backup og meta

โรค หัวใจ สาเหตุ และวิธีการป้องกัน

ตรวจสอบข้อมูลทางการแพทย์โดย นายแพทย์พีรธัช โรจนพันธุ์ · โรคหัวใจ · สถาบันโรคทรวงอก


เขียนโดย ปัญญพัฒน์ เอี่ยมสิน · แก้ไขล่าสุด 01/09/2022

    โรค หัวใจ สาเหตุ และวิธีการป้องกัน

    โรคหัวใจ เป็นโรคที่ส่งผลต่อระบบการทำงานของหัวใจโดยตรง ซึ่งแบ่งออกได้หลายประเภทด้วยกัน แต่โรคที่พบได้บ่อยที่สุดคือ โรคหลอดเลือดหัวใจ ดังนั้น หากสังเกตว่าตัวเองมีอาการผิดปกติ เช่น เจ็บหน้าอก หัวใจเต้นเร็ว หัวใจเต้นช้า วิงเวียนศีรษะบ่อยครั้ง ควรเข้าพบคุณหมอเพื่อรับการวินิจฉัยและรักษาทันที เพื่อลดความเสี่ยงการเกิดภาวะแทรกซ้อนรุนแรง

    โรค หัวใจ คืออะไร

    โรคหัวใจ คือโรคที่ส่งผลกระทบต่อการทำงานของหัวใจโดยตรง ซึ่งอาจมีปัจจัยเสี่ยงมาจากอายุที่มากขึ้น พันธุกรรม การสูบบุหรี่ การไม่ออกกำลังกาย คอเลสเตอรอลในเลือดสูง ความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน โรคอ้วน รวมไปถึงการรับประทานอาหารที่มีไขมัน เกลือและน้ำตาลสูง

    โรคหัวใจแบ่งออกแบ่งออกได้หลายประเภท ดังนี้

    อาการของโรค หัวใจ

    อาการของโรคหัวใจ อาจแบ่งออกตามประเภทของโรคหัวใจที่เป็น ดังนี้

    โรคหลอดเลือดหัวใจ

    • เจ็บหน้าอก แน่นหน้าอก
    • หายใจถี่
    • กล้ามเนื้ออ่อนแรง
    • ปวดกล้ามเนื้อ
    • เหนื่อยง่ายกว่าปกติ

    โรคหัวใจเต้นผิดปกติ

    • หัวใจเต้นเร็วเกินไปหรือช้าเกินไป
    • เจ็บหน้าอก
    • หายใจถี่
    • วิงเวียนศีรษะ มึนหัว
    • เป็นลมหมดสติ
    • ใจสั่น
    • อัมพฤกษ์หรืออัมพาต

    หัวใจพิการแต่กำเนิด

    • ผิวซีด
    • อาการบวมที่ขา หน้าท้อง และบริเวณรอบดวงตา
    • หายใจถี่
    • น้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์ โดยสามารถสังเกตได้ตั้งแต่ช่วงวัยทารก
    • หายในลำบาก หรือหายใจหอบขณะทำกิจกรรมต่าง ๆ หรือออกกำลังกาย
    • อาการบวมที่มือ ข้อมือ และเท้า
    • เล็บมือ เล็บเท้าปุ้มหรือเขียว

    โรคกล้ามเนื้อหัวใจเสื่อม

    • รู้สึกหายใจไม่อิ่มในระหว่างทำกิจกรรม หรือขณะพักผ่อน
    • มือ แขน ขา ข้อเท้าและเท้าบวม
    • รู้สึกเหนื่อยล้าง่าย
    • วิงเวียนศีรษะ หน้ามืด เป็นลม
    • หัวใจเต้นผิดปกติ เช่น หัวใจเต้นเร็ว หัวใจเต้นช้า ใจสั่น
    • นอนราบไม่ได้

    โรคลิ้นหัวใจ

  • เหนื่อยล้า
  • หายใจถี่
  • หัวใจเต้นผิดจังหวะ
  • เจ็บหน้าอก
  • เป็นลม หมดสติ
  • อาการของโรคหัวใจที่ควรพบคุณหมอ

    ควรพบคุณหมอทันทีที่สังเกตว่ามีอาการเจ็บหน้าอก หายใจถี่ และเป็นลมบ่อยครั้ง เพื่อรับการวินิจฉัยและรักษาได้อย่างทันท่วงที และอาจช่วยลดความเสี่ยงการเกิดหัวใจวาย และหัวใจหยุดเต้นกะทันหัน

    สาเหตุของโรคหัวใจ

    สาเหตุของโรคหัวใจอาจแตกต่างกันตามประเภทของโรคหัวใจที่เกิดขึ้น ดังนี้

    โรคหลอดเลือดหัวใจ อาจมีสาเหตุมาจากการสะสมของไขมันในหลอดเลือด เนื่องจากพฤติกรรมการรับประทานอาหารที่มีไขมัน เกลือ และน้ำตาลในปริมาณมาก และขาดการออกกำลังกาย ทำให้ไขมันเกาะตามผนังหลอดเลือด และส่งผลให้หลอดเลือดอุดตัน นอกจากนี้ การสูบบุหรี่เป็นเวลานานก็อาจส่งผลให้หลอดเลือดหัวใจตีบตัน และอาจทำให้หัวใจขาดเลือดได้

    โรคหัวใจเต้นผิดปกติ อาจมีสาเหตุหลายประการ เช่น โรคเบาหวาน โรคหลอดเลือดหัวใจ ภาวะความดันโลหิตสูง โรคลิ้นหัวใจ ความเครียด ยาบางชนิด การสูบบุหรี่ การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์และเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีนมากเกินไป

    หัวใจพิการแต่กำเนิด มักเกิดขึ้นตั้งแต่ช่วงตั้งครรภ์ ยังไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัด แต่อาจเกิดจากความผิดปกติของพันธุกรรม การติดเชื้อระหว่างตั้งครรภ์ การรับประทานยากลุ่มสแตติน (Statin) การสูบบุหรี่และการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ระหว่างตั้งครรภ์โรคกล้ามเนื้อหัวใจเสื่อม สามารถเกิดได้จากหลายสาเหตุที่ส่งผลกระทบต่อการหดและขยายตัวของกล้ามเนื้อหัวใจ ได้แก่

    • หัวใจติดเชื้อ
    • ความดันโลหิตสูงและหัวใจเต้นเร็วอย่างต่อเนื่อง
    • ปัญหาลิ้นหัวใจ
    • เยื่อบุหัวใจอักเสบ
    • โรคโควิด-19
    • ร่างกายขาดวิตามินและแร่ธาตุสำคัญ เช่น วิตามินบี วิตามินดี แมกนีเซียม
    • โรคเรื้อรัง เช่น โรคอ้วน โรคเบาหวาน ภาวะต่อมไทรอยด์บกพร่อง
    • ความผิดปกติของเนื้อเยื่อเกี่ยวพัน
    • การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในปริมาณมาก ต่อเนื่องเป็นเวลานาน
    • การฉายรังสี และเคมีบำบัดในการรักษามะเร็ง

    โรคลิ้นหัวใจ สามารถเกิดขึ้นตั้งแต่กำเนิด ยังไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัด แต่อาจเกิดจากโรคหัวใจพิการแต่กำเนิด เยื่อบุหัวใจอักเสบ ไข้รูมาติก (Rheumatic Fever) ความผิดปกติของเนื้อเยื่อเกี่ยวพัน การติดเชื้อ และโรคลิ้นหัวใจเอออร์ติกผิดปกติ (Aortic Valvular Stenosis)

    วิธีดูแลสุขภาพหัวใจเพื่อป้องกันโรคหัวใจ

    วิธีดูแลสุขภาพหัวใจเพื่อป้องกันโรคหัวใจ อาจทำได้ดังนี้

    • รับประทานอาหารที่ดีต่อสุขภาพหัวใจ เน้นการรับประทานผัก ผลไม้ ธัญพืชไม่ขัดสี พืชตระกูลถั่ว และหลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารที่มีไขมัน เกลือ และน้ำตาลสูง เช่น เนื้อสัตว์ติดมัน อาหารแปรรูป ขนมหวาน น้ำอัดลม
    • ควบคุมน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์ เพราะหากมีดัชนีมวลกายเกินกว่า 25 ขึ้นไป อาจเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด
    • ออกกำลังกาย ควรออกกำลังกายอย่างน้อย 150 นาที/สัปดาห์ เช่น เดินเร็ว วิ่ง กระโดดเชือก เต้น เพราะการออกกำลังกายอาจช่วยลดคอเลสเตอรอลในเลือด และช่วยควบคุมระดับความดันโลหิตให้อยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสม
    • หยุดสูบบุหรี่ เพราะบุหรี่มีสารพิษที่อาจทำลายหลอดเลือดหัวใจและทำให้หลอดเลือดตีบตัน
    • ลดการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เพราะเครื่องดื่มแอลกอฮอล์อาจเพิ่มระดับความดันโลหิต เพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจ
    • ตรวจสุขภาพประจำปี เพื่อคัดกรองโรคและอาการผิดปกติที่อาจเป็นสัญญาณเตือนของโรคหัวใจ

    หมายเหตุ

    Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

    ตรวจสอบข้อมูลทางการแพทย์โดย

    นายแพทย์พีรธัช โรจนพันธุ์

    โรคหัวใจ · สถาบันโรคทรวงอก


    เขียนโดย ปัญญพัฒน์ เอี่ยมสิน · แก้ไขล่าสุด 01/09/2022

    advertisement iconโฆษณา

    คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

    advertisement iconโฆษณา
    advertisement iconโฆษณา