backup og meta

ภาวะไขมันในเลือดสูง กับสัญญาณเตือนเบื้องต้น ที่คุณควรทราบ


เขียนโดย ปัญญพัฒน์ เอี่ยมสิน · แก้ไขล่าสุด 18/08/2021

    ภาวะไขมันในเลือดสูง กับสัญญาณเตือนเบื้องต้น ที่คุณควรทราบ

    ภาวะไขมันในเลือดสูง เป็นอีกภาวะที่อาจก่อให้เกิดโรคร้ายแรงต่าง ๆ ขึ้นได้ โดยเฉพาะโรคที่เกี่ยวข้องกับหัวใจ แต่เราจะสามารถสังเกตตนเองอย่างไรได้บ้างว่ากำลังมี ไขมันในเลือดสูง อยู่หรือไม่นั้น วันนี้บทความของ Hello คุณหมอ จะพาทุกคนมารู้จักกับสัญญาณเตือนเบื้องต้นของ ไขมันในเลือดสูง ให้ทุกคนได้เริ่มลองเช็กตัวเองไปพร้อม ๆ กันค่ะ

    ภาวะไขมันในเลือดสูง คืออะไร

    ภาวะไขมันในเลือดสูง (Dyslipidemia) เกิดจากการที่ในเลือดคุณมีระดับไขมันสูงมากผิดปกติ ซึ่งอาจมีสาเหตุมาจากปัจจัยที่แตกต่างกันออกไป ไม่ว่าจะเป็นการสืบทอดมาจากพันธุกรรมของคนในครอบครัว การรับประทานอาหารที่มีไขมันสูง การสูบบุหรี่ ขาดการออกกำลังกาย

    โดยปกติแล้ว ภายในร่างกายของเราจะประกอบไปด้วยไขมันหลากหลายชนิด แต่สามารถแบ่งออกได้เป็น 3 ประเภทหลัก ดังนี้

  • ไขมันที่ดีต่อร่างกาย (High-density lipoprotein ; HDL)
  • ไขมันที่ไม่ดีต่อร่างกาย (Low-density lipoprotein ; LDL)
  • ไตรกลีเซอไรด์ (Triglycerides)
  • หากระดับของ ไขมันในเลือดสูง มากเกินไป อาจทำให้คุณเสี่ยงเป็นโรคเรื้อรังอื่น ๆ ที่รุนแรงตามมาได้ โดยเฉพาะโรคที่เกี่ยวข้องกับโรคหัวใจ โรคเบาหวาน และโรคอ้วน

    สัญญาณเตือนภาวะไขมันในเลือดสูง

    ผู้ป่วยที่มีระดับ ไขมันในเลือดสูง ระยะแรกเริ่มอาจไม่แสดงอาการออกมาให้เห็นเด่นชัดมากนัก แต่ถึงอย่างไรในบางครั้งก็อาจเผยสัญญาณเตือน ดังต่อไปนี้

    • เจ็บหน้าอก
    • หายใจถี่
    • ปวดขาขณะที่ลุกขึ้นยืน และเดิน
    • ปวดหลัง ปวดไหล่
    • อ่อนเพลีย
    • มีปัญหาด้านการนอนหลับ
    • วิงเวียนศีรษะ
    • ใจสั่น
    • เป็นลม หมดสติ

    นอกเหนือจากสัญญาณเตือนข้างต้นนี้ ยังอาจมีอาการอื่น ๆ เข้ามาแทรกซ้อนเพิ่มเติม ที่สำคัญอาการเหล่านี้ยังอาจมีความรุนแรงเพิ่มขึ้นได้หลายเท่าหากคุณปล่อยทิ้งไว้เป็นระยะเวลานาน ดังนั้นเพื่อความปลอดภัยหากคุณสังเกตได้ว่าตนเองมีอาการบางอย่างผิดปกติเกิดขึ้น โปรดเข้ารับตรวจสอบอย่างละเอียดจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญในทันที เพื่อรับการรักษาได้อย่างทันท่วงทีก่อนเกิดอันตราย

    วิธีรักษา ไขมันในเลือดสูง ก่อนเกิดโรคหัวใจ

    เมื่อเกิดอาการข้างต้นขึ้น คุณควรรีบเข้ารับการตรวจสุขภาพอย่างละเอียดจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญทันที เพื่อให้แพทย์วินิจฉัยด้วยการตรวจเลือด ตรวจระดับไขมัน พร้อมสอบถามถึงประวัติด้านสุขภาพถึงอาการ เบื้องต้น เพื่อค้นหาสาเหตุ และการรักษาที่เหมาะสม โดยแพทย์อาจแนะนำเป็นการรับประทานยา ดังต่อไปนี้

  • ยาลดไขมันอีเซทิไมบ์ (Ezetimibe)
  • ไนอาซิน (Niacin)
  • ฟีโนไฟเบรต (Fenofibrate)
  • ยากลุ่มไบล์ เอซิด ซีเควสแตรนต์ (Bile acid sequestrants)
  • ยากลุ่ม (PCSK9 inhibitors)
  • ในบางกรณี แพทย์อาจกำหนดให้ผู้ป่วย ไขมันในเลือดสูง ใช้ยารักษาตามแต่ละอาการที่ผู้ป่วยมี พร้อมกับแนะนำให้ผู้ป่วยปรับเปลี่ยนไลฟ์สไตล์การใช้ชีวิต โดยเฉพาะการเลือกรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ที่ปราศจากไขมันไม่ดี เช่น อาการประเภทของทอด เนื้อสัตว์ติดมันปริมาณมาก รวมถึงอาจแนะนำให้ออกกำลังกาย และเลิกดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เพราะสิ่งเหล่านี้ล้วนเป็นปัจจัยเสี่ยงที่สามารถส่งผลต่ออัตราการเต้นของหัวใจได้

    หมายเหตุ

    Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด


    เขียนโดย ปัญญพัฒน์ เอี่ยมสิน · แก้ไขล่าสุด 18/08/2021

    advertisement iconโฆษณา

    คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

    advertisement iconโฆษณา
    advertisement iconโฆษณา