backup og meta

เคลือบฟันกร่อน สัญญาณอันตราย ที่อาจทำให้สุขภาพฟันเสีย

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย ชลธิชา จันทร์วิบูลย์ · แก้ไขล่าสุด 12/03/2021

    เคลือบฟันกร่อน สัญญาณอันตราย ที่อาจทำให้สุขภาพฟันเสีย

    เคลือบฟันกร่อน (Enamel Erosion) เป็นการสูญเสียเคลือบฟัน ซึ่งเป็นชั้นนอกสุดของฟัน ซึ่งมีหน้าที่ในการปกป้องเนื้อฟัน เมื่อเคลือบฟันกร่อนก็เปรียบเสมือนฟันขาดโล่ในการป้องกันเนื้อฟัน ที่สำคัญเมื่อ เคลือบฟันสึกกร่อน ไปแล้ว ไม่สามารถสร้างขึ้นมาใหม่ได้อีก วันนี้ Hello คุณหมอ มีข้อมูลเกี่ยวกับ เคลือบฟันสึกกร่อน มาให้อ่านกันว่า มีสาเหตุมาจากอะไรได้บ้าง แล้วต้องดูแลสุขภาพช่องปากอย่างไรไม่ให้ เคลือบฟันสึกกร่อน

    ทำความรู้จักกับเคลือบฟันและหน้าที่ของมัน

    เคลือบฟัน (Enamel) เป็นเพียงชั้นบาง ๆ ที่เคลือบอยู่ด้านนอกสุดของฟัน เป็นปราการด่านแรกสำหรับฟัน เมื่อรับประทานอาหารหรือดื่มเครื่องดื่มใด ๆ เข้าไป อาหารเหล่านั้นก็จะสัมผัสกับเคลือบฟันก่อนเป็นอันดับแรก เคลือบฟันเป็นสารที่มีหน้าที่ในการปกป้องเนื้อฟันที่มีความบอบบาในชีวิตประจำวัน เช่น การเคี้ยวอาหาร การกัดและการบด แม้ว่าเคลือบฟันจะเป็นสารที่มีความเหนียวมาก จริง ๆ แล้วเคลือบฟันถือเป็นเนื้อเยื่อที่มีความแข็งที่สุดในร่างกายเลยก็ได้ อาจจะมีความแข็งกว่ากระดูกด้วยซ้ำ แต่เคลือบฟันก็สามารถแตกและสึกกร่อนได้ หากเคลือบฟันสึกกร่อน อาจทำให้ฟันเกิดคราบ เสียวฟัน ปวดฟัน ฟันผุ และสีของฟันเปลี่ยนไป

    สาเหตุที่ทำให้ เคลือบฟันกร่อน

    การรับประทานอาหารหรือการดื่มเครื่องดื่มที่เป็นกรด เป็นหนึ่งในสาเหตุที่ทำให้ เคลือบฟันสึกกร่อน โดยปกติแล้วน้ำลายจะมีหน้าที่ในการปรับสมดุลให้กรดในปากนั้นเป็นกลาง เพื่อช่วยปกป้องฟัน แต่หากมีการบริโภคอาหารและเครื่องดื่มที่เป็นกรดมากเกินไป และไม่ได้มีการแปรงฟันอย่างถูกวิธี ชั้นเคลือบฟันเหล่านั้นอาจถูกทำลายและสึกกร่อนได้ อาหารที่มักจะทำให้ เคลือบฟันสึกกร่อน มีดังนี้

    • อาหารที่มีปริมาณน้ำตาลสูง เช่น ไอศกรีม ลูกอม
    • อาหารประเภทแป้ง เช่น ขนมปังขาว
    • อาหารที่เป็นกรด เช่น ผลไม้รสเปรี้ยว ผลไม้ตระกูลเบอร์รี่
    • น้ำผลไม้
    • เครื่องดื่มโซดาที่มีกรดซิตริก (Citric Acid) และ กรดฟอสฟอริก (Phosphoric Acid)

    นอกจากอาหารและเครื่องดื่มแล้วยังมีสาเหตุอื่น ๆ ที่ทำให้ เคลือบฟันสึกกร่อน ด้วย เช่น

    • นอนกัดฟัน
    • โรคกรดไหลย้อน
    • ปากแห้งเนื่องจากน้ำลายน้อย หรือภาวะที่ต่อมน้ำลายไม่สามารถผลิตน้ำลาย เพื่อให้ความชุ่มชื้นในปากได้ (Xerostomia)
    • การใช้ยาบางชนิดเป็นประจำ เช่น ยาแก้แพ้และยาแอสไพริน
    • ภาวะความผิดปกติในการรับประทานอาหาร เช่น โรคบูลิเมีย (bulimia) ซึ่งเป็นโรคที่เมื่อรับประทานอาหารเข้าไปมาก ๆ แล้ว พยายามทำให้ตัวเองอาเจียนออกมา ทำให้กรดจากกระเพาะอาหารที่อาเจียนออกมาสัมผัสกับฟัน

    ป้องกันไม่ให้ เคลือบฟันกร่อน ได้ไหมนะ

    การป้องกันไม่ให้ เคลือบฟันสึกกร่อน สามารถทำได้ เพียงแค่ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคอาหาร และการแปรงฟัน ดูแลสุขภาพช่องปากให้ดี ซึ่งวิธีเหล่านี้ ถือเป็นวิธีที่ช่วยป้องกัน เคลือบฟันสึกกร่อน ได้

    • ลดเครื่องดื่มและอาหารที่เป็นกรด เช่น ผลไม้รสเปรี้ยว น้ำผลไม้ และโซดา
    • บ้วนปากด้วยน้ำหลังมื้ออาหารเมื่อรับประทานอาหารที่มีฤทธิ์เป็นกรด
    • ใช้หลอดเมื่อต้องบริโภคน้ำที่มีโซดาหรือน้ำผลไม้ เพื่อลดไม่ให้กรดในน้ำเหล่านั้นสัมผัสกับฟันโดยตรง
    • เคี้ยวหมากฝรั่ง ที่สำคัญต้องเลือกสูตรที่ปราศจากน้ำตาล การเคี้ยวหมากฝรั่งช่วยสร้างน้ำลาย ซึ่งมีส่วนช่วยปรับสมดุลของกรดในปากให้เป็นกลาง
    • ดื่มน้ำมาก ๆ เพื่อลดอาการปากแห้ง
    • ใช้แปรงสีฟันที่ขนนุ่ม เหมาะสำหรับฟัน และไม่แปรงฟันแรงเกินไป
    • หลังจากรับประทานอาหารที่เป็นกรด ควรรออย่างน้อย 1 ชั่วโมงแล้วค่อยแปรงฟัน หากแปรงฟันในทันที เคลือบฟันที่อ่อนลงจากกรดที่รับประทานเข้าไป มีแนวโน้มที่ฟันจะเกิดความเสียหายจากแปรงฟันมากขึ้น
    • ใช้ยาสีฟันผสมฟลูออไรด์และน้ำยาบ้วนปาก

    หากอาการฟันกร่อนนั้นเกิดจากสาเหตุอื่น ๆ นอกจากการบริโภคอาหาร ควรเข้ารับการรักษาสาเหตุนั้น ๆ รับการรักษาโรคเหล่านั้น เช่น โรคบูลิเมีย โรคพิษสุราเรื้อรัง หรือโรคกรดไหลย้อน หากเกิดจากอาการนอนกัดฟัน ซึ่งเป็นสาเหตุที่เกิดขึ้นโดยไม่รู้ตัวขณะหลับ ควรปรึกษาทันตแพทย์ เพื่อขอคำแนะนำในการรักษาและบรรเทาอาการ

    หมายเหตุ

    Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

    ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

    ทีม Hello คุณหมอ


    เขียนโดย ชลธิชา จันทร์วิบูลย์ · แก้ไขล่าสุด 12/03/2021

    advertisement iconโฆษณา

    คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

    advertisement iconโฆษณา
    advertisement iconโฆษณา