backup og meta

ช่องคลอดมีกลิ่น ปัญหาจุดซ่อนเร้นกับวิธีรับมือง่าย ๆ

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย สิฏฐิณิศา รัชตวโรทัย


เขียนโดย เนตรนภา ปะวะคัง · แก้ไขล่าสุด 03/11/2022

    ช่องคลอดมีกลิ่น ปัญหาจุดซ่อนเร้นกับวิธีรับมือง่าย ๆ

    ช่องคลอดมีกลิ่น หรือกลิ่นช่องคลอด อาจแตกต่างกันไปในแต่ละรอบเดือน รวมถึงอาจจะแตกต่างกันออกไปในแต่ละบุคค แต่ส่วนใหญ่แล้วอาจเป็นเรื่องปกติ ช่องคลอดมีกลิ่นอาจสังเกตได้อย่างชัดเจนหลังจากมีเพศสัมพันธ์ นอกจากนั้น เหงื่อที่ออกตามปกติก็อาจทำให้ช่องคลอดมีกลิ่นได้เช่นกัน แม้ว่าการใช้ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดช่องคลอดอาจช่วยลดกลิ่นบริเวณช่องคลอด แต่ผลิตภัณฑ์เหล่านี้ก็อาจเพิ่มการระคายเคือง และอาการอื่น ๆ ทางช่องคลอดได้เช่นกัน

    ช่องคลอดมีกลิ่น ได้ยังไง

    ช่องคลอดมีกลิ่น หรือกลิ่นช่องคลอด (Vaginal Odor) อาจแตกต่างกันไปในแต่ละรอบเดือน รวมถึงอาจจะแตกต่างกันออกไปในแต่ละบุคค แต่ส่วนใหญ่แล้วอาจเป็นเรื่องปกติ ช่องคลอดมีกลิ่นอาจสังเกตได้อย่างชัดเจนหลังจากมีเพศสัมพันธ์ นอกจากนั้น เหงื่อที่ออกตามปกติก็อาจทำให้ช่องคลอดมีกลิ่นได้เช่นกัน แม้ว่าการใช้ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดช่องคลอดอาจช่วยลดกลิ่นบริเวณช่องคลอด แต่ผลิตภัณฑ์เหล่านี้ก็อาจเพิ่มการระคายเคือง และอาการอื่น ๆ ทางช่องคลอดได้เช้นกัน นอกจากนั้น สาเหตุที่ทำให้ช่องคลอดมีกลิ่น ก็อาจเกิดได้จากสาเหตุต่าง ๆ เหล่านี้

    กลิ่นจากปัญหาการติดเชื้อที่ช่องคลอด

  • ภาวะช่องคลอดอักเสบจากเชื้อแบคทีเรีย (Bacterial Vaginosis) ซึ่งถือเป็นสาเหตุหลักของปัญหากลิ่นช่องคลอด ทำให้ช่องคลอดมีกลิ่นเหม็นคาว
  • โรคพยาธิในช่องคลอด หรือการติดเชื้อทริโคโมแนส (Trichomoniasis)
  • แผลในช่องคลอด โดยเฉพาะแผลกามโรคเรื้อรังที่ขาหนีบ (Donovanosis) และแผลริมอ่อน (Chancroid)
  • ตกขาว หรือ ระดูขาวที่เกิดพร้อมภาวะอักเสบในอุ้งเชิงกราน (Pelvic Inflammatory Disease หรือ PID)
  • สิ่งแปลกปลอมที่ตกค้างอยู่ในช่องคลอด เช่น ผ้าอนามัยแบบสอด หมวกครอบปากมดลูก (Diaphragm)
  • ต่อมเหงื่ออักเสบเรื้อรัง ( Hidradenitis Suppurativa)
  • กลิ่นจากสาเหตุอื่นที่ไม่ใช่การติดเชื้อ

    • กลิ่นจากประจำเดือน
    • กลิ่นจากตกขาว หรือระดูขาว
    • เหงื่อออกมากเกินไป หรือมีภาวะเหงื่อออกมาก (Hyperhidrosis) ทำให้เกิดกลิ่นตัวรุนแรง มักเกิดกับผู้หญิงที่เป็นโรคอ้วน
    • มีปัญหาท้องผูก หรือท้องอืดเรื้อรัง จนกลิ่นเหม็นจากทวารหนักทะลุมาสู่ช่องคลอด
    • มีปัญหาปัสสาวะหรืออุจจาระเล็ด
    • ไม่รักษาความสะอาด ซึ่งมักเกิดกับหญิงสูงอายุ หรือผู้ที่มีปัญหาทางจิต
    • รับประทานอาหารที่ก่อให้เกิดกลิ่นตัว เช่น หอมหัวใหญ่ กาแฟ หน่อไม้ฝรั่ง เครื่องเทศบางชนิด
    • การใช้ยาปฏิชีวนะ ยาสมุนไพร รวมไปถึงยาที่ใช้รักษาอาการฮอร์โมนแปรปรวน เช่น ยาคุมกำเนิด ก็สามารถทำให้เกิดกลิ่นไม่พึงประสงค์ที่จุดซ่อนเร้นได้
    • โรคมะเร็งปากช่องคลอด (Vulval Cancer) ทำให้เกิดภาวะเนื้อเยื่อตายเฉพาะส่วน
    • โรคกลิ่นตัวเหม็น (Trimethylaminuria หรือ Fish Odor Syndrome) ทำให้ปัสสาวะและเหงื่อมีกลิ่นเหม็นคล้ายปลาเน่า
    • โรคจิตเภท เช่น อาการประสาทหลอนทางการได้กลิ่น (Olfactory Hllucination) ทำให้คิดไปเองว่าช่องคลอดมีกลิ่น ทั้งที่จริง ๆ แล้วไม่ใช่

    ช่องคลอดมีกลิ่น ป้องกันได้อย่างไร

    รักษาความสะอาดอยู่เสมอ

    ควรอาบน้ำเป็นประจำ โดยเฉพาะหลังออกกำลังกาย และต้องไม่ลืมล้างหรือเช็ดทำความสะอาดบริเวณภายนอกของช่องคลอดด้วยผ้าเปียก หรือน้ำสบู่อ่อน ๆ เพื่อขจัดเหงื่อ สิ่งสกปรก รวมไปถึงเซลล์ผิวหนังที่ตายแล้ว ไม่ให้ตกค้างและหมักหมม หลีกเลี่ยงการใช้สบู่หรือครีมอาบน้ำที่มีส่วนผสมของน้ำหอมหรือสารเคมีรุนแรง เพราะอาจทำให้สภาพความเป็นกรดด่างตามธรรมชาติของจุดซ่อนเร้นเกิดการเปลี่ยนแปลง

    เปลี่ยนกางเกงชั้นใน

    กางเกงชั้นในที่ทำจากเส้นใยสังเคราะห์ เช่น ผ้าซาติน ผ้าโพลีเอสเตอร์ อาจทำให้จุดซ่อนเร้นอับชื้นเกินไป ส่งผลให้ระดับแบคทีเรียตามธรรมชาติแปรปรวน จนเกิดกลิ่นที่จุดซ่อนเร้นได้ นอกจากนั้น ควรเปลี่ยนมาสวมใส่กางเกงในที่ทำจากเส้นใยธรรมชาติ เช่น ผ้าฝ้าย 100% แทน เพราะผ้าฝ้ายเป็นเนื้อผ้าที่โปร่งสบาย ช่วยดูดซับเหงื่อและของเหลวจากร่างกาย และระบายอากาศได้ดี จึงไม่ทำให้อับชื้น และเกิดปัญหาช่องคลอดมีกลิ่น

    ปรับเปลี่ยนอาหารการกิน

    หลีกเลี่ยงอาหารที่ทำให้ช่องคลอดมีกลิ่น และกินอาหารที่มีโปรไบโอติกส์ (Probiotics) หรือแบคทีเรียดี เช่น โยเกิร์ต เพื่อปรับสมดุลของแบคทีเรียในช่องคลอด

    ลดน้ำหนัก

    บางครั้งโรคอ้วน หรือน้ำหนักตัวที่มากเกินไปก็อาจทำให้มีเหงื่อออกมาก หรือมีปัญหากลิ่นตัว ซึ่งอาจส่งผลให้ช่องคลอดมีกลิ่นได้ง่าย นอกจากนั้นควรลดน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ เพราะนอกจากจะช่วยลดปัญหากลิ่นที่จุดซ่อนเร้น ยังช่วยลดการเกิดปัญหาสุขภาพโดยรวมได้ด้วย

    ควรไปพบคุณหมอเมื่อไหร่

    • ลองรักษาด้วยตัวเองแล้วอาการไม่ดีขึ้น
    • ช่องคลอดมีกลิ่นมานาน หรือมีกลิ่นแรงขึ้นเรื่อย ๆ โดยเฉพาะหากมีกลิ่นคาว เหมือนคาวปลา
    • ตกขาวผิดปกติ คือเปลี่ยนจากเป็นมูกเหลวใส หรือสีขาวคล้ายแป้งเปียกไปเป็นสีอื่น ซึ่งอาจเป็นสัญญาณว่าช่องคลอดติดเชื้อ
    • มีอาการคันที่บริเวณช่องคลอด (Pruritus Vulvae)
    • เจ็บหรือแสบที่บริเวณช่องคลอด

    หมายเหตุ

    Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

    ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

    สิฏฐิณิศา รัชตวโรทัย


    เขียนโดย เนตรนภา ปะวะคัง · แก้ไขล่าสุด 03/11/2022

    advertisement iconโฆษณา

    คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

    advertisement iconโฆษณา
    advertisement iconโฆษณา