สุขภาพช่องปาก

สุขภาพช่องปาก เป็นอีกหนึ่งสิ่งสำคัญที่เราไม่ควรจะละเลย เพราะภายในช่องปากของเรานั้น เต็มไปด้วยเชื้อแบคทีเรียต่าง ๆ ที่อาจก่อให้เกิดปัญหาได้ หากไม่ได้รับการดูแลรักษาอย่างเหมาะสม เรียนรู้เกี่ยวกับ สุขภาพช่องปาก และการดูแลสุขภาพช่องปาก ได้ที่นี่

เรื่องเด่นประจำหมวด

สุขภาพช่องปาก

วิธีแก้ร้อนใน และวิธีดูแลช่องปาก อย่างเหมาะสม

แผลร้อนใน เป็นแผลบวมแดงที่มักเกิดขึ้นบริเวณเนื้อเยื่ออ่อนภายในช่องปาก เช่น กระพุ้งแก้ม ลิ้น ใต้ลิ้น ริมฝีปากด้านใน ภายในปากอาจมีแผลร้อนในพร้อมกันเกิน 1 จุด และแผลอาจเพิ่มจำนวนหรือมีขนาดใหญ่ขึ้นได้ วิธีแก้ร้อนใน สามารถทำได้ด้วยการดูแลตัวเองเบื้องต้น เช่น ใช้น้ำยาบ้วนปากที่ไม่มีแอลกอฮอล์และสารฆ่าเชื้อ ทาเจลฆ่าเชื้อที่แผล ดื่มน้ำให้เพียงพอ โดยทั่วไป แผลร้อนในจะหายไปเองภายใน 1-2 สัปดาห์ แต่หากเป็นแผลนานกว่า 3 สัปดาห์ ควรไปพบคุณหมอเพื่อรับการรักษาอย่างเหมาะสม [embed-health-tool-bmi] ร้อนใน คืออะไร ร้อนใน หรือแผลร้อนใน (Mouth ulcers) เป็นแผลตื้น ๆ ขนาดเล็ก ลักษณะเป็นวงกลมหรือวงรี ตรงกลางเป็นสีขาวอมเหลือง ขอบแผลเป็นสีแดง ที่เกิดขึ้นบริเวณเนื้อเยื่ออ่อนภายในช่องปาก เช่น กระพุ้งแก้ม ลิ้น ใต้ลิ้น เพดานปาก ริมฝีปากด้านใน เหงือก อาจทำให้รู้สึกเจ็บ รับประทานอาหารไม่สะดวกหรือพูดได้ลำบาก หากเครียด เจ็บป่วย อ่อนเพลียรุนแรง ก็อาจทำให้อาการร้อนในแย่ลงได้ ทั้งนี้ แผลร้อนในไม่ใช่โรคไม่ติดต่อ ต่างจากแผลโรคเริม (Cold sores) ที่พบบริเวณริมฝีปากด้านนอกและรอบริมฝีปาก […]

สำรวจ สุขภาพช่องปาก

สุขภาพช่องปาก

ฟันคุด คืออะไร มีอาการ สาเหตุ วิธีรักษาอย่างไร

ฟันคุด คือ ฟันที่ไม่สามารถขึ้นในแนวฟันปกติได้ อาจเป็นเพราะขึ้นช้ากว่าฟันซี่อื่น ๆ ทำให้มีช่องว่างไม่เพียงพอที่จะขึ้นมาแบบฟันปกติ จึงอาจโผล่มาเพียงบางส่วนในลักษณะเอียง ราบ หรือฝังอยู่ในกระดูกขากรรไกร ส่วนใหญ่แล้ว ฟันคุดจะมี 4 ซี่ นั่นคือ ฟันกรามซี่ในสุดของฟันบนและฟันล่างทั้งด้านซ้ายและด้านขวา แต่ก็อาจพบฟันเขี้ยวคุดได้เช่นกัน ฟันคุดอาจไม่เป็นอันตราย แต่ในบางกรณี ก็อาจทำให้มีอาการปวดฟันรุนแรง หรืออาจทำให้ปากและฟันซี่อื่นผิดรูป จนต้องรักษาด้วยการถอนหรือผ่าออก เพื่อบรรเทาปวดและลดความเสี่ยงในการเกิดปัญหาช่องปากอื่น ๆ เช่น ฟันผุ เหงือกอักเสบ หรือหากต้องจัดฟัน ก็อาจต้องถอนหรือผ่าฟันคุดเช่นกัน คำจำกัดความฟันคุด คืออะไร ฟันคุด คือ ฟันที่ไม่สามารถขึ้นในแนวฟันปกติได้เหมือนฟันซี่อื่น ๆ เนื่องจากอาจขึ้นช้ากว่าฟันซี่อื่น ทำให้มีช่องว่างไม่พอให้งอกขึ้นมาได้แบบฟันปกติ หรืออาจเกิดจากมีกระดูกหรือเนื้อเยื่อเหงือกขวางอยู่ จึงไม่สามารถโผล่พ้นเหงือกได้ ฟันคุดอาจมีลักษณะเอียง หรือขึ้นตามแนวราบ หรืออาจฝังอยู่ในกระดูกขากรรไกรทั้งซี่ ส่วนใหญ่แล้ว ฟันคุดจะมี 4 ซี่ นั่นคือ ฟันกรามซี่ในสุดของฟันบนและฟันล่างทั้งฝั่งซ้ายและฝั่งขวา แต่ในบางกรณี ก็อาจพบฟันเขี้ยวคุดได้ ฟันคุดเป็นปัญหาสุขภาพช่องปากที่พบได้ทั่วไป โดยปกติแล้ว อาจเริ่มพบฟันคุดตอนอายุประมาณ 17-25 ปี เนื่องจากขากรรไกรหยุดการเจริญเติบโต จึงอาจส่งผลให้มีช่องว่างไม่พอให้ฟันกราม 4 […]


สุขภาพช่องปาก

ร้อนใน สาเหตุ อาการ และการรักษา

ร้อนใน หมายถึงแผลเปิดภายในปากที่มีลักษณะเป็นตุ่มเล็ก ๆ สีขาว มีอาการเจ็บแสบ และอาจสร้างความระคายเคือง มักเกิดขึ้นที่บริเวณเนื้อเยื่อภายในช่องปาก เช่น กระพุ้งแก้ม ลิ้น โดยปกติแผลร้อนในจะไม่มีอาการรุนแรงใด ๆ และสามารถหายไปได้เองภายในเวลาไม่กี่สัปดาห์ แต่การใช้ยาแก้ปวด หรือยาป้ายแผลร้อนใน อาจสามารถช่วยบรรเทาอาการร้อนใน และเร่งให้แผลร้อนในหายไวขึ้นได้ [embed-health-tool-bmi] คำจำกัดความ ร้อนใน คืออะไร ร้อนใน หมายถึงแผลเปิดสีขาวเล็ก ๆ ภายในปาก ที่มักเกิดขึ้นบริเวณกระพุ้งแก้ม โคนเหงือก บนลิ้น หรือใต้ลิ้น ทำให้เกิดอาการเจ็บแสบ ระคายเคือง และอาจส่งผลกระทบต่อการพูดหรือการรับประทานอาหารได้ ร้อนในเป็นอาการที่พบได้บ่อย และสามารถเกิดขึ้นได้กับคนทุกเพศทุกวัย โดยเฉพาะเด็กวัยรุ่นและผู้ที่มีอายุในช่วง 20 ปีต้น ๆ  ร้อนในแตกต่างจากเริมที่ริมฝีปาก เนื่องจากแผลร้อนในจะเกิดขึ้นภายในช่องปาก ส่วนเริมที่ริมฝีปากมักจะมีอาการที่บริเวณริมฝีปากและมุมปากภายนอก อีกทั้งเริมที่ริมฝีปากยังสามารถติดต่อไปสู่ผู้อื่นได้ แตกต่างจากร้อนในที่ไม่แพร่กระจายสู่ผู้อื่น อาการ อาการของร้อนใน ร้อนในมักปรากฏขึ้นในบริเวณเนื้อเยื่ออ่อนภายในปาก เช่น ลิ้น กระพุ้งแก้ม โคนเหงือก ซึ่งอาจสังเกตได้จากอาการ ดังนี้ ตุ่มเล็ก ๆ สีแดงหรือสีขาว ที่พัฒนากลายเป็นแผลเปิดเป็นวงกลมหรือวงรีเล็ก ๆ อาการเจ็บและแสบบริเวณแผล สำหรับร้อนในที่อาการรุนแรง อาจมีอาการอื่น ๆ ร่วมด้วย เช่น เป็นไข้ […]


การจัดฟัน

รีเทนเนอร์ ประเภท และวิธีการดูแลรักษา

รีเทนเนอร์ คือ อุปกรณ์ที่ใช้หลังจากการจัดฟันเพื่อช่วยคงสภาพของโครงสร้างฟันให้อยู่ตัว ชิดเป็นระเบียบ และไม่ล้มหรือเคลื่อนออกหลังจากถอดเหล็กจัดฟัน รีเทนเนอร์อาจมีหลากหลายรูปแบบ ทั้งแบบพลาสติกใส พลาสติกหลากหลายสี และลวดเหล็ก การใส่รีเทนเนอร์เป็นประจำตามคำแนะนำของทันตแพทย์ และการดูแลรักษารีเทนเนอร์ให้ดีและสะอาดอยู่เสมอ จะช่วยให้สามารถรักษาสภาพฟันที่สวยงาม มีสุขภาพดี หลังจากการจัดฟันได้ รีเทนเนอร์ คืออะไร รีเทนเนอร์ (Retainers) คือ เครื่องมือที่ใช้สำหรับคงสภาพฟันหลังเสร็จสิ้นการจัดฟัน เพื่อป้องกันไม่ให้ฟันล้ม ฟันห่าง จนต้องกลับไปจัดฟันใหม่อีกครั้ง ระยะเวลาในการใส่รีเทนเนอร์อาจแตกต่างกันออกไปขึ้นอยู่กับดุลพินิจของทันตแพทย์ แต่โดยส่วนใหญ่แล้ว ผู้ที่เพิ่งผ่านการจัดฟันมาอาจจำเป็นต้องใส่รีเทนเนอร์ตลอดเวลา ยกเว้นช่วงรับประทานอาหารและแปรงฟัน นานอย่างน้อย 4 เดือนขึ้นไป เพื่อให้แน่ใจว่าโครงสร้างฟันเข้ารูปดีแล้ว จากนั้นก็อาจต้องใส่รีเทนเนอร์ทุกคืนเพื่อป้องกันไม่ให้ฟันเคลื่อน ในช่วงแรกของการใส่รีเทนเนอร์อาจจะรู้สึกเจ็บอยู่บ้าง เนื่องจากฟันยังไม่คุ้นชินกับแรงบีบอัดของรีเทนเนอร์ เป็นเรื่องปกติที่สามารถเกิดขึ้นได้กับทุกคน และอาจจะหายไปเองเมื่อเวลาผ่านไป นอกเหนือจากการใช้เพื่อคงสภาพฟันแล้ว รีเทนเนอร์ยังอาจใช้สำหรับผู้ที่มีปัญหาดังต่อไปนี้ นอนกัดฟัน การใส่รีเทนเนอร์อาจช่วยป้องกันปัญหานอนกัดฟันได้ เนื่องจาก รีเทนเนอร์จะช่วยป้องกันไม่ให้ฟันบนกับฟันล่างกระทบกันโดยตรง ลิ้นดุนฟัน เด็กบางคนอาจมีปัญหาที่ลิ้นมักสัมผัสหรือดันฟันเวลาที่พูดหรือกลืนน้ำลาย รีเทนเนอร์บางชนิดอาจมีกรอบกันไม่ให้ลิ้นสัมผัสกับผิวฟัน ซึ่งอาจช่วยป้องกันปัญหาฟันยื่นออกไปข้างหน้าจากการเอาลิ้นดุนฟันได้ ประเภทของรีเทนเนอร์ รีเทนเนอร์สามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภทหลัก ๆ ดังนี้ รีเทนเนอร์แบบที่สามารถถอดออกได้ รีเทนเนอร์แบบลวด เป็นรีเทนเนอร์ที่ใช้ลวดขึ้นรูปให้พอดีกับตำแหน่งของฟัน และมีโครงสำหรับยึดติดกับเหงือกหรือเพดานปากที่ทำจากอะคริลิค อาจมีสีสันต่าง ๆ เป็นรีเทนเนอร์ที่แบบที่นิยมใช้มากที่สุด รีเทนเนอร์แบบใส ทำจากพลาสติกหรือวัสดุอื่นที่ใกล้เคียงกัน มีลักษณะเป็นรีเทนเนอร์ใสที่ครอบฟันลงไปให้พอดีกับตำแหน่งฟันใหม่ที่ผ่านการจัดฟันเรียบร้อยแล้ว รีเทนเนอร์แบบที่ไม่สามารถถอดออกได้ รีเทนเนอร์แบบที่ไม่สามารถถอดออกได้ ทำจากลวดขึ้นรูปที่ยึดติดกับฟันบริเวณด้านในปาก ตรึงตำแหน่งของฟันให้คงที่ เหมาะสำหรับผู้ที่ชอบลืมใส่รีเทนเนอร์เป็นประจำ รีเทนเนอร์แบบนี้ไม่สามารถถอดออกได้เอง […]


โรคเหงือกและช่องปาก

เหงือกบวม อาการ สาเหตุ การรักษา

เหงือกบวม เป็นสัญญาณเตือนของปัญหาสุขภาพในช่องปาก เช่น โรคเหงือกอักเสบ การติดเชื้อ บางครั้งอาจนำไปสู่อาการเลือดออก และเจ็บเหงือก ปกติอาการเหงือกบวมอาจบรรเทาอาการได้ด้วยการรักษาสุขอนามัย ทำความสะอาดภายในช่องปากด้วยวิธีที่คุณหมอแนะนำ แต่หากไม่รักษาอาจทำให้อาการรุนแรงมากขึ้น และเกิดภาวะแทรกซ้อนอื่น ๆ ได้ คำจำกัดความเหงือกบวมคืออะไร เหงือก คือ อวัยวะที่ประกอบไปด้วยเนื้อเยื่อหนาสีชมพู ซึ่งมีเส้นเลือดจำนวนมาก ช่วยยึดฟันให้ติดกับขากรรไกร เพื่อรองรับในการบดเคี้ยวอาหาร แต่เมื่อดูแลสุขภาพอนามัยช่องปากไม่ดี เช่น แปรงฟันไม่สะอาด สูบบุหรี่ ขาดสารอาหาร อาจทำให้คราบพลัคสะสมจนกลายเป็นหินปูน และนำไปสู่ปัญหาสุขภาพช่องปากอย่างอาการเหงือกอักเสบ เหงือกบวม มีกลิ่นปาก ซึ่งหากไม่ดูแลรักษาอย่างถูกวิธี อาจนำไปสู่ภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรงอย่างปัญหาฟันร่วง มะเร็งช่องปาก เป็นต้น อาการอาการเหงือกบวม อาการเหงือกบวม อาจมีสัญญาณเตือน ดังต่อไปนี้ มีกลิ่นปาก เหงือกบวม เหงือกแดง เหงือกร่น เลือดออกตามแนวเหงือก โดยเฉพาะขณะแปรงฟัน หรือใช้ไหมขัดฟัน สาเหตุสาเหตุเหงือกบวม สาเหตุที่ทำให้เหงือกบวม อาจมีดังนี้ คราบจุลินทรีย์บนฟัน คราบพลัคที่เกิดจากน้ำตาลในอาหารทำปฏิกิริยากับแบคทีเรีย และเกาะอยู่บนพื้นผิวฟัน อาจส่งผลให้เหงือกบวม ควรทำความสะอาดทุกวัน ด้วยการแปรงฟัน หินปูน เมื่อคราบจุลินทรีย์เกาะบนผิวฟันจนแข็งตัวเป็นหินปูน อาจขจัดออกได้ยาก และส่งผลให้ระคายเคืองบริเวณเหงือก เหงือกอักเสบ หากหินปูนและคราบพลัคอยู่ในช่องปากนานเกินไป อาจทำให้ส่วนเหงือกที่อยู่รอบฟันระคายเคือง นำไปสู่การอักเสบ เหงือกบวม มีเลือดออก และฟันผุ ซึ่งอาจลุกลามจนทำให้สูญเสียฟัน ฟันหัก ฟันร่วงได้ในที่สุด ปัจจัยเสี่ยงปัจจัยเสี่ยงเหงือกบวม ปัจจัยเสี่ยงที่ส่งผลให้เหงือกบวม ได้แก่ พันธุกรรม อายุที่มากขึ้น การละเลยการรักษาสุขอนามัยในช่องปาก การขาดสารอาหาร เช่น […]


โรคเหงือกและช่องปาก

เหงือกอักเสบ อาการ สาเหตุ การรักษา

เหงือกอักเสบ เป็นโรคเหงือกที่อาจพบได้บ่อย อาการที่เกิดขึ้นอาจทำให้เหงือกอักเสบ ระคายเคือง แดง และบวม เหงือกอักเสบต้องได้รับการดูแลและรักษาอย่างทันที ไม่เช่นนั้นอาจนำไปสู่โรคเหงือกที่รุนแรงมากขึ้นอย่างโรคปริทันต์ รวมถึงอาจส่งผลให้สูญเสียฟันได้ คำจำกัดความเหงือกอักเสบ คืออะไร เหงือกอักเสบ คือ การอักเสบของเหงือกซึ่งอยู่ในระยะเริ่มต้น อาจเกิดจากการติดเชื้อของเนื้อเยื่อรอบ ๆ ฟัน การสะสมของคราบจุลินทรีย์ คราบพลัค หรือมีเชื้อแบคทีเรียสะสมอยู่บนฟันเป็นจำนวนมาก เหงือกอักเสบอาจทำให้เหงือกบวมแดง ระคายเคือง เลือดออกง่าย รวมถึงอาจทำให้เกิดกลิ่นปาก หากไม่ได้รับการดูแลและรักษาทันที อาจทำให้อาการรุนแรงมากขึ้นจนกลายเป็นโรคปริทันต์ และอาจถึงขั้นสูญเสียฟันได้ อาการอาการของเหงือกอักเสบ เหงือกอักเสบในระยะเริ่มแรกอาจไม่ก่อให้เกิดอาการใด ๆ ผู้ป่วยอาจแสดงอาการเมื่อเหงือกอักเสบขั้นรุนแรงแล้ว อย่างไรก็ตาม อาการที่อาจเป็นสัญญาณว่าเหงือกอักเสบ มีดังนี้ เหงือกบวมแดง  มีกลิ่นปาก หรือเริ่มรับรสไม่ดี เลือดออกที่เหงือกระหว่างและหลังแปรงฟัน เกิดช่องลึกระหว่างฟันและเหงือก เหงือกร่น ฟันหลุดหรือมีการโยก ตำแหน่งฟันเปลี่ยนแปลงไปเมื่อกัดหรือต้องใส่ฟันปลอม ควรไปพบคุณหมอเมื่อใด หากสังเกตเห็นสัญญาณและอาการเหงือกอักเสบ ให้นัดพบทันตแพทย์ทันที เพราะยิ่งรักษาเร็วเท่าไหร่ โอกาสในการฟื้นฟูความเสียหายที่เกิดขึ้นจากเหงือกอักเสบก็อาจเพิ่มมากขึ้นเท่านั้น อีกทั้งยังอาจช่วยป้องกันไม่ให้อาการเหงือกอักเสบลุมลามมากขึ้นได้ด้วย สาเหตุสาเหตุของเหงือกอักเสบ สาเหตุหลักที่อาจทำให้เหงือกอักเสบเกิดจากคราบพลัค นอกจากนี้ เหงือกอักเสบยังอาจมีสาเหตุมาจากปัจจัยต่าง ๆ เหล่านี้ สุขอนามัยในช่องปากไม่ดี เช่น การไม่แปรงฟัน การไม่ใช้ไหมขัดฟันเป็นประจำทุกวัน อาจทำให้เหงือกอักเสบลุกลามได้ง่ายขึ้น การเจ็บป่วยอาจส่งผลต่อสภาพเหงือก ซึ่งอาจรวมถึงโรคต่าง ๆ เช่น มะเร็ง การติดเชื้อเอชไอวีที่อาจรบกวนระบบภูมิคุ้มกัน นอกจากนี้ ผู้ป่วยที่เป็นโรคเบาหวานก็อาจมีความเสี่ยงสูงในการเกิดการติดเชื้อจนทำให้เหงือกอักเสบ เป็นโรคปริทันต์ และฟันผุ เนื่องจากโรคเบาหวานอาจส่งผลต่อการใช้และควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด ยาอาจส่งผลต่อสุขภาพช่องปาก เนื่องจากยาบางชนิดอาจลดปริมาณของน้ำลาย ซึ่งอาจมีผลในการป้องกันฟันและเหงือก […]


การจัดฟัน

จัดฟัน มีกี่แบบ การเตรียมตัวและปัจจัยเสี่ยง

จัดฟัน เป็นวิธีการรักษาทางทันตกรรมรูปแบบหนึ่ง ซึ่งช่วยแก้ปัญหาฟันยื่นเหยิน ฟันห่าง ปัญหาการสบฟัน การบดเคี้ยว หรือแก้ไขให้ฟันเรียงตัวสวยขึ้น โดยอาจมีรูปแบบและวิธีการรักษาที่แตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของคุณหมอและปัญหาสุขภาพช่องปากของแต่ละคน จัดฟัน คืออะไร จัดฟัน เป็นวิธีรักษาทางทันตกรรมที่ช่วยแก้ไขปัญหาในช่องปาก เช่น ฟันซ้อนไม่เรียงตัว ฟันยื่นเหยิน ฟันห่าง ฟันล่างซ้อนทับฟันบน ปัญหาการสบฟัน ปัญหาขากรรไกร ปัญหาการเคี้ยวอาหาร และในบางคนอาจจัดฟันเพื่อแก้ไขรอยยิ้มให้สวยงามขึ้น ซึ่งวิธีการจัดฟันมีหลายประเภทและอาจใช้เครื่องมือที่แตกต่างกัน ทั้งนี้อาจขึ้นอยู่กับปัญหาสุขภาพช่องปาก และดุลยพินิจของคุณหมอด้วย วัยเด็กและวัยรุ่นอาจเป็นช่วงอายุที่เหมาะสมในการจัดฟันมากที่สุด เนื่องจากกระดูกยังคงเจริญเติบโต จึงทำให้ฟันเคลื่อนตัวได้ง่ายกว่า และอาจใช้ระยะเวลาจัดฟันน้อยกว่า หากจัดฟันตอนอยู่ในวัยผู้ใหญ่ซึ่งกระดูกอาจหยุดการเจริญเติบโตแล้ว ก็อาจทำให้ฟันเคลื่อนตัวได้ยากขึ้น หรือบางกรณีอาจต้องผ่าตัดด้วย และอาจต้องใช้เวลาจัดฟันนานขึ้น ประเภทของการจัดฟัน ประเภทของการจัดฟันสามารถแบ่งตามลักษณะของเครื่องมือจัดฟันได้ ดังนี้ 1. เครื่องมือจัดฟันแบบติดแน่น เครื่องมือจัดฟันแบบติดแน่นเป็นอุปกรณ์จัดฟันที่พบเห็นได้ทั่วไป สามารถใส่รับประทานอาหารได้ตามปกติ มักทำจากโลหะและอาจติดเครื่องมือไว้ที่ด้านหน้าฟัน หรือด้านหลังฟัน และมีส่วนประกอบอื่น ๆ ดังต่อไปนี้ แบร็กเก็ต (Bracket) เป็นอุปกรณ์สำหรับติดบนฟันด้านหน้าหรือด้านหลังฟัน อาจทำด้วยสแตนเลส หรือเซรามิก เครื่องมือจัดฟันลักษณะคล้ายแหวนครอบฟัน (Ring-like bands) ใช้ยืดติดเครื่องมือบริเวณฟันกราม ลวดยึดฟัน (Archwire) เป็นลวดที่ยึดเชื่อมระหว่างฟันเพื่อควบคุมการเคลื่อนที่ของฟัน ยางดึงฟัน (Elastic ties) ใช้ยึดลวดกับแบร็กเก็ต หรือใช้เป็นตัวช่วยในการขยับฟัน เฮดเกียร์ (Headgear) เป็นเครื่องมือใช้สวมศีรษะเพื่อเพิ่มแรงกด และช่วยเคลื่อนฟัน หมุดดึงฟัน (Temporary […]


โรคเหงือกและช่องปาก

เจ็บลิ้น เพราะอะไร รักษาและป้องกันอย่างไร

ลิ้น เป็นอวัยวะภายในปากที่ถูกปกคลุมด้วยเนื้อเยื่อ หรือปุ่มรับรส หากเกิดอาการเจ็บลิ้น ก็อาจส่งผลให้รับประทานอาหารลำบาก และรู้สึกเจ็บปวดได้ ดังนั้น เมื่อพบว่ามีอาการเจ็บลิ้น ควรเข้ารับการตรวจจากคุณหมอ เพื่อหาสาเหตุ และหาทางรักษาได้อย่างถูกต้องเหมาะสม สาเหตุที่ทำให้เจ็บลิ้น สาเหตุที่ทำให้เจ็บลิ้น อาจมีดังต่อไปนี้ การกัดลิ้นตัวเองโดยไม่ได้ตั้งใจ การเผลอกัดลิ้นขณะเคี้ยวอาหารอาจทำให้เกิดแผลบนลิ้น ซึ่งอาจต้องใช้ระยะเวลาประมาณ 1 สัปดาห์กว่าแผลจะหายสนิท หรือบรรเทาอาการได้ด้วยการกลั้วปากด้วยน้ำเกลือผสมน้ำอุ่น นอกจากนี้ อาการชักก็อาจทำให้ผู้ป่วยเผลอกัดลิ้นตัวเอง จนเป็นแผลฉีกขาด ซึ่งอาจจำเป็นต้องทำการรักษาอย่างเหมาะสม ร้อนใน หรือแผลเปื่อยในปาก ร้อนในเป็นแผลที่สามารถเกิดขึ้นได้ทั่วทั้งในช่องปาก รวมถึงบนลิ้น มีลักษณะเป็นจุดวงกลมตรงกลางสีขาว และมีขอบสีแดง ทำให้เกิดอาการเจ็บแสบ และอาจส่งผลต่อการรับประทานอาหารและการพูด ร้อนในสามารถหายไปเองได้ภายใน 7-10 วัน แต่อาจเร่งบรรเทาอาการได้โดยการกลั้วปากด้วยน้ำเกลือ หรือน้ำยาบ้วนปาก เชื้อราในช่องปาก เชื้อราแคนดิดาที่อยู่ภายในช่องปากและลำคอ หากเจริญเติบโตมากเกินไปอาจส่งผลให้เกิดการติดเชื้อราในช่องปาก ซึ่งทำให้เกิดฝ้าในปาก และอาการเจ็บลิ้น สามารถพบได้บ่อยในทารกแรกเกิด และผู้ที่มีภูมิคุ้มกันอ่อนแอ โรคเริม เกิดจากการติดเชื้อจากไวรัสเริม (HSV) ที่อาจแพร่กระจายได้ผ่านทางการสัมผัส สามารถเกิดขึ้นได้ทั่วทั้งร่างกาย รวมถึงลิ้น ส่งผลให้เกิดอาการเจ็บลิ้น และแสบร้อนได้ ไลเคนพลานัส (Lichen planus) ไลเคนพานัสในช่องปากมีสาเหตุมาจากความผิดปกติของระบบภูมิคุ้มกัน มักเกิดขึ้นกับกระพุ้งแก้ม และด้านข้างของลิ้น ทำให้บริเวณนั้นเป็นแผล รู้สึกเจ็บปวด ฝ้าแดง เป็นภาวะที่ทำให้เกิดรอยแดงภายในช่องปากทุกพื้นที่ รวมทั้งบริเวณด้านข้างลิ้น บางครั้งอาจไม่ส่งผลอาการเจ็บปวดใด ๆ แต่รอยแดงนี้อาจเป็นสัญญาณเตือนมะเร็งระยะลุกลามได้ ดังนั้น จึงควรเข้ารับการตรวจสุขภาพอย่างละเอียดโดยคุณหมอ เพื่อทราบผลที่แน่ชัด เนื้องอกบนลิ้น เนื้องอกบนลิ้นอาจปรากฏเป็นจุด […]


สุขภาพช่องปาก

ฟันแตก อาการ สาเหตุ การรักษา

ฟันแตก เป็นปัญหาสุขภาพฟัน ที่อาจเกิดจากหลายสาเหตุด้วยกัน ไม่ว่าจะเป็น การรับประทานอาหารที่แข็งจนเกินไป เคี้ยวน้ำแข็ง หรือมีอาการฟันร้าวอยู่แต่เดิม เป็นต้น ส่งผลให้มีอาการปวดฟัน เกิดอาการเสียวฟันเวลาเคี้ยวอาหาร และฟันบางส่วนหลุดออกมากได้ [embed-health-tool-heart-rate] คำจำกัดความ ฟันแตกคืออะไร ฟันแตก คือ การแตกหักของฟันทั้งหมด หรือฟันบางส่วนแตกและหลุดร่วงออก โดยสามารถเกิดขึ้นได้กับฟันทุกซี่ เช่น ฟันหน้า ฟันกราม ฟันแท้ ฟันน้ำนม และพบได้บ่อยในช่วงอายุ 40 ปีขึ้นไป ในผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย เพราะร่างกายอาจขาดแคลเซียมเสี่ยงเป็นโรคกระดูกพรุน ซึ่งเป็นภาวะที่ส่งผลให้ฟันที่เป็นส่วนหนึ่งของกระดูกเปราะบาง และแตกหักง่าย นอกจากนี้ฟันแตกสามารถแบ่งออกเป็น 6 ประเภท ตามรอยร้าวของฟัน ได้แก่ รอยแตกบนฟันแนวเฉียง เป็นรอยแตกที่อาจก่อให้เกิดความเจ็บปวดในระดับเบา อยู่ตามผิวฟัน รอยแตกใต้เหงือกแนวเฉียง คือ รอยแตกที่อาจอยู่ต่ำกว่าเหงือก อาจทำให้รู้สึกเจ็บปวดอย่างมาก ฟันแตก เป็นการแตกที่แยกออกเป็น 2 ส่วน ซึ่งทันตแพทย์อาจรักษาได้เพียงส่วนใดส่วนหนึ่ง และอาจต้องทำการรักษารากฟันร่วมด้วย รากฟันแตก อาจไม่สามารถสังเกตรอยแตกนี้บนผิวฟันได้ เนื่องจากเป็นความเสียหายที่อยู่ลึกลงไปในรากฟัน ซึ่งอาจใช้การรักษาด้วยการถอนฟัน พื้นผิวฟันแตก เป็นประเภทที่พื้นผิวฟันที่ช่วยในการบดเคี้ยวแตก มีรอยร้าว อาจเกิดขึ้นได้จากเทคนิคการอุดฟัน รอยแตกในรากฟันแบบแนวตั้ง คือ รอยแตกที่เริ่มตั้งแต่บริเวณโคนฟัน […]


ทันตกรรมเพื่อความงาม

ผ่าฟันคุด การดูแลตัวเอง และภาวะแทรกซ้อนที่ควรระวัง

ฟันคุด เป็นหนึ่งในฟันกรามส่วนหลังที่อยู่ใต้เหงือก ซึ่งอาจไม่สามารถขึ้นมาได้อย่างเต็มรูปแบบ และอาจส่งผลกระทบกันฟันซี่ข้าง ๆ การผ่าฟันคุด จึงเป็นสิ่งที่จำเป็น เพราะหากปล่อยไว้อาจทำให้เกิดปวดเหงือก ติดเชื้อ และอาจทำให้ฟันซี่อื่นเสียหายได้ ทำไมจึงต้อง ผ่าฟันคุด ฟันคุด เป็นฟันกรามที่อยู่ใต้เหงือก ที่ไม่สามารถผุดขึ้นมาได้ตามปกติ ไม่ว่าจะเป็นฟันที่โผล่แค่เพียงบางส่วน ฟันที่ไม่โผล่ขึ้นมาเลย หรือฟันที่ขึ้นในรูปแบบแนวทะแยงขวาง ซึ่งมองเห็นด้วยตาเปล่าได้ยาก และอาจส่งผลกระทบต่อฟันซี่อื่น ๆ จึงควรผ่าฟันคุดออก เพื่อป้องกันไม่ให้ฟันซี่อื่นได้รับความเสียหาย อีกทั้งฟันคุดที่โผล่ออกมาเป็นบางส่วนยังอาจทำความสะอาดได้ยาก ทำให้เศษอาหารและแบคทีเรียสะสม จนอาจนำไปสู่การติดเชื้อในช่องปาก ฟันผุ โรคเหงือก และซีสต์ในช่องปาก ขั้นตอนการผ่าฟันคุด การผ่าฟันคุดอาจใช้เวลาประมาณ 20 นาที หรือมากกว่านั้น ขึ้นอยู่กับลักษณะของฟันคุด โดยขั้นตอนอาจเริ่มจากการฉีดยาชาบริเวณเหงือก เมื่อยาชาเริ่มออกฤทธิ์จะทำการกรีดเหงือกเพื่อเปิดช่อง และกรอกระดูกให้เข้าถึงรากฟัน จากนั้นแบ่งส่วนของฟันคุดเป็นชิ้น ๆ ให้ง่ายต่อการนำฟันคุดออก และทำความสะอาดแผล เย็บปิดแผลผ่าตัด และวางผ้าก๊อซเพื่อห้ามเลือด เมื่อผ่าตัดฟันคุดเสร็จทันตแพทย์อาจนัดหมายวันตัดไหมอีกครั้ง ภาวะแทรกซ้อนหลังผ่าฟันคุด ภาวะแทรกซ้อนหลังการผ่าฟันคุด มีดังนี้ มีไข้ หายใจลำบาก เลือดออกมาก กลืนอาหารลำบาก กระดูกเบ้าฟันอักเสบ มีหนองไหล การติดเชื้อจากแบคทีเรีย และเศษอาหารในแผล อาจส่งผลอันตรายต่อเส้นประสาทในปาก ฟัน และกราม การดูแลตัวเองหลังผ่าฟันคุด หลังจากผ่าฟันคุด ควรดูแลสุขภาพช่องปาก เพื่อป้องกันแผลติดเชื้อ ดังนี้ วันแรกหลังการผ่าฟันคุดอาจมีเลือดออกในปริมาณมาก ควรกัดผ้าก๊อซเพื่อห้ามเลือด และเปลี่ยนผ้าก๊อซตามคำแนะนำของคุณหมอ รับประทานยาแก้ปวดเพื่อบรรเทาอาการเจ็บปวดจากการผ่าตัด เช่น อะเซตามิโนเฟน ไทลินอล ลดอาการบวมช้ำด้วยการใช้ถุงน้ำแข็ง หรือเจลเย็นประคบบริเวณแก้มบ แถวแผลผ่าฟันคุด ดื่มน้ำให้มาก […]


ทันตกรรมสำหรับเด็ก

เด็กฟันผุ สาเหตุ และการป้องกันที่คุณพ่อคุณแม่ควรรู้

เด็กฟันผุ เป็นปัญหาที่พบได้บ่อย เกิดจากแบคทีเรีย หรือคราบจุลินทรีย์ ทำปฏิกิริยากับน้ำตาลจากอาหารและเครื่องดื่ม กลายเป็นกรดที่กัดกร่อนสารเคลือบฟันชั้นนอกลึกถึงฟันชั้นใน จนนำไปสู่อาการฟันผุ สาเหตุที่ทำให้ เด็กฟันผุ สาเหตุที่ทำให้เด็กฟันผุ คือการก่อตัวของแบคทีเรีย โดยเกิดขึ้นจากอาหารประเภทคาร์โบไฮเดรต เช่น ลูกอม เค้ก ซีเรียล ขนมปัง นม โซดา น้ำผลไม้ ที่ก่อให้เกิดน้ำตาลติดอยู่ตามพื้นผิวฟันและซอกฟัน ซึ่งแบคทีเรีย อาหาร และน้ำลาย ที่อยู่ในช่องปากทั้งหมดจะทำปฏิกิริยากันจนเกิดเป็นกรด หรือคราบพลัคเกาะติดกับฟัน หากปล่อยไว้นาน แบคทีเรียจะค่อย ๆ กัดกร่อนสารเคลือบฟันที่ทำหน้าที่ปกป้องฟันชั้นต่าง ๆ และก่อให้เกิดฟันผุได้ในที่สุด อาการเด็กฟันผุ ฟันผุในเด็กระยะแรกอาจไม่แสดงอาการใด ๆ ต้องเข้ารับการตรวจสุขภาพช่องปากเป็นประจำจึงจะทราบได้ว่าเด็กฟันผุ แต่หากแบคทีเรียกัดกร่อนชั้นฟันมากขึ้น อาจก่อให้เกิดอาการที่สังเกตได้ ดังต่อไปนี้ มีจุดสีขาวบริเวณฟัน เนื่องจากสารเคลือบฟันถูกกัดกร่อน และอาจทำให้เด็กเสียวฟันได้ มีรูสีน้ำตาลอ่อนบนฟัน หากรูลึกขึ้น จะเปลี่ยนจากสีน้ำตาลอ่อนเป็นน้ำตาลเข้ม และสีดำ ตามลำดับ ปวดบริเวณรอบฟัน เสียวฟันเมื่อรับประทานอาหาร เช่น ขนมหวาน เครื่องดื่มร้อน เครื่องดื่มเย็น ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เด็กฟันผุ เด็กทุกคนมีแบคทีเรียในช่องปาก จึงทำให้เสี่ยงฟันผุได้ทุกคน แต่ปัจจัยเสี่ยงเหล่านี้ อาจส่งผลให้เด็กฟันผุได้ไวขึ้น รับประทานอาหารที่มีน้ำตาลและแป้งเป็นประจำ โดยเฉพาะในช่วงกลางคืน รับประทานของว่างระหว่างวัน เนื่องจากกรดที่ทำร้ายฟันสามารถอยู่ได้นาน 1 ชั่วโมง การเพิ่มของว่างอาจเป็นการทำให้แบคทีเรียทำปฏิกิริยา และสร้างกรดทำลายพื้นผิวฟันอย่างต่อเนื่อง แปรงฟันไม่ครบตามเกณฑ์ที่แนะนำ ปกติแล้วเด็กควรแปรงฟันวันละ […]

advertisement iconโฆษณา
advertisement iconโฆษณา
advertisement iconโฆษณา

ทีมผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์ของเรา

ทีมผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ของ Hello คุณหมอ ประกอบไปด้วยแพทย์และผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางที่มาร่วมสร้างสรรค์บทความในเว็บไซต์ของเราตามความเชี่ยวชาญในแต่ละด้าน ทีมแพทย์และผู้เชี่ยวชาญของเราจะช่วยรับรองว่าข้อมูลด้านสุขภาพของเราถูกต้อง เป็นปัจจุบัน และตรงตามหลักฐานจากงานวิจัยล่าสุด
ทีมผู้เชี่ยวชาญของเรามุ่งมั่นเต็มที่ในการช่วยให้คุณได้รับข้อมูลและความรู้ด้านสุขภาพที่น่าเชื่อถือ เข้าใจง่าย และเป็นประโยชน์ และพร้อมให้คำแนะนำในการดูแลสุขภาพกับคุณเสมอ เพื่อให้คุณได้รับทางเลือกที่ดีต่อสุขภาพ และใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขมากยิ่งขึ้น

ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม
ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม