backup og meta

ใช่หรือมั่ว ชัวร์หรือไม่ กินวุ้นเส้น แล้วจะไม่ทำให้อ้วน จริงหรือ?

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย พลอย วงษ์วิไล · แก้ไขล่าสุด 13/05/2020

    ใช่หรือมั่ว ชัวร์หรือไม่ กินวุ้นเส้น แล้วจะไม่ทำให้อ้วน จริงหรือ?

    วุ้นเส้น เส้นโปรดโดนใจใครหลายๆ คน โดยเฉพาะ สาว ๆ ที่อยากจะควบคุมน้ำหนัก หรือลดน้ำหนักตัว เพราะเชื่อว่า การกินวุ้นเส้นที่ทำจากถั่วเขียวนี้ จะไม่ทำให้อ้วน ผิดจากเส้นอื่นๆ ที่มีแป้งเยอะ แต่ความเชื่อที่ว่ากิน วุ้นเส้น แล้วจะไม่ทำให้อ้วน นั้นเป็นจริงหรือไม่ หาคำตอบได้จากบทความนี้

    วุ้นเส้น คืออะไร

    วุ้นเส้น เป็นเส้นใสที่ทำขึ้นมาจากถั่วเขียว น้ำ และส่วนผสมอื่น ๆ เช่น แป้งมันฝรั่ง เมื่อวุ้นเส้นสุก เส้นจะคืนรูป และกลายเป็นเส้นใส วุ้นเส้นนั้นนิยมนำไปประกอบอาหารต่าง ๆ เช่น ยำวุ้นเส้น แกงจืดวุ้นเส้น หรือกุ้งอบวุ้นเส้น เป็นต้น บางคนอาจจะสับสนระหว่าง วุ้นเส้นกับเส้นแก้ว เนื่องจากมีลักษณะ และความใสคล้าย ๆ กัน แต่วุ้นเส้นกับเส้นแก้วนั้นทำมาจากส่วนผสมที่แตกต่างกัน เนื่องจากเส้นแก้วนั้นจะทำมาจากสาหร่าย ในขณะที่วุ้นเส้นนั้นทำมาจากถั่วเขียว

    คุณค่าทางโภชนาการของวุ้นเส้น

    วุ้นเส้นสุก 1 ถ้วย จะมีคุณค่าทางโภชนาการดังนี้

  • พลังงาน 212 กิโลแคลอรี่
  • ไขมัน 8 กรัม
  • คาร์โบไฮเดรต 7 กรัม
  • โปรตีน 2 กรัม
  • ไฟเบอร์ 4 กรัม
  • แมกนีเซียม 23%
  • ธาตุเหล็ก 16%
  • จะเห็นได้ว่าแม้ว่าวุ้นเส้นนั้นจะทำมาจากถั่วเขียว แต่กลับให้โปรตีนน้อยกว่าคาร์โบไฮเดรต นั่นเป็นเพราะว่าถั่วเขียวนั้นต้องผ่านกระบวนการแปรรูปเพื่อทำเป็นวุ้นเส้น ถึงทำให้โปรตีนจากถั่วเขียวส่วนใหญ่ แปรสภาพเป็นคาร์โบไฮเดรตไปแทน

    ประโยชน์ต่อสุขภาพจากการกินวุ้นเส้น

    • เป็นแหล่งของคาร์โบไฮเดรต

    หลายๆ คนอาจจะเข้าใจว่า ในวุ้นเส้นนั้นไม่มีคาร์โบไฮเดรต เพราะว่าเป็นเส้นที่ทำมาจากถั่วเขียว ไม่มีแป้ง แต่ในความจริงแล้ว ถั่วเขียวนั้นจะผ่านกระบวนการต่าง ๆ ในการทำวุ้นเส้น ทำให้เมื่อเรารับประทาน ร่างกายจะได้รับคาร์โบไฮเดรตมากกว่าโปรตีน คาร์โบไฮเดรตนี้จะกลายเป็นแหล่งพลังงานสำคัญสำหรับร่างกาย ทำให้เรามีแรงในการทำกิจกรรมต่าง ๆ

  • ดัชนีน้ำตาลต่ำ
  • แม้ว่าในวุ้นเส้นนั้นจะให้คาร์โบไฮเดรตสูง แต่กลับมีค่าดัชนีน้ำตาลต่ำ เพียงแค่ประมาณ 45 และไม่ทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดพุ่งขึ้นสูง ดังนั้นผู้ที่จำเป็นต้องควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด เช่น ผู้ป่วยเบาหวาน หรือผู้สูงอายุ ก็สามารถรับประทานวุ้นเส้นได้อย่างสบายใจ

  • ไม่มีกลูเตน (Gluten)
  • วุ้นเส้นนั้นเป็นหนึ่งในอาหารที่ไม่มีส่วนผสมของกลูเตน (Gluten) ทำให้ผู้ที่อาจจะมีอาการแพ้กลูเตน อย่างผู้ป่วยโรคเซลิแอค (Celiac Disease) สามารถรับประทานวุ้นเส้นได้อย่างปลอดภัยไร้กังวล

    • ไม่มีไขมัน

    ในวุ้นเส้นนั้นไม่มีไขมัน ไม่มีคอเลสเตอรอล จึงเหมาะสำหรับการรับประทานเพื่อควบคุมน้ำหนัก ไม่เพิ่มความเสี่ยงในการเกิดโรคต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น โรคหัวใจและหลอดเลือด โรคความดันโลหิตสูง และโรคเบาหวาน เป็นต้น

    • มีใยอาหารสูง

    ในวุ้นเส้น 100 กรัม จะให้ใยอาหารประมาณ 0.5 กรัม ซึ่งนับเป็น 2% ของปริมาณใยอาหารที่ควรได้รับในแต่ละวัน ใยอาหารนั้นนอกจากจะทำให้เรารู้สึกอิ่มท้องแล้ว ยังมีบทบาทสำคัญในระบบย่อยอาหาร ช่วยแก้ปัญหาเกี่ยวกับการย่อยอาหาร เช่น ท้องอืด ท้องเฟ้อ หรือท้องผูก เป็นต้น

    กินวุ้นเส้นแล้วไม่ทำให้อ้วน จริงเหรอ

    ยังคงเป็นที่ถกเถียงกันอยู่ว่า การกินวุ้นเส้นนั้นไม่ทำให้อ้วนจริงเหรอไม่ บางคนกล่าวว่าความเชื่อนี้ไม่ใช่เรื่องจริง เพราะในวุ้นเส้นดิบ 100 กรัม ให้พลังงานมากถึง 330 กิโลแคลอรี่ แถมวุ้นเส้นยังให้คาร์โบไฮเดรตสูง ทำให้ร่างกายได้รับพลังงานและน้ำตาลจากแป้ง

    แม้ว่าที่กล่าวมานั้นจะเป็นเรื่องจริง แต่เราก็ไม่ควรลืมว่า ค่าพลังงานที่ว่ามานั้นเป็นพลังงานของวุ้นเส้นดิบ ตามปกติเมื่อเราจะรับประทานวุ้นเส้น เราจะต้องนำวุ้นเส้นไปแช่น้ำหรือต้มให้สุกเสียก่อน วุ้นเส้นที่อมน้ำมาก จะทำให้เราสามารถอิ่มได้แม้ว่าจะรับประทานเพียงแค่นิดเดียว

    เมื่อคำนวณแล้ว การกินวุ้นเส้น 1 มื้อ ก็จะให้พลังงานแค่ประมาณ 60-80 กิโลแคลอรี่เท่านั้น แต่กลับทำให้เราอิ่มพอๆ กับการรับประทานข้าวสวย 1 ถ้วย ที่ให้พลังงานมากถึง 120 กิโลแคลอรี่ นอกจากนี้ ในวุ้นเส้นนั้นยังมีใยอาหารสูง ทำให้รู้สึกอิ่มได้นาน ช่วยย่อยอาหาร อีกทั้งยังไม่มีไขมัน วุ้นเส้นจึงนับได้ว่าเป็นตัวเลือกที่ดี ที่จะช่วยให้เราสามารถควบคุมน้ำหนัก หรือลดน้ำหนักได้ โดยการลดปริมาณของแคลอรี่ที่เราได้รับในแต่ละมื้อนั่นเอง

    Hello Health Group ไม่ได้ให้คำปรึกษาด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

    หมายเหตุ

    Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

    ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

    ทีม Hello คุณหมอ


    เขียนโดย พลอย วงษ์วิไล · แก้ไขล่าสุด 13/05/2020

    advertisement iconโฆษณา

    คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

    advertisement iconโฆษณา
    advertisement iconโฆษณา