backup og meta

ตาสีม่วงตามธรรมชาติมีอยู่จริงหรือ

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย Duangkamon Junnet


เขียนโดย ปัญญพัฒน์ เอี่ยมสิน · แก้ไขล่าสุด 10/11/2022

    ตาสีม่วงตามธรรมชาติมีอยู่จริงหรือ

    มีความเป็นไปได้น้อยมากที่จะพบคนตาสีม่วงตามธรรมชาติ แต่ลักษณะสีของดวงตาดังกล่าวนั้น มีอยู่จริง  ซึ่งสาเหตุที่ก่อให้เกิดภาวะตาสีม่วงนั้นมีหลายประการด้วยกันส่วนใหญ่มักเป็นแต่กำเนิด หากใครเกิดภาวะตาสีม่วงฉับพลันหรือตาเพิ่งเปลี่ยนสีควรต้องรีบไปปรึกษาแพทย์

    ตำนานเรื่องของตาสีม่วงที่เคยปรากฎ

    เมื่อปีพ.ศ. 2548 ได้มีตำนานดังของบุคคลหนึ่งที่ชื่อว่า อเล็กซานเดรีย (Alexandria) ซึ่งเป็นมนุษย์ที่ได้รับการค้นพบว่าดวงตานั้นเกิดการเปลี่ยนสีเป็นสีม่วงตั้งแต่ในช่วงวัยทารก อีกทั้งยังมีสีผิวซีด และร่างกายที่ไม่ได้สัดส่วน แต่กลับมีช่วงอายุในการใช้ชีวิตอย่างยาวนานกว่า 100 ปี

    มีการตรวจสอบข้อเท็จจริงและพบว่าอาจเป็นการกลายพันธุ์ทางพันธุกรรม ซึ่งพบได้น้อยมาก เพราะบุคคลส่วนใหญ่มักเกิดมาพร้อมกับดวงตาสีดำ สีน้ำตาล สีเทา สีฟ้า อีกทั้งดวงตาสีทั่วไปเหล่านี้ขึ้นอยู่กับเซลล์สร้างเม็ดเลือด และเม็ดสีเมลานินจากทางพันธุกรรมของครอบครัว

    ตาสีม่วง เกิดขึ้นจากอะไรได้บ้าง

    นอกจากสาเหตุของการเปลี่ยนแปลงทางพันธุกรรมแล้ว ยังมีอีกหลายสาเหตุที่ทำให้สีของดวงตาเปลี่ยนได้ด้วย  ได้แก่

    · โรคเฮเทอโรโครเมีย (Heterochromia)

    สำหรับผู้ที่ประสบกับโรคเฮเทอโรโครเมียจะสังเกตได้ว่าสีตาข้างใดข้างหนึ่งนั้นแตกต่างออกไปจากสีตาเดิม เช่น ตาข้างซ้ายสีฟ้า และตาข้างขวาสีน้ำตาล ซึ่งโรคนี้มักเป็นตั้งแต่กำเนิด และอาจพบไม่มากนักเช่นเดียวกับบุคคลตาสีม่วง

    · โรคต้อหินชนิดเม็ดสี

    เป็นกลุ่มอาการที่เกี่ยวข้องกับดวงตา ซึ่งเกิดจากความเสียหายของเส้นประสาทตาจนทำให้เม็ดสีในม่านตาหลุดออกมาเป็นบางส่วน จึงส่งผลให้สีตามีการเปลี่ยนสีไปบ้างเล็กน้อย หากยังปล่อยให้โรคต้อหินชนิดเม็ดสีดังกล่าวไว้เป็นเวลานานโดยไม่รับการรักษาก็อาจทำให้เกิดภาวะสูญเสียทางด้านการมองเห็นได้

    · เนื้องอกในม่านตา

    อาการเนื้องอกในม่านตาส่วนใหญ่ในระยะแรกมักไม่แสดงอาการใด ๆ แต่สำหรับบางคนอาจสังเกตได้จากสีของดวงตาที่เริ่มมีการเปลี่ยนแปลง และจุดเม็ดสีที่มีชื่อเรียกว่า Nerve มีขนาดใหญ่ขึ้น หากสงสัยว่ามีอาการเนื้องอกในม่านตาควรรีบเข้ารับการรักษา โดยอาจเป็นการเลเซอร์ หรือการผ่าตัดร่วม ตามอาการของเนื้องอกของแต่ละบุคคล

    · ยารักษาบางประเภท

    ยาบางชนิดที่ใช้รักษาเกี่ยวกับปัญหาของดวงตา เช่น Prostaglandin analogs อาจมีผลทำให้ดวงตานั้นมีสีที่เปลี่ยนไป เนื่องจากเป็นยาที่ใช้รักษาต้อหิน และระบายของเหลว ลดความดันในดวงตา จึงอาจส่งผลข้างเคียงได้เล็กน้อยต่อสีของดวงตา

    เมื่อใดที่ควรไปปรึกษาแพทย์

    หากสังเกตว่าสีของดวงตาปลี่ยนแปลงไปจากเดิมกะทันหัน รวมไปถึงมีปัญหาทางสายตา อื่น ๆ เช่น อาการสายตาพร่ามัว อาการมองเห็นวัตถุต่าง ๆ พร้อมกับมีจุดสีดำลอยอยู่ร่วม โปรดปรึกษาและเข้ารับการรักษาจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญในทันที เพราะอาการเหล่านี้นับเป็นอาการเบื้องต้นของโรคร้ายแรงอื่น ๆ ได้

    หมายเหตุ

    Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

    ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

    Duangkamon Junnet


    เขียนโดย ปัญญพัฒน์ เอี่ยมสิน · แก้ไขล่าสุด 10/11/2022

    advertisement iconโฆษณา

    คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

    advertisement iconโฆษณา
    advertisement iconโฆษณา