backup og meta
สำรวจ
เครื่องมือตรวจเช็กสุขภาพ
ถามคุณหมอ
บันทึก
สารบัญ

มดลูกโต สาเหตุ อาการ และการรักษา

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย พลอย วงษ์วิไล


เขียนโดย นนทกร บัณฑิตสินทรัพย์ · แก้ไขล่าสุด 30/09/2022

มดลูกโต สาเหตุ อาการ และการรักษา

มดลูกโต คือภาวะที่มดลูกมีขนาดใหญ่มากกว่าปกติ โดยอาจเกิดได้จากหลายสาเหตุ เช่น การตั้งครรภ์ เนื้องอกในมดลูก ภาวะเยื่อบุมดลูกเจริญผิดที่ ซีสต์รังไข่ ที่ส่งผลให้มีอาการปวดท้องน้อย ปวดอุ้งเชิงกราน ท้องอืด ประจำเดือนมาไม่ปกติ ดังนั้น หากสังเกตพบอาการผิดปกติควรเข้าพบคุณหมอและรับการรักษาอย่างรวดเร็ว

คำจำกัดความ

มดลูกโต คืออะไร

มดลูกโตเป็นภาวะที่มดลูกขยายตัวมากกว่าปกติ สามารถเกิดได้หลายปัจจัย เมื่อเกิดภาวะนี้อาจทำให้รู้สึกไม่สบายตัว หรือรู้สึกปวดบริเวณช่องท้องส่วนล่างได้ ผู้หญิงวัยหมดประจำเดือนหรือการตัดมดลูกทิ้งไม่มีโอกาสเกิด ภาวะมดลูกโต ได้ เนื่องจาก ฮอร์โมนเอสโตรเจนในร่างกายของผู้หญิงมีการเปลี่ยนแปลง นอกจากนั้น ภาวะมดลูกโต อาจเป็นผลมาจากภาวะทางารแพทย์ที่ไม่เพียงแต่ทำให้มดลูกโตเพียงอย่างเดียว แต่ยังอาจส่งผลให้เลือดออกและเจ็บปวดได้ด้วย ซึ่ง ภาวะมดลูกโต นี้จำเป็นต้องได้รับการรักษา

ภาวะมดลูกโต พบได้บ่อยแค่ไหน

มีสาเหตุหลายอย่างที่ทำให้เกิด ภาวะมดลูกโต โดยภาวะนี้มักจะพบได้บ่อยในผู้หญิงวัยหมดประจำเดือน แต่ผู้หญิงที่อยู่ในวัยเจริญพันธุ์ก็สามารถพบ ภาวะมดลูกโต ได้เช่นกัน

อาการ

อาการของ มดลูกโต

สำหรับอาการของ ภาวะมดลูกโต อาจจะแตกต่างกันไปในแต่ละบุคคล หรือบางคนอาจไม่มีอาการใด ๆ เลยก็ได้ แต่อย่างไรก็ตาม อาจสามารถพบเจอกับอาการเหล่านี้ได้

  • ปวดท้องน้อย รู้สึกปวดบริเวณช่องท้องส่วนล่าง
  • ความผิดปกติของรอบประจำเดือน
  • ท้องอืด เนื่องจาก ภาวะมดลูกโต อาจไปกดทับที่ลำไส้
  • น้ำหนักเพิ่มขึ้น
  • รู้สึกเจ็บระหว่างมีเพศสัมพันธ์
  • ปัสสาวะบ่อย
  • ปวดอุ้งเชิงกรานเรื้อรัง

สำหรับผู้ป่วยบางราย อาจมีสิ่งบ่งชี้หรืออาการนอกเหนือจากที่ระบุไว้ข้างต้น หากมีข้อสงสัยเกี่ยวกับอาการต่าง ๆ โปรดปรึกษาคุณหมอ

สาเหตุ

สาเหตุของภาวะมดลูกโต

ภาวะมดลูกโต เกิดได้จากหลายสาเหตุ ซึ่งบางสาเหตุนั้นไม่เป็นอันตราย เช่น การตั้งครรภ์อาจทำให้มดลูกขยายใหญ่ขึ้น ซึ่งเวลาผู้หญิงตั้งครรภ์อาจทำให้มดลูกนั้นขยายตัวจนมีขนาดเท่าลูกแตงโม

สาเหตุอื่น ๆ ที่ทำให้เกิด ภาวะมดลูกโต และสามารถเป็นอันตรายต่อร่างกาย ได้แก่

  • เนื้องอกในมดลูก เป็นสาเหตุที่พบบ่อยของมดลูกขยายใหญ่ขึ้น ซึ่งปัจจัยที่ทำให้เกิดภาวะนี้ยังไม่พบแน่ชัด
  • ภาวะเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ (Endometriosis) ภาวะที่เยื่อบุโพรงมดลูกแทรกตัวเข้าไปในกล้ามเนื้อของผนังมดลูก
  • ซีสต์รังไข่ เป็นถุงที่มีของเหลวอยู่ภายใน หรือบนรังไข่

ภาวะมดลูกโต อาจเป็นสัญญาณอาการของโรคมะเร็งมดลูก มะเร็งเยื่อบุโพรงมดลูก หรือมะเร็งปากมดลูก ก็ได้เช่นกัน ซึ่ง ภาวะมดลูกโต บางครั้งอาจไม่สามารถสังเกตเห็นเองได้ แต่ผู้หญิงควรตรวจร่างกายเมื่อถึงอายุ

ปัจจัยเสี่ยง

ปัจจัยเสี่ยงของภาวะมดลูกโต

ปัจจัยเสี่ยงที่อาจทำให้เกิด ภาวะมดลูกโต ได้แก่

  • การผ่าตัดคลอด (Prior Uterine Surgery) เช่น C-section การผ่าตัดเนื้องอก หรือการถ่างขยายปากมดลูกร่วมกับการขูดมดลูก (Dilatation And Curettage)
  • การคลอดบุตร
  • อายุในช่วงวัยกลางคน

ส่วนใหญ่ปัจจัยเสี่ยงของ ภาวะมดลูกโต มักจะขึ้นอยู่กับฮอร์โมนเอสโตรเจน ซึ่งพบในผู้หญิงอายุ 40 และ 50 ปี โดย ภาวะมดลูกโตในผู้หญิงเหล่านี้อาจเกี่ยวข้องกับการได้รับฮอร์โมนเอสโตรเจนนานกว่าเมื่อเทียบกับผู้หญิงที่มีอายุน้อยกว่า อย่างไรก็ตาม การวิจัยในปัจจุบันชี้ให้เห็นว่า ภาวะมดลูกโต ก็อาจพบได้บ่อยในผู้หญิงที่อายุน้อยก็ได้เช่นกัน

ภาวะแทรกซ้อนของภาวะมดลูกโต

หากเกิด ภาวะมดลูกโต แล้วไม่ได้เข้ารับการรักษา อาจนำไปสู่ภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆ ได้ เช่น

  • การตัดมดลูก
  • การเจริญพันธ์
  • การแท้งลูก
  • อาจเสี่ยงต่อการติดเชื้อเนื่องจากการอักเสบของมดลูก

การรักษา

การรักษาภาวะมดลูกโต

ข้อมูลในนี้ไม่มีเจตนาให้ใช้ทดแทนคำแนะนำทางการแพทย์ ควรปรึกษาคุณหมอทุกครั้งเพื่อรับทราบข้อมูลเพิ่มเติม

สำหรับการทำให้ ภาวะมดลูกโต ไม่อันตรายนั้นสามารถทำได้ด้วยการรักษาโดยการใช้ยา เพื่อบรรเทาอาการปวดต่าง ๆ ซึ่งไม่จำเป็นต้องรักษาให้ยุ่งยาก เว้นเพียงแต่อาการนั้นจะรุนแรงมาก หรือสาเหตุที่ทำให้เกิดอาการภาวะมดลูกโต สำหรับผู้ที่มีภาวะมดลูกโตบางคนอาจต้องรักษาด้วยการตัดมดลูก การผ่าตัด เคมีบำบัด และการฉายรังสี ซึ่งจะขึ้นอยู่กับอาการที่เกิดขึ้นนั่นเอง

ดังนั้น การตรวจร่างกายสำหรับผู้หญิงนั้นจึงถือว่ามีความสำคัญเป็นอย่างมาก เพื่อให้คุณสามารถรับรู้ได้ถึงปัญหาสุขภาพ เนื่องจาก ภาวะมดลูกโตนั้นไม่ได้แสดงอาการออกมาให้เห็นเสมอไป เพราะฉะนั้น การตรวจสุขร่างกายในผู้หญิงจึงเป็นสิ่งที่ดี และถือเป็นการเช็กสุขภาพร่างกายไปในตัวอีกด้วย

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

พลอย วงษ์วิไล


เขียนโดย นนทกร บัณฑิตสินทรัพย์ · แก้ไขล่าสุด 30/09/2022

advertisement iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

advertisement iconโฆษณา
advertisement iconโฆษณา