backup og meta

กระตุ้นอารมณ์ทางเพศ ผู้หญิง อย่างไร ให้ไปถึงจุดสุดยอด

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย พลอย วงษ์วิไล


เขียนโดย ปัญญพัฒน์ เอี่ยมสิน · แก้ไขล่าสุด 11/10/2023

    กระตุ้นอารมณ์ทางเพศ ผู้หญิง อย่างไร ให้ไปถึงจุดสุดยอด

    การ กระตุ้นอารมณ์ทางเพศ ให้กับผู้หญิง ทั้งก่อนและระหว่างทำกิจกรรมทางเพศหรือร่วมรัก ถือเป็นขั้นตอนสำคัญที่ไม่ควรละเลย เพราะการกระตุ้นอารมณ์ในแต่ละบริเวณที่ไวต่อความรู้สึก เช่น ช่องคลอด ปุ่มกระสัน อาจช่วยให้ผู้หญิงเกิดอารมณ์ร่วม มีความสุขกับการร่วมรัก และทำให้ ผู้หญิงเสร็จ ได้ง่ายขึ้น

    สาเหตุที่ทำให้ผู้หญิงไปถึงจุดสุดยอดได้ยาก

    หากผู้หญิงเกิดอารมณ์ทางเพศและทำให้ ผู้หญิงเสร็จ ได้ง่าย อาจส่งผลดีต่อการทำกิจกรรมทางเพศ แต่ในบางครั้ง ก็อาจมีปัจจัยบางประการที่ส่งผลให้ผู้หญิงไม่ค่อยมีอารมณ์ทางเพศและไปถึงจุดสุดยอดได้ยาก เช่น

    • ปัญหาทางสุขภาพร่างกาย
    • การไม่ถูกเล้าโลม หรือเร้าอารมณ์ก่อนมีเพศสัมพันธ์
    • ความเครียด
    • อาการเหนื่อยล้า
    • ปัญหาเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างคุณ
    • ยาบางชนิด

    สิ่งสำคัญที่อาจช่วยกระตุ้นอารมณ์ทางเพศ และทำให้ผู้หญิงสามารถร่วมรัก หรือทำกิจกรรมทางเพศอื่น ๆ ได้อย่างสุขสมมากขึ้น ก็คือ การทำให้ผู้หญิงรู้สึกผ่อนคลาย ไม่กดดัน และควรเล้าโลมจนแน่ใจแล้วว่า ผู้หญิงพร้อมร่วมรักจริง ๆ อาจสังเกตได้จาก มีน้ำหล่อลื่นไหลออกจากอวัยวะเพศฝ่ายหญิงจนทำให้บริเวณนั้นชื้นแฉะ เป็นต้น จึงค่อยลงมือทำกิจกรรม วิธีนี้อาจช่วยให้กิจกรรมทางเพศที่ทำร่วมกันมีประสิทธิภาพขึ้น และไปถึงจุดสุดยอดด้วยกันทุกฝ่าย

    จุดของผู้หญิงที่ไวต่อการสัมผัสและการ กระตุ้นอารมณ์

    การเล้าโลม สัมผัส หรือกระตุ้น บริเวณดังต่อไปนี้บนร่างกายของผู้หญิง อาจช่วยเพิ่มอารมณ์ทางเพศ และทำให้ผู้หญิงถึงจุดสุดยอดได้ง่ายขึ้น

    • ช่องคลอด

    ช่องคลอด คือ ช่องกล้ามเนื้อที่อยู่ด้านในร่างกาย เป็นจุดเชื่อมต่อระหว่างมดลูกและอวัยวะเพศภายนอก การสัมผัสกับปากช่องคลอด หรือบริเวณจุดจีสปอต (G-spot) ซึ่งอยู่ลึกเข้าไปในช่องคลอดประมาณ 1 นิ้ว อาจช่วยกระตุ้นอารมณ์ได้เป็นอย่างมาก อาจสังเกตได้จากอาการผนังช่องคลอดบีบตัวเป็นจังหวะตามการสัมผัส

    • ปุ่มกระสัน หรือคลิตอริส (Clitoris)

    ปุ่มกระสันหรือคลิตอริสเป็นปุ่มขนาดเล็กที่อยู่บริเวณเหนือปากช่องคลอด ปุ่มนี้มีเส้นเลือดและเส้นประสาทจำนวนมาก จึงไวต่อความรู้สึก เพียงแค่การสัมผัสเบา ๆ อย่างอ่อนโยนก็อาจช่วยกระตุ้นให้ผู้หญิงรู้สึกดี มีอารมณ์ทางเพศมากขึ้น และถึงจุดสุดยอดได้

    • หน้าอกและหัวนม

    การสัมผัส คลึง หรือลูบไล้บริเวณหน้าอกและหัวนมของผู้หญิงอย่างแผ่วเบา แล้วเพิ่มความรุนแรงตามจังหวะอารมณ์ อาจกระตุ้นอารมณ์ทางเพศของผู้หญิงได้เป็นอย่างมาก สังเกตได้จากอาการหน้าอกอิ่มฟู หัวนมตั้งชัน เป็นต้น

    • ทวารหนัก

    บริเวณอาจไม่ได้รับความนิยมมากนัก หากพูดถึงจุดกระตุ้นอารมณ์ทางเพศของผู้หญิง แต่ในบางครั้ง เพียงแค่สัมผัสบริเวณปากทวารหนักเบา ๆ ก็อาจช่วยปลุกอารมณ์ให้ผู้หญิงได้อย่างมาก และอาจทำให้สุขสมมากขึ้นได้ด้วย

    • บริเวณอวัยวะส่วนต่าง ๆ

    ผู้หญิงแต่ละคนอาจมีจุดที่ไวต่อการสัมผัสและการกระตุ้นต่างกัน นอกจากบริเวณที่กล่าวมาข้างต้นแล้ว บางครั้ง การสัมผัสต้นขา สะโพก ข้อพับ ข้อศอก หัวนม หัวเข่า ซอกคอ ใบหู หลังหู เป็นต้น การอาจเพิ่มความรู้สึกเสียวซ่าน และความสุขสมในการร่วมรักได้

    • กระตุ้นช่องคลอดและปุ่มกระสันพร้อมกัน

    หากกระตุ้น 2 จุดนี้ไปพร้อม ๆ กัน อาจยิ่งทำให้ผู้หญิงไปถึงจุดสุดยอดได้ไวขึ้น โดยอาจสังเกตได้จากผู้หญิงมีน้ำหล่อลื่นหลั่งออกมามากขึ้น มีอารมณ์ร่วมยิ่งขึ้น

    ที่สำคัญก่อนการเริ่มทำกิจกรรมทางเพศหรือการเล้าโลม ควรทำความสะอาดอวัยวะให้เรียบร้อย และควรสวมถุงยางอนามัยทุกครั้ง เพื่อป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ และการตั้งครรภ์ทั้งที่ยังไม่พร้อม

    เคล็ดลับ กระตุ้นอารมณ์ทางเพศ ให้ไปถึงจุดสุดยอด

    เคล็ดลับดังต่อไปนี้ อาจช่วยกระตุ้นอารมณ์และสร้างอรรถรสในการทำกิจกรรมทางเพศ และทำให้ไปถึงจุดสุดยอดได้

    1. สัมผัส หรือลูบไล้ร่างกายกันและกัน เช่น ศีรษะ แขน ขา เอว สะโพก
    2. ก่อนมีเพศสัมพันธ์ อาจเล้าโลมด้วยการกอด จูบ เป็นต้น เพื่อช่วยกระตุ้นอารมณ์และทำให้ร่างกายพร้อมสำหรับการมีเพศสัมพันธ์มากที่สุด
    3. ใช้ผลิตภัณฑ์เพิ่มความหล่อลื่น เช่น เจลหล่อลื่น เพื่อให้ทำกิจกรรมได้อย่างไม่มีติดขัด
    4. อาจใช้ตัวช่วยในการเร้าอารมณ์ เช่น เซ็กส์ทอย เพื่อให้การมีเพศสัมพันธ์น่าตื่นเต้นยิ่งขึ้น
    5. อาจปรับจังหวะในการทำกิจกรรมให้ช้าบ้าง เร็วบ้าง เพื่อไม่ให้รู้สึกเบื่อ
    6. หลังจบกิจกรรม อาจกระตุ้นความรู้สึกและความสัมพันธ์ด้วยการบอกรัก กอด หอม หรือการจูบ เพื่อทำให้ยิ่งรู้สึกดีและสุขสมยิ่งขึ้น

    หมายเหตุ

    Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

    ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

    พลอย วงษ์วิไล


    เขียนโดย ปัญญพัฒน์ เอี่ยมสิน · แก้ไขล่าสุด 11/10/2023

    advertisement iconโฆษณา

    คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

    advertisement iconโฆษณา
    advertisement iconโฆษณา