backup og meta
สำรวจ
เครื่องมือตรวจเช็กสุขภาพ
ถามคุณหมอ
บันทึก
สารบัญ

ตาเหล่

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย พลอย วงษ์วิไล


เขียนโดย ปัญญพัฒน์ เอี่ยมสิน · แก้ไขล่าสุด 14/09/2021

ตาเหล่

ตาเหล่ ข้างใดข้างหนึ่งหรือทั้งสองข้างเคลื่อนไหวไม่สอดคล้องกัน อาจเกิดขึ้นตั้งแต่ช่วงวัย 6 เดือนแรกหลังคลอด และจะมีอาการที่ชัดเจนเรื่อย ๆ ตามการเจริญเติบโต โดยสังเกตได้จากลูกตาที่ไม่สามารถมองตรงไปข้างหน้าพร้อมกันได้

คำจำกัดความ

ตาเหล่ คืออะไร

ตาเหล่ คือ ปัญหาที่เกี่ยวข้องกับการมองเห็น เนื่องจากลูกตาทั้งสองข้างไม่สามารถมองไปที่จุดใดจุดหนึ่งในเวลาเดียวกันได้ ซึ่งปกติดวงตาจะมีกล้ามเนื้อยึดติดเพื่อควบคุมการเคลื่อนไหวให้ไปในทิศทางเดียวกัน แต่หากกล้ามเนื้อนั้นทำงานผิดปกติ ก็จะเกิดเป็นอาการตาเหล่ขึ้น

ตาเหล่สามารถแบ่งประเภทตามตำแหน่งของลูกตา ดังนี้

  • ตาเหล่ขึ้นไปด้านบน (Hypertropia)
  • ตาเหล่ลงด้านล่าง (Hypotropia)
  • ตาเหล่เข้าด้านใน (Esotropia)
  • ตาเหล่ออกด้านนอก (Exotropia)

อาการ

อาการของตาเหล่

อาการตาเหล่ที่พบบ่อย อาจสังเกตได้จาก

  • ลักษณะของดวงตาที่ไม่สมส่วน และมีการเคลื่อนไหวดวงตาที่ไม่พร้อมเพรียงกัน
  • กระพริบตา หรือหรี่ตาบ่อยครั้ง โดยเฉพาะเมื่อเจอแสงจ้า
  • เอียงศีรษะขณะดูสิ่งของรอบตัว
  • มองเห็นไม่ชัด เดินชนสิ่งของ

สาเหตุ

สาเหตุที่ส่งผลให้ตาเหล่

ยังไม่มีสาเหตุแน่ชัดที่ส่งผลให้เกิดอาการตาเหล่ แต่อาจมีความเชื่อมโยงเกี่ยวกับระบบประสาทส่วนที่ควบคุมกล้ามเนื้อตา หรือผลข้างเคียงจากปัญหาทางสายตา เช่น สายตายาว สายตาสั้น สายตาเอียง รวมถึงโรคตาเรื้อรัง และการติดเชื้อไวรัสบางชนิด ที่เข้าไปสร้างความเสียหายแก่หลอดเลือด เส้นประสาท

ปัจจัยเสี่ยง

ปัจจัยเสี่ยงของภาวะตาเหล่

ปัจจัยเสี่ยงที่อาจทำให้ตาเหล่ ทั้งในเด็ก และผู้ใหญ่ ได้แก่

  • ประวัติของบุคคลในครอบครัวที่เคยมีหรือกำลังมีอาการตาเหล่
  • สายตาผิดปกติ อาจทำให้เกิดอาการตาเหล่ได้ เนื่องจากต้องเพ่งสายตาเพื่อมองเห็นสิ่งรอบตัวได้ชัดเจนขึ้น
  • โรคอื่น ๆ เช่น ดาวน์ซินโดรม สมองพิการ โรคหลอดเลือดในสมอง โรคต้อหิน โรคต้อกระจก โรคเบาหวาน โรคไทรอยด์
  • การวินิจฉัยและการรักษา

    ข้อมูลในที่นี้ไม่มีเจตนาให้ใช้ทดแทนคำแนะนำทางการแพทย์ ควรปรึกษาแพทย์ทุกครั้งเพื่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม

    การวินิจฉัยภาวะตาเหล่

    คุณหมออาจวินิจฉัยหาสาเหตุของ ภาวะตาเหล่ และความผิดปกติของลูกตาด้วยการทดสอบต่าง ๆ ดังนี้

    • สอบถามประวัติผู้ป่วยถึงอาการ ยาที่ใช้ และปัญหาสุขภาพทั่วไปที่ผู้ป่วยเป็น
    • ทดสอบความสามารถในการมองเห็น ด้วยการให้อ่านตัวเลข หรือตัวอักษรที่มีขนาด และระยะการอ่านที่แตกต่างกัน
    • วัดการหักเหของแสงจากการส่องไฟ และอุปกรณ์เฉพาะทาง
    • ตรวจการโฟกัส และการเคลื่อนไหวของดวงตาขณะที่มองสิ่งของ
    • ตรวจโครงสร้างดวงตาทั้งภายใน และภายใน เพื่อหาสาเหตุที่ส่งผลให้ตาเหล่

    การรักษาภาวะตาเหล่

    ควรเร่งรักษาอาการตาเหล่ทันที เมื่อเริ่มสังเกตเห็นว่าลูกตาเคลื่อนที่อย่างผิดปกติด้วยวิธี ดังต่อไปนี้

    • การใส่แว่นตา หรือคอนแทคเลนส์ ซึ่งอาจใช้ในกรณีที่ตาเหล่เพียงเล็กน้อย
    • การบำบัดการมองเห็นเพื่อปรับปรุงการทำงานของดวงตาให้มีการโฟกัสวัตถุรอบข้าง และฝึกให้สมองกับดวงตาทำงานอย่างสอดคล้องกัน
    • ผ่าตัดกล้ามเนื้อตา เพื่อประสานการทำงานของดวงตาไม่ให้ดวงตาหักเหผิดทิศทาง

    การเปลี่ยนไลฟ์สไตล์และการดูแลตัวเอง

    การปรับเปลี่ยนไลฟ์สไตล์และการดูแลตัวเองเพื่อป้องกัน ภาวะตาเหล่

    ภาวะตาเหล่อาจเกิดขึ้นได้ตั้งแต่วัยทารก ดังนั้นจึงควรตรวจสุขภาพตาตั้งแต่ช่วงก่อนอายุ 6 เดือน และ 3-5 ปี หรือเข้ารับการตรวจสุขภาพเป็นประจำทุกปี เพราะหากตรวจพบความผิดปกติของดวงตาได้ตั้งแต่เนิ่น ๆ ก็อาจสามารถเข้ารับการรักษาภาวะตาเหล่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ และปรับปรุงด้านการมองเห็นให้ดีขึ้น นอกจากนี้ยังอาจต้องบำบัดการทำงานของดวงตา โดยฝึกการเคลื่อนไหวดวงตาด้วยตัวเอง ตามคำแนะนำของคุณหมอ

    หมายเหตุ

    Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

    ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

    พลอย วงษ์วิไล


    เขียนโดย ปัญญพัฒน์ เอี่ยมสิน · แก้ไขล่าสุด 14/09/2021

    advertisement iconโฆษณา

    คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

    advertisement iconโฆษณา
    advertisement iconโฆษณา