backup og meta

พฤติกรรมทำร้ายเล็บ ที่ควรหลีกเลี่ยงมีอะไรบ้าง

ตรวจสอบข้อมูลทางการแพทย์โดย แพทย์หญิงภัทรีวัลย์ โรจนพันธุ์ · โรคผิวหนัง · โรงพยาบาลวิภาวดี



เขียนโดย Khongrit Somchai · แก้ไขล่าสุด 27/04/2023

    พฤติกรรมทำร้ายเล็บ ที่ควรหลีกเลี่ยงมีอะไรบ้าง

    พฤติกรรมทำร้ายเล็บ หมายถึง กิจวัตรประจำวันหรือพฤติกรรมส่วนตัวที่ทำให้เล็บเสียหาย ซึ่งมักเป็นพฤติกรรมที่ทำไปโดยไม่รู้ตัว หรือคิดว่าไม่ส่งผลเสียหายต่อเล็บ และหากปล่อยไว้ ในที่สุดเล็บอาจเสียหาย หรือแม้กระทั่งจำเป็นต้องได้รับการบำรุงหรือรักษามากกว่าแค่การทำความสะอาดอย่างเดียว 

    พฤติกรรมทำร้ายเล็บ มีอะไรบ้าง

    การไว้เล็บยาว

    การมีเล็บที่ยาวแลดูสวยงามนั้นอาจช่วยเพิ่มเสน่ห์แก่ตัวบุคคลได้ แต่รู้หรือไม่ว่า การไว้เล็บยาวเสี่ยงต่อการเล็บฉีก หรือหักได้ทุกเมื่อที่ไม่ระวังตัว และอาจทำอันตรายต่อผู้อื่นได้อีกด้วย อีกทั้งเป็นแหล่งสะสมเชื้อโรค ดังนั้น จึงควรตัดเล็บให้สั้นอยู่เสมอ

    การทาเล็บเป็นประจำ 

    การทาสีเล็บเพื่อเสริมความสวยงาม แต่การใช้น้ำยาทาเล็บเป็นประจำโดยไม่มีการหยุดพัก อาจทำให้สารเคมีและเม็ดสีในน้ำยาทาเล็บซึมเข้าสู่เล็บได้ ควรมีช่วงพักให้ผิวหน้าเล็บได้หายใจและสะอาดปราศจากสารเคมี 

    การล้างมือไม่สะอาด

    การล้างมือไม่สะอาด ย่อมทำให้สิ่งสกปรกและเชื้อโรคยังคงตกค้างอยู่ในมือ และถ้าในการล้างมือแต่ละครั้งนั้น ไม่มีการทำความสะอาดที่บริเวณปลายนิ้วและเล็บมือ เชื้อแบคทีเรียและสิ่งสกปรกก็จะยังคงสะสม เมื่อนำมือมาสัมผัสโดนใบหน้า ดวงตา จมูก ก็จะยิ่งทำให้เสี่ยงติดเชื้อโรคต่าง ๆ ได้ หรือเกิดอาการท้องเสียเมื่อสัมผัสกับอาหารและนำเข้าปากได้  

    การใช้เล็บผิดวิธี

    หลายคนมักจะลืมตัวและชอบใช้เล็บเป็นอุปกรณ์อเนกประสงค์ในการเปิดและปิดของต่างๆ เช่น สวิตช์ไฟ ฝากระป๋องน้ำอัดลม หรือปุ่มพัดลม เป็นต้น ซึ่งแน่นอนว่าการกระทำเช่นนั้น เป็นการเสี่ยงที่จะทำให้เล็บบิ่น หัก หรือฉีกขาดได้

    การกัดเล็บ

    ไม่ใช่แค่เพียงเด็กเล็ก ๆ เท่านั้น ที่ชอบกัดเล็บของตัวเอง แต่ผู้ใหญ่และวัยรุ่นจำนวนไม่น้อยมักจะชอบกัดเล็บด้วยเช่นกัน ซึ่งพฤติกรรมดังกล่าว นอกจากจะทำให้เล็บเสียรูปทรง ขาด หรือบิ่นแล้ว ยังเสี่ยงต่อการได้รับเชื้อแบคทีเรีย หรือเชื้อโรคที่อยู่ภายในเล็บแพร่เข้าสู่ร่างกายผ่านทางปากได้ด้วย

    การทำเล็บเจล

    การทำเล็บเจล จำเป็นจะต้องมีการถอดเข้า ถอดออก และจำเป็นต้องใช้รังสีและน้ำยาเฉพาะทางใ ซึ่งกระบวนการเหล่านั้นเมื่อทำติดต่อกันเป็นประจำ เสี่ยงที่จะทำให้ผิวของเล็บจริงอ่อนตัว รวมทั้งเสื่อมสภาพ นำไปสู่การที่ทำให้เล็บแตกและหักได้ง่าย

    การทำความสะอาดบ้านโดยไม่สวมถุงมือ 

    เวลาที่ทำความสะอาดบ้าน อาจลืมที่จะต้องสวมถุงมือเพราะคิดว่าไม่จำเป็น แต่จริง ๆ แล้วถุงมือมีส่นวช่วยลดโอกาสที่เล็บจะบิ่น หรือหัก  รวมถึงเป็นการป้องกันเล็บโดนทำลายจากสารทำความสะอาดบางชนิดทั้งน้ำยาล้างห้องน้ำ น้ำยาล้างจาน ผงซักฟอก เมื่อไม่สวมถุงมือ จึงเกิดภาวะเล็บแห้งหรือโดนสารเคมีกัด นำไปสู่แผลบริเวณซอกเล็บหรือนิ้วมือได้ 

    การไม่ใช้ผลิตภัณฑ์บำรุงมือ

    การหมั่นใช้ครีมบำรุงมืออย่างสม่ำเสมอ จะช่วยเพิ่มความชุ่มชื้นให้กับมือ นิ้วมือ และเล็บมือ ป้องกันการฉีก หัก ของเล็บและผิวหนังได้เป็นอย่างดี ควรทาครีมบำรุงมือและไม่ควรละเลยที่จะทาบริเวณปลายมือและเล็บด้วย

    แม้บางพฤติกรรมจะเป็นกิจวัตรประจำวันที่ทำไปโดยไม่รู้ตัว แต่หากเพิ่มความระมัดระวัง และหมั่นดูแลเล็บให้สั้นและสะอาดอยู่เสมอ ก็จะทำให้เล็บมีสุขภาพดี เสริมเสน่ห์ และเป็นการป้องกันเชื้อโรคเข้าสู่ร่างกายอีกทางหนึ่งด้วย 

    หมายเหตุ

    Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

    ตรวจสอบข้อมูลทางการแพทย์โดย

    แพทย์หญิงภัทรีวัลย์ โรจนพันธุ์

    โรคผิวหนัง · โรงพยาบาลวิภาวดี



    เขียนโดย Khongrit Somchai · แก้ไขล่าสุด 27/04/2023

    advertisement iconโฆษณา

    คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

    advertisement iconโฆษณา
    advertisement iconโฆษณา