backup og meta

มันสำปะหลัง พืชไร่เศรษฐกิจ โภชนาการสูงดีต่อร่างกาย

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย จินดารัตน์ สิริวิจักษณ์ · แก้ไขล่าสุด 11/05/2020

    มันสำปะหลัง พืชไร่เศรษฐกิจ โภชนาการสูงดีต่อร่างกาย

    รู้หรือไม่คะว่า มันสำปะหลัง นอกจากจะเป็นพืชเศรษฐกิจที่สำคัญของประเทศแล้ว ยังมีประโยชน์ต่อสุขภาพอีกด้วย วันนี้ Hello คุณหมอ จะพาทุกคนไปรู้จักกับมันสำปะหลัง ให้มากขึ้นกันค่ะ

     ทำความรู้จักมันสำปะหลัง (Cassava)

    มันสำปะหลัง (Cassava) เป็นพืชไร่ที่อุดมไปด้วยคาร์โบไฮเดรตและให้พลังงานสูง  อีกทั้งยังเป็นพืชเศรษฐกิจที่มีความสำคัญต่อเกษตรกรในประเทศไทย มีถิ่นกำเนิดอยู่แถบลุ่มเขตร้อนของทวีปอเมริกาใต้ คนส่วนใหญ่นิยมกินส่วนของรากมันสำปะหลัง (หัวมันสำปะหลัง) ซึ่งสามารถนำมาแปรรูปได้หลายรูปแบบ  เช่น ขนมปังที่ปราศจากสารกลูเตน (Gluten) โดยทำจากแป้งมันสำปะหลัง  ที่สำคัญคือ หากใครนำมันสำปะหลังมารับประทานต้องนำมาปรุงให้สุกก่อนรับประทาน หากรับประทานแบบดิบอาจทำให้ส่งผลเสียต่อสุขภาพร่างกายได้

    ข้อมูลโภชนาการของมันสำปะหลัง

    ข้อมูลโภชนาการมันสำปะหลังดิบ 1 ถ้วย มีดังต่อไปนี้

    • พลังงาน 330 แคลอรี่
    • โปรตีน 2.8 กรัม
    • คาร์โบไฮเดรต 78.4 กรัม
    • ใย 3.7 กรัม
    • แคลเซียม 33.0 มิลลิกรัม
    • โพแทสเซียม 558.0 มิลลิกรัม
    • วิตามินซี 42.4 มิลลิกรัม

    ข้อมูลโภชนาการมันสำปะหลังต้ม 100 กรัม มีดังต่อไปนี้

    • พลังงาน 112 แคลอรี่
    • คาร์โบไฮเดรต 27 กรัม
    • ไฟเบอร์ 1 กรัม
    • ไทอามีน 20% ของปริมาณสารอาหารที่แนะนำให้บริโภคต่อวัน
    • ฟอสฟอรัส 5 % ของปริมาณสารอาหารที่แนะนำให้บริโภคต่อวัน
    • แคลเซียม 2% ของปริมาณสารอาหารที่แนะนำให้บริโภคต่อวัน
    • วิตามินบี 2 (ไรโบฟลาวิน) 2% ของปริมาณสารอาหารที่แนะนำให้บริโภคต่อวัน

    มันสำปะหลังกับประโยชน์ด้านสุขภาพ

    ช่วยผู้ป่วยโรคเบาหวาน

    •  มันสำปะหลังมีเส้นใยที่อุดมไปด้วยเซลลูโลส ช่วยรักษาระดับน้ำตาลในเลือดและช่วยในการย่อยอาหาร จากการศึกษาในปี 2561 วารสารโภชนาการและสุขภาพของมนุษย์ รายงานว่า ผู้ใหญ่ 40 คน ที่รับประทานมันสำปะหลังสุก ปริมาณ 360 กรัมก่อนมื้ออาหาร พบว่า สามารถช่วยควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ และยังช่วยเสริมวิตามินเอให้กับร่างกายอีกด้วย

    บรรเทาท้องผูก ท้องเสีย

    • มันสำปะหลังช่วยบรรเทาอาการท้องผูก แต่ในการศึกษาปี 2558 ในวารสารการแพทย์อายุรเวทและการแพทย์เชิงบูรณาการ พบว่าสารสกัดจากใบมันสำปะหลังสามารถช่วยรักษาอาการท้องเสียได้

    มีสารต้านอนุมูลอิสระ

  • สารซาโปนิน (Saponin) ในมันสำปะหลังช่วยต้านอนุมูลอิสระ แต่สารตัวนี้อาจมีข้อเสีย เช่น ลดการรดูดซึมวิตามินและแร่ธาตุบางชนิด
  • นอกจากนี้มันสำปะหลังยังสามารถช่วยป้องโรคต่างๆ นอกจากที่กล่าวมาข้างต้นได้อีกมากมาย เช่น ผมร่วง รังแค โรคไขข้อ การติดเชื้อที่ผิวหนัง เป็นต้น

    How To เคล็ดลับทำมันสำปะหลังบริโภค อย่างไรให้ปลอดภัยต่อสุขภาพ

    เราควรรับประทานมันสำปะหลังในปริมาณที่เหมาะสม เคล็ดลับการรับประทานมันสำปะหลังให้ปลอดภัยต่อสุขภาพ มีวิธีดังต่อไปนี้

    • ปอกเปลือกมันสำปะหลัง เนื่องจากส่วนของรากมันสำปะหลัง (หัวมันสำปะหลัง) มีส่วนประกอบของสารไซยาไนด์ (Cyanide) ดังนั้นจึงต้องปอกเปลือกเพื่อเอาสารออกไปให้หมด
    • แช่มันสำปะหลัง โดยการนำมันสำปะหลังจุ่มในน้ำเปล่าเป็นเวลา 48-60 ชั่วโมง ก่อนนำมาประกอบอาหาร เพื่อลดปริมาณสารเคมีที่อาจตกค้างในมันสำปะหลัง
    • ปรุงมันสำปะหลังให้สุก เนื่องจากพบสารเคมีในมันสำปะหลังดิบ ดังนั้นต้องปรุงให้สุกทุกครั้งก่อนนำมารับประทาน
    • รับประทานร่วมกับอาหารที่มีโปรตีน เนื่องจากโปรตีนสามารถช่วยกำจัดสารพิษไซยาไนด์ออกจากร่างกายได้
    • รับประทานอาหารที่หลากหลาย เพื่อให้ร่างกายได้รับสารอาหารที่ครบถ้วน

    ข้อควรระวัง

    คุณควรรับประทานมันสำปะหลังสุกทุกครั้ง  หากรับประทานแบบดิบ ๆ สารพิษในมันสำปะหลังที่มีชื่อว่า สารไซยาไนด์ (Cyanide) สามารถทำอันตรายต่อสุขภาพร่างกายของเราได้ ดังนี้

    • เพิ่มความเสี่ยงในการเกิดโรคคอพอก
    • ไอโอดีนต่ำ
    • ต่อมไทรอยด์และระบบประสาททำงานบกพร่อง
    • อวัยวะภายในร่างกายถูกทำลาย และอาจร้ายแรงถึงขั้นเสียชีวิตได้

    เป็นอย่างไรกันบ้างคะ สำหรับบทความที่นำมาฝากกันในวันนี้ คงทำให้หลายคนได้รู้จักมันสำปะหลังกันอย่างละเอียดมากขึ้น ไม่น่าเชื่อเลยใช่ไหมล่ะคะว่า มันจะมีสรรพคุณเหลือล้ำจริงๆ นอกจากนำมาประกอบอาหารรับประทานได้ ยังช่วยบรรเทาและป้องกันโรคต่าง ๆ ได้

    อย่างไรก็ตาม เราต้องรับประทานมันสำปะหลังในปริมาณที่เหมาะสม ร่วมกับการรับประทานอาหารอื่นๆ เพื่อให้ร่างกายได้รับสารอาหารที่ครบถ้วน

    Hello Health Group ไม่ได้ให้คำปรึกษาด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

    หมายเหตุ

    Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

    ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

    ทีม Hello คุณหมอ


    เขียนโดย จินดารัตน์ สิริวิจักษณ์ · แก้ไขล่าสุด 11/05/2020

    advertisement iconโฆษณา

    คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

    advertisement iconโฆษณา
    advertisement iconโฆษณา