ปัญหาสุขภาพหญิงแบบอื่น

นอกจาก ภาวะถุงน้ำรังไข่หลายใบ เนื้องอกในมดลูก ภาวะฮอร์โมนไม่สมดุลในเพศหญิง ก็ยังมี ปัญหาสุขภาพหญิงแบบอื่น ให้ทุกคนได้อ่านเพิ่มเติม เพื่อจะได้หันกลับมาสังเกตตัวเองกัน แต่ปัญหาสุขภาพหญิงแบบอื่นจะมีอะไรบ้างนั้น ติดตามได้ที่นี่

เรื่องเด่นประจำหมวด

ปัญหาสุขภาพหญิงแบบอื่น

ฮอร์โมนเพศหญิง มีอะไรบ้าง มีความสำคัญอย่างไร

ฮอร์โมนเพศหญิง มีบทบาทสำคัญต่อสุขภาพของผู้หญิงเป็นอย่างมาก เป็นส่วนหนึ่งในทุกช่วงชีวิตของผู้หญิง ไม่ว่าจะเป็นกระบวนการเมแทบอลิซึมหรือกระบวนการเผาผลาญพลังงาน สุขภาพหัวใจ กระดูก กล้ามเนื้อ อารมณ์ การมีประจำเดือน การตั้งครรภ์ การผลิตน้ำนม ทั้งนี้ เมื่อเข้าสู่วัยทองหรือวัยหมดประจำเดือน รังไข่ก็จะหยุดทำงาน ทำให้การทำงานของฮอร์โมนเพศหญิงหยุดลงอย่างสมบูรณ์ [embed-health-tool-ovulation] ฮอร์โมนเพศหญิง สำคัญอย่างไร รังไข่ทำหน้าที่สร้างฮอร์โมนเอสโตรเจนและโปรเจสเตอโรน ซึ่งเป็นฮอร์โมนเพศหญิงตัวหลัก ๆ ที่สำคัญที่สุดต่อสุขภาพของผู้หญิงตั้งแต่เริ่มมีประจำเดือน ตั้งครรภ์ จนถึงวัยหมดประจำเดือน มีบทบาทในการกระตุ้นพัฒนาการทางเพศและเตรียมผนังมดลูกให้พร้อมสำหรับการฝังตัวของไข่ที่ผ่านการปฏิสนธิแล้วในระหว่างตั้งครรภ์ ฮอร์โมนเพศหญิง มีอะไรบ้าง ฮอร์โมนเพศหญิง อาจแบ่งได้ดังนี้ ฮอร์โมนเอสโตรเจน (Estrogen) เป็นกลุ่มฮอร์โมนที่มีบทบาทสำคัญในเรื่องเพศและระบบสืบพันธุ์ของผู้หญิง โดยฮอร์โมนเอสโตรเจนส่วนใหญ่จะผลิตมาจากรังไข่ ในขณะที่ฮอร์โมนบางส่วนในปริมาณน้อยจะผลิตมาจากต่อมหมวกไตและเซลล์ไขมัน เมื่อถึงวัยหมดประจำเดือน รังไข่จะหยุดทำงานและหยุดการสร้างฮอร์โมนเอสโตรเจน ทำให้ไม่มีประจำเดือนอีกต่อไป หน้าที่ของฮอร์โมนเอสโตรเจนอาจมีดังนี้ ควบคุมการมีประจำเดือน  พัฒนาลักษณะทางเพศหญิงเมื่อเข้าสู่วัยแรกรุ่น กระตุ้นพัฒนาการของเต้านม รักษาความชุ่มชื้นของผิวและเนื้อเยื่อ ช่วยให้เนื้อเยื่อหัวใจ สมอง หลอดเลือด แข็งแรง เสริมสร้างความแข็งแรงของกระดูก รักษาระดับคอเลสเตอรอลให้เป็นปกติ ควบคุมภาวะเจริญพันธุ์และการตั้งครรภ์ ควบคุมการทำงานของกระเพาะปัสสาวะ ฮอร์โมนโปรเจสเตอโรน (Progesterone) ฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนจะถูกหลั่งออกมาจากรังไข่หลังจากที่การตกไข่ หน้าที่หลักของฮอร์โมนนี้คือการกระตุ้นให้เยื่อบุโพรงมดลูกหนาตัว เพื่อเป็นที่รองรับการฝังตัวของไข่ที่ปฏิสนธิแล้วให้เติบโตกลายเป็นตัวอ่อนไปเป็นทารกที่แข็งแรงสมบูรณ์ได้ในที่สุด ซึ่งหากไม่มีการตั้งครรภ์เกิดขึ้นในช่วงเวลานั้น เยื่อบุโพรงมดลูกจะหลุดลอกไปเป็นประจำเดือนในทุก ๆ เดือน แต่หากมีการตั้งครรภ์ รังไข่จะหลั่งโปรเจสเตอโรนในปริมาณมากเพื่อบำรุงมดลูกระหว่างตั้งครรภ์ ฮอร์โมนเทสโทสเตอโรน […]

สำรวจ ปัญหาสุขภาพหญิงแบบอื่น

ปัญหาสุขภาพหญิงแบบอื่น

7 สาเหตุของ อาการปวดหลังในผู้หญิง ที่อาจไม่ได้เกิดจากแค่ที่หลัง

อาการปวดหลังเป็นอาการที่มักเกิดขึ้นในผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย และบ่อยครั้งที่อาการปวดหลัง ก็ไม่ได้เกิดมาจากที่หลังของเราโดยตรง แต่สามารถเป็นผลกระทบมาจากอาการปวดในที่อื่น หรือจากโรคบางอย่างก็เป็นได้ มาทำความรู้จักกับ 7 สาเหตุที่ทำให้เกิด อาการปวดหลังในผู้หญิง เพื่อที่จะรักษาได้อย่างถูกจุด กับ Hello คุณหมอ 1.โรคปวดก้นกบ โรคปวดก้นกบ (Coccydynia) มีผลต่อผู้หญิงทุกวัย แต่ผู้หญิงวัย 40 ปีเป็นอายุเฉลี่ยที่เริ่มมีอาการ โดยอาการของโรคปวดก้นกบจะหายไปภายในสัปดาห์หรือเป็นเดือน แต่อาจกลายเป็นโรคเรื้อรัง และส่งผลกระทบต่อชีวิตประจำวันได้ ทำให้คุณไม่สามารถขับรถหรือก้มตัวโดยไม่เจ็บปวด อาการของโรคปวดก้นกบคือจะค่อยๆ เจ็บปวดบริเวณก้นกบ หรือเกิดขึ้นทันที หลังจากได้รับผลกระทบบริเวณปลายสุดของกระดูกสันหลัง กระดูกก้นกบมักจะเจ็บเมื่อสัมผัส นั่ง หรือได้รับแรงกดบนบริเวณที่เจ็บ นอกจากนี้อาการท้องผูกจะเพิ่มความเจ็บปวด แต่อาการปวดจะลดลงหลังจากการเคลื่อนไหวของลำไส้ ผู้หญิงมีแนวโน้มที่จะเป็นโรคปวดก้นกบมากกว่าผู้ชาย 5 เท่า เนื่องจากการบาดเจ็บที่เกี่ยวข้องกับการตั้งครรภ์ และตำแหน่งของกระดูกก้นกบที่ได้รับการป้องกันน้อยในผู้หญิง ถือเป็นเหตุผลสำคัญที่ทำให้ผู้หญิงมีโอกาสเป็นโรคนี้มากกว่าผู้ชาย ถึงแม้ว่าโรคกระดูกก้นกบส่วนใหญ่จะเกิดจากการคลอดบุตร หรือการล้มไปด้านหลัง คุณหมอก็ยังคงไม่สามารถระบุสาเหตุของโรคได้ทุกครั้ง แต่สาเหตุอาจเกิดจากการที่กระดูกก้นกบไม่ยืดหยุ่นพอ ที่จะโค้งงอเนื่องจากแรงกดดัน ส่งผลให้เกิดการบาดเจ็บที่กระดูกต้นกบและเส้นเอ็นบริเวณใกล้เคือง หรือบาดเจ็บทั้งสองส่วน 2. กระดูกยุบตัวเนื่องจากกระดูกพรุน ผู้หญิงมีแนวโน้มเกือบ 2 เท่า ที่จะเป็นโรคกระดูกยุบตัว (Conpression Fractre) มากกว่าผู้ชาย เนื่องจากโรคกระดูกยุบตัวมีสาเหตุมาจากโรคกระดูกพรุน (Osteoporosis) และผู้หญิงมีแนวโน้มมากกว่าที่จะเป็นโรคกระดูกพรุน ถ้าคุณอายุมากกว่า 45 ปี และมีอาการปวดหลังฉับพลันและปวดรุนแรง […]


ปัญหาสุขภาพหญิงแบบอื่น

มีติ่งเนื้อปากมดลูก คุณมีความเสี่ยงในการเกิดภาวะนี้หรือเปล่า?

มีติ่งเนื้อปากมดลูก อาการผิดปกติที่ปากมดลูกนี้ เป็นสิ่งที่พบได้ทั่วไปในผู้หญิง โดยเฉพาะผู้ที่มีอายุมากกว่า 20 ปี และมีบุตรอย่างน้อยหนึ่งคน คุณมี ปัจจัยเสี่ยง แค่ไหนในการเกิดภาวะนี้ ลองมาอ่านรายละเอียดที่ทาง Hello คุณหมอ นำมาฝากกัน ติ่งเนื้อปากมดลูก คืออะไร? ปากมดลูก หรือ คอมดลูก (Cervix) เป็นทางเชื่อมมดลูกและช่องคลอด ติ่งเนื้อปากมดลูก (Cervical Polyps) มักเกิดขึ้นในช่องเปิดใกล้ช่องคลอด ติ่งเนื้อปากมดลูกมีสีจากสีแดงเหมือนเชอร์รี่ ไปจนถึงสีม่วงปนแดง โดยในบางครั้งมีสีขาวปนเทา ติ่งเนื้อปากมดลูกมีขนาดที่หลากหลาย และมักไม่เป็นอันตราย ติ่งเนื้อปากมดลูกส่วนใหญ่มีขนาดเล็ก โดยมีขนาดน้อยกว่า 2 เซนติเมตร อย่างไรก็ดี เนื่องจากมะเร็งหลายประเภทอาจดูเหมือนกับติ่งเนื้อปากมดลูก ติ่งเนื้อทั้งหมดควรมีการจัดการอย่างระมัดระวังโดยผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ สาเหตุ ถึงแม้ว่าสาเหตุที่แท้จริงของติ่งเนื้อปากมดลูกยังคงไม่เป็นที่ทราบแน่ชัด แพทย์เชื่อว่าติ่งเนื้อปากมดลูกมีความเกี่ยวข้องกับการอักเสบที่ปากมดลูก สาเหตุที่เป็นไปได้อีกประการหนึ่งคือการตอบสนองที่ผิดปกติของร่างกายต่อฮอร์โมนเอสโตรเจน (Estrogen) ในผู้หญิง ติ่งเนื้อปากมดลูกพบได้ทั่วไป ผู้หญิงหลายคนมีติ่งเนื้อปากมดลูก โดยเฉพาะผู้ที่มีอายุมากกว่า 20 ปีและมีบุตรอย่างน้อยหนึ่งคน เด็กผู้หญิงที่ยังไม่มีประจำเดือนจะพบติ่งเนื้อปากมดลูกได้น้อย ประเภทของ ติ่งเนื้อ ติ่งเนื้อคอมดลูกมี 2 ประเภท ได้แก่ ติ่งเนื้อปากมดลูกภายนอก (Ectocervical polyps) เป็นติ่งเนื้อที่เติบโตที่เซลล์พื้นผิวของคอมดลูก มักพบในผู้หญิงวัยหลังหมดประจำเดือน ติ่งเนื้อปากมดลูกภายใน (Endocervical polyps) เป็นติ่งเนื้อที่เติบโตจากต่อมต่างๆ […]


ปัญหาสุขภาพหญิงแบบอื่น

ถ้า หยุดกินยาคุมกำเนิด แล้วจะเกิดอะไรขึ้นกับร่างกายผู้หญิง

สาวๆ แต่ละคนก็มีเหตุผลในการกินยาคุมกำเนิดไม่เหมือนกัน บางคนต้องการคุมกำเนิด บางคนกินเพื่อแก้ปัญหาเกี่ยวกับร่างกายบางอย่าง เช่น สิว ขนตามร่างกาย หรือบางคนกินเพราะแพทย์สั่ง แต่ไม่ว่าจะด้วยเหตุผลอะไร Hello คุณหมอ จะชวนมาดูว่าหากสาวๆ หยุดกินยาคุมกำเนิด ร่างกายอาจจะเกิดอาการอย่างไรบ้าง ผลข้างเคียงต่อร่างกายเมื่อ หยุดกินยาคุมกำเนิด มีผลต่อประจำเดือน ตอนที่กินยาคุมกำเนิดก็อาจจะมีผลข้างเคียงกับการมีประจำเดือนอยู่แล้ว เช่น การกินยาคุมกำเนิดฉุกเฉิน ที่ทำให้สาวๆ บางคนประจำเดือนเปลี่ยนไป มาเร็วไป มาช้าไป หรือเลือดออกน้อย ซึ่งเป็นอาการที่ไม่รุนแรง แต่ผู้หญิงหลายๆ คนก็มีอาการข้างเคียงที่รุนแรงจนต้องไปหาคุณหมอ และเมื่อเวลาที่สาวๆ หยุดกินยาคุมกำเนิด สิ่งที่จะเกิดขึ้นคือมีความเป็นไปได้ที่ประจำเดือนจะผิดปกติ เนื่องจากในยาคุมมีฮอร์โมนเพศหญิงอย่างฮอร์โมนเอสโตรเจน (Estrogen) และฮอร์โมนโปรเจสเตอโรน (Progesterone) ที่มีผลต่อประจำเดือนโดยตรง การหยุดกินยาคุมจะทำให้ระดับของฮอร์โมนเพศหญิงกลับมาเป็นเหมือนเดิม ตอนที่ไม่ได้กินยาคุมกำเนิด จึงอาจเกิดอาการประจำเดือนมาไม่ปกติได้ เช่น มามากกว่าปกติ มาน้อยกว่าปกติ หากหยุดยาคุมกำเนิดแล้วประจำเดือนไม่มาหลายเดือนควรไปพบคุณหมอ สิวขึ้น ในยาคุมมีฮอร์โมนเพศหญิงเอสโตรเจน (Estrogen) และฮอร์โมนโปรเจสเตอโรน (Progesterone) ซึ่งมีผลทำให้ฮอร์โมนเพศชายเทสโทสเตอโรน (Testosterone) ลดลง ซึ่งฮอร์โมนเพศชายเป็นฮอร์โมนที่กระตุ้นต่อมไขมันใต้ผิวหนัง ทำให้ผิวผลิตไขมันซีบัม (Sebum) ออกมาจากต่อมไขมันใต้ผิวหนัง เป็นต้นเหตุของการเกิดสิว การกินยาคุมจึงช่วยลดการเกิดสิวได้ กลับกันหากสาวๆ หยุดกินยาคุม ฮอร์โมนก็จะกลับมาอยู่ในระดับปกติ […]

advertisement iconโฆษณา
advertisement iconโฆษณา
advertisement iconโฆษณา

ทีมผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์ของเรา

ทีมผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ของ Hello คุณหมอ ประกอบไปด้วยแพทย์และผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางที่มาร่วมสร้างสรรค์บทความในเว็บไซต์ของเราตามความเชี่ยวชาญในแต่ละด้าน ทีมแพทย์และผู้เชี่ยวชาญของเราจะช่วยรับรองว่าข้อมูลด้านสุขภาพของเราถูกต้อง เป็นปัจจุบัน และตรงตามหลักฐานจากงานวิจัยล่าสุด
ทีมผู้เชี่ยวชาญของเรามุ่งมั่นเต็มที่ในการช่วยให้คุณได้รับข้อมูลและความรู้ด้านสุขภาพที่น่าเชื่อถือ เข้าใจง่าย และเป็นประโยชน์ และพร้อมให้คำแนะนำในการดูแลสุขภาพกับคุณเสมอ เพื่อให้คุณได้รับทางเลือกที่ดีต่อสุขภาพ และใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขมากยิ่งขึ้น

ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม
ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม