backup og meta

ยาเสียสาว คือยาอะไร มีข้อควรระวังในการใช้อย่างไรบ้าง

ตรวจสอบข้อมูลทางการแพทย์โดย แพทย์หญิงอรกนิษฐา อรุณาทิตย์ · สูตินรีเวชวิทยา · โรงพยาบาลสุขุมวิท


เขียนโดย ธนชาติ จึงแย้มปิ่น · แก้ไขล่าสุด 04/02/2023

    ยาเสียสาว คือยาอะไร มีข้อควรระวังในการใช้อย่างไรบ้าง

    ยาเสียสาว หมายถึง ยาที่มีส่วนประกอบที่ออกฤทธิ์ต่อระบบประสาท ทำให้เกิดอาการมึนงง ง่วงนอน ลดความวิตกกังวล เช่น ยาอัลปราโซแลม (Alprazolam) โดยปกติ คุณหมอมักใช้เป็นยาคลายกังวล  ยาระงับประสาท เพื่อรักษาอาการในผู้ป่วยที่มีความวิตกกังวลสูง หรือใช้เป็นยานอนหลับสำหรับผู้ที่มีปัญหาการนอน รวมทั้งใช้เป็นยากันชัก ยาคลายกล้ามเนื้อ แต่มีผู้ที่นำมาใช้ในทางที่ผิด โดยเฉพาะการนำมาผสมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เพื่อก่ออาชญากรรมต่างๆ เช่น รูดทรัพย์ ล่วงละเมิดทางเพศ เพื่อป้องกันการตกเป็นเหยื่ออาชญากรรม ควรระมัดระวังและหลีกเลี่ยงการดื่มเครื่องดื่มจากคนแปลกหน้า โดยเฉพาะในสถานที่อโคจรเพราะอาจมีผู้นำยาเสียสาวมาใช้ในทางที่ผิดได้

    ยาเสียสาว คืออะไร

    ตามคำนิยามของสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา ยาเสียสาวหมายถึง “สารเคมีที่ถูกนำมาใช้ในทางที่ผิด โดยผู้ประสงค์ร้ายแอบลักลอบใช้กับเหยื่อ หวังก่ออาชญากรรมต่าง ๆ ไม่ว่าจะเพื่อรูดทรัพย์ หรือล่วงละเมิดทางเพศ

    ทั้งนี้ สารซึ่งนำมาใช้เป็นยาเสียสาว มักมีคุณสมบัติทางเคมีและออกฤทธิ์ต่าง ๆ ดังนี้

    • ทำให้ง่วงซึม มึนงง หรือหมดสติ
    • ออกฤทธิ์รวดเร็ว หรือไม่เกิน 30 นาที หลังบริโภคเข้าสู่ร่างกาย
    • ละลายน้ำได้ ยากต่อการสังเกต ทำให้สะดวกต่อการผสมให้เหยื่อดื่มหากไม่ทันระวังตัว
    • อาจมีผลข้างเคียงเกี่ยวกับความทรงจำ ทำให้เหยื่อจำเหตุการณ์หลังจากรับประทานยาเสียสาวไปแล้วไม่ได้

    ยาเสียสาว มียาอะไรบ้าง

    ยาเสียสาว คือสารที่ออกฤทธิ์ต่อระบบประสาท กดประสาท กล่อมประสาท ไม่สามารถซื้อขายได้เพราะใช้ได้เฉพาะผู้ที่มีใบอนุญาตเท่านั้น แต่มีผู้ลักลอบจำหน่ายและมีผู้นำมาใช้ในทางที่ผิด เอื้อให้อาชญากรสามารถกระทำผิด รูดทรัพย์ หรือล่วงละเมิดทางเพศเหยื่อได้โดยง่าย ยกตัวอย่างเช่น

    • อัลปราโซแลม เป็นยารักษาโรควิตกกังวลและโรคแพนิก โดยออกฤทธิ์หยุดยั้งการตื่นตัวที่ผิดปกติของสมอง และทำให้ผู้บริโภครู้สึกง่วงซึม ในประเทศไทย ยาชนิดนี้ถูกห้ามผลิต ขาย นำเข้า และส่งออก ยกเว้นโดยกระทรวงสาธารณสุข หรือผู้ได้รับมอบหมายจากกระทรวงเท่านั้น
    • แกมมา ไฮดรอกซี บูเทอริก หรือจีเอชบี (Gamma-hydroxybutyrate หรือ GHB) เป็นสารออกฤทธิ์ต่อประสาทส่วนกลาง ในทางการแพทย์ใช้เพื่อรักษาโรคลมหลับ (Narcolepsy) หรือโรคที่ผู้ป่วยง่วงนอนตลอดเวลา แต่มีผู้นำจีเอชบีมาใช้เพิ่มความสนุกสนานในงานกินเลี้ยงสังสรรค์ ซึ่งยาจะสังเกตได้ยากเนื่องจากเมื่อผสมกับเครื่องดื่มจะไม่มีรสชาติ มีรสเค็มเพิ่มขึ้นเพียงเล็กน้อยและไม่สามารถตรวจเจอในร่างกายได้หลังจากกินไปแล้ว4- 5 ชั่วโมงแม้แต่ในปัสสาวะ หรือการเที่ยวกลางคืนตามสถานบันเทิงโดยผิดกฎหมาย เนื่องจากมีฤทธิ์ทำให้อิ่มเอมใจ และกระตุ้นความต้องการทางเพศ ทั้งนี้ การบริโภคจีเอชบีในปริมาณมาก สามารถทำให้ขาดสติสัมปชัญญะหรือหมดสติได้ โดยเฉพาะเมื่อบริโภคร่วมกับเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ สารนี้จึงได้รับความนิยมในทางที่ผิดโดยใช้เป็นยาเสียสาวเพื่อล่วงละเมิดทางเพศและรูดทรัพย์ทั้งในประเทศไทยและต่างประเทศ แต่ยาตัวนี้ถูกถอดออกจากบัญชียาหลักแห่งชาติตั้งแต่ปี 2533 แล้ว และจัดอยู่ในวัตถุออกฤทธิ์ประเภทหนึ่ง ตามประมวลกฏหมายยาเสพติด
    • มิดาโซแลม (Midazolam) เป็นยานอนหลับชนิดหนึ่ง มักใช้ในการผ่าตัดเล็ก หรือรักษาอาการนอนไม่หลับ นอกจากทำให้ง่วงซึมหรือหมดสติแล้ว ยาชนิดนี้เมื่อนำมาใช้เป็นยาเสียสาวมักทำให้เหยื่อจำสิ่งที่เกิดขึ้นกับตัวเองไม่ได้ ทั้งนี้ ในประเทศไทย มิดาโซแลมถูกห้ามจำหน่ายให้ร้านขายแผนปัจจุบัน โดยจำหน่ายให้คุณหมอหรือผู้เชี่ยวชาญเท่านั้น
    • เคตามีน (Ketamine) หรือที่เรียกสั้น ๆ ว่า “ยาเค” เป็นสารออกฤทธิ์หลอนประสาทรุนแรง ในทางกฎหมายจัดเป็นยาเสพติดชนิดหนึ่ง ขณะที่ในทางการแพทย์ใช้เป็นยาสลบ หากหมดสติด้วยฤทธิ์ของยาเค เมื่อรู้สึกตัว เหยื่ออาจมีอาการมึนงง เห็นภาพลวงตา หรือประสาทหลอนได้

    อาการหลังจากรับประทานยาเสียสาว

    โดยทั่วไป หลังรับประทานยาเสียสาวไปแล้วไม่เกิน 30 นาที ยาเสียสาวจะเริ่มออกฤทธิ์ โดยอาการที่พบได้ประกอบด้วย

  • มึนงง สติไม่อยู่กับตัว
  • มึนเมา แม้ดื่มเครื่องดื่มแอลกฮอล์ในปริมาณน้อย
  • หายใจลำบาก
  • เดินเซ
  • คลื่นไส้ อาเจียน
  • การป้องกันตัวเองจากยาเสียสาว

    การป้องกันตัวเองจากการตกเป็นเหยื่อของผู้ที่ต้องการก่ออาชญากรรมโดยใช้ยาเสียสาวมาทำให้หมดสติและควบคุมตนเองไม่ได้นั้นสามารถทำได้หลายวิธี ดังนี้

    • หลีกเลี่ยงการไปสถานบันเทิงคนเดียว
    • ในที่อโคจร ควรดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์แต่พอดี งดการดื่มจนไม่ได้สติ
    • ในที่อโคจร สถานบันเทิงยามค่ำคืน ควรดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ทีละน้อย โดยสังเกตอาการตัวเองไปด้วย
    • ไม่รับเครื่องดื่มจากคนแปลกหน้าโดยเด็ดขาด
    • ไม่ละสายตาจากแก้วหรือภาชนะเครื่องดื่มของตัวเองเป็นอันขาด
    • ไม่หลงเชื่อหรือให้ความไว้วางใจใครโดยง่าย

    หมายเหตุ

    Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

    ตรวจสอบข้อมูลทางการแพทย์โดย

    แพทย์หญิงอรกนิษฐา อรุณาทิตย์

    สูตินรีเวชวิทยา · โรงพยาบาลสุขุมวิท


    เขียนโดย ธนชาติ จึงแย้มปิ่น · แก้ไขล่าสุด 04/02/2023

    advertisement iconโฆษณา

    คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

    advertisement iconโฆษณา
    advertisement iconโฆษณา