backup og meta

แสงสีฟ้ารักษาสิว ทำงานอย่างไร และข้อควรระวัง

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย พลอย วงษ์วิไล


เขียนโดย ศศวัต จันทนะ · แก้ไขล่าสุด 31/05/2022

    แสงสีฟ้ารักษาสิว ทำงานอย่างไร และข้อควรระวัง

    แสงสีฟ้ารักษาสิว เป็นหนึ่งในนวัฒกรรมรักษาสิว โดยการฉายแสงสีฟ้า เพื่อช่วยกำจัดเชื้อแบคทีเรียที่อาจก่อให้เกิดสิว และอาจช่วยป้องกันการเกิดสิวได้ อย่างไรก็ตาม การใช้แสงสีฟ้ารักษาสิว เหมาะสมสำหรับสิวอาการเล็กน้อยถึงปานกลาง ยังไม่มีหลกฐานที่สนับสนุนว่า การฉายแสงสีฟ้าสามารถช่วยรักษามนุณย์ได้หรือไม่

    แสงสีฟ้า คืออะไรและช่วงความยาวคลื่นมีผลต่อการรักษา

    แสงแต่ละสีที่ปรากฏในชีวิตประจำวัน มีความยาวคลื่นที่แตกต่างกันตามระดับ ซึ่งวัตถุต่าง ๆ บนโลกจะมีการดูดจับสีจากแสงที่แตกต่างกันเฉพาะ จึงเกิดเป็นสีของวัตถุที่ตาของเรามองเห็น จากการสำแนกสีตามระดับความยาวคลื่นของนักวิทยาศาสตร์ สามารถจำแนกแสงตามความยาวคลื่นได้ออกเป็น 7 สี

  • แสงสีม่วง 383 – 440 นาโนเมตร
  • แสงสีน้ำเงิน 440 – 455 นาโนเมตร
  • แสงสีฟ้า 455 – 500 นาโนเมตร
  • แสงสีเขียว 500 – 565 นาโนเมตร
  • แสงสีเหลือง 565 – 590 นาโนเมตร
  • แสงสีแสด 590 – 625 นาโนเมตร
  • แสงสีแดง 625 – 740 นาโนเมตร
  • จากการทดสอบคุณสมบัติที่ดีของแสงความยาวคลื่นเหล่านี้ ได้นำมาใช้ในด้านความงาม เพื่อฟื้นฟูผิวหลายประการ ตามแต่ความสามารถของแสงแต่สี แสงที่ช่วยในการรักษาผิวหลัก ๆ จะมีอยู่ 4 สีคือ แสงสีฟ้า แสงสีเขียว แสงสีเหลือง และแสงสีแดง ซึ่งแสงแต่ละสีที่มีความยาวคลื่นแตกต่างกันและจะใช้ในการรักษาปัญหาผิวที่แตกต่างกันด้วย โดยแสงที่ใช้ในการรักษาสิวคือ แสงสีฟ้า ที่อาศัยช่วงความยาวคลื่น 470 นาโนเมตร ในการรักษา

    กระบวนการทำงานของ แสงสีฟ้ารักษาสิว

    การรักษาสิวด้วยแสงสีฟ้า คือการใช้คลื่นความยาวของแสงฉายลงบนผิวหนังที่เกิดสิว เพื่อให้แสงเข้าไปฆ่าเชื้อแบคทีเรียที่ชื่อว่า พีแอคเน่ (P.acne) ที่เราคุ้นหูกันดี ซึ่งเจ้าแบคทีเรียชนิดนี้คือตัวการที่ทำให้เกิดสิว เมื่อทำปฏิกิริยาร่วมกับเซลล์ผิวหนังที่ตายแล้ว และน้ำมันจากต่อมไขมันที่อุดตันอยู่ในรูขุมขน ดังนั้น การฉายแสงเพื่อฆ่าเชื้อแบคทีเรียดังกล่าว จึงอาจช่วยลดสิว อาการอักเสบของสิว และลดโอกาสในการติดเชื้อของสิวได้

    แต่กระบวนการทำงานของ แสงสีฟ้า เป็นเพียงการทดสอบในผู้ที่มีสิวน้อยถึงปานกลางเท่านั้น ยังไม่มีงานวิจัยที่สามารถยืนยันได้ว่า แสงสีฟ้า สามารถจัดการกับผู้ที่เป็นสิวรุนแรงได้หรือไม่ อย่างไรก็แล้วแต่ การรักษาด้วยวิธีนี้เห็นผลในการรักษาสิวได้อย่างรวดเร็ว และกำลังเป็นที่นิยมอย่างมากในปัจจุบัน 

    ระยะเวลาในการรักษา

    การรักษาสิวด้วย แสงสีฟ้า ใช้ระยะเวลาในการทำครั้งละประมาณ 15 – 30 นาที ประมาณ 8 ครั้ง ภายใน 4 สัปดาห์ตามการประเมิณของคุณหมอผู้ทำการรักษา โดยก่อนที่จะทำการรักษาสาว ๆ ควรล้างหน้าให้สะอาดปราศจากเครื่องสำอางและสวมแว่นประกอบการรักษาทุกครั้ง เมื่อทำการฉาย แสงสีฟ้า เสร็จอาจมีผิวหน้าอาจเกิดอาการแดงขึ้นได้ แต่ไม่ต้องเป็นกังวลเพราะรอยพวกนี้จะหายไปอย่างรวดเร็ว ส่วนผลลัพธ์ขอการรักษาจะเห็นผลได้ภายใน 2 – 4 สัปดาห์ ในระหว่างนี้สาว ๆ ห้ามบีบสิวและทำตามคำแนะนำของคุณหมอผู้เชี่ยวชาญอย่างเคร่งครัดเพื่อผลลัพธ์ที่ดีที่สุดนะ

    ความปลอดภัยในการใช้แสงสีฟ้ารักษาสิว 

    จากรายงานการศึกษาในขณะนี้ ยังไม่พบความเสี่ยงที่อาจเป็นตรายต่อผิวในระยะยาว ด้วยการรักษาสิวด้วยแสงสีฟ้า นอกจากจะไม่ทำให้เกิดอาการแสบหรือปวด แต่อาจจะเกิดผลข้างเคียงเล็กน้อยหลังการรักษา เช่น อาการบวม แดง หรือหน้าแห้ง ดังนั้น สาว ๆ ที่กำลังทำการรักษาสิวด้วยแสงสีฟ้าควรรักษาความชุ่มชื้นของผิวให้ดี เพราะหากผิวแห้ง หรือขาดน้ำหล่อเลี้ยงผิว อาจส่งผลต่อผิวในระยะยาว อย่างการแพ้สารเคมีง่ายกว่าปกติ หรือริ้วรอยก่อนวัยอันควร ถึงแม้ความเสี่ยงในการเกิดผลข้างเคียงจะต่ำ แต่อย่าลืมว่าผิวเมื่อถูกใช้งาน ก็ควรได้รับการบำรุงอย่างเต็มที่ เพื่อผิวสุขภาพแข็งแรงไม่อ่อนแอ

    ข้อควรระวังของการใช้แสงสีฟ้าในการรักษาสิว

  • การรักษาอาจได้ผลลัพธ์เพียงชั่วคราว และอาจต้องอาศัยความถี่ในการรักษา
  • แสงที่ใช้ในการรักษาอาจส่งผลกระทบต่อดวงตาได้ 
  • การรักษาด้วยแสงสีฟ้าเพียงอย่างเดีย วอาจไม่เห็นผลชัดเจนมากนัก จึงต้องมีการรักษาด้วยวิธีอื่นร่วมด้วย เพื่อประสิทธิภาพในการกำจัดสิวที่เต็มขุมพลัง
  • ในประเทศไทยเครื่องมือทางการรักษาสิวชิ้นนี้ ยังไม่ได้รับการรับรองจากองค์การอาหารและยา (อย.)
  • หวังว่าสาว ๆ คงได้ทราบข้อมูลประกอบกาตัดสินใจที่ครบครับของการรักษาด้วยแสงที่กำลังเป็นที่นิยม แต่อาจเกิดการกังวลใจถึงผลลัพธ์และผลกระทบ ถึงอย่างไรก็คิดทบทวนให้ดี เพราะผิวหน้าของเรามีค่ามากกว่าอะไร

    หมายเหตุ

    Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

    ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

    พลอย วงษ์วิไล


    เขียนโดย ศศวัต จันทนะ · แก้ไขล่าสุด 31/05/2022

    advertisement iconโฆษณา

    คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

    advertisement iconโฆษณา
    advertisement iconโฆษณา