backup og meta

มีเลือดออกจากช่องคลอด แต่ ไม่ใช่ ประจําเดือนสี น้ำ ตาล เกิดจากอะไร

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย พลอย วงษ์วิไล


เขียนโดย ทีม Hello คุณหมอ · แก้ไขล่าสุด 18/09/2023

    มีเลือดออกจากช่องคลอด แต่ ไม่ใช่ ประจําเดือนสี น้ำ ตาล เกิดจากอะไร

    โดยปกติแล้ว ผู้หญิงในวัยเจริญพันธุ์จะมีประจำเดือนทุก ๆ 21-35 วัน แต่หากสังเกตพบว่า มีเลือดออกจากช่องคลอด แต่ ไม่ใช่ ประจําเดือนสี น้ำ ตาล อาจมีสาเหตุมาจากปัญหาทางสุขภาพบางประการ เช่น โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ โรคปากมดลูกอักเสบ โรคช่องคลอดอักเสบ ภาวะตั้งครรภ์นอกมดลูก โรคมะเร็งเยื่อบุโพรงมดลูก จึงควรเข้ารับการวินิจฉัยหาสาเหตุที่แน่ชัด และรับการรักษาโดยเร็วที่สุด เพื่อป้องกันอันตรายต่อชีวิต

    มีเลือดออกจากช่องคลอด แต่ ไม่ใช่ ประจําเดือนสี น้ำ ตาล เกิดจากอะไร และรักษาอย่างไร

    สาเหตุที่ทำให้มีเลือดออกจากช่องคลอด แต่ ไม่ใช่ ประจําเดือนสี น้ำ ตาล อาจมีดังนี้ 

    1. โรคหนองในแท้

    โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ที่เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียผ่านทางทวารหนัก ช่องคลอด และชปาก ส่งผลให้มีอาการปวดท้อง เลือดออกทางช่องคลอด มีตกขาวสีเหลือง แสบร้อนอวัยวะเพศเมื่อปัสสาวะ คันช่องคลอด เป็นต้น

    วิธีรักษาโรคหนองในแท้

    คุณหมออาจให้ยาปฏิชีวนะในรูปแบบฉีดหรือยาเม็ดเพื่อฆ่าเชื้อแบคทีเรีย สำหรับสตรีตั้งครรภ์ที่เป็นโรคหนองในอาจจำเป็นต้องรับการรักษาโดยเร็วที่สุด เพื่อป้องกันเชื้อแพร่กระจายไปสู่ทารกระหว่างคลอด

    2. โรคหนองในเทียม

    เกิดจากการติดเชื้อของแบคทีเรียคลาไมเดีย (Chlamydia trachomatis) ผ่านการมีเพศสัมพันธ์โดยไม่ป้องกัน สัญญาณที่บ่งบอกว่ากำลังเป็นโรคหนองในเทียม คือ มีตกขาว มีเลือดออกทางช่องคลอดระหว่างมีเพศสัมพันธ์ เจ็บอวัยวะเพศขณะถ่ายปัสสาวะและมีเพศสัมพันธ์

    วิธีรักษาโรคหนองในเทียม

    โรคหนองในเทียมอาจรักษาด้วยการรับประทานยาปฏิชีวนะเพื่อฆ่าเชื้อแบคทีเรีย โดยอาจต้องรับประทานยาเพียงครั้งเดียว หรือรับประทานยาติดต่อกันทุกวันเป็นเวลา 5-10 วัน โดยทั่วไป โรคหนองในเทียมอาจหายได้ภายใน 1-2 สัปดาห์หลังรักษา ทั้งนี้ ในช่วงที่รักษาโรค ควรงดมีเพศสัมพันธ์จนจะกว่าคุณหมอจะอนุญาต

    3. โรคกระดูกเชิงกรานอักเสบ

    การติดเชื้อแบคทีเรียภายในระบบสืบพันธุ์ของผู้หญิงแล้วเชื้อแพร่กระจายจากช่องคลอดไปยังมดลูก ท่อน้ำไข่ และรังไข่ ส่งผลให้มีอาการเลือดออกผิดปกติ เจ็บแสบขณะถ่ายปัสสาวะ มีตกขาวมีกลิ่น ปวดท้องส่วนล่างและกระดูกเชิงกราน

    วิธีรักษาโรคกระดูกเชิงกรานอักเสบ

    • ยาปฎิชีวะนะ เพื่อช่วยลดจำนวนเชื้อแบคทีเรียที่ทำให้เกิดโรคกระดูกเชิงกรานอักเสบ คุณหมออาจให้เริ่มใช้ทันทีหลังจากทราบผลการตรวจ และอาจติดตามผลลัพธ์หลังจากรับประทานยาประมาณ 3 วัน เพื่อตรวจสอบว่ายาได้ผลหรือไม่
    • งดมีเพศสัมพันธ์ ระหว่างรักษา ควรหลีกเลี่ยงการมีเพศสัมพันธ์จนกว่าอาการจะดีขึ้น หรือคุณหมอจะอนุญาต

    4. โรควอนวิลลิแบรนด์ (Von Willebrand)

    โรคเลือดออกง่ายเป็นโรคทางพันธุกรรมที่หายาก ซึ่งอาจส่งผลให้มีเลือดออกนานกว่าปกติหากมีบาดแผลหรือมีเลือดไหล

    วิธีรักษาโรควอนวิลลิแบรนด์

    การรักษาโรควอนวิลลิแบรนด์อาจขึ้นอยู่กับการอาการของโรค โดยคุณหมออาจเลือกใช้วิธีการรักษาด้วยการใช้ยาต่าง ๆ เช่น เดสโมเพรสซิน (Desmopressin) ยาต้านการสลายลิ่มเลือด ยาคุมกำเนิด

    5. ภาวะถุงน้ำรังไข่หลายใบ (PCOS)

    เกิดจากการทำงานของต่อมไร้ท่อและการผลิตฮอร์โมนแอนโดรเจนผิดปกติ ฮอร์โมนแอนโดรเจนเป็นเพศชาย เมื่อมีมากเกินไปจะส่งผลให้มีซีสต์หรือถุงน้ำขนาดเล็กจำนวนมากในรังไข่ และทำให้เกิดอาการต่าง ๆ เช่น ประจำเดือนขาด มีขนบริเวณหน้าอก ท้อง หลังเหมือนผู้ชาย สิวขึ้น ศีรษะล้าน มีบุตรยาก

    ผู้หญิงที่เป็นถุงน้ำรังไข่หลายใบ อาจส่งผลให้ร่างกายดื้ออินซูลิน ทำให้ไม่สามารถดึงอินซูลินมาใช้เปลี่ยนน้ำตาลหรือกลูโคสจากอาหารเป็นพลังงานได้ จนเกิดการสะสมน้ำตาลในเลือดและนำไปสู่โรคเบาหวาน

    วิธีรักษาภาวะถุงน้ำรังไข่หลายใบ

    • สำหรับผู้ที่วางแผนตั้งครรภ์ ควรปรึกษาคุณหมอเพื่อรับยาที่ทำให้ไข่ตก และปรับพฤติกรรมการใช้ชีวิตประจำวัน เช่น เลือกรับประทานอาหารที่ดีต่อสุขภาพ ออกกำลังกายสม่ำเสมอ เพื่อให้ร่างกายดึงอินซูลินมาใช้งานได้อย่างเหมาะสม ซึ่งจะช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือดและอาจช่วยให้ไข่ตกได้
    • สำหรับผู้ที่ไม่ได้วางแผนตั้งครรภ์ อาจใช้ยาคุมกำเนิดเพื่อลดระดับฮอร์โมนแอนโดรเจน หรือใช้ยาควบคุมเบาหวานเพื่อลดภาวะดื้ออินซูลิน ซึ่งอาจช่วยให้ไข่ตกสม่ำเสมอขึ้น นอกจากนี้ ยังควรเลือกรับประทานอาหารที่ดีต่อสุขภาพ และออกกำลังกายเป็นประจำ เพื่อให้สุขภาพร่างกายแข็งแรงด้วย

    6. โรคมะเร็งปากมดลูก

    โรคมะเร็งที่เกิดขึ้นภายในเซลล์ปากมดลูก ส่วนใหญ่เกิดจากเชื้อไวรัสเอชพีวี (Human Papilloma Virus หรือ HPV) ที่อาจได้รับผ่านการมีเพศสัมพันธ์ หากไม่เร่งรักษา ไวรัสชนิดนี้อาจส่งผลให้เซลล์ปากมดลูกกลายเป็นเซลล์มะเร็งได้ ผู้ที่มีภูมิคุ้มกันอ่อนแอ มีคู่นอนหลายคน หรือมีประวัติเป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ อาจมีความเสี่ยงในการเกิดโรคมะเร็งปากมดลูกมากขึ้น ดังนั้น หากสังเกตว่ามีตกขาวปนเลือด ปวดอุ้งเชิงกราน เจ็บขณะมีเพศสัมพันธ์ มีเลือดออกทางช่องคลอด ควรเข้าพบคุณหมอเพื่อวินิจฉัยหาสาเหตุโดยเร็วที่สุด

    วิธีรักษาโรคมะเร็งปากมดลูก 

    • การผ่าตัด การผ่าตัดรักษาโรคมะเร็งปากมดลูกมีหลายชนิด เช่น การตัดเฉพาะปากมดลูก การตัดปากมดลูกและมดลูกออกทั้งหมด เพื่อป้องกันการกลับมาเป็นมะเร็งซ้ำ
    • การฉายรังสีหรือการฉายแสง เพื่อกำจัดเซลล์มะเร็ง ส่วนใหญ่มักใช้ควบคู่กับการรักษาแบบเคมีบำบัดหลังการผ่าตัด เหมาะสำหรับผู้ที่เป็นมะเร็งมดลูกระยะลุกลาม โดยเฉพาะผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงการเกิดเซลล์มะเร็งอีกครั้ง
    • เคมีบำบัด การรักษาด้วยยาเพื่อกำจัดเซลล์มะเร็ง โดยคุณหมออาจให้ยาผ่านทางหลอดเลือดดำ หรือให้ยาชนิดรับประทาน ผู้ป่วยโรคมะเร็งปาดมดลูกระยะลุกลามอาจจำเป็นต้องทำเคมีบำบัดควบคู่กับการฉายรังสี เพื่อควบคุมอาการของโรค
    • ภูมิคุ้มกันบำบัด คุณหมออาจให้ยาที่ช่วยกระตุ้นให้ระบบภูมิคุ้มกันต่อสู้กับโรคมะเร็งได้ เป็นวิธีที่ใช้ต่อเมื่อการรักษาด้วยวิธีอื่น ๆ ไม่ได้ผล

    7. โรคมะเร็งเยื่อบุโพรงมดลูก

    อาจเกิดจากฮอร์โมนเอสโตรเจนและโปรเจสเตอโรนเปลี่ยนแปลงจนเสียสมดุล เยื่อบุโพรงมดลูกเปลี่ยนแปลงจนเซลล์เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญเติบโตผิดปกติและกลายเป็นเซลล์มะเร็ง ซึ่งสังเกตได้จากอาการเลือดออกทางช่องคลอด และอาการปวดกระดูกเชิงกราน

    วิธีรักษาโรคมะเร็งเยื่อบุโพรงมดลูก

    การรักษาโรคมะเร็งเยื่อบุโพรงมดลูกอาจทำได้โดยการผ่าตัดเอามดลูก ท่อนำไข่ และรังไข่ออก ซึ่งอาจส่งผลให้ไม่สามารถตั้งครรภ์ได้ในอนาคต และอาจจำเป็นต้องรักษาด้วยการฉายรังสีควบคู่กับเคมีบำบัดก่อนการผ่าตัดเพื่อลดขนาดเนื้องอก หรือฉายรังสีหลังการผ่าตัดเพื่อกำจัดเซลล์มะเร็งที่เหลืออยู่ และป้องกันการเป็นซ้ำ 

    นอกจากนี้ สำหรับผู้ป่วยป่วยโรคมะเร็งเยื่อบุโพรงมดลูกระยะลุกลาม คุณหมออาจรักษาด้วยยาลดระดับฮอร์โมนในร่างกายเพื่อฆ่าเซลล์มะเร็ง หรือรักษาด้วยยาแบบมุ่งเป้า (Targeted Therapy) และภูมิคุ้มกันบำบัดเพื่อช่วยกำจัดเซลล์มะเร็ง

    8. โรคมะเร็งช่องคลอด

    เป็นโรคมะเร็งที่พบได้ยาก อาจเกิดจากจากการติดเชื้อไวรัสเอชพีวีที่ส่งผลให้เซลล์เยื่อบุผิวในช่องคลอดผิดปกติและกลายเป็นเนื้องอก ในระยะแรก โรคนี้อาจส่งผลให้มีอาการปัสสาวะบ่อย เจ็บแสบอวัยวะเพศขณะปัสสาวะ ท้องผูก ปวดกระดูกเชิงกราน และมีเลือดออกทางช่องคลอด

    วิธีรักษาโรคมะเร็งช่องคลอด 

    • การผ่าตัด คุณหมออาจเลือกวิธีการผ่าตัดแบบผ่าตัดเอาแค่ส่วนที่พบเซลล์มะเร็งออก หรือผ่าตัดกำจัดอวัยวะภายในอุ้งเชิงกราน เช่น กระเพาะปัสสาวะ รังไข่ มดลูก ช่องคลอดทั้งหมด หากเซลล์มะเร็งมีการลุกลาม ขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของคุณหมอและระยะของโรคมะเร็ง
    • การฉายรังสี เพื่อช่วยฆ่าเซลล์มะเร็ง และยับยั้งการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็ง อาจใช้ควบคู่กับการทำเคมีบำบัด 

     9. โรคมะเร็งรังไข่

    ยังไม่ทราบแน่ชัดว่าโรคมะเร็งรังไข่เกิดจากสาเหตุใด แต่อาจมีปัจจัยบางอย่างที่เพิ่มความเสี่ยงในการเกิดโรคนี้ เช่น พันธุกรรม การเปลี่ยนแปลงของยีน อายุที่มากขึ้น การบำบัดด้วยฮอร์โมนทดแทนช่วงวัยหมดประจำเดือน ซึ่งสามารถก่อให้เกิดก้อนเนื้องอกในรังไข่ และอาจทำลายเนื้อเยื่อโดยรอบหรือลุกลามไปยังส่วนอื่น ๆ ของร่างกายได้

    วิธีรักษาโรคมะเร็งรังไข่

    • การผ่าตัด รังไข่มี 2 ข้าง คุณหมอจึงอาจพิจารณาจากการลุกลามของมะเร็ง และอาการของผู้ป่วยว่าควรผ่าตัดนำรังไข่ออกแค่ข้างใดข้างหนึ่ง หรือควรผ่าตัดเอารังไข่ออกทั้ง 2 ข้าง ผู้ป่วยบางรายอาจจำเป็นต้องผ่าตัดนำทั้งรังไข่และมดลูดออก เพื่อป้องกันการลุกลาม 
    • เคมีบำบัด เพื่อช่วยฆ่าเซลล์มะเร็งที่เจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว โดยอาจใช้ก่อนผ่าตัด หรือหลังการผ่าตัด
    • ฮอร์โมนบำบัด โดยการใช้ยาเพื่อช่วยลดระดับฮอร์โมนเอสโตรเจน ที่อาจกระตุ้นให้เซลล์มะเร็งในรังไข่เจริญเติบโต
    • การบำบัดด้วยยาแบบมุ่งเป้า คือการใช้ยาที่ออกฤทธิ์ทำลายเซลล์มะเร็งโดยเฉพาะซึ่งเป็นวิธีการรักษามะเร็งที่มีประสิทธิภาพสูง และอาจเกิดผลข้างเคียงน้อยกว่าการทำเคมีบำบัด

    ปัจจัยที่อาจส่งผลให้มีเลือดออกจากช่องคลอด

    นอกจากโรคข้างต้น ยังมีปัจจัยอื่น ๆ ที่ส่งผลให้เลือดออกทางช่องคลอด ได้แก่

    • เนื้องอกในมดลูก
    • ภาวะเยื่อบุโพรงมดลูกหนาตัวผิดปกติ
    • ภาวะฮอร์โมนแปรปรวน
    • กระบวนการการตั้งครรภ์ เมื่อไข่ผสมกับอสุจิจนเกิดการปฏิสนธิและกลายเป็นตัวอ่อนฝังตัวที่ผนังมดลูก อาจทำให้มีเลือดออกจากช่องคลอดเล็กน้อย หรือที่เรียกว่า เลือดล้างหน้าเด็ก
    • การตั้งครรภ์นอกมดลูก การแท้งบุตร
    • ภาวะต่อมไร้ท่อทำงานผิดปกติ เช่น ภาวะไทรอยด์ต่ำ ไทรอยด์เป็นพิษ
    • โรคปากมดลูกอักเสบ โรคช่องคลอดอักเสบ โรคช่องคลอดฝ่อ
    • ภาวะเกล็ดเลือดต่ำ 
    • วัยหมดประจำเดือน
    • การมีเพศสัมพันธ์รุนแรง การถูกล่วงละเมิดทางเพศ
    • การคุมกำเนิดแบบฝัง แบบฉีด และแบบแผ่นแปะ
    • ผลข้างเคียงจากยา เช่น ยาคุมกำเนิด ยาฮอร์โมนบำบัด ยาทาม็อกซิเฟน (Tamoxifen)

    อาการแบบไหนที่ควรเข้าพบคุณหมอ

    หากมีเลือดออกจากช่องคลอดผิดปกติร่วมกับมีอาการเหล่านี้ ควรเข้าพบคุณหมอทันที

    • วิงเวียนศีรษะ
    • เป็นลม
    • สีผิวซีดผิดปกติ
    • ปวดท้องส่วนล่าง
    • เลือดออกทางช่องคลอดต่อเนื่องและบ่อยครั้ง

    หมายเหตุ

    Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

    ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

    พลอย วงษ์วิไล


    เขียนโดย ทีม Hello คุณหมอ · แก้ไขล่าสุด 18/09/2023

    advertisement iconโฆษณา

    คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

    advertisement iconโฆษณา
    advertisement iconโฆษณา