backup og meta

เลสิก VS พีอาร์เค เทคนิคการรักษาสายตาแบบใด ที่เหมาะกับคุณ

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย ปัญญพัฒน์ เอี่ยมสิน · แก้ไขล่าสุด 05/01/2021

    เลสิก VS พีอาร์เค เทคนิคการรักษาสายตาแบบใด ที่เหมาะกับคุณ

    สำหรับผู้ที่ประสบกับปัญหาสายตาสั้น สายตายาว สายตาเอียง และไม่สะดวกจะใส่แว่น หรือคอนแทคเลนส์ การทำ เลสิก และ พีอาร์เค อาจเป็นอีกหนึ่งตัวเลือกการรักษาที่ดีในปัจจุบัน ที่แพทย์อาจแนะนำให้แก่คุณ แต่ทั้ง 2 เทคนิคนี้ จะมีข้อแตกต่างอย่างไรบ้างนั้น วันนี้ Hello คุณหมอ มีคำตอบเบื้องต้นมาคลายข้อสงสัย และให้ทุกคนให้ได้ลองพิจารณาก่อนตัดสินใจ ไปพร้อม ๆ กันค่ะ

    ความแตกต่างของการทำ เลสิก และ พีอาร์เค

    ไม่ว่าคุณต้องการการผ่าตัดด้วยเทคนิคสิก (Lasik) หรือ พีอาร์เค (PRK) ทั้งนี้ย่อมขึ้นอยู่การพิจารณา และการวินิจฉัยร่วมจากจักษุแพทย์ เนื่องจากปัญหาทางสายตาของผู้ป่วยนั้นมีอาการที่ต่างออกไป อาจทำให้ไม่เหมาะสมในเทคนิคใดเทคนิคหนึ่ง

    ซึ่งการผ่าตัดรักษาสายตาทั้ง 2 เทคนิคนั้น แตกต่างกันตรงที่การผ่าตัดด้วยเลสิก ใช้กรรมวิธีตัดแผ่นกระจกบาง ๆ ด้วยเครื่องไมโครเคอราโตม (Microkeratome) หรือการเลเซอร์ เฟมโตเซเคิน (Laser femtosecond) เพื่อแยกชั้นกระจกตา และทำการยิงเลเซอร์ปรับความโค้งของกระจกตา เมื่อเสร็จสิ้นแพทย์จะทำการนำเยื่อบุผิว พร้อมกระจกตากลับใส่เข้าที่เดิม เพื่อให้เนื้อเยื่อเดิมนั้นคงอยู่ไม่ระเหยหายไปในขณะยิงเลเซอร์ ซึ่งโดยรวมแล้วการทำเลสิกอาจใช้เวลาถึง 30 นาทีในการผ่าตัดแก้ไขปัญหาสายตาด้วยวิธีเลสิก

    แต่ในส่วนของการทำพีอาร์เค แพทย์จะทำการนำเยื่อบุผิวบนกระจกตาชั้นบนสุดออกหมด และยิงเลเซอร์แก้ไขเนื้อเยื่อกระจกตาผิดปกติที่อยู่ลึกลงไป และปรับความโค้งของกระจกตาให้ได้รูป เมื่อเสร็จขั้นตอนการผ่าตัด แพทย์จะทำการนำผ้าปิดแผลมาพันรอบ พร้อมใส่อุปกรณ์ป้องกันดวงตาเพิ่มไว้เพื่อป้องกันเชื้อโรค โดยใช้เวลาผ่าตัดเพียงแค่ 15 นาที

    ดังนั้นจึงสรุปได้ว่า การผ่าตัดทั้ง 2 เทคนิคนี้มักมีความคล้ายคลึงกันอย่างมาก แต่อาจแตกต่างตรงที่พีอาร์เคจำเป็นต้องทำการตัดกระจกตาชั้นนอก และนำเยื่อบุผิวออกให้หมด พร้อมทั้งใช้ระยะเวลาการผ่าตัดที่สั้น แต่เลสิกนั้น มีระยะเวลาการผ่าตัดที่ยาวนานกว่า และเป็นการผ่าตัดที่เพียงแค่เปิดกระจกตาออกมิได้ตัดทิ้งทั้งหมด และยังมีการแยกเนื้อเยื่อเก็บเอาไว้แล้วจึงนำใส่กลับเข้าที่เดิม เมื่อเสร็จสิ้นการผ่าตัด หรือก่อนการปิดกระจกตาลง

    ข้อดี ข้อเสียของ เลสิก และ พีอาร์เค

    ข้อดี ข้อเสียของการผ่าตัดแก้ไขปัญหาสายตาทั้ง 2 เทคนิคนั้น คุณสามารถเปรียบเทียบได้ตามตาราง ต่อไปนี้

    ข้อดีของการทำเลสิก (Lasik)

  • ฟื้นตัวหลังจากการรักษาได้เร็ว
  • ไม่จำเป็นต้องมีการใช้ผ้าพันแผล
  • การนัดหมายติดตามแผลผ่าตัด หรือการมองเห็นน้อยครั้ง
  • อัตราความสำเร็จสูงในการกลับมามีสายตาปกติ
  • ข้อเสียของการทำเลสิก (Lasik)

    1. เสี่ยงต่อเกิดภาวะแทรกซ้อน
    2. ไม่เหมาะสำหรับผู้ป่วยที่อยู่ในความเสี่ยงต่อการบาดเจ็บที่ดวงตา
    3. มีโอกาสการเกิดตาแห้งสูง
    4. ประสิทธิภาพการมองเห้นในเวลากลางคืนไม่ดีเท่าที่ควร

    ข้อดีของการทำพีอาร์เค (PRK)

  • ไม่มีการสร้างแผลปิดระหว่างการผ่าตัด
  • มีประวัติการใช้เทคนิคนี้มาอย่างยาวนาน
  • มีโอกาสเกิดภาวะแทรกซ้อนเพียงเล็กน้อย
  • อัตราความสำเร็จสูงในการกลับมามีสายตาปกติ
  • ข้อเสียของการทำพีอาร์เค (PRK)

    1. ใช้เวลาพักฟื้นนาน อาจถึง 1 เดือน หรือ 30 วัน
    2. จำเป็นต้องใช้ผ้าพันแผลพันเอาไว้ และต้องหมั่นคอยถอดออกมาเพื่อหยอดยา
    3. อาจรู้สึกไม่สบายตัวเป็นเวลาหลายวันจนกว่าจะถึงเวลากำหนดนำผ้าออกอย่างถาวร

    ผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้นของการผ่าตัดรักษาสายตา

    การผ่าตัดแบบเลสิกอาจทำให้คุณรู้สึกเจ็บปวด แสบร้อนขึ้นจากอาการตาแห้ง และอาจเกิดภาพพร่ามัว 2-3 วัน ซึ่งในบางกรณีผู้ป่วยอาจมีรอยแดง หรือรู้สึกเห็นแสงจ้าเป็นวงรอบดวงไฟในเวลากลางคืนได้

    ส่วนการผ่าตัดแบบพีอาร์เค อาจมีการปรากฏของอาการเจ็บปวด หรือรอยแดงหลังการผ่าตัดประมาณ 2-3 วัน พร้อมเห็นรัศมีของแสงไฟชัดเจนเกินไปในเวลากลางคืนคล้ายกับการทำเลสิกเช่นเดียวกัน

    แต่ถึงอย่างไรการผ่าตัดทั้ง 2 เทคนิคนี้ อาจทำให้คุณได้รับผลข้างเคียง หรือความเสี่ยงของการติดเชื้อในตาอย่างรุนแรง จนถึงขั้นสูญเสียการมองเห็นได้อีกด้วย หากคุณไม่ปฏิบัติตามคำแนะนำหลังการรักษาจากแพทย์อย่างเคร่งครัด ถึงแม้จะเป็นภาวะที่เกิดขึ้นได้น้อยก็ตาม

    หมายเหตุ

    Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

    ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

    ทีม Hello คุณหมอ


    เขียนโดย ปัญญพัฒน์ เอี่ยมสิน · แก้ไขล่าสุด 05/01/2021

    advertisement iconโฆษณา

    คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

    advertisement iconโฆษณา
    advertisement iconโฆษณา