backup og meta

ปัจจัยกระตุ้นอาการโรคสะเก็ดเงิน มีอะไรบ้าง

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย พลอย วงษ์วิไล


เขียนโดย ปัญญพัฒน์ เอี่ยมสิน · แก้ไขล่าสุด 31/05/2022

    ปัจจัยกระตุ้นอาการโรคสะเก็ดเงิน มีอะไรบ้าง

    สะเก็ดเงิน เป็นโรคผิวหนังที่ไม่มีทางรักษาให้หายขาด และสามารถกำเริบกลับมาได้ทุกเมื่อหากมี ปัจจัยกระตุ้นอาการสะเก็ดเงิน เช่น ความเครียด การสูบบุหรี่ การบาดเจ็บที่ผิวหนัง หากมีอาการสะเก็ดเงินควรบรรเทาอาการด้วยการใช้ยาที่คุณหมอแนะนำ รวมถึงการทามอยเจอร์ไรซ์เซอร์เพื่อช่วยปกป้องผิว

    ปัจจัยกระตุ้นอาการสะเก็ดเงิน มีอะไรบ้าง

    ส่วนใหญ่โรคสะเก็ดเงินสามารถพบได้บ่อยทั้งในผู้ชาย และผู้หญิง ตั้งแต่อายุ 15-35 ปีขึ้นไป แต่บางครั้งก็อาจเกิดขึ้นได้กับเด็ก ๆ ก่อนอายุ 10 ปี เช่นเดียวกัน โดยเฉลี่ยประมาณ 10-15% ผู้คนที่มักเผชิญกับสะเด็กเงินนี้ล้วนมาจากปัจจัยของโรค และพฤติกรรมที่ส่งผลต่อสุขภาพทั้งสิ้น เช่น ระดับความเครียดสะสม โรคหัวใจและหลอดเลือด การบาดเจ็บที่ผิวหนังแต่เดิม การสูบบุหรี่ เป็นต้น เนื่องจากจะทำให้ภูมิคุ้มกันลดลง จนเสี่ยงต่อการเป็นโรคสะเก็ดเงิน หรืออาการสะเก็ดเงินที่เป็นแย่ลงกว่าเดิม

    อีกทั้งยังรวมไปถึงประวัติสุขภาพทางครอบครัวที่เคยมีอาการเกี่ยวข้องกับโรคสะเก็ดเงินยกตัวอย่าง ครอบครัวที่พ่อ และแม่เป็นสะเก็ดเงิน จึงได้รับการถ่ายทอดผ่านทางพันธุกรรม ดังนั้นผู้เป็นลูกในอันดับถัดไปเรื่อย ๆ จึงมีโอกาสที่จะเป็นสะเก็ดเงินถึง 10%

    ประเภทของโรคสะเก็ดเงิน ที่ส่งผลเสียต่อผิวหนัง

    โรคสะเก็ดเงินนั้นสามารถแบ่งออกได้อีกหลายชนิดด้วยกัน โดยแต่ละชนิดก็มักมีอาการที่แตกต่างออกไป ดังนี้

    • โรคสะเก็ดเงินจากคราบจุลินทรีย์ เป็นประเภทที่พบบ่อยมากที่สุด และมักปรากฏให้เห็นตามเป็นเกล็ดสีขาว พร้อมมีผิวหนังอักเสบที่แดง บริเวณข้อศอก หัวเข่า หนังศีรษะ ช่วงหลังส่วนล่าง
    • โรคสะเก็ดเงินที่เล็บ ผู้ที่เป็นโรคสะเก็ดเงินอาจก่อให้เกิดสะเก็ดเงินประเภทนี้ร่วมด้วย โดยจะส่งผลต่อสุขภาพเล็บของเกิดเป็นรอยบุบ หรือหลุมเล็ก ๆ พร้อมกับเล็บมีการเปลี่ยนสีเป็นสีเหลือง และสีน้ำตาล
    • โรคสะเก็ดเงินที่หนังศีรษะ อาจก่อให้เกิดสะเก็ดเงินแถบทั้งหมด หรือบางส่วนของหนังศีรษะ ทำให้มีเกล็ดผิวหนังสีขาวที่หนา และมีอาการคันระคายเคืองรุนแรง จนรู้สึกหงุดหงิด ลำคาญใจ
    • โรคสะเก็ดเงินชนิดผื่น มักมีลักษณะเป็นจุดเล็ก ๆ สีแดง ชมพู หรือน้ำตาล ขึ้นตามผิวหนังบริเวณต้นขา ต้นแขน แต่ถึงอย่างไรก็อาจสามารถจางหายไปได้เองภายใน 2-3 สัปดาห์
    • โรคสะเก็ดเงินตามข้อพับ มักเป็นรอแดงยาวแบบไม่เป็นเกล็ดหนาที่เกิดขึ้นตามข้อพับต่าง ๆ ทั่วทั้งร่างกาย ไม่ว่าจะเป็นช่วงขาหนีบ รักแร้ ใต้หน้าอก เป็นต้น และอาการอาจจะแย่ขึ้นหากมีการเสียดสี และเผชิญกับสภาพอากาศร้อนบ่อยครั้ง
    • โรคสะเก็ดเงินเม็ดเลือดแดง เป็นประเภทที่พบได้น้อย และยากมากที่สุด แต่ขณะเดียวกันก็ส่งผลต่อร่างกายอย่างร้ายแรง เพราะจะทำให้ผิวหนังคล้ายรอยไหม้เกรียมเหมือนถูกน้ำร้อนลวก พร้อมมีอาการแสบคัน และส่งผลให้อัตราการเต้นของหัวใจเร็วขึ้นได้อีกด้วย

    ไม่ว่าจะเผชิญกับโรคสะเก็ดเงินประเภทใด หากมีอาการรุนแรงขึ้นขั้นอัตราการเต้นของหัวใจเปลี่ยน รู้สึกแสบร้อนที่ผิวหนัง โปรดเข้ารับการรักษาจากแพทย์ในทันที เพื่อหาวิธีบรรเทาอาการเบื้องต้น ก่อนรุนแรงจนถึงขั้นหัวใจล้มเหลว และการติดเชื้อที่เพิ่มมากขึ้นได้

    คำแนะนำในการบรรเทาอาการโรคสะเก็ดเงิน

    เพื่อไม่ให้อาการสะเก็ดเงินทวีความรุนแรงขึ้น สามารถเริ่มต้นได้จากการชำระล้างร่างกายด้วยการอาบน้ำอย่างเป็นประจำ พร้อมกับเลือกผลิตภัณฑ์บำรุงผิวที่ให้ความชุ่มชื้น และทายา หรือรับประทานยาตามอาการที่เป็น หรือแพทย์กำหนดให้ ที่สำคัญควรหลีกเลี่ยงพฤติกรรมที่เข้าไปกระตุ้นให้สะเก็ดเงินมีอาการแย่ลง เช่น การสูบบุหรี่ ดื่มเครื่องดื่มที่ประกอบด้วยแอลกอฮอล์ เป็นต้น เพียงเท่านี้อาการของโรคสะเก็ดก็อาจสามารถทุเลาลงได้ หากมีการดูแลตนเองตามคำแนะนำข้างต้นอย่างเคร่งครัด

    หมายเหตุ

    Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

    ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

    พลอย วงษ์วิไล


    เขียนโดย ปัญญพัฒน์ เอี่ยมสิน · แก้ไขล่าสุด 31/05/2022

    advertisement iconโฆษณา

    คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

    advertisement iconโฆษณา
    advertisement iconโฆษณา