backup og meta

ไม่พูด ไม่ได้แปลว่าฉันหยิ่ง แต่ฉันเพียง กลัวการถูกเยาะเย้ย ในสังคม

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย ปัญญพัฒน์ เอี่ยมสิน · แก้ไขล่าสุด 02/02/2021

    ไม่พูด ไม่ได้แปลว่าฉันหยิ่ง แต่ฉันเพียง กลัวการถูกเยาะเย้ย ในสังคม

    การที่ถูกสังคมรอบข้างพูดหยอกล้อ ในเรื่องต่าง ๆ ไม่ว่าจะด้วยเจตนาดี หรือเจตนาไม่ดีนั้น เราไม่สามารถรับรู้ได้เลยว่าแท้จริงแล้ว ความรู้สึกของผู้ถูกกระทำจะเป็นเช่นไร เพราะเพียงแค่เราเผลอพลั้งสนุกปากออกไปโดยไม่ไตร่ตรอง ก็อาจทำให้คนที่รับฟังเก็บไปคิดมาก ยิ่งผู้ที่มีภาวะจิตใจอ่อนไหว คำพูดของคุณอาจสร้างปมภายในใจจนเกิดความวิตกกังวล สูญเสียความมั่นใจ และนำไปสู่อาการทางจิตอย่างโรค กลัวการถูกเยาะเย้ย ด้วยเช่นกัน Hello คุณหมอ จึงมีบทความดี ๆ ที่จะขอพาทุกคนผู้ที่กำลังประสบกับปัญหาดังกล่าว มาทราบถึงวิธีจัดการกับความกลัวนี้ไปพร้อม ๆ กันค่ะ

    อาการ กลัวการถูกเยาะเย้ย คืออะไร

    อาการกลัวการถูกเยาะเย้ย (Gelotophobia) คือ ความกลัวที่เกิดขึ้นเมื่อมีบุคคลแปลกหน้า หรือสังคมรอบข้างต่าง ๆ ในชีวิตประจำวัน เช่น เพื่อนร่วมงาน ครอบครัว หัวเราะเยาะในการกระทำบางอย่างของคุณ เวลาคุณทำพลาดในสิ่งที่ไม่ได้ตั้งใจลงไป และนำมาพูดล้อเลียนเป็นเรื่องตลกขบขัน

    นักวิจัยจากมหาวิทยาลัยซูริค ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ค้นพบว่าอาการกลัวการถูกหัวเราะเยาะ มักเกิดขึ้นกับในช่วงวัยผู้ใหญ่ได้มากกว่าวัยอื่น ๆ จากการสอบถาม 22,000 คน ทั้ง 73 ประเทศ รวม 93 ตัวอย่างที่เกี่ยวข้องสรุปได้ว่า การกระทำเช่นนี้ถือเป็นสิ่งอันตรายที่สามารถกระทบต่อจิตใจพวกเขาโดยตรงอย่างมากเลยทีเดียว

    เมื่อต้องพบเจอผู้คน ร่างกายของคุณอาจมีปฏิกิริยาเหล่านี้

    แน่นอนว่าการถูกหัวเราะเยาะ หรือการถูกเยาะเย้ย เป็นสิ่งที่ค่อนข้างน่าอายเวลาที่มีผู้มาพูดท่ามกลางคนหมู่มาก และเป็นการโจมตีที่รุนแรงต่อจิตใจด้วยวาจา เมื่อถึงเวลาเกิดการสะสมนานวันเข้า จึงอาจก่อให้เกิดอาการบางอย่างหนักขึ้น หากต้องเผชิญหน้ากับกลุ่มคนนั้น ๆ เช่น

    • ไม่มีสมาธิ
    • ใจสั่น หัวใจเต้นเร็ว
    • เหงื่อออกมากตามร่างกาย
    • วิงเวียนศีรษะ ปวดหัว
    • ริมฝีปากแห้ง
    • อารมณ์แปรปรวนไม่คงที่
    • รู้สึกไม่เป็นตัวของตัวเอง

    ซึ่งอาการข้างต้นสามารถเป็นไปได้ตามอัตโนมัติ ในบางครั้งอาจก่อให้เกิดพฤติกรรมที่รุนแรงขึ้นอีกด้วย เช่น การทำร้ายร่างกายตนเอง หรือผู้หัวเราะเยาะ เป็นต้น ดังนั้นสังคมรอบข้างจึงไม่ควรปล่อยปะละเลยถึงการกระทำนี้ และควรปรับเปลี่ยน เพื่อสร้างบรรยากาศ ความสุข ในการอยู่ร่วมกัน จะเป็นผลดีกับทุกฝ่ายค่ะ

    วิธีเอาชนะต่อความ กลัวการถูกเยาะเย้ย

    การที่มีคนที่รักคุณอยู่รอบข้างคอยให้กำลังใจ ก็เป็นอีกหนึ่งสิ่งที่สำคัญต่อการเยียวยาจิตใจพวกเขาในขณะที่เขาโดนทำร้ายความรู้สึกจากโลกภายนอกมา แต่ก็ยังคงจำเป็นที่ต้องเข้าขอคำปรึกษาจากแพทย์ หรือนักบำบัดร่วมด้วยเช่นกัน เพราะการพึ่งพาผู้เชี่ยวชาญที่มีประสบการณ์มากกว่า อาจช่วยให้คุณได้รับขั้นตอนที่ถูกต้อง และกำจัดความกลัวอาการถูกเยาะเย้ยนี้ไปได้ ดังนี้

  • บำบัดพฤติกรรมทางปัญญา (Cognitive behavioral therapy; CBT) คือ การสร้างความสัมพันธ์ในกระบวนการคิด การรับรู้ความรู้สึก และพฤติกรรมเข้าด้วยกัน เพื่อคลายความวิตกกังวล เมื่อต้องตกอยู่ในสถานการณ์ดังเดิมอีกครั้ง หรือจะเรียกว่าเป็นการสร้างทางด้านการมองเห็นโลก สังคมในเชิงบวกก็ย่อมได้
  • การบำบัดทางจิตวิทยาแบบไดนามิก การรักษาด้วยวิธีนี้มีจุดมุ่งหมายที่อาจทำให้ผู้ป่วยรู้จักทำความเข้าใจ แก้ปัญหาอย่างสมเหตุสมผลในสถานการณ์ที่เขากำลังเผชิญได้อย่างไม่หวาดกลัว และเป็นการรับมือกับผู้คนกลุ่มนั้นได้ด้วยตนเอง
  • Hello Health Group ไม่ได้ให้คำปรึกษาด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

    หมายเหตุ

    Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

    ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

    ทีม Hello คุณหมอ


    เขียนโดย ปัญญพัฒน์ เอี่ยมสิน · แก้ไขล่าสุด 02/02/2021

    advertisement iconโฆษณา

    คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

    advertisement iconโฆษณา
    advertisement iconโฆษณา