backup og meta

มาทำท่า บริหารใบหน้า ลดเลือนริ้วรอยรอบดวงตา กันเถอะ

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย ฤทธิศักดิ์ วงศ์วุฒิพงษ์ · แก้ไขล่าสุด 11/05/2020

    มาทำท่า บริหารใบหน้า ลดเลือนริ้วรอยรอบดวงตา กันเถอะ

    ริ้วรอยรอบดวงตา อาจเกิดจากหลายสาเหตุ เช่น การพักผ่อนน้อย การจ้องหน้าจอเป็นเวลานาน หรือกรรมพันธุ์ แม้ว่าการลบเลือนริ้วรอยให้หมดไป เป็นสิ่งที่ทำได้ยาก แต่รู้หรือไม่ว่าการ บริหารใบหน้า ด้วยการทำท่า บริหารใบหน้า แบบง่ายๆ เหล่านี้ อาจสามารถช่วยลดความชัดของริ้วรอยลงได้

    ท่านิ้วตัววี

    วางนิ้วกลางทั้งสองข้าง ที่บริเวณหว่างคิ้ว กางนิ้วชี้ออกไปจนเป็นรูปตัววี แล้วใช้นิ้วชี้กดเบาๆ บริเวณหางตา จากนั้น กลอกตาขึ้นมองด้านบนอย่างช้าๆ พร้อมกับค่อยๆ ใช้นิ้วชี้ดันเปลือกตาด้านล่างขึ้น จนตาปิด พักสักครู่ แล้วทำซ้ำอีก 6 ครั้ง จบการบริหารด้วยการหยีตาแรงๆ และค้างไว้ 10 วินาที แล้วจึงค่อยลืมตา

    กระพริบตา

    เริ่มจากปิดปากให้สนิท จากนั้น ทำปากเป็นรูปตัวโอ ในขณะที่อ้าปากให้กว้างช้าๆ วางนิ้วชี้ขนานกับริ้วรอยใต้ดวงตา และมองขึ้น จากนั้น กระพริบตาถี่ๆ เป็นเวลา 30 วินาที

    กลอกตา

    ตั้งคอและหน้าให้ตรง และนิ่ง จากนั้น กลอกตาไปทางขวาและทางซ้าย จากนั้น กลอกตาขึ้นด้านบนและลงล่าง ปิดตาเป็นเวลา 5 วินาที ก่อนทำซ้ำ จากนั้น เปิดตาให้กว้างที่สุดเท่าที่จะทำได้ โดยไม่ย่นคิ้ว เพ่งไปที่จุดใดจุดหนึ่งตรงหน้า หายใจเข้าลึกๆ และปิดตาลง

    นวดเป็นวงกลม

    วางนิ้วชี้บริเวณปลายคิ้ว ค่อยๆ ใช้นิ้วแตะเบาๆ ไปรอบๆ ดวงตา โดยเริ่มจากด้านบนของคิ้ว และวนไปรอบๆ ไปจนถึงขอบล่างของดวงตา แล้ววนกลับไปอีกรอบหนึ่ง จากนั้น ใช้นิ้วชี้ค่อยๆ เกลี่ยผิวบริเวณใต้ดวงตา ในทิศทางจากจมูกออกไป ทำซ้ำกันสี่ครั้ง

    ประคบฝ่ามือ

    วิธีนี้ทำได้ง่ายๆเพียงหลับตาลง และใช้ฝ่ามือถูกันจนเกิดความร้อน จากนั้น วางฝ่ามือลงบนเปลือกตาเพื่อให้ความร้อนแทรกเข้าสู่ภายใต้ผิวหนังรอบดวงตา หายใจลึกๆ และต่อเนื่อง เอาฝ่ามือออก และเปิดตาช้าๆ

    การออกกำลังเหล่านี้ ช่วยเสริมสร้างกล้ามเนื้อรอบดวงตา หากคุณฝึกอย่างสม่ำเสมอ ผิวหนังจะได้รับการกระตุ้น ให้ผลิตคอลลาเจนและอีลาสติน ซึ่งทำให้ริ้วรอยรอบดวงตาดูลดเลือนลงได้

    Hello Health Group ไม่ได้ให้คำปรึกษาด้านการแพทย์ การวินิจฉัย หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

    หมายเหตุ

    Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

    ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

    ทีม Hello คุณหมอ


    เขียนโดย ฤทธิศักดิ์ วงศ์วุฒิพงษ์ · แก้ไขล่าสุด 11/05/2020

    advertisement iconโฆษณา

    คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

    advertisement iconโฆษณา
    advertisement iconโฆษณา