา ก่อนกลายเป็นปัญหาสุขภาพจิต

    ทุกคนคงเคยรู้สึกเหงาบ้างเป็นบางครั้งบางคราว และหลายคนอาจรู้สึกเหงาและโดดเดี่ยว โดยเฉพาะในช่วงเทศกาล เช่น วันปีใหม่หรือวันวาเลนไทน์ มีผลสำรวจที่พบว่ามีคนเหงาในช่วงวันหยุดยาวเป็นจำนวนมาก แต่หลายคนกลับไม่รู้ว่าต้องจัดการกับ ความเหงา อย่างไร หรือเลือกที่จะไม่พูดถึงความเหงาและความโดดเดี่ยวแล้วความเหงาส่งผลต่อสุขภาพอย่างไร รวมถึงวิธีรับมือกับความเหงาและความโดดเดี่ยว ก่อนที่จะกลายเป็นปัญหาสุขภาพจิต

    ความเหงา กับสุขภาพจิต

    เมื่ออายุมากขึ้น หลายคนคงจินตนาการว่าพวกเขาจะกลายเป็นผู้สูงอายุที่มีความสุข เพราะรายล้อมไปด้วยเพื่อนฝูงและครอบครัว แต่ในความเป็นจริงแล้ว ผู้สูงอายุหลายคนอาศัยอยู่ตามลำพัง เนื่องจากมีรายงานจากสถาบัน The National Council on Aging ว่า ผู้สูงอายุ 1 ใน 6 คนที่มีอายุ 65 ปีขึ้นไปอยู่ตามลำพัง และจากการสำรวจในปี 2010 พบว่า 25% ของผู้สูงอายุที่มีอายุ 70 ปีขึ้นไปบอกว่าพวกเขารู้สึกเหงา

    นอกจากนี้ สำหรับวัยผู้ใหญ่และวัยรุ่น ก็มีงานวิจัยที่ชี้ว่าระดับความเหงาที่สูงกว่า สัมพันธ์กับอาการของโรคซึมเศร้า (Depression) ที่มากกว่า และความสัมพันธ์ระหว่างความเหงากับภาวะซึมเศร้ายังคงมีอยู่ตลอดชีวิต ดังนั้น ถ้าคุณรู้สึกเหงาและโดดเดี่ยว สามารถใช้วิธีเหล่านี้เพื่อจัดการกับความเหงาได้ดังนี้

    วิธีจัดการกับความเหงา

    1. ใช้เวลาอยู่กับเพื่อนและครอบครัว

    เพียงแค่การโทรหา หรือวิดีโอคอลกับเพื่อนและครอบครัวก็อาจช่วยบรรเทาความเหงาได้แล้ว นอกจากนี้ คุณอาจชวนเพื่อนหรือครอบครัวไปทำกิจกรรมร่วมกัน เช่น ออกกำลังกาย หรือเดินเล่นในสวนสาธารณะ ที่นอกจากจะได้จัดการกับความเหงาแล้วยังทำให้สุขภาพดีขึ้นอีกด้วย

    2. เข้าร่วมกลุ่มที่คุณสนใจ

    เวลาที่อยู่คนเดียว คุณอาจสนใจแต่ตัวเองมากเกินไป และจมกับความรู้สึกเศร้าและกังวล แต่เมื่ออยู่กับผู้อื่น คุณจะเปลี่ยนความสนใจ และเมื่อคิดเรื่องของตัวเองน้อยลง ความกังวลหรือความเครียดก็จะลดลงด้วย ดังนั้น คุณอาจลองสมัครเข้าร่วมกลุ่ม เพื่อทำกิจกรรมที่คุณสนใจ เช่น กลุ่มวาดภาพสีน้ำ กลุ่มเต้นแอโรบิค กลุ่มปั่นจักรยาน หรือกลุ่มคนชอบถ่ายรูป ก็เป็นวิธีจัดการกับความเหงาที่น่าสนใจ

    3. เลี้ยงสัตว์

    สัตว์เลี้ยงโดยเฉพาะสุนัขกับแมว มีประโยชน์ต่อทั้งสุขภาพกายและสุขภาพจิตของคุณ รวมถึงยังอาจทำให้คุณไม่รู้สึกเหงาอีกด้วย นอกจากนี้ การพาสัตว์เลี้ยงไปในสถานที่ต่าง ๆ เช่น การพาสุนัขไปเดินเล่น อาจทำให้คุณได้พูดคุยกับผู้ที่เลี้ยงสุนัขเหมือนกัน หรือได้เข้าร่วมชมรมคนรักสัตว์ ก็สามารถทำให้ลืมความเหงาและความโดดเดี่ยวได้

    4. ทำกิจกรรมจิตอาสา

    การเป็นอาสาสมัคร จะทำให้คุณได้เข้าร่วมกลุ่ม และพบปะกับผู้คน ซึ่งนอกจากจะได้ประสบการณ์ใหม่ ๆ แล้วยังได้ช่วยเหลือผู้อื่นอีกด้วย นอกจากนี้ การทำจิตอาสา ยังสามารถช่วยให้คุณค้นหาความหมายของชีวิต และทั้งหมดนี้สามารถเพิ่มความสุขและความพึงพอใจในชีวิต รวมทั้งทำให้ความเหงาลดลงด้วย

    5. หาเพื่อนคุยทางอินเทอร์เน็ต ที่สนใจในเรื่องเดียวกัน

    มีหลายคนในโลกออนไลน์ที่ต้องการพูดคุยกับคนที่สนใจในเรื่องเดียวกัน คุณอาจเข้าร่วมกลุ่มในเฟซบุ๊กในเรื่องที่คุณสนใจ เพื่อพูดคุยสนทนากับคนในกลุ่ม แต่อย่างไรก็ตาม ไม่ควรให้ข้อมูลส่วนตัวแก่เพื่อนที่เจอทางอินเทอร์เน็ต เช่น รหัสบัตรประชาชน ที่อยู่ หรือเบอร์โทรศัพท์

    หมายเหตุ

    Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

    ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

    ทีม Hello คุณหมอ


    เขียนโดย Sopista Kongchon · แก้ไขล่าสุด 29/03/2021

    advertisement iconโฆษณา

    คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

    advertisement iconโฆษณา
    advertisement iconโฆษณา