backup og meta

สารกันบูด ภัยเงียบที่แฝงตัวอยู่ในอาหาร

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย สิฏฐิณิศา รัชตวโรทัย · แก้ไขล่าสุด 25/06/2021

    สารกันบูด ภัยเงียบที่แฝงตัวอยู่ในอาหาร

    ปกติอาหารต่าง ๆ ที่เป็นอาหารแปรรูปมักจะมี สารกันบูด เป็นส่วนผสมอยู่แล้ว เพื่อช่วยเพิ่มระยะเวลาในการเก็บรักษา รวมถึงช่วยให้รสชาติยังคงเดิม ทั้ง ๆ ที่ทุกคนทราบกันดีว่าสารกันบูดนั้นมีอันตรายแต่ก็ไม่สามารถที่จะหลีกเลี่ยงการบริโภคได้ บทความนี้ทาง Hello คุณหมอ จึงมีเรื่องนี้มานำเสนอให้ได้ทราบกัน

    ทำความรู้จักกับ สารกันบูด

    สารกันบูด หรือ สารกันเสีย (Preservative) เป็นสารเคมีที่ใช้ในการเก็บอาหารสด แม้สารกันบูดจะมีด้วยกันหลายชนิด แต่สิ่งที่มักจะพบบ่อยๆ ก็คือ  ยาต้านจุลชีพ สารต้านอนุมูลอิสระ และผลิตภัณฑ์ที่ชะลอกระบวนการทำให้สุกตามธรรมชาติ ถึงแม้สิ่งเหล่านี้จะเป็นสิ่งที่สำคัญ แต่สารกันบูดก็สามารถก่อให้เกิดความเสี่ยงต่อสุขภาพได้เช่นกัน

    สารกันบูดนั้นอยู่ในผลิตภัณฑ์หลาย ๆ อย่าง ไม่ว่าจะเป็น เครื่องดื่ม ขนมหวาน ขนมอบ ขนมปัง และอื่น ๆ อีกมากมาย นอกจากนั้น ยังสามารถพบได้ในผัก ผลไม้ และอาหารกระป๋องอีกด้วย ความจริงแล้วการใส่สารกันบูดลงไปในอาหารก็เพื่อช่วยเพิ่มอายุการเก็บรักษาของผลิตภัณฑ์ และยังทำให้แน่ใจอีกว่า ผลิตภัณฑ์จะไม่สูญเสียรสชาติและกลิ่นไป

    อันตรายจากสารกันบูดที่ส่งผลต่อร่างกาย

    แม้สารกันบูดจะถูกผสมอยู่ในอาหารต่าง ๆ ที่เราบริโภคเข้าไปทุกวัน แต่ความจริงแล้ว สารกันบูดส่งผลอันตรายต่อสุขภาพเช่นกัน ซึ่งอันตรายของสารกันบูดที่ส่งผลต่อร่างกาย มีดังนี้

    • หนึ่งในอันตรายของสารกันบูด ก็คือ อาจเป็นตัวกระตุ้นให้เกิดปัญหาการหายใจ เช่น โรคหอบหืด โรคหลอดลมอักเสบ
    • สารกันบูด สามารถทำให้เกิดปัญหาภายในเด็กเล็ก เช่น พฤติกรรมที่อาจจะกระทำมากกว่าปกติ ปัญหานี้วัดได้จากการรายงานโดยผู้ปกครองและวัตถุประสงค์
    • การบริโภคสารกันบูดอย่างต่อเนื่องและมากเกินไป อาจทำให้เนื้อเยื่อหัวใจอ่อนแอ ซึ่งเป็นอันตรายโดยเฉพาะกับผู้สูงอายุ
    • สารกันบูดอาจมีสารอาหาร BHA (Beta Hydroxy Acid) และ BHT (Butylated Hydroxytoluene) ซึ่งอาจก่อให้เกิดมะเร็ง BHT มักถูกใช้ในซีเรียลและไขมัน ในขณะที่ BHA อาจนำมาใช้มันฝรั่ง เนื้อสัตว์ และสินค้าอบอื่น ๆ
    • สารกันบูดอาจทำให้เกิดโรคอ้วนในบางคน เนื่องจาก มีกรดไขมัน โดยเฉพาะในอาหารแปรรูป

    10 สารกันบูดที่เป็นอันตรายและมีผลข้างเคียง

    แม้ว่าสารกันบูดจะช่วยในเรื่องของการยืดอายุของอาหาร แต่สารกันบูดก็สามารถทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อน ทั้งยังมีอันตรายอีกมากมายที่ต้องระมัดระวัง ซึ่งสารกันบูดที่เป็นอันตรายและมีผลข้างเคียง ได้แก่

    1. โพรพิลแกลเลต (Propyl gallate)

    มักใช้ในผลิตภัณฑ์เนื้อสัตว์ ผักดอง ซอส หรือแม้แต่หมากฝรั่ง สารกันบูดนั้นเป็นอันตราย ทั้งยังสามารถก่อนให้เกิดภาวะแทรกซ้อนและนำไปสู่การทำลายตับในระยะยาว นอกจากนี้ ยังสามารถนำไปสู่ปัญหาอื่น ๆ อีกมากมาย รวมไปถึงโรคเกี่ยวกับทางเดินหายใจอีกด้วย

    2. ซัลไฟต์ (Sulfites)

    สารประกอบตัวนี้มักใช้เพื่อรักษาผลไม้แห้ง ผลไม้กระป๋อง น้ำเชื่อม ข้าวโพด พริกไทย มะกอก ไวน์ และน้ำส้มสายชู ซึ่งมันสามารถนำไปสู่ผลข้างเคียงต่าง ๆ ได้ เช่น ใจสั่น อาการแพ้ โรคหอบหืด โรคจมูกอักเสบ นอกจากนั้นแล้ว ซัลไฟต์ยังทำให้เกิดอาการปวดข้อ ปวดศีรษะทั้งยังสามารถทำให้เกิดมะเร็งได้ในบางกรณี

    3. น้ำมันพืชที่ผ่านกรรมวิธีการเติมโบรมีน (Brominated Vegetable Oil)

    น้ำมันชนิดนี้จะถูกเก็บรักษาด้วยการบรรจุเอาไว้ในขวดเป็นเวลานาน ซึ่งถูกใช้กันอย่างแพร่หลาย จึงทำให้นำไปสู่ความเสี่ยงที่อาจส่งผลข้างเคียงที่ร้ายแรง น้ำมันชนิดนี้สามารถกระตุ้นการเปลี่ยนแปลงในเนื้อเยื่อของหัวใจ ไตถูกทำลาย ต่อมไทรอยด์บวม เพิ่มไขมันสะสมในตับ และยังอาจทำให้เกิดอัณฑะเหี่ยว

    4. โพรไพลีนไกลคอน (Propylene Glycol) และคาร์บอกซิเมทิลเซลลูโลส (Carboxymethylcellulose)

    สารกันบูดทั้ง 2 ชนิดนี้ เป็นสารเติมแต่งปกติของไอศกรีม โพรไพลีนไกลคอน มักใช้เป็นสารป้องกันการแข็งตัว และน้ำยาล้างสี ซึ่งถือเป็นสารเคมีที่น่ากลัว ส่วน คาร์บอกซิเมทิลเซลลูโลส มักจะในน้ำสลัด การแพร่กระจายของชีส และนมช็อกโกแลต จากการศึกษากับหนูทดลอง พบว่า คาร์บอกซิเมทิลเซลลูโลส สามารถกระตุ้นการผลิตเนื้องอกได้ นอกจากนั้นแล้ว โพรไพลีนไกลคอน ยังส่งผลข้างเคียงที่สำคัญต่อระบบประสาทส่วนกลางอีกด้วย

    5. มอโนกลีเซอไรด์ (Mono-Glycerides) และ ไดกลีเซอไรด์ (Di-Glycerides)

    สารเคมีเหล่านี้มักใช้ในการเก็บรักษาอาหาร เช่น เค้ก พาย คุกกี้ ขนมปัง เนยถั่ว เป็นต้น นอกจากนั้น สารทั้ง 2 ชนิดนี้ ยังช่วยรักษาอาหารอื่น ๆ เช่น ถั่วคั่ว ผักที่บรรจุซอง มาการีน โดยที่ มอโนกลีเซอไรด์ ถือเป็นไขมันที่ไม่ดีต่อสุขภาพ

    6. โซเดียมไนไตรท์ (Sodium nitrite) 

    เป็นสารกันบูดอันตรายที่ใช้ในการรักษาเนื้อสัตว์ ส่วนใหญ่มันถูกเติมเข้าไปในเนื้อสัตว์แปรรูปส่วนใหญ่ เช่น เบคอน แฮม ไส้กรอก เป็นต้น โซเดียมไนเตรทนี้ค่อนข้างอันตรายต่อร่างกาย และอาจนำไปสู่โรคมะเร็งกระเพาะอาหาร

    7. มาเลอิก ไฮดราไซด์ (Maleic hydrazide)

    สารกันบูดนี้มักถูกเพิ่มลงในมันฝรั่ง เพื่อป้องกันไม่ให้มันแตกหน่อ มันสามารถนำไปสู่โรคมะเร็งได้

    8. โบรเมท (Bromates)

    เป็นสารกันบูดที่ใช้กันมากที่สุดในแป้ง และขนมปังสีขาว มันสามารถทำให้เกิดอาการท้องร่วง และทำลายสารอาหาร

    9. กรดซิตริก (ผลิตโดยใช้กรดซัลฟูริก) Citric Acid (Made Using Sulfuric Acid)

    กรดซิตริกเป็นสารอาหารจำเป็นที่พบได้ในอาหารส่วนใหญ่ อย่างไรก็ตาม กรดซิตริกที่สร้างขึ้นโดยใช้กรดซัลฟิวริกค่อนข้างอันตราย และอาจนำไปสู่ปฏิกิริยาภูมิแพ้

    10. เบนโซเอต (Benzoate)

    สารกันบูดชนิดนี้มักถูกเพิ่มเข้าไปในของดอง มาการีนหรือเนยเทียม น้ำซุปข้น ผลไม้ และน้ำผลไม้ เบนโซเอตสามารถทำให้เกิดอาการแพ้ และนำไปสู่ความเสียหายของสมอง

    จริงหรือไม่? สารกันบูด สามารถก่อให้เกิดโรคมะเร็ง

    โรคมะเร็งเป็นผลข้างเคียงที่ร้ายแรง ซึ่งเกี่ยวข้อกับการใช้ สารกันบูด ในความเป็นจริงแล้ว โปรแกรมพิษวิทยาแห่งชาติ (National Toxicology Program) รายงานว่า โพรพิลแกลเลตซึ่งเป็นสารกันบูดที่ใช้กันทั่วไปในการทำให้เครื่องสำอาง และอาหารที่มีไขมัน อาจก่อให้เกิดเนื้องอกในสมอง ต่อมไทรอยด์ และตับอ่อน

    ในทำนองเดียวกัน เว็บไซต์ข้อมูลด้านความปลอดภัยของสารเคมีจากองค์กรระหว่างรัฐบาลของโครงการความร่วมมือระหว่างประเทศด้านความปลอดภัยของสารเคมี (InChem) ซึ่งเป็นองค์กรที่ให้ข้อมูลการตรวจสอบสารเคมีและสิ่งปนเปื้อนให้เหตุผลเอาไว้ว่า ไนโตรซามีน ไนเตรต และไนไตรท์ สามารถนำไปสู่การพัฒนาสารประกอบที่ก่อให้เกิดมะเร็งบางชนิด โดยไนโตรซามีนพบได้ในอาหารหลากหลายประเภท เช่น เนื้อสัตว์ที่บ่มแล้ว เบียร์ และนมแห้งที่ไม่มีไขมัน

    หมายเหตุ

    Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

    ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

    ทีม Hello คุณหมอ


    เขียนโดย สิฏฐิณิศา รัชตวโรทัย · แก้ไขล่าสุด 25/06/2021

    advertisement iconโฆษณา

    คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

    advertisement iconโฆษณา
    advertisement iconโฆษณา