สุขภาพหญิง

เมื่อเข้าสู่วัยเจริญพันธุ์ คุณผู้หญิงทั้งหลายจำเป็นที่จะต้องได้รับข้อมูลและการสนับสนุนในเรื่องของสุขภาพ เพื่อจะได้รักษาสุขภาพและป้องกันตนเองจากสภาวะต่าง ๆ เช่น การติดเชื้อ ความไม่สมดุลของฮอร์โมน และการเจริญเติบโตที่ผิดปกติ ทาง Hello คุณหมอได้รวบรวมเรื่องราวเกี่ยวกับ สุขภาพหญิง เอาไว้ โดยเนื้อหาจะครอบคลุมตั้งแต่ช่วงเริ่มมีประจำเดือน ไปจนถึงช่วงหมดประจำเดือน

เรื่องเด่นประจำหมวด

สุขภาพหญิง

‘ผมร่วงหลังคลอด’ ปัญหากวนใจคุณแม่ แต่รับมือได้!

นอกจากจะต้องเหนื่อยกับการเลี้ยงลูกน้อยที่เพิ่งคลอดแล้ว เชื่อว่าคุณแม่หลายๆ คนโดยเฉพาะคุณแม่มือใหม่กำลังหนักใจกับปัญหา ‘ผมร่วงหลังคลอด’ เพราะแค่ใช้มือสางผมเบาๆ ผมก็ร่วงหลุดออกมาเต็มฝ่ามือกันเลยทีเดียว ซึ่งสาเหตุที่ทำให้คุณแม่ต้องเผชิญกับปัญหาผมร่วงหลังคลอดนั้นเกิดจากการเปลี่ยนแปลงของระดับฮอร์โมนในร่างกายระหว่างตั้งครรภ์ แล้วอาการดังกล่าวจะหายไปหรือไม่ และจะรับมืออย่างไรดี? ตามมาค้นหาคำตอบไปพร้อมๆ กันในบทความนี้ได้เลย   ผมร่วงหลังคลอด เกิดจากอะไร?  ปกติแล้วคนเราจะมีเส้นผมทั้งศีรษะประมาณ 80,000 - 120,000 เส้น และผมจะหลุดร่วงประมาณ 50-100 เส้นต่อวัน แต่ในช่วงหลังคลอดนั้นคุณแม่อาจต้องเผชิญกับภาวะผมร่วงมากกว่า 100 เส้นต่อวัน โดยสาเหตุของอาการผมร่วงหลังคลอดนั้นเกิดจากการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนเอสโตรเจนหรือฮอร์โมนเพศหญิงในร่างกาย  ซึ่งโดยทั่วไปแล้วผมของคนเราจะมีการหลุดร่วงเป็นประจำทุกวัน แต่ในช่วงตั้งครรภ์ฮอร์โมนเอสโตรเจนจะเพิ่มจำนวนขึ้นส่งผลให้ผมร่วงลดลง อย่างไรก็ตาม หลังคลอดลูกแล้วระดับของฮอร์โมนเอสโตรเจนจะค่อยๆ ลดลงเพื่อกลับเข้าสู่ระดับปกติ ส่งผลให้เส้นผมที่หยุดร่วงไปหลายเดือนก่อนหน้านี้กลับมาร่วงอีกครั้ง เป็นเหตุผลว่าทำไมจำนวนของเส้นผมที่ร่วงหลังคลอดจึงดูเยอะผิดปกตินั่นเอง   อาการผมร่วงหลังคลอด มักเกิดขึ้นตอนไหน?  โดยทั่วไปแล้วคุณแม่จะเริ่มสังเกตุอาการผมร่วงช่วงประมาณ 3 เดือนหลังคลอด ซึ่งอาจพบว่ามีผมหลุดร่วงออกมาจำนวนมากตอนหวีผมหรือตอนสระผม อย่างไรก็ตาม อาการผมร่วงหลังคลอดนี้จะเกิดขึ้นเพียงชั่วคราวเท่านั้น โดยอาการจะค่อยๆ ทุเลาลงและจะกลับเข้าสู่สภาวะปกติภายในระยะเวลา 1 ปีหลังคลอด ดังนั้น คุณแม่ที่เพิ่งคลอดลูกและเกิดอาการผมร่วงไม่ต้องวิตกกังวล ทั้งนี้ หากพบว่าอาการผมร่วงยังไม่หายไปหลังจากคลอดลูกมานานแล้วกว่า 1 ปี ควรนัดหมายปรึกษาแพทย์ เนื่องจากอาการผมร่วงที่นานติดต่อกันอาจเป็นสัญญาณของปัญหาสุขภาพบางอย่างเช่น การขาดสารอาหารบางชนิด เช่น ภาวะขาดธาตุเหล็ก หรือโรคทางต่อมไทรอยด์ เป็นต้น วิธีรับมือกับอาการผมร่วงหลังคลอด แม้ว่าอาการผมร่วงหลังคลอดจะค่อยๆ ดีขึ้นและหายไปได้เอง แต่หากคุณแม่รู้สึกกังวลหรือไม่สบายใจ สามารถรับมือกับปัญหาดังกล่าวได้ด้วยวิธีต่อไปนี้  รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ […]

สำรวจ สุขภาพหญิง

สุขภาพหญิง

ฮอร์โมนเพศหญิง มีอะไรบ้าง มีความสำคัญอย่างไร

ฮอร์โมนเพศหญิง มีบทบาทสำคัญต่อสุขภาพของผู้หญิงเป็นอย่างมาก เป็นส่วนหนึ่งในทุกช่วงชีวิตของผู้หญิง ไม่ว่าจะเป็นกระบวนการเมแทบอลิซึมหรือกระบวนการเผาผลาญพลังงาน สุขภาพหัวใจ กระดูก กล้ามเนื้อ อารมณ์ การมีประจำเดือน การตั้งครรภ์ การผลิตน้ำนม ทั้งนี้ เมื่อเข้าสู่วัยทองหรือวัยหมดประจำเดือน รังไข่ก็จะหยุดทำงาน ทำให้การทำงานของฮอร์โมนเพศหญิงหยุดลงอย่างสมบูรณ์ [embed-health-tool-ovulation] ฮอร์โมนเพศหญิง สำคัญอย่างไร รังไข่ทำหน้าที่สร้างฮอร์โมนเอสโตรเจนและโปรเจสเตอโรน ซึ่งเป็นฮอร์โมนเพศหญิงตัวหลัก ๆ ที่สำคัญที่สุดต่อสุขภาพของผู้หญิงตั้งแต่เริ่มมีประจำเดือน ตั้งครรภ์ จนถึงวัยหมดประจำเดือน มีบทบาทในการกระตุ้นพัฒนาการทางเพศและเตรียมผนังมดลูกให้พร้อมสำหรับการฝังตัวของไข่ที่ผ่านการปฏิสนธิแล้วในระหว่างตั้งครรภ์ ฮอร์โมนเพศหญิง มีอะไรบ้าง ฮอร์โมนเพศหญิง อาจแบ่งได้ดังนี้ ฮอร์โมนเอสโตรเจน (Estrogen) เป็นกลุ่มฮอร์โมนที่มีบทบาทสำคัญในเรื่องเพศและระบบสืบพันธุ์ของผู้หญิง โดยฮอร์โมนเอสโตรเจนส่วนใหญ่จะผลิตมาจากรังไข่ ในขณะที่ฮอร์โมนบางส่วนในปริมาณน้อยจะผลิตมาจากต่อมหมวกไตและเซลล์ไขมัน เมื่อถึงวัยหมดประจำเดือน รังไข่จะหยุดทำงานและหยุดการสร้างฮอร์โมนเอสโตรเจน ทำให้ไม่มีประจำเดือนอีกต่อไป หน้าที่ของฮอร์โมนเอสโตรเจนอาจมีดังนี้ ควบคุมการมีประจำเดือน  พัฒนาลักษณะทางเพศหญิงเมื่อเข้าสู่วัยแรกรุ่น กระตุ้นพัฒนาการของเต้านม รักษาความชุ่มชื้นของผิวและเนื้อเยื่อ ช่วยให้เนื้อเยื่อหัวใจ สมอง หลอดเลือด แข็งแรง เสริมสร้างความแข็งแรงของกระดูก รักษาระดับคอเลสเตอรอลให้เป็นปกติ ควบคุมภาวะเจริญพันธุ์และการตั้งครรภ์ ควบคุมการทำงานของกระเพาะปัสสาวะ ฮอร์โมนโปรเจสเตอโรน (Progesterone) ฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนจะถูกหลั่งออกมาจากรังไข่หลังจากที่การตกไข่ หน้าที่หลักของฮอร์โมนนี้คือการกระตุ้นให้เยื่อบุโพรงมดลูกหนาตัว เพื่อเป็นที่รองรับการฝังตัวของไข่ที่ปฏิสนธิแล้วให้เติบโตกลายเป็นตัวอ่อนไปเป็นทารกที่แข็งแรงสมบูรณ์ได้ในที่สุด ซึ่งหากไม่มีการตั้งครรภ์เกิดขึ้นในช่วงเวลานั้น เยื่อบุโพรงมดลูกจะหลุดลอกไปเป็นประจำเดือนในทุก ๆ เดือน แต่หากมีการตั้งครรภ์ รังไข่จะหลั่งโปรเจสเตอโรนในปริมาณมากเพื่อบำรุงมดลูกระหว่างตั้งครรภ์ ฮอร์โมนเทสโทสเตอโรน […]


สุขภาพหญิง

FAQ: คําถามที่ถามบ่อยเกี่ยวกับวัคซีน HPV

1. จําเป็นต้องตรวจคัดกรองด้วย Pap smear ก่อนฉีดวัคซีน HPV หรือไม่? ไม่จําเป็นต้องตรวจ Pap smear ก่อนจึงจะฉีดวัคซีน HPV ได้ ควรพิจารณาแยกเป็น 2 ประเด็นตามจุดประสงค์ของการป้องกันมะเร็งปากมดลูก การทํา Pap smear เป็น secondary prevention เป็นการตรวจคัดกรองหารอยโรคเพื่อทําการรักษา ส่วนการฉีดวัคซีน HPV นั้นเป็น primary prevention เป็นการป้องกันปากมดลูกไม่ให้ติดเชื้อ HPV ในทางปฏิบัติถ้ามีเพศสัมพันธ์แล้ว และไม่เคยตรวจคัดกรองมาก่อนแนะนําให้ทํา Pap smear ไว้ด้วย ถ้าผิดปกติให้ดูแลรักษาและตรวจ ติดตามตามแนวทางมาตรฐาน ส่วนการฉีดวัคซีน HPV ก็สามารถฉีดได้ตามปกติ ไม่ได้เป็นข้อห้าม 2. จําเป็นต้องตรวจ HPV testing ก่อนฉีดวัคซีน HPV หรือไม่? ไม่จําเป็นต้องตรวจ HPV testing หรือตรวจ HPV16/18 genotyping ก่อนจึงจะฉีดวัคซีน HPV ได้ ถ้าจะตรวจ HPV testing ก็ทําเพื่อ การตรวจคัดกรองหารอยโรคในสตรีที่อายุถึงเกณฑ์คําแนะนําเพื่อที่จะใช้ในการดูแลรักษาและการตรวจ […]


สุขภาพหญิง

ตกขาวปนเลือด ท้องไหม ? ตกขาวแบบไหนที่ควรพบคุณหมอ

ตกขาวปนเลือด ท้องไหม ? เป็นคำถามที่สาว ๆ หลายคนอาจสงสัย โดยเฉพาะผู้ที่มีเพศสัมพันธ์โดยไม่ป้องกัน เนื่องจากอาการดังกล่าว อาจเป็นหนึ่งในอาการที่เกิดขึ้นเมื่อตัวอ่อนฝังตัวในผนังมดลูกและเกิดเป็นการตั้งครรภ์ อย่างไรก็ตาม เลือดปนออกมากับตกขาวอาจเกิดจากสาเหตุอื่น ๆ ได้ เช่น โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ การมีเพศสัมพันธ์อย่างรุนแรง ดังนั้น หากสังเกตว่ามีตกขาวปนเลือดควรเข้าพบคุณหมอ เพื่อรับการวินิจฉัยหาสาเหตุที่แน่ชัดและรับการรักษาอย่างเหมาะสม เพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อนที่อาจส่งผลเสียต่อสุขภาพ [embed-health-tool-ovulation] ตกขาว คืออะไร ตกขาว คือ สารคัดหลั่งที่ไหลออกจากช่องคลอด ตกขาวปกติจะมีลักษณะเป็นเมือกหรือของเหลวใส ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการทำความสะอาดช่องคลอดที่ช่วยดักจับสิ่งสกปรก แบคทีเรีย และเซลล์ที่ตายแล้ว ก่อนจะถูกขับออกมาในรูปแบบของตกขาว นอกจากนี้ ยังช่วยเพิ่มความชุ่มชื้นให้ช่องคลอด ป้องกันช่องคลอดแห้ง และลดอาการเจ็บแสบขณะมีเพศสัมพันธ์ โดยลักษณะตกขาวหรือมูกปากช่องคลอดจะเปลี่ยนแปลงลักษณะไปตามระดับฮอร์โมนเพศในร่างกายด้วย ตกขาวปนเลือด ท้องไหม ? ตกขาวปนเลือด ท้องไหม ? หากตกขาวปนเลือดอาจมีความเป็นไปได้ว่าตั้งครรภ์ เนื่องจากเป็นสัญญาณเตือนแรกที่เกิดจากตัวอ่อนฝังตัวในผนังมดลูก จะเกิดขึ้นได้ในช่วงอายุครรภ์ประมาณ 4-5 สัปดาห์ ทำให้มีเลือดออกผสมกับตกขาวหรือมูกเลือดและอาจมีอาการปวดท้องเกร็ง และปวดท้องน้อยคล้ายกับปวดประจำเดือน หากสังเกตว่าประจำเดือนไม่มานานกว่า 1 เดือน ควรตรวจสอบการตั้งครรภ์โดยใช้ชุดตรวจครรภ์ด้วยตัวเองหรือเข้ารับการตรวจที่โรงพยาบาล อย่างไรก็ตาม ตกขาวปนเลือดยังอาจเกิดได้จากสาเหตุอื่น ๆ ดังนี้ วัยหมดประจำเดือน อาจทำให้ฮอร์โมนเอสโตรเจนและโปรเจสเตอโรนลดลง ส่งผลให้การผลิตสารหล่อลื่นในช่องคลอดลดลง นำไปสู่อาการช่องคลอดแห้ง […]


สุขภาพหญิง

ตกขาวเป็นน้ำใสๆ เกิดจากอะไร ผิดปกติหรือไม่

ในบางเดือน ผู้หญิงหลายคนอาจพบว่า ตกขาวเป็นน้ำใสๆ หรือมีตกขาวมากขึ้นเล็กน้อย ที่เป็นเช่นนี้เนื่องจากลักษณะและปริมาณของตกขาวจะเปลี่ยนแปลงไปในแต่ละรอบเดือน ขึ้นอยู่กับอิทธิพลของฮอร์โมน และความสมดุลของแบคทีเรียในช่องคลอด หากรู้สึกว่าตกขาวเปลี่ยนแปลง อาจเกิดจากได้จากหลายปัจจัย เช่น การใช้ยาคุมกำเนิด การตั้งครรภ์ ช่องคลอดระคายเคือง ทั้งนี้ หากตกขาวเปลี่ยนแปลงร่วมกับมีอาการผิดปกติอื่น ๆ เช่น อาการแสบ คัน บวม แดง ระคายเคืองช่องคลอด ตกขาวมีกลิ่น ตกขาวเปลี่ยนสี อาจเป็นสัญญาณของปัญหาสุขภาพเกี่ยวกับช่องคลอดที่ควรไปพบคุณหมอเพื่อรับการรักษาอย่างถูกวิธี [embed-health-tool-ovulation] ตกขาวเป็นน้ำใสๆ เกิดจากอะไร ตกขาว คือ มีเมือกใสๆออกมาจากช่องคลอด ทำหน้าที่ดักจับสิ่งสกปรกและรักษาความสะอาดภายในช่องคลอด โดยปกติตกขาวจะมีปริมาณและความเหนียวข้นแตกต่างกันไปในรอบเดือนตามระดับฮอร์โมนที่เปลี่ยนแปลง หากพบว่า ตกขาวเป็นน้ำใสๆ มีปริมาณหรือสีที่แตกต่างจากปกติเล็กน้อย แต่ไม่มีอาการผิดปกติอื่น ๆ ร่วมด้วย เช่น มีกลิ่นเหม็น จับตัวเป็นก้อน มีสีผิดปกติอย่างสีเหลือง มีอาการคันหรือแสบ อาจไม่ได้เป็นสัญญาณของภาวะสุขภาพที่เป็นอันตราย แต่เป็นเพียงลักษณะของตกขาวที่เปลี่ยนไปตามช่วงเวลาของแต่ละเดือนเท่านั้น สาเหตุที่ทำให้ตกขาวเปลี่ยนไป ตกขาวที่มีปริมาณ สี หรือเนื้อสัมผัสต่างจากปกติ อาจเกิดแบคทีเรียภายในช่องคลอดเสียสมดุลจากปัจจัยดังตัวอย่างต่อไปนี้ การตั้งครรภ์ ฮอร์โมนที่เปลี่ยนแปลงในช่วงตั้งครรภ์ อาจส่งผลให้ผนังช่องคลอดนิ่มและตกขาวเคลื่อนตัวได้ง่าย ทำให้มีตกขาวออกมาจากช่องคลอดมากขึ้น การใช้ยาคุมกำเนิด ยาคุมกำเนิดมีส่วนประกอบของโปรเจสตินซึ่งเป็นฮอร์โมนสังเคราะห์ที่ออกฤทธิ์เหมือนฮอร์โมนโปรเจสเตอโรน ทำให้สารคัดหลั่งในช่องคลอดเพิ่มปริมาณเพื่อทำให้ให้อสุจิเคลื่อนไหวได้ยากขึ้น โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ เช่น โรคหนองในเทียม […]


สุขภาพหญิง

Endometriosis คือ อะไร สาเหตุ อาการ และวิธีการรักษา

Endometriosis คือ ภาวะเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ แทนที่เยื่อบุโพรงมดลูกจะเจริญเติบโตอยู่ในโพรงมดลูก กลับไปเติบโตอยู่นอกโพรงมดลูก และแทรกตัวเข้ากับอวัยวะส่วนอื่น ๆ เช่น บริเวณกระดูกอุ้งเชิงกราน รังไข่ ท่อนำไข่ ผิวมดลูก ปากมดลูก เยื่อบุช่องท้อง และเติบโตขึ้นเรื่อย ๆ จนอาจทำให้เกิดภาวะสุขภาพ เช่น มีบุตรยาก ปวดประจำเดือนรุนแรง ทั้งนี้ หากพบว่ามีอาการที่เข้าข่ายภาวะเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ เช่น มีเลือดออกจากช่องคลอดในปริมาณมาก มีประจำเดือนมานานกว่า 7 วัน ควรไปพบคุณหมอเพื่อวินิจฉัยอาการ ด้วยการตรวจภายใน เป็นต้น อีกทั้งคุณหมอจะได้รักษาได้อย่างทันท่วงทีด้วยวิธีการที่เหมาะสมที่สุด [embed-health-tool-ovulation] Endometriosis คือ อะไร Endometriosis คือ ภาวะเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ เกิดจากเยื่อบุที่อยู่ภายในโพรงมดลูกไปเติบโตในอวัยวะภายนอกมดลูก เช่น รังไข่ ท่อนำไข่ เยื่อบุช่องท้อง ผนังลำไส้ ผนังกระเพาะปัสสาวะ และอาจกระจายไปยังอวัยวะส่วนอื่น ๆ ของร่างกายที่อยู่ห่างออกไป เช่น กระบังลม ปอด ผ่านทางหลอดเลือดและท่อน้ำเหลืองได้ด้วย ภาวะนี้อาจทำให้เกิดอาการปวด มีเลือดออกมากทั้งในระหว่างมีประจำเดือนและไม่มีประจำเดือน มีบุตรยาก เป็นต้น ปัจจัยเสี่ยงของ Endometriosis หรือภาวะเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ ปัจจัยเสี่ยงในการเกิดภาวะ […]


สุขภาพหญิง

ตกขาวเป็นก้อนแป้ง เกิดจากอะไร วิธีรักษาและดูแลตัวเอง

ตกขาวเป็นก้อนแป้ง เป็นภาวะตกขาวผิดปกติที่อาจเกิดจากการติดเชื้อราแคนดิดา แอลบิแคนส์ (Candida albicans) เนื่องจากมีเชื้อราชนิดนี้บริเวณช่องคลอดมากจนเสียสมดุล การติดเชื้อรานอกจากจะทำให้มีตกขาวเป็นก้อนแป้งคล้ายยีสต์หรือชีสคอตเทจแล้ว ยังมักทำให้รู้สึกคันและระคายเคืองบริเวณช่องคลอดด้วย ตกขาวที่เกิดจากเชื้อราส่วนใหญ่จะไม่มีกลิ่น และสามารถรักษาได้ด้วยการใช้ยารักษาที่หาซื้อได้ตามร้านขายยาทั่วไป แต่หากดูแลตัวเองเบื้องต้นและใช้ยาแล้วอาการไม่ดีขึ้น ควรไปพบคุณหมอเพื่อรับการรักษาที่เหมาะสมโดยเร็วที่สุด [embed-health-tool-ovulation] ตกขาวเป็นก้อนแป้ง เกิดจากสาเหตุใด ตกขาวเป็นก้อนแป้ง อาจเกิดจากการติดเชื้อราบริเวณช่องคลอด เชื้อราชนิดที่พบได้บ่อยมีชื่อว่า แคนดิดา แอลบิแคนส์ ซึ่งเป็นเชื้อราประจำถิ่นที่อาศัยอยู่ในช่องคลอดร่วมกับเชื้อราชนิดอื่น ๆ แต่หากมีปัจจัยมากระตุ้นให้เชื้อราเจริญเติบโตและเพิ่มปริมาณจนเสียสมดุล ก็อาจส่งผลให้เกิดการติดเชื้อและเกิดภาวะตกขาวผิดปกติได้ ปัจจัยเสี่ยงที่อาจทำให้ตกขาวเป็นก้อนแป้ง มีดังนี้ การใช้ยาปฏิชีวนะบางชนิด อาจกระทบต่อสมดุลของจุลินทรีย์ในช่องคลอด เป็นโรคเบาหวาน ระบบภูมิคุ้มกันบกพร่องจากติดเชื้อเอชไอวี (HIV) หรือการใช้ยาที่ทำให้ระบบภูมิคุ้มกันอ่อนแอลง เช่น สเตียรอยด์ เคมีบำบัด การรับประทานยาคุมกำเนิดหรือใช้ยาฮอร์โมนที่เพิ่มระดับฮอร์โมนเอสโตรเจน การเปลี่ยนเปลี่ยนแปลงของสภาวะแวดล้อมในช่องคลอดหลังจากมีประจำเดือน หลังจากการมีเพศสัมพันธ์ เป็นต้น อาการเมื่อ ตกขาวเป็นก้อนแป้ง อาการอื่น ๆ อาจเกิดขึ้นร่วมกับอาการตกขาวเป็นก้อน อาจมีดังนี้ รู้สึกคันและระคายเคืองบริเวณช่องคลอด รู้สึกแสบร้อนโดยเฉพาะขณะมีเพศสัมพันธ์หรือขณะปัสสาวะ บริเวณอวัยวะเพศบวมหรือแดง ปวดเมื่อยบริเวณบริเวณอวัยวะเพศ เกิดผื่นคันบริเวณอวัยวะเพศ มีตกขาวสีขาวเหนียวข้น จับเป็นก้อนแป้ง เหมือนคราบนมหรือชีส วิธีการรักษาเมื่อ ตกขาวเป็นก้อนแป้ง การรักษาอาการตกขาวเป็นก้อนแป้งส่วนใหญ่จะรักษาตามระดับความรุนแรงและความถี่ของการติดเชื้อ ดังนี้ อาการเล็กน้อยถึงปานกลางและติดเชื้อไม่บ่อย การรักษาระยะสั้น คุณหมออาจแนะนำให้ใช้ยาต้านเชื้อรา เช่น ไมโคนาโซล (Miconazole) อิทราโคนาโซล […]


การมีประจำเดือน

ปจด สีดำ เกิดจากอะไร อันตรายไหม เมื่อไรควรไปพบคุณหมอ

ปจด หรือ ประจำเดือน หมายถึง เยื่อบุโพรงมดลูกที่หลุดลอกออกมาเป็นเลือดผ่านทางช่องคลอดทุกเดือน โดยเกิดจากการที่ร่างกายผลิตฮอร์โมนเอสโตรเจน (Estrogen) และกระตุ้นให้ผนังมดลูกหนาขึ้นเพื่อเตรียมรองรับการฝังตัวของตัวอ่อนหากไข่ปฏิสนธิกับอสุจิ แต่เมื่อไข่ในร่างกายเพศหญิงวัยเจริญพันธุ์ไม่ได้รับการปฏิสนธิกับอสุจิ เยื่อบุโพรงมดลูกจึงหลุดลอกออกตามธรรมชาติ โดยทั่วไป ปจด มักเป็นสีแดงสดหรือสีแดงเข้ม แต่บางครั้งอาจพบเป็น ปจด สีดำ ซึ่งถือว่าเป็นเรื่องปกติที่สามารถเกิดขึ้นได้ ไม่ใช่อาการน่ากังวล ยกเว้นแต่ว่ามี ปจด สีดำ ร่วมกับอาการอื่น ๆ เช่น ไข้ขึ้น ตกขาวมีกลิ่นเหม็น คันบริเวณช่องคลอด ควรไปพบคุณหมอเพื่อรับการวินิจฉัยหาสาเหตุต่อไป [embed-health-tool-ovulation] ปจด คืออะไร ปจด หรือประจำเดือน เป็นภาวะปกติเมื่อเพศหญิงเข้าสู่วัยเจริญพันธุ์ โดยจะเป็นประจำเดือนครั้งแรก เมื่ออายุประมาณ 12-16 ปี ประจำเดือน จะเกิดขึ้นทุก ๆ 21-35 วัน โดยมีลักษณะเป็นเลือดไหลออกจากช่องคลอด ซึ่งเกิดจากการหลุดลอกของเยื่อบุโพรงมดลูก เมื่อไข่ของเพศหญิงไม่ได้รับการปฏิสนธิโดยอสุจิของเพศชาย ร่างกายจึงขับเยื่อบุโพรงมดลูกที่เตรียมรองรับการฝังตัวของตัวอ่อนให้หลุดลอกออกตามธรรมชาติ ประจำเดือนจะไหลติดต่อกันประมาณ 5-7 วัน โดยถ้าไหลน้อยกว่า 2 วัน หรือมากกว่า 7 วัน อาจหมายถึงประจำเดือนมาไม่ปกติ ซึ่งเป็นสัญญาณเตือนเกี่ยวกับระบบสืบพันธุ์ ทั้งนี้ ระหว่างมีประจำเดือน เพศหญิงอาจมีอาการอื่นร่วมด้วย […]


การมีประจำเดือน

ตกขาวก่อนเป็นประจำเดือน อันตรายหรือไม่

ตกขาวก่อนเป็นประจำเดือน เป็นเรื่องปกติที่อาจเกิดขึ้นเนื่องจากการตกไข่ หรือการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนโปรเจสเจอโรน (Progesterone) และฮอร์โมนเอสโตรเจน (Estrogen) ในช่วงของการตกไข่ ที่ส่งผลให้ช่องคลอดขับตกขาวที่มีลักษณะเหนียวและข้นกว่าตกขาวในช่วงตกไข่ อย่างไรก็ตาม หากสังเกตว่าตกขาวมีสีที่เปลี่ยนไป เช่น สีเขียว สีเทา สีเหลือง รวมถึงมีกลิ่นไม่พึงประสงค์ และมีอาการคันช่องคลอด ควรเข้าพบคุณหมอทันที เพราะเป็นสัญญาณบ่งบอกถึงการติดเชื้อในช่องคลอด [embed-health-tool-ovulation] ตกขาวก่อนเป็นประจำเดือน เกิดจากอะไร ตกขาวก่อนเป็นประจำเดือน อาจเกิดจากการตกไข่ ที่ส่งผลให้ช่องคลอดขับสารคัดหลั่งออกมาเป็นน้ำเมือกสีใสในปริมาณมาก หรืออาจเกิดจากการเพิ่มขึ้นของระดับฮอร์โมนโปรเจสเจอโรน และฮอร์โมนเอสโตรเจน ในช่วงหลังจากการตกไข่ ที่อาจทำให้มีอาการตกขาวที่มีลักษณะหนา เหนียว และอาจมีสีขาวหรือสีเหลือง แต่จะไหลออกมาในปริมาณที่น้อยกว่าช่วงตกไข่ บางคนอาจมีตกขาวสีน้ำตาลที่เกิดจากการผสมกับเลือดก่อนเป็นประจำเดือน ซึ่งอาจบ่งบอกได้ว่าใกล้เข้าสู่ช่วงเวลาที่ประจำเดือนจะมา ตกขาวก่อนเป็นประจำเดือนอันตรายหรือไม่ ตกขาว เป็นสารคัดหลั่งภายในช่องคลอดที่ทำหน้าที่ดักจับสิ่งสกปรก แบคทีเรีย และเซลล์ที่ตายแล้ว ก่อนจะถูกขับออกจากช่องคลอด เป็นกระบวนการทำความสะอาดช่องคลอดของระบบสืบพันธุ์เพศหญิง ดังนั้น การมีตกขาวไหลออกมาจากช่องคลอดก่อนเป็นประเดือน จึงถือเป็นเรื่องปกติและอาจไม่ส่งผลอันตราย ยกเว้นกรณีที่มีตกขาวผิดปกติ ดังนี้ ตกขาวสีน้ำตาล อาจเป็นตกขาวที่ผสมกับเลือดเก่าที่ค้างอยู่ภายในช่องคลอด แต่ก็อาจเป็นสัญญาณของอาการประจำเดือนมาไม่ปกติ เลือดออกกะปริบกะปรอย หรืออาจเสี่ยงเป็นมะเร็งปากมดลูก และมะเร็งเยื่อบุโพรงมดลูก ขึ้นอยู่กับปัจจัยเสี่ยงของหญิงแต่ละคน ตกขาวสีเทา อาจเกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียที่ทำให้ช่องคลอดอักเสบ ซึ่งอาจส่งผลให้เกิดอาการคัน แสบร้อนช่องคลอด และช่องคลอดบวมแดง ตกขาวสีขาวเป็นก้อนหนา อาจเกิดจากการติดเชื้อราในช่องคลอด ที่อาจสังเกตได้จากอาการคัน ช่องคลอดบวม และเจ็บช่องคลอดระหว่างมีเพศสัมพันธ์ […]


การมีประจำเดือน

ประจำเดือนเลื่อน เกิดจากอะไร มาช้าหรือเร็วแค่ไหนคือผิดปกติ

ประจำเดือนเลื่อน หมายถึง การที่เลือดประจำเดือนซึ่งเคยมาทุกเดือนในรอบเดือนที่เท่า ๆ กัน เกิดการเปลี่ยนแปลง ทำให้ประจำเดือนมาช้าหรือเร็วกว่าปกติ โดยมีสาเหตุมาจากหลายประการ ไม่ว่าจะเป็นความเครียด การตั้งครรภ์ การออกกำลังกายอย่างหนัก การลดหรือเพิ่มน้ำหนักในเวลาอันรวดเร็ว ความอ้วน หากประจำเดือนเลื่อนบ่อยครั้ง ควรหาเวลาไปพบคุณหมอ เพื่อเข้ารับการตรวจและวินิจฉัยหาสาเหตุ [embed-health-tool-ovulation] ประจำเดือนคืออะไร ประจำเดือนมาปกติเป็นแบบไหน ประจำเดือน เป็นภาวะสุขภาพของเพศหญิงวัยเจริญพันธุ์ เกิดจากการลดลงของฮอร์โมนเพศ เมื่อไข่ไม่ได้รับการปฏิสนธิกับอสุจิ ส่งผลให้เยื่อบุโพรงมดลูกหลุดออกจากมดลูก และกลายเป็นเลือดประจำเดือน โดยทั่วไป ผู้หญิงจะมีประจำเดือนครั้งแรกเมื่ออายุระหว่าง 12-15 ปี อย่างไรก็ตาม บางรายอาจเป็นประจำเดือนครั้งแรกตั้งแต่อายุ 8 ปี หรือช้ากว่านั้นแต่มักไม่เกิน 16 ปี เมื่อเป็นประจำเดือน ผู้หญิงจะมีเลือดไหลออกทางช่องคลอด ติดต่อกันประมาณ 5-7 วัน อย่างไรก็ตาม บางคนอาจเป็นประจำเดือนน้อยกว่านั้น ประมาณ 3-5 วันโดยเฉพาะเมื่ออายุมากขึ้น เช่น ปวดท้อง ท้องอืด อารมณ์แปรปรวน สิวขึ้น หิวมากเป็นพิเศษ ประจำเดือนเลื่อน ปกติหรือไม่ โดยเฉลี่ย ผู้หญิงจะเป็นประจำเดือนทุก ๆ 28 วัน อย่างไรก็ตาม ประจำเดือนอาจเลื่อน มาช้าหรือเร็วกว่าเดือนก่อนหน้า […]


การมีประจำเดือน

5 เรื่องเข้าใจผิดเมื่อ เป็นประจำเดือน ที่ควรรู้

เมื่อ เป็นประจำเดือน เพศหญิงจะมีเลือดไหลออกทางช่องคลอดทุก ๆ 21-35 วัน เป็นเวลาประมาณ 5-7 วัน สาเหตุเกิดจากการที่ร่างกายผลิตไข่ และไม่ได้รับการปฏิสนธิกับอสุจิ ทำให้เยื่อบุโพรงมดลูกหลุดลอกออกมาเป็นเลือดประจำเดือน ทั้งนี้ แม้ว่าการมีประจำเดือนถือเป็นภาวะสุขภาพปกติของเพศหญิงวัยเจริญพันธุ์ หรือผู้ที่มีอายุประมาณ 12-55 ปี แต่ยังมีความเข้าใจผิดเกี่ยวกับการเป็นประจำเดือนอยู่หลายประการ เช่น มีเพศสัมพันธ์ระหว่างมีประจำเดือนแล้วไม่ท้อง ประจำเดือนเป็นเลือดสกปรก น้ำมะพร้าวทำให้ประจำเดือนหยุดไหล ไม่ควรออกกำลังกาย ระหว่างเป็นประจำเดือน [embed-health-tool-ovulation] เรื่องเข้าใจผิดเมื่อ เป็นประจำเดือน แม้ประจำเดือนจะเป็นภาวะสุขภาพที่เกิดขึ้นกับเพศหญิงทุกคน แต่ยังมีความเข้าใจผิดเกี่ยวกับประจำเดือนอยู่ซึ่งความเข้าใจผิดเกี่ยวกับประจำเดือนที่พบบ่อย มีดังนี้ มีเพศสัมพันธ์ระหว่างเป็นประจำเดือนแล้วจะไม่ท้อง คนส่วนใหญ่มีความเข้าใจว่า การมีเพศสัมพันธ์ระหว่าง เป็นมีประจำเดือน จะไม่ทำให้ตั้งครรภ์ เนื่องจากประจำเดือนเกิดขึ้นหลังจากไข่ตกและไม่ได้รับการปฏิสนธิกับอสุจิ ทำให้ในขณะมีประจำเดือนไม่มีไข่ที่พร้อมปฏิสนธิ จึงไม่ทำให้ตั้งครรภ์ อย่างไรก็ตาม ในกรณีของผู้ที่มีรอบเดือนสั้น หรือระหว่าง 21-24 วัน เมื่อเป็นประจำเดือน ร่างกายจะตกไข่ฟองใหม่ภายใน 4-5 วันนับจากวันแรกที่มีประจำเดือน และหากมีเพศสัมพันธ์ในวันสุดท้ายของการมีประจำเดือน เซลล์อสุจิซึ่งมีชีวิตอยู่ในร่างกายผู้หญิงได้นานประมาณ 5 วัน อาจสามารถเข้าไปปฏิสนธิกับไข่ที่ตกระหว่างเป็นประจำเดือน และอาจทำให้ตั้งครรภ์ได้ ไม่ควรออกกำลังกาย ขณะเป็นประจำเดือน เพศหญิงมักเข้าใจว่าระหว่าง เป็นประจำเดือน ไม่ควรออกกำลังกาย เนื่องจากร่างกายมีอาการข้างเคียงต่าง ๆ เช่น ปวดท้อง […]

advertisement iconโฆษณา
advertisement iconโฆษณา
advertisement iconโฆษณา

ทีมผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์ของเรา

ทีมผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ของ Hello คุณหมอ ประกอบไปด้วยแพทย์และผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางที่มาร่วมสร้างสรรค์บทความในเว็บไซต์ของเราตามความเชี่ยวชาญในแต่ละด้าน ทีมแพทย์และผู้เชี่ยวชาญของเราจะช่วยรับรองว่าข้อมูลด้านสุขภาพของเราถูกต้อง เป็นปัจจุบัน และตรงตามหลักฐานจากงานวิจัยล่าสุด
ทีมผู้เชี่ยวชาญของเรามุ่งมั่นเต็มที่ในการช่วยให้คุณได้รับข้อมูลและความรู้ด้านสุขภาพที่น่าเชื่อถือ เข้าใจง่าย และเป็นประโยชน์ และพร้อมให้คำแนะนำในการดูแลสุขภาพกับคุณเสมอ เพื่อให้คุณได้รับทางเลือกที่ดีต่อสุขภาพ และใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขมากยิ่งขึ้น

ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม
ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม