backup og meta

พฤติกรรมเสี่ยงคุณกำลังทำอยู่หรือเปล่า รู้ไว้ ป้องกันฟันกร่อน ได้

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย ชลธิชา จันทร์วิบูลย์ · แก้ไขล่าสุด 11/05/2020

    พฤติกรรมเสี่ยงคุณกำลังทำอยู่หรือเปล่า รู้ไว้ ป้องกันฟันกร่อน ได้

    อาหารหรือเครื่องดื่มที่บริโภค ล้วนส่งผลต่อสุขภาพฟันของคุณทั้งนั้น นอกจากอาหารและเครื่องดื่มแล้วพฤติกรรมบางประการก็ยังส่งผลต่อสุขภาพฟันได้เช่นกัน ในแต่ละวันคุณดูแลสุขภาพฟันของตัวเองดีแค่ไหน พฤติกรรมบางอย่าง ที่คุณทำอยู่ส่งผลต่อสุขภาพฟันหรือไม่ วันนี้ Hello คุณหมอ ได้รวบรวมพฤติกรรมแย่ๆ ที่ทำร้ายฟัน ส่งผลให้ ฟันกร่อน มาฝากกัน ใครอ่านแล้วกำลังมีพฤติกรรมแบบไหนอยู่ อย่าลืมเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อ ป้องกันฟันกร่อน กันนะคะ

    ฟันกร่อนคืออะไร

    ผิวเคลือบฟัน เป็นชั้นบางๆ โปร่งแสง ที่เคลือบอยู่ด้านนอกของฟัน แต่ส่วนประกอบหลักที่มีผลต่อสีของฟันคือ เนื้อฟัน ไม่ว่าจะเป็นสีขาว สีขาวนวล สีเทา หรือสีเหลือง  ซึ่งผิวเคลือบฟันนี้เป็นเปลือกที่แข็งที่สุดในร่างกายมนุษย์ และบางครั้ง ชา กาแฟ น้ำผลไม้ และการสูบบุหรี่อาจส่งผลต่อผิวเคลือบฟัน ซึ่งผิวเคลือบฟันช่วยป้องกันฟันของคุณจากการเคี้ยว กัด และบด แม้ว่า ผิวเคลือบฟันจะเป็นตัวป้องกันฟันที่แข็ง แต่ก็สามารถหักและแตกได้ นอกจากนี้ผิวเคลือบฟันยังป้องกันฟันจากอุณหภูมิและเคมีต่างๆ อีกด้วย เมื่อผิวเคลือบฟันถูกทำลาย ทำให้ผิวเคลือบฟันที่อยู่ด้านนอกหลุดออกไป เมื่อไม่มีชั้นป้องกัน ชั้นฟันก็ถูกลำลาย ก็ส่งผลต่อสุขภาพฟัน และอาจทำให้ฟันกร่อน สึกและเกิดเป็นหลุมได้

    พฤติกรรมที่ก่อให้เกิด ฟันกร่อน

    กรดไหลย้อน

    อาการกรดไหลย้อน เป็นอาการที่กรดในกระหลังออกมาหลังจากกินอาหาร โดยเฉพาะอย่างยิ่งการกินอาหารเข้าไปในปริมาณที่มาก ในบางครั้งกรดไหลย้อน ตีขึ้นมาจนถึงช่องปาก อาจส่งผลให้ฟันกร่อนได้ โดยเฉพาะฟันกรามล่างที่อยู่ใกล้กับลำคออาจมีอาการกร่อนมากกว่าฟันซี่อื่นๆ พฤติกรรมที่ทำให้เกิดกรดไหลย้อนได้เช่น ดื่มแอลกอฮอล์ การตั้งครรภ์

    โรคบูลิเมีย

    โรคบูลิเมีย เป็นภาวะที่มีความผิดปกติในการรับประทานอาหาร โดยที่ผู้ป่วยจะกินอาหารเข้าไปจำนวนมากโดยไม่สามารถควบคุมตัวเองได้ เมื่อกินเข้าไปแล้วกลับรู้สึกผิด และล้วงคอ เพื่อให้อาเจียนหลังจากที่กินเข้าไป เมื่อฟันด้านในสัมผัสกับกรดที่อาเจียนออกมาโดยตรง ทำให้ฟันด้านในเกิดการสึก กร่อนเนื่องจากเจอกรดเป็นประจำ ส่วนฟันด้านหน้าเมื่ออาเจียนเสร็จ ผู้ป่วยกลัวว่าจะมีกลิ่นปาก จึงแปรงฟันทันที ทำให้ผิวเคลือบที่อ่อนลงจากกรดเมื่อโดนเสียดสีก็อาจทำให้ผิวเคลือบฟันหลุดได้

    เครื่องดื่ม

    เครื่องดื่มก็เป็นสาเหตุหนึ่งของการเกิดฟันกร่อนได้เช่นกัน สาเหตุสำคัญส่วนใหญ่เกิดจาก เครื่องดื่มที่มากจาก น้ำอัดลม เครื่องดื่มเกลือแร่ และน้ำผลไม้ เนื่องจากเครื่องดื่มเหล่านี้มีค่า PH ที่ต่ำซึ่งทำให้เกิดความเสี่ยงทำให้ ฟันกร่อน โดยเฉพาะการดื่มบ่อยๆ จะทำให้มีการกัดเซาะจนทำให้ผิวเคลือบฟันเสียซึ่งเป็นสาเหตุของ ฟันกร่อน

    การเสียดสี

    การเสียดสีที่เกิดขึ้น ไม่ว่าจะเกิดจากธรรมชาติหรือเกิดจากพฤติกรรมของคุณเองไม่ว่าจะเป็น การนอนกัดฟัน ใช้ฟันเปิดฝาขวด เลือกแปรงสีฟันที่ขนแปรงแข็งเกินไปพฤติกรรมต่างๆ เหล่านี้ ล้วนส่งผลต่อการทำให้ฟันกร่อนได้

    การป้องกันฟันกร่อน

    การหลีกเลี่ยงอาหาร หรือพฤติกรรมที่ก่อให้เกิดฟันกร่อน ก็เป็นวิธีที่ดีที่จะช่วยลดการทำลายผิวเคลือบฟันได้ วิธีการต่างๆ เหล่านี้ช่วยป้องกันฟันกร่อนได้

  • ลดอาหารที่มีกรดสูงและเครื่องดื่มที่ทำให้ฟันก่อน เช่น น้ำโซดา น้ำอัดลม น้ำมะนาว และน้ำผลไม้ ที่สำคัญบ้วนปากด้วยน้ำเปล่าทันทีหลังจากรับประทานอาหารที่เป็นกรดหรือดื่มเครื่องดื่มที่เป็นกรด
  • ใช้หลอดในการดูดน้ำ เพื่อให้เครื่องดื่มลดการสัมผัสกับฟันโดยตรง
  • ลดการกินขนมขบเคี้ยว เพราะการกินขนมขบเคี้ยวทั้งวันจะทำให้ปากเราเกิดกรด และเสี่ยงต่อการเกิดฟันผุ
  • เคี้ยวหมากฝรั่งระหว่างมืออาหาร การเคี้ยวหมากฝรั่งช่วยผลิตน้ำลายมากกว่าปกติถึง 10 เท่า ซึ่งในน้ำลายมีสารที่ช่วยทำให้ฟันแข็งแรง และที่สำคัญควรเลือกหมากฝรั่งที่ปราศจากน้ำตาลด้วย
  • ดื่มน้ำมากๆ ช่วยให้เพิ่มปริมาณให้น้ำลายมากขึ้น นอกจากนี้ยังช่วยให้ปากไม่แห้งด้วย
  • ใช้ยาสีฟันที่มีส่วนผสมของฟลูออไรด์ เพราะฟลูออไรด์ช่วยทำให้ฟันแข็งแรงขึ้น
  • ปรึกษาทันตแพทย์ทุกๆ 6 เดือน เพือตรวจเช็กสภาพฟัน
  • Hello Health Group ไม่ได้ให้คำปรึกษาด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

    หมายเหตุ

    Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

    ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

    ทีม Hello คุณหมอ


    เขียนโดย ชลธิชา จันทร์วิบูลย์ · แก้ไขล่าสุด 11/05/2020

    advertisement iconโฆษณา

    คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

    advertisement iconโฆษณา
    advertisement iconโฆษณา