backup og meta

สิวที่คาง สาเหตุ การรักษา และการป้องกัน

ตรวจสอบข้อมูลทางการแพทย์โดย แพทย์หญิงเกศอร ป้องอาณา · โรคผิวหนัง · โรงพยาบาลสุขุมวิท


เขียนโดย ปัญญพัฒน์ เอี่ยมสิน · แก้ไขล่าสุด 14/07/2023

    สิวที่คาง สาเหตุ การรักษา และการป้องกัน

    สิวที่คาง อาจเกิดจากการอุดตันของรูขุมขน ความไม่สมดุลของฮอร์โมน หรือความสกปรกต่าง ๆ บนใบหน้า ทำให้เกิดการอักเสบ และกลายเป็นตุ่มสิวขึ้นบริเวณใบหน้ารวมไปถึงคาง โดยสิวที่คางอาจรักษาได้ด้วยวิธีเดียวกันกับการรักษาสิวอื่น ๆ และอาจป้องกันได้ด้วยการดูแลตัวเองอย่างถูกวิธี

    สิวที่คาง เกิดจากอะไร

    สาเหตุในการเกิดสิวบริเวณรอบคางไม่ได้แตกต่างจากสิวชนิดอื่น ๆ มากนัก โดยอาจเป็นผลของความไม่สมดุลของฮอร์โมนในร่างกาย และการอุดตันของรูขุมขนจากน้ำมันที่ผลิตออกมาเพื่อเพิ่มความชุ่มชื้นมากจนเกินไป รวมถึงสิ่งสกปรกตามสภาพแวดล้อมที่มาเกาะติดบนใบหน้า ทำให้เข้าไปอุดตันจนเกิดการอักเสบเป็นรอยแดงนูน บางครั้งอาจมีลักษณะเป็นตุ่มหัวขาว ๆ หรือที่เรียกกันง่าย ๆ ว่า สิว นั่นเอง

    วิธีการรักษาสิวที่คาง

    สิวที่คางอาจรักษาได้ด้วยวิธีต่าง ๆ ดังนี้

  • ยาปฏิชีวนะ ที่มีส่วนช่วยลดแบคทีเรียสาเหตุของการเกิดสิวได้
  • ยาคุมกำเนิด ยาคุมกำเนิดมักถูกนำมาใช้เพื่อปรับฮอร์โมนให้กลับเข้าสู่ภาวะสมดุล ลดโอกาสการเกิดสิว
  • ยารักษาสิวประเภทไอโซเทรติโนอิน (Isotretinoin) ใช้ในการรับประทาน การได้รับยาชนิดนี้ควรผ่านการอนุญาตจากใบคำสั่งยาโดยแพทย์เท่านั้น
  • เลเซอร์ เพราะการรักษาด้วยเลเซอร์ บางชนิด สามารถฆ่าเชื้อแบคทีเรียบนใบหน้าได้ ด้วยแสงที่ฉายออกมา ทำให้สิว ค่อย ๆ บรรเทาลง
  • กดสิว ควรทำเฉพาะในสิวอุดตันชนิดหัวเปิด โดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญทางด้านผิวหนัง ไม่ควรกดออกเองเพราะอาจทิ้งรอยดำ และอาจรักษาได้ยากกว่าเดิม
  • ปัจจุบันมีตัวเลือกในการรักษาสิวมากมาย ตามความเหมาะสมของสภาพผิวแต่ละบุคคล ที่แตกต่างกันไป ควรได้รับคำปรึกษาแนวทางการรักษาตามการวินิจฉัยโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านผิวหนัง หรือเภสัชกร เท่านั้น

    สิวที่คาง ป้องกันได้อย่างไร

    การดูแลตัวเองด้วยวิธีดังต่อไปนี้ อาจช่วยป้องกันไม่ให้เกิดสิวที่คางได้

    • ชำระล้างทำความสะอาดใบหน้าด้วยสบู่อ่อน ๆ วันละประมาณ 1-2 ครั้ง
    • หลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารที่ประกอบด้วยไขมัน หรือน้ำตาล ในปริมาณที่เยอะจนเกินไป
    • ลดความตึงเครียด ทำจิตใจให้ผ่อนคลาย
    • ไม่ควรสัมผัสใบหน้าด้วยมือบ่อยครั้ง หรืออาจจำเป็นต้องทำความสะอาดมือเสียก่อน
    • ปกป้องผิวจากแสงแดด ด้วยครีมกันแดดที่ปราศจากส่วนประกอบของน้ำมันในผลิตภัณฑ์
    • หากพบว่ามีความผิดปกติของฮอร์โมนเพศ เช่นการมีประจำเดือนมาไม่ปกติ ควรเข้ารับการปรึกษาจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ
    • ทำความสะอาดเครื่องนอน หรือเครื่องนุ่งห่มอยู่บ่อยครั้ง เช่น ปลอกหมอน ผ้าห่ม
    • เลือกใช้ผลิตภัณฑ์บำรุงผิวที่ไม่ก่อให้เกิดการอุดตันในรูขุมขน

    หมายเหตุ

    Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

    ตรวจสอบข้อมูลทางการแพทย์โดย

    แพทย์หญิงเกศอร ป้องอาณา

    โรคผิวหนัง · โรงพยาบาลสุขุมวิท


    เขียนโดย ปัญญพัฒน์ เอี่ยมสิน · แก้ไขล่าสุด 14/07/2023

    advertisement iconโฆษณา

    คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

    advertisement iconโฆษณา
    advertisement iconโฆษณา