backup og meta
สำรวจ
เครื่องมือตรวจเช็กสุขภาพ
ถามคุณหมอ
บันทึก
สารบัญ

ตับแข็งจากแอลกอฮอล์ (Alcoholic liver cirrhosis)

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย ธีรวิทย์ บุญราศรี · แก้ไขล่าสุด 16/07/2020

ตับแข็งจากแอลกอฮอล์ (Alcoholic liver cirrhosis)

ตับแข็งจากแอลกอฮอล์  คือแผลเป็นในตับที่เกิดจากพัฒนาของเนื้อเยื่อพังผืด เพื่อมาแทนที่เซลล์ตับที่เสียหายไป โรคตับแข็งไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้

คำจำกัดความ

ตับแข็งจากแอลกอฮอล์คืออะไร

ภาวะตับแข็งจากแอลกอฮอล์ (Alcoholic liver cirrhosis) คือแผลเป็นในตับที่เกิดจากพัฒนาของเนื้อเยื่อพังผืด เพื่อมาแทนที่เซลล์ตับที่เสียหายไป โรคตับแข็งไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ แม้จะหยุดดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์แล้วก็ตาม

อาการของ ตับแข็งจากแอลกอฮอล์

ผู้ป่วยโรคตับแข็งในระยะเริ่มแรก อาจไม่มีอาการและมีผลเลือดปกติ แต่ในบางครั้งอาจมีอาการตับหรือม้ามโต อาการตับแข็งขั้นรุนแรงอาจมีอาการ สูญเสียกล้ามเนื้อ อ่อนเพลีย อะนอเร็กเซียหรืออาการคลั่งผอม คลื่นไส้ น้ำหนักลด และมีอาการคัน ตับมักไม่มีขนาดโตขึ้น หรืออาจมีขนาดเล็กลงกว่าปกติ เนื่องจากมีพังผืดที่เกิดขึ้นจากภาวะตับแข็ง

อาจมีสิ่งบ่งชี้หรืออาการที่ไม่ได้ระบุไว้ข้างต้น หากมีข้อสงสัยเกี่ยวกับอาการต่างๆ โปรดปรึกษาแพทย์

ควรไปหาแพทย์เมื่อใด

หากคุณมีสิ่งบ่งชี้หรืออาการใดๆ ตามที่ระบุข้างต้น หรือมีคำถาม โปรดปรึกษาแพทย์ ร่างกายของแต่ละบุคคล มีการตอบสนองแตกต่างกัน ทางที่ดีที่สุดให้ปรึกษาแพทย์เกี่ยวกับวิธีรักษาที่ดีที่สุดตามสถานการณ์ของคุณ

สาเหตุ

สาเหตุของตับแข็งจากแอลกอฮอล์

ความเสียหายของตับจากการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์มากเกินไปเป็นประจำ จนทำให้เกิดภาวะตับแข็ง เมื่อเนื้อเยื่อตับเริ่มเกิดแผลเป็น  ตับไม่สามารถทำงานได้ดีเช่นปกติ ดังนั้น ร่างกายจึงไม่สามารถสังเคราะห์โปรตีนที่เพียงพอ หรือกรองสารพิษออกจากเลือดได้อย่างที่ควรจะเป็น ภาวะตับแข็งเกิดจากสาเหตุหลายประการ อย่างไรก็ดี ภาวะตับแข็งจากแอลกอฮอล์ สัมพันธ์กับการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์โดยตรง

ปัจจัยเสี่ยง

ปัจจัยเสี่ยงของ ตับแข็งจากแอลกอฮอล์

ปัจจัยความเสี่ยงสำหรับภาวะตับแข็งจากแอลกอฮอล์มีหลายประการ เช่น

  • การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์มากกว่า 5 แก้วต่อวันสำหรับผู้ชาย หรือมากกว่า 1.5 แก้วสำหรับผู้หญิง ผู้ที่ดื่มเป็นประจำ ติดต่อกันเป็นเวลา 10 ปี หรือมากกว่า จะเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดตับแข็งร้อยละ 6-41 (โดยขึ้นอยู่กับแต่ละประเทศ)
  • การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในขณะท้องว่าง
  • การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ทุกวัน
  • การสูบบุหรี่

การวินิจฉัยและการรักษาโรค

ข้อมูลที่นำเสนอในที่นี้ไม่สามารถใช้แทนข้อแนะนำทางการแพทย์ ให้ปรึกษาแพทย์สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม

การวินิจฉัยตับแข็งจากแอลกอฮอล์

แพทย์สามารถวินิจฉัยภาวะตับแข็งจากแอลกอฮอล์ โดยเริ่มจากการตรวจประวัติสุขภาพ และประวัติการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์  นอกจากนี้ จะมีการทดสอบบางประการที่อย่างที่สามารถยืนยันอาการตับแข็งได้ โดยผลการทดสอบดังกล่าวอาจแสดงให้เห็นภาวะดังต่อไปนี้

  • โลหิตจาง ระดับเลือดต่ำจากปริมาณธาตุเหล็กน้อยเกินไป
  • ระดับแอมโมเนียในเลือดสูง
  • ระดับน้ำตาลในเลือดสูง
  • ปริมาณเม็ดเลือดขาวสูง
  • เนื้อเยื่อตับเสื่อมสภาพ เมื่อนำตัวอย่างเนื้อเยื่อตับมาตรวจและศึกษาในห้องปฏิบัติการ
  • ค่าเอนไซม์ชนิด aspartate aminotransferase (ast) จะมีค่าสูงกว่าระดับของเอนไซม์ตับชนิด alanine aminotransferase (alt) สองเท่า
  • ระดับแมกนีเซียมในเลือดต่ำ
  • ระดับโพแทสเซียมในเลือดต่ำ
  • ระดับโซเดียมในเลือดต่ำ
  • มีภาวะความดันโลหิตสูง ในระบบหลอดเลือดดำของตับ

นอกจากนี้ แพทย์ยังสามารถตรวจหาอาการอื่นๆ ที่อาจส่งผลต่อตับที่ทำให้อาการตับแข็งรุนแรงขึ้นอีกด้วย

การรักษาตับแข็งจากแอลกออฮอล์

แพทย์สามารถรักษาโรคตับบางชนิด แต่โรคตับแข็งจากแอลกอฮอล์มักไม่สามารถรักษาได้ อย่างไรก็ดี แพทย์สามารถแนะนำการรักษา ที่อาจชะลอการลุกลามของโรคและบรรเทาอาการ

ขั้นตอนแรกในการรักษาคือการช่วยให้ผู้ป่วย หยุดดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ผู้ที่เป็นตับแข็งจากแอลกอฮอล์มักเสพติดแอลกอฮอล์ จนอาจมีอาการแทรกซ้อนที่รุนแรงต่อสุขภาพ หากพยายามเลิกดื่มเองโดยไม่ปรึกษาแพทย์ ทางที่ดีควรให้แพทย์แนะนำโรงพยาบาล หรือสิ่งอำนวยความสะดวก ในการรักษาเพื่อให้ผู้ป่วยเลิกดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

การรักษาอื่นๆ ที่แพทย์อาจใช้กับผู้ป่วยโรคตับแข็ง ได้แก่

  • การใช้ยา: ยาอื่นๆ ที่แพทย์อาจสั่งให้ใช้ ได้แก่ ยาคอร์ติโคสเตียรอยด์ (corticosteroids) ยาในกลุ่มแคลเซียมแชนแนลบล็อกเกอร์ (Calcium channel blockers) อินซูลิน อาหารเสริมต้านอนุมูลอิสระ และยา S-adenosyl-L-methionine (SAMe)
  • การให้คำปรึกษาด้านโภชนาการ: การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ อาจทำให้เกิดภาวะได้รับสารอาหารบางอย่างไม่เพียงพอได้
  • การรับประทานโปรตีนเสริม: ผู้ป่วยมักจำเป็นต้องได้รับโปรตีนเสริมในรูปแบบต่างๆ เพื่อช่วยลดโอกาสในการเป็นโรคเกี่ยวกับสมอง
  • การปลูกถ่ายตับ: ผู้ป่วยต้องเลิกดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เป็นเวลาอย่างน้อยหกเดือนก่อนเข้ารับการปลูกถ่ายตับ

การเปลี่ยนไลฟ์สไตล์และการเยียวยาตนเอง

การเปลี่ยนไลฟ์สไตล์และการเยียวยาตัวเอง เพื่อรับมือกับภาวะตับแข็งจากแอลกอฮอล์

การเปลี่ยนไลฟ์สไตล์และการเยียวยาตัวเอง ดังต่อไปนี้ จะช่วยให้รับมือกับภาวะตับแข็งจากแอลกอฮอล์ได้

  • ไม่ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ไม่ว่าอาการตับแข็งของคุณ เกิดจากการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เรื้อรัง หรือโรคอื่นๆ ให้หลีกเลี่ยงการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เพราะอาจทำให้ตับเสียหายได้มากขึ้น
  • ควรรับประทานอาหารที่มีโซเดียมต่ำ เกลือในปริมาณมากเกินไป ทำให้ร่างกายมีอาการคั่งน้ำ และทำให้อาการบวมในช่องท้องและขามีอาการแย่ลง ควรใช้สมุนไพรสำหรับปรุงรสชาติอาหารแทนการใช้เกลือ และเลือกอาหารสำเร็จรูปที่มีโซเดียมต่ำ
  • รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ อาการตับแข็งทำให้เกิดภาวะได้รับสารอาหารที่ไม่เพียงพอ และสูญเสียกล้ามเนื้อ การป้องกันที่ดีที่สุดต่อการเกิดภาวะตับแข็งคือ การรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ โดยเน้นผลไม้และผักที่หลากหลาย นอกจากนี้ ยังจำเป็นต้องได้รับโปรตีน ซึ่งอาจขัดแย้งกับข้อแนะนำดั้งเดิม ที่ให้จำกัดกลุ่มอาหารนี้หากเป็นตับแข็ง อย่างไรก็ตาม ควรเลือกโปรตีนไขมันต่ำ เช่น ถั่ว สัตว์ปีก หรือปลา และควรหลีกเลี่ยงอาหารทะเลดิบ
  • หลีกเลี่ยงการติดเชื้อ ภาวะตับแข็งทำให้ร่างกายต้านการติดเชื้อได้น้อยลง ควรป้องกันการติดเชื้อใดๆ ด้วยการล้างมือบ่อยๆ นอกจากนี้ ควรเข้ารับวัคซีนตับอักเสบเอและบี ไข้หวัดใหญ่ และปอดบวมด้วย
  • ใช้ยาที่ซื้อเองอย่างระมัดระวัง ภาวะตับแข็งทำให้ตับอ่อนไหวต่อการใช้ยา ดังนั้น ควรปรึกษาแพทย์ก่อนใช้ยาใดๆ รวมทั้งยาที่ซื้อมาใช้เองและควรหลีกเลี่ยงยาบางชนิด เช่น แอสไพริน และไอบูโพรเฟน อย่างแอดวิล (Advil) มอทริน ไอบี (Motrin IB) และอื่นๆ หากตับได้รับความเสียหาย แพทย์อาจแนะนำให้ลดปริมาณการใช้ยาอะเซตามิโนเฟน (acetaminophen) อย่างไทลีนอล (Tylenol) และอื่น ๆ

หากคุณมีข้อสงสัย โปรดปรึกษาแพทย์เพื่อให้เข้าใจได้ดีขึ้นถึงวิธีการรักษาที่ดีที่สุดสำหรับคุณ

Hello Health Group ม่ได้ให้คำปรึกษาด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค และการรักษาโรคแต่อย่างใด

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย ธีรวิทย์ บุญราศรี · แก้ไขล่าสุด 16/07/2020

advertisement iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

advertisement iconโฆษณา
advertisement iconโฆษณา