backup og meta

ทำไมเราจึง ฝัน ความฝันเป็นลางบอกเหตุอะไรหรือเปล่า...เรามีคำตอบ

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย ออมสิน แสนล้อม · แก้ไขล่าสุด 10/07/2020

    ทำไมเราจึง ฝัน ความฝันเป็นลางบอกเหตุอะไรหรือเปล่า...เรามีคำตอบ

    ฝัน ทำไมเราจึงฝัน ความฝันเกิดจากอะไร ความฝันมีความหมายอะไรหรือเปล่า คำถามพวกนี้แม้นักวิทยาศาสตร์และนักจิตวิทยาจะยังตอบได้ไม่ชัดเจน แต่ก็มีผลการศึกษาวิจัยหลายต่อหลายชิ้น ที่ทำให้เราพอจะเข้าใจที่มาที่ไปของความฝันนั้นได้

    ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับความ ฝัน

    • ถึงแม้เราจะจำความฝันไม่ได้ แต่ผู้เชี่ยวชาญต่างก็คิดว่าในคืนๆ หนึ่งนั้น เราจะฝันกัน 3 ถึง 6 เรื่อง
    • เชื่อกันว่าความฝันแต่ละเรื่องนั้น มีความยาวประมาณ 5 ถึง 20 นาที
    • เมื่อตื่นขึ้นมานั้น คนเราจะลืมความฝันถึงประมาณ 95 เปอร์เซ็นต์
    • ความฝันสามารถช่วยให้เราเรียนรู้ และพัฒนาความทรงจำในระยะยาวได้
    • ผู้พิการทางสายตา มักจะฝันเกี่ยวกับประสาทสัมผัสทางด้านอื่น ได้มากกว่าคนสายตาดี

    ทำไมเราถึงต้องฝัน

    มีอยู่หลายทฤษฎีที่อธิบายว่า ทำไมเราถึงต้องฝัน ความฝัน เป็นส่วนหนึ่งของวงจรในการนอนหลับของคนเราหรือเปล่า? หรือความฝันเกิดขึ้นเพื่อจุดประสงค์อย่างอื่น? ซึ่งคำชี้แจงที่อาจจะช่วยให้เราคลายความสงสัยลงได้มีดังต่อไปนี้

  • ความฝันเป็นตัวแทนของความปรารถนา และความต้องการจากจิตใต้สำนึก
  • ความฝันเป็นการถอดความหมายของสัญญาณต่างๆ ที่ส่งจากสมองไปยังส่วนต่างๆ ของร่างกายในขณะที่เรานอนหลับ
  • ความฝันเป็นการรวบรวม และประมวลผลข้อมูลต่างๆ ที่เราได้รับมาตลอดทั้งวัน
  • ความฝันทำหน้าที่เป็น จิตบำบัดอย่างหนึ่ง
  • จากหลักฐานและวิธีการทำการศึกษาวิจัยแบบใหม่ๆ นักวิจัยก็สันนิษฐานได้ว่า ความฝันเกิดขึ้นเพื่อช่วยในการทำงานดังต่อไปนี้

    • กลั่นกรองความทรงจำในขณะนอนหลับ ซึ่งสมองได้ทำการรวบรวมการเรียนรู้ และภาระกิจทางด้านความทรงจำต่างๆ และบันทึกการรับรู้ในขณะที่ตื่นอยู่เอาไว้
    • จัดเตรียมภาพจำลองจากประสบการณ์ในชีวิตจริงไว้ใช้ในอนาคต เนื่องจากความฝันเป็นระบบย่อยของเครือข่ายเริ่มต้นของการตื่น ซึ่งมีบางส่วนของจิตใจยังทำงานอยู่ในขณะที่ฝัน
    • ช่วยพัฒนาความสามารถทางด้านสติปัญญา
    • สะท้อนการทำงานของจิตใต้สำนึกในรูปแบบของจิตวิเคราะห์
    • เป็นแหล่งรวบรวมประสบการณ์ในปัจจุบัน ประมวลผลประสบการณ์ในอดีต และจัดเตรียมเอาไว้สำหรับอนาคต
    • มีสิ่งที่เรายังไม่รู้เกี่ยวกับความฝันอีกมากมาย ธรรมชาติเต็มไปด้วยสิ่งลี้ลับ ที่นำมาเรียนรู้ในห้องทดลองได้ยาก แต่ด้วยเทคโนโลยีใหม่ๆ และเทคนิคในการทำการศึกษาวิจัยแบบใหม่ๆ ก็อาจช่วยให้เราเข้าใจอะไรๆ เกี่ยวกับความฝันมากขึ้นได้ในอนาคต

    ความฝันบ่งบอกถึงอะไร

    ก็เหมือนกับความคิดเห็นต่างๆ นานากับคำถามที่ว่า ทำไมเราถึงต้องฝันนั่นแหละ ความฝันบ่งบอกถึงอะไรจึงมีการสันนิษฐานเอาไว้มากมายหลายอย่าง ผู้เชี่ยวชาญบางคนก็บอกว่า ความฝันไม่มีส่วนเชื่อมโยงกับอารมณ์ และความนึกคิดของเราจริงๆ ความฝันเป็นเพียงเรื่องแปลกๆ ที่ไม่เกี่ยวข้องกับชีวิตจริงของเราเลย

    บางคนก็บอกว่า ความฝันอาจสะท้อนความรู้สึกนึกคิดที่อยู่ภายในจิตใจของเราออกมา ไม่ว่าจะเป็นความปรารถนา ความกลัว และความกังวลในก้นบึ้งแห่งจิตใจ โดยเฉพาะความฝันที่เป็นเรื่องซ้ำๆ กัน ในการถอดความหมายจากความฝันของเรานั้น เราก็อาจได้ข้อมูลเชิงลึกในชีวิตของเราเองได้ และมีหลายคนที่บอกว่า ความฝันเกิดขึ้นจากไอเดียเริ่ดๆ ในขณะที่เรานอนหลับ ฉะนั้น ความฝันก็อาจมีส่วนเชื่อมโยงถึงความคิดสร้างสรรค์

    ความฝันอาจเป็นลางบอกเหตุ

    ถึงแม้จะมีตัวอย่างอยู่มากมาย ที่ความฝันกลายเป็นจริงขึ้นมา หรือความฝันกำลังพยายามจะบอกอะไรเรา เกี่ยวกับสิ่งที่จะเกิดขึ้นในอนาคต แต่เวลาที่ความฝันกลายเป็นความจริงขึ้นมานั้น ผู้เชี่ยวชาญก็สันนิษฐานว่าน่าจะเพราะสิ่งต่อไปนี้

    • เรื่องบังเอิญ
    • หน่วยความจำที่ผิดพลาด
    • ความมีสติที่กำลังพยายามกลั่นกรองข้อมูลที่รับได้มา

    แต่อย่างไรก็ตาม บางครั้งความฝันก็กลายเป็นตัวกระตุ้นให้เราลงมือทำอะไรบางอย่าง ดังนั้น ความฝันจึงมีส่วนเปลี่ยนแปลงอนาคตของเราได้เหมือนกัน

    ทำไมเราถึงฝันร้าย

    ฝันร้ายมักเกิดขึ้นทั้งกับเด็กและผู้ใหญ่ ซึ่งโดยส่วนใหญ่ก็มักจะมีสาเหตุมากจาก

    • ความเครียด ความสบสน และความกลัว
    • การได้รับบาดเจ็บ
    • ปัญหาทางด้านอารมณ์
    • มีการใช้ยา
    • ป่วย

    ความฝันในเรื่องเดิมๆ เกิดขึ้นซ้ำๆ จิตใจสำนึกก็อาจพยายามจะบอกอะไรคุณ คุณก็ควรพิจารณาความฝันให้ดี ถ้าคุณคิดไม่ออกว่าทำไมถึงฝันร้ายแบบนี้บ่อยๆ ก็ไปคุยกับจิตแพทย์ซะ ซึ่งคุณหมออาจจะช่วยคุณหาสาเหตุของฝันร้าย และแนะนำเคล็ดลับดีๆ ให้คุณได้

    Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค และการรักษาโรคแต่อย่างใด

    หมายเหตุ

    Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

    ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

    ทีม Hello คุณหมอ


    เขียนโดย ออมสิน แสนล้อม · แก้ไขล่าสุด 10/07/2020

    advertisement iconโฆษณา

    คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

    advertisement iconโฆษณา
    advertisement iconโฆษณา