backup og meta

เดี๋ยวหัวเราะ เดี๋ยวร้องไห้ ระวังเป็น โรคพีบีเอ (PBA) โดยไม่รู้ตัว!

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย ปัญญพัฒน์ เอี่ยมสิน · แก้ไขล่าสุด 11/05/2020

    เดี๋ยวหัวเราะ เดี๋ยวร้องไห้ ระวังเป็น โรคพีบีเอ (PBA) โดยไม่รู้ตัว!

    ร้องไห้ทั้งที่ไม่ได้รู้สึกเสียใจ หัวเราะทั้งที่ไม่มีเรื่องให้ขำ ฟันธง! ได้เลยว่าคุณกำลังเข้าสู่ โรคพีบีเอ (PBA) หรืออาการที่ตัวละครในหนังดังเรื่องหนึ่งกำลังเป็นอยู่นั่นก็คือ โจ๊กเกอร์ จนทำให้หลายคนเกิดข้อสงสัยเกี่ยวกับอาการนี้เป็นอย่างมาก ซึ่งในชีวิตจริงก็มีผู้ป่วยบางกลุ่มกำลังเผชิญต่อสู้กับโรคนี้ไม่แพ้กัน วันนี้ Hello คุณหมอ ขออาสาพาทุกคนมารู้จักโรคพีบีเอ และเช็กอาการสุ่มเสี่ยงที่คุณอาจยังไม่รู้ตัว

    โรคพีบีเอ (PBA) ร้ายแรงอย่างที่เราคิดกันไว้ไหมนะ ?

    โรคพีบีเอ (Pseudobulbar impact) หรือ (PBA) เป็นสภาวะอาการทางอารมณ์ที่ไม่สามารถควบคุมได้ในเรื่องของการหัวเราะ และร้องไห้ ซึ่งผู้ป่วยจะแสดงอาการออกมาอย่างฉับพลันทำให้คนรอบข้างไม่ทันตั้งตัวเลยทีเดียว ผู้ป่วยเหล่านี้ไม่ได้จัดอยู่ในโรคทางจิต เพียงแต่อาจเคยได้รับการกระทบกระเทือน อย่างรุนแรงทางระบบประสาทจึงทำให้สมองที่ทำหน้าที่ควบคุมอารมณ์นั้นได้รับความเสียหาย

    นักวิทยาศาสตร์ท่านหนึ่งเชื่อว่าโรคพีบีเอ เกิดจากความเสียหายต่อเยื่อหุ้มสมองส่วนหน้า (prefrontal cortex) ซึ่งเป็นส่วนที่ช่วยควบคุมอารมณ์ รวมถึงการเปลี่ยนแปลงของสารเคมีในสมองที่เชื่อมโยงกับภาวะซึมเศร้า และอารมณ์แปรปรวน เป็นเงื่อนไขที่ทำให้ผู้ป่วยนั้นเริ่มมีอาการหัวเราะ หรือร้องไห้ออกมาโดยที่หาสาเหตุไม่ได้

    เช็กอาการของคุณว่ากำลังเข้าข่ายโรคพีบีเอ อยู่หรือเปล่า …

    สัญญาณหลักของโรคพีบีเอสังเกตได้ง่าย ดังนี้

    • อาการหัวเราะ หรือร้องไห้ออกมาโดยไม่มีสาเหตุ
    • การร้องไห้ และหัวเราะ เป็นเวลานานหลายนาที หรือเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องถี่ๆ ในระยะเวลาสั้น
    • รับประทานอาหารได้น้อยลง
    • รู้สึกเศร้าปะปน
    • มีปัญหาด้านการนอนผิดปกติ เช่น นอนไม่หลับ เวลานอนไม่สม่ำเสมอ

    นอกจากสัญญาณสุ่มเสี่ยงเบื้องต้นที่กล่าวมาแล้วยังมีปัจจัย หรืออาการอื่นที่เกี่ยวข้องกับในการเข้าสู่ภาวะโรคพีบีเอ นั่นก็คือ

    • โรคหลอดเลือดสมองตีบ
    • โรคอัลไซเมอร์ (Alzheimer’s Disease)
    • โรคพาร์กินสัน (Parkinson’s Disease)
    • โรคปลอกประสาทเสื่อม (Multiple Sclerosis)
    • อุบัติเหตุที่ได้รับการกระทบกระเทือนจากสมองส่วนหน้า (Prefrontal cortex)

    หายห่วง ! โรคพีบีเอรักษาได้ทั้งทางการแพทย์ และตัวคุณ

    การรักษาโรคพีบีเอสามารถนำเทคนิคการผ่อนคลายทั่วไปมาช่วยบำบัดได้ เช่น

    • การกำหนดลมหายใจเข้า – ออก สูดลมหายใจเข้าปอดลึกๆ
    • การนั่งสมาธิบำบัดจิตใจให้สงบ
    • ออกกำลังกายโดยการฝึกโยคะ
    • ศิลปะ และดนตรีคลาสสิกบำบัดอารมณ์

    หากผู้ป่วยอยู่ในกรณีที่บำบัดได้ยาก หรือมีอาการแทรกซ้อนเพิ่มขึ้นควรเข้าขอรับคำปรึกษาจากแพทย์ ทั้งนี้แพทย์ผู้เชี่ยวชาญอาจให้คุณรับประทานยารักษาร่วมด้วยซึ่งเป็นยาเข้าไปรักษาปรับสมดุลทางเคมีในระบบประสาทโดยตรง เพื่อระงับอารมณ์ อาการหัวเราะ หรือร้องไห้โดยเฉียบพลัน

    ในช่วงปี 2010 สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (FDA) ได้อนุมัติยารักษาชนิดหนึ่งที่ชื่อว่า นิวเด็กซ์ตร้า (Nuedexta )  และเป็นผู้ผลิตยารายเดียวที่ได้รับการอนุมัติจากองค์การอาหารและยาให้รักษาโรคพีบีเอ

    Hello Health Group ไม่ได้ให้คำปรึกษาด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

    หมายเหตุ

    Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

    ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

    ทีม Hello คุณหมอ


    เขียนโดย ปัญญพัฒน์ เอี่ยมสิน · แก้ไขล่าสุด 11/05/2020

    advertisement iconโฆษณา

    คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

    advertisement iconโฆษณา
    advertisement iconโฆษณา