สุขภาพหัวใจ

หัวใจ คืออวัยวะสำคัญที่ทำหน้าที่ในการสูบฉีดเลือดไปยังส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย หากหัวใจเกิดปัญหา ก็จะส่งผลกระทบต่อการทำงานของร่างกาย และอาจนำไปสู่ปัญหาสุขภาพที่ร้ายแรงได้ เรียนรู้เกี่ยวกับ สุขภาพหัวใจ ทั้งการดูแลรักษา และปกป้องระบบหัวใจและหลอดเลือดของคุณ ได้ที่นี่

เรื่องเด่นประจำหมวด

สุขภาพหัวใจ

อาการเตือนโรคหัวใจ แบบไหนควรไปพบคุณหมอ

โรคหัวใจแบ่งได้เป็นหลายประเภทตามสาเหตุและตำแหน่งที่เกิด ซึ่งโรคหัวใจแต่ละประเภทมักจะมีอาการที่คล้ายคลึงกัน โดยลักษณะ อาการเตือนโรคหัวใจ ที่พบบ่อยได้แก่ อาการแน่นหน้าอก ใจสั่น หัวใจเต้นเร็ว หายใจไม่เต็มอิ่ม วิงเวียนศีรษะ อ่อนเพลีย เหงื่อออกเยอะ เหนื่อยง่าย หากสังเกตอาการเตือนโรคหัวใจได้ตั้งแต่เนิ่น ๆ และไปพบคุณหมอโดยเร็วจะช่วยให้รักษาและหาวิธีดูแลตนเองได้อย่างทันท่วงที [embed-health-tool-bmi] อาการเตือนโรคหัวใจ เป็นแบบไหน อาการเตือนโรคหัวใจ แบ่งออกตามประเภทของโรคได้ ดังนี้ โรคหลอดเลือดหัวใจ (Coronary Artery Disease) เกิดจากเส้นเลือดแดงที่หล่อเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจตีบตัน ซึ่งอาจเกิดจากไขมันเกาะตามผนังหลอดเลือดหัวใจมากเกินไปจนทำให้เลือดที่มีสารอาหารและออกซิเจนไม่สามารถไหลเวียนไปหล่อเลี้ยงยังหัวใจได้ตามปกติ อาการที่พบบ่อยที่สุดของโรคหลอดเลือดหัวใจคืออาการแน่นหน้าอกหรือเจ็บหน้าอกซึ่งอาจสับสนกับอาการอาหารไม่ย่อยหรือกรดไหลย้อนได้ นอกจากนี้ อาจรู้สึกไม่สบายตัวหรือเจ็บบริเวณไหล่ แขน คอ ลำคอ กราม หรือหลัง และอาจมีอาการอื่น ๆ ร่วมด้วย เช่น หายใจถี่รัว หัวใจสั่น หัวใจเต้นเร็วกว่าปกติ วิงเวียนศีรษะหรืออ่อนแรง คลื่นไส้ เหงื่อออกมาก โรคหัวใจวาย (Heart Attack) โรคหัวใจวายหรือกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลันเกิดขึ้นเมื่เลือดไหลเวียนไปเลี้ยงหัวใจได้น้อยลง มักเกิดจากไขมัน คอเลสเตอรอล และสารอื่น ๆ เข้าไปสะสมจนเกิดการอุดตันบริเวณผนังหลอดเลือดหัวใจ อาการที่พบบ่อย คือ แน่นหน้าอกเป็นเวลานานประมาณ 30 นาที จากนั้นค่อย ๆ หายไปแล้วกลับมาเป็นซ้ำอีก ซึ่งเป็นอาการหลักที่มักพบในผู้ชาย […]

สำรวจ สุขภาพหัวใจ

สุขภาพหัวใจ

Palpitation คือ อะไร อาการและการรักษา

Palpitation คือ อาการใจสั่น ซึ่งเป็นอาการที่เกิดขึ้นเมื่อหัวใจเต้นเร็วหรือแรงกว่าปกติ อาจมีสาเหตุมาจากความเครียด ออกกำลังกายหนัก ใช้ยาบางชนิด หรือปัญหาสุขภาพบางอย่าง โดยทั่วไปอาการใจสั่นไม่เป็นอันตราย แต่บางกรณีอาจเป็นอันตรายหากอาการใจสั่นเกิดจากภาวะทางสุขภาพร้ายแรง เช่น ภาวะหัวใจเต้นผิดปกติ จึงควรเข้าพบคุณหมอหากอาการใจสั่นเกิดขึ้นบ่อยและรุนแรงมาก [embed-health-tool-heart-rate] คำจำกัดความ Palpitation คืออะไร อาการใจสั่น หรือ Palpitation คือ อาการที่เกิดจากจังหวะการเต้นของหัวใจผิดปกติ เนื่องจากความผิดปกติของกระแสไฟฟ้าภายในหัวใจ ที่ทำหน้าที่ควบคุมจังหวะการเต้นของหัวใจ ส่งผลให้หัวใจเต้นไม่เป็นจังหวะและมีอาการใจสั่นเกิดขึ้น ซึ่งโดยทั่วไปอาการใจสั่นเพียงเล็กน้อยเป็นอาการปกติที่สามารถเกิดขึ้นได้โดยเฉพาะในผู้สูงอายุ อย่างไรก็ตาม อาการใจสั่นอาจเป็นสัญญาณของภาวะร้ายแรงของหัวใจจึงควรเข้าพบคุณหมอหากอาการรุนแรงขึ้น อาการ อาการ Palpitation อาการใจสั่นอาจมีอาการอื่น ๆ เกิดขึ้นร่วมด้วย ดังนี้ ใจสั่นบ่อย ๆ อาจรู้สึกคล้ายใจหาย หัวใจเต้นเร็วเกินไป หัวใจเต้นผิดจังหวะ และไม่สม่ำเสมอ บางคนอาจมีอาการหัวใจเต้นผิดปกติรุนแรงร่วมด้วย เช่น เหงื่อออกผิดปกติ หายใจถี่รุนแรง เจ็บหน้าอก วิงเวียนศีรษะ เป็นลม สาเหตุ สาเหตุของ Palpitation อาการใจสั่นโดยทั่วไปอาจไม่เป็นอันตราย และอาจเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ ดังนี้ อายุที่มากขึ้น การตอบสนองทางอารมณ์รุนแรง เช่น ความเครียด ความวิตกกังวล การตื่นตระหนก ภาวะทางสุขภาพจิต เช่น ภาวะซึมเศร้า โรควิตกกังวล การทำกิจกรรม การเล่นกีฬา […]


โรคหัวใจ

เส้นเลือดหัวใจตีบ อาการ สาเหตุ วิธีรักษาและการป้องกัน

เส้นเลือดหัวใจตีบ เป็นโรคที่เกิดจากเส้นเลือดหัวใจเสื่อมสภาพเนื่องจากมีไขมันหรือคราบพลัคเกาะผนังหลอดเลือด จนทำให้เส้นเลือดตีบตันและเลือดไม่สามารถเดินทางไปยังกล้ามเนื้อหัวใจได้ตามปกติ ส่งผลให้เสี่ยงเกิดภาวะหัวใจวาย และอาจทำให้มีอาการเจ็บหน้าอกรุนแรง ปวดคอและขากรรไกร ปวดแขนและไหล่ คลื่นไส้ อาเจียน เหนื่อยง่ายกว่าปกติ เหงื่อออกมาก อ่อนเพลีย หากปล่อยทิ้งไว้โดยไม่รักษาอย่างเหมาะสมอาจเป็นอันตรายถึงชีวิตได้ โดยทั่วไปแล้ว เส้นเลือดหัวใจตีบสามารถป้องกันได้ด้วยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิตประจำวันและการรับประทานอาหารให้ดีต่อสุขภาพ [embed-health-tool-bmi] เส้นเลือดหัวใจตีบ เกิดจากอะไร เส้นเลือดหัวใจตีบ หรือโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ (Coronary heart disease หรือ CHD) เป็นโรคหลอดเลือดแดงชนิดหนึ่ง มีสาเหตุหลักมาจากภาวะหลอดเลือดแข็ง (Atherosclerosis) ที่เกิดจากไขมันและคราบหินปูนเกาะตัวสะสมอยู่ที่ผนังหลอดเลือดแดง ทำให้หลอดเลือดแดงแคบลงและแข็งตัว จนเลือดไม่สามารถลำเลียงสารอาหารและออกซิเจนไปหล่อเลี้ยงหัวใจได้ตามปกติ ส่งผลให้กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด หรืออาจทำให้หลอดเลือดปริแตกออกจนมีเกล็ดเลือดไปอุดตันในทางเดินเลือดหลอดเลือดหัวใจ ปัจจัยเสี่ยงที่อาจทำให้เกิดเส้นเลือดหัวใจตีบ อาจมีดังนี้ อายุ ผู้ชายอายุ 45 ปีขึ้นไปและผู้หญิงอายุ 55 ปีขึ้นไป มีความเสี่ยงของการเกิดเส้นเลือดหัวใจตีบเพิ่มขึ้นตามอายุที่มากขึ้น ประวัติครอบครัว ผู้ที่มีคนในครอบครัวมีประวัติเป็นโรคหัวใจ อาจเสี่ยงเกิดเส้นเลือดหัวใจตีบได้มากกว่าคนทั่วไป โดยเฉพาะหากญาติใกล้ชิดอย่างพ่อแม่ พี่น้อง เป็นโรคหัวใจตั้งแต่อายุยังน้อย และความเสี่ยงอาจเพิ่มขึ้นหากมีพ่อหรือพี่ชายเป็นโรคหัวใจก่อนอายุ 55 ปีหรือแม่หรือพี่สาวเป็นโรคหัวใจก่อนอายุ 65 ปี การสูบบุหรี่และรับควันบุหรี่มือสอง บุหรี่มีสารพิษ เช่น นิโคติน ที่ทำให้หลอดเลือดตีบตันและแคบลงและทำให้เลือดไม่สามารถไหลเวียนได้ตามปกติ […]


โรคหัวใจ

10 อาการเตือนโรคหัวใจ สัญญาณที่ควรใส่ใจ

โรคหัวใจ (Heart Disease) เป็นกลุ่มโรคที่ทำให้การทำงานของหัวใจผิดปกติ โดยปกติแล้ว หัวใจเป็นอวัยวะสำคัญในการสูบฉีดเลือดที่มีออกซิเจนและสารอาหารไปยังเซลล์ทั่วร่างกาย ช่วยให้ระบบภายในร่างกายทำงานได้อย่างราบรื่น แต่หากหัวใจมีปัญหา ก็อาจทำให้ระบบอื่น ๆ ทำงานได้ไม่เต็มประสิทธิภาพ และเกิดผลเสียต่อสุขภาพตามมาได้ การศึกษาเกี่ยวกับ 10 อาการเตือนโรคหัวใจ จึงถือเป็นเรื่องจำเป็น โดยเฉพาะในผู้ที่มีปัญหาเกี่ยวกับหัวใจหรือมีความเสี่ยงเกิดโรคหัวใจ เนื่องจากอาจช่วยให้ทราบถึงอาการที่ควรใส่ใจ เช่น หายใจถี่และติดขัด เจ็บแน่นหน้าอก ขาบวม หมดสติ หากพบว่ามีอาการดังกล่าว ควรไปพบคุณหมอเพื่อรับการตรวจวินิจฉัยหาความผิดปกติที่อาจเกิดขึ้น [embed-health-tool-bmi] ปัจจัยเสี่ยงของการเกิดโรคหัวใจ ปัจจัยดังต่อไปนี้ อาจเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดโรคหัวใจและอาการหัวใจวายได้ ปัจจัยที่ไม่สามารถป้องกันได้ เช่น พันธุกรรม การมีสมาชิกในครอบครัวเป็นโรคหัวใจและหลอดเลือด อาจทำให้เสี่ยงเกิดโรคหัวใจได้มากกว่าคนทั่วไป อายุ ผู้ที่มีอายุ 65 ปีขึ้นไป เสี่ยงเกิดโรคหัวใจมากกว่าคนวัยหนุ่มสาว เพศ ผู้ชายมีความเสี่ยงในการเกิดโรคหัวใจมากกว่าผู้หญิง ปัจจัยที่สามารถป้องกันได้ อย่างพฤติกรรมการใช้ชีวิตประจำวัน เช่น การสูบบหุรี่ เป็นพฤติกรรมที่อันตรายต่อหัวใจและหลอดเลือด เนื่องจากอาจทำให้หลอดเลือดตีบตันและหัวใจขาดเลือด เพิ่มความเสี่ยงในการเกิดโรคหัวใจและการเสียชีวิตจากภาวะหัวใจวาย การรับประทานอาหารที่ไม่ดีต่อสุขภาพ มีไขมันอิ่มตัว เช่น คอเลสเตอรอล ไตรกลีเซอไรด์ (Trigleceride) โซเดียม และน้ำตาลสูง อาจทำให้มีไขมันสะสมอยู่ในหลอดเลือดจนหลอดเลือดตีบตัน ไม่ออกกำลังกาย การออกกำลังกายน้อย มีพฤิตกรรมเนือยนิ่ง […]


ภาวะหัวใจล้มเหลว

Congestive heart failure คืออะไร มีสาเหตุ อาการ และการรักษาอย่างไร

Congestive heart failure (ภาวะหัวใจล้มเหลว) คือ ภาวะที่หัวใจอาจหยุดการทำงานลง ไม่สามารถสูบฉีดเลือดได้ตามปกติ ที่อาจส่งผลให้อวัยวะส่วนต่าง ๆ ของร่างกายหยุดทำงานและนำไปสู่การเสียชีวิตได้ หากสังเกตว่ามีอาการหายใจถี่ หัวใจเต้นผิดปกติ และหัวใจวายบ่อยครั้ง ควรเข้าพบคุณหมอเพื่อรับการรักษาอย่างรวดเร็ว ที่สามารถทำได้ทั้งรับประทานยาตามอาการหรือเข้ารับการผ่าตัดบายพาสหัวใจและหลอดเลือด [embed-health-tool-heart-rate] Congestive heart failure คืออะไร Congestive heart failure คือ คำทางการแพทย์ที่ใช้เรียกผู้ป่วยที่เป็นภาวะหัวใจล้มเหลว ที่เกิดขึ้นเมื่อกล้ามเนื้อหัวใจไม่สามารถสูบฉีดเลือดหรือสูบฉีดเลือดที่อุดมไปด้วยออกซิเจนไม่เพียงพอไปหล่อเลี้ยงหัวใจรวมถึงอวัยวะส่วนต่าง ๆ ของร่างกายได้ตามปกติ หากปล่อยไว้เป็นเวลานานอาจทำให้มีการสะสมของเหลวในปอดและการทำงานของอวัยวะนั้นหยุดลงและนำไปสู่การเสียชีวิตได้ ภาวะหัวใจล้มเหลว แบ่งออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่ หัวใจล้มเหลวด้านซ้าย เป็นประเภทที่พบได้บ่อยที่สุด ซึ่งเกิดจากหัวใจห้องล่างซ้ายไม่สามารถบีบตัวเพื่อสูบฉีดเลือดได้หรือเกิดจากผนังหัวใจหนาและแข็งตัวทำให้ไม่อาจบีบและคลายตัวเพื่อสูบฉีดเลือดได้เต็มที่  หัวใจล้มเหลวด้านขวา เป็นประเภทที่หัวใจอ่อนแอเกินกว่าจะสูบฉีดเลือดเพื่อนำออกซิเจนไปยังปอดและส่งกลับเข้าสู่หัวใจ หลอดเลือดเพื่อไปหล่อเลี้ยงอวัยวะส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย สาเหตุของ Congestive heart failure  สาเหตุของภาวะหัวใจล้มเหลว อาจมีดังนี้ มีประวัติเป็นโรคหัวใจและหลอดเลือดหรือภาวะหัวใจวาย ผู้ป่วยที่เป็นโรคหัวใจและหลอดเลือดรวมถึงภาวะหัวใจวาย มักเป็นสาเหตุที่พบได้บ่อยที่สุดที่ทำให้หัวใจล้มเหลว โยอาจมีปัจจัยเสี่ยงมาจากไขมันอุดตันในหลอดเลือดทำให้ขวางการไหลเวียนของเลือดจนนำไปสู่ภาวะหัวใจวายเฉียบพลันและหัวใจล้มเหลวได้ ความดันโลหิตสูง อาจส่งผลให้หัวใจทำงานหนักกว่าปกติ ส่งผลให้หัวใจเสื่อมสภาพเร็วและอ่อนแรงเกินกว่าจะสูบฉีดเลือด จึงนำไปสู่ภาวะหัวใจล้มเหลว การอักเสบของกล้ามเนื้อหัวใจ เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรีย เชื้อรา เชื้อไวรัส และปรสิต […]


สุขภาพหัวใจ

อาการกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ สาเหตุ และวิธีการรักษา

อาการกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ คือ อาการที่ทำให้รู้สึกเจ็บหน้าอกและหัวใจเต้นผิดปกติ เมื่อมีการอักเสบของกล้ามเนื้อหัวใจทำให้ประสิทธิภาพการสูบฉีดเลือดลดลง ดังนั้น หากพบว่าตนเองมีอาการผิดปกติดังกล่าว ควรเข้ารับการวินิจฉัยโดยคุณหมออาจทำการตรวจเลือด ตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ เอกซเรย์ทรวงอก เพื่อรับการรักษาตามความรุนแรงของอาการที่เป็น  [embed-health-tool-heart-rate] อาการกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ มีสาเหตุมาจากอะไร อาการกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบอาจมีสาเหตุดังต่อไปนี้ การติดเชื้อไวรัส เช่น ไวรัสโควิด-19 ไวรัสตับอักเสบบี ไวรัสเริม ไวรัสอินฟลูเอนซา (Influenza Virus) ที่ส่งผลให้ติดเชื้อบริเวณกล้ามเนื้อหัวใจนำไปสู่กล้ามเนื้อหัวใจอักเสบเฉียบพลัน การติดเชื้อแบคทีเรีย ส่วนใหญ่มักเกิดจากเชื้อแบคทีเรียสแตฟฟิโลคอกคัส (Staphylococcus) รวมถึงเชื้อแบคทีเรียชนิดอื่น ๆ ที่ส่งผลให้เกิดอาการเจ็บป่วยและส่งผลให้กล้ามเนื้ออักเสบ การติดเชื้อปรสิต เช่น ทริพาโนโซมิอาซิส (Trypanosoma cruzi) ท็อกโซพลาสโมซิส (Toxoplasmosis) ส่งผลให้ติดเชื้อบริเวณกล้ามเนื้อหัวใจและก่อให้เกิดการอักเสบ การติดเชื้อรา เช่น การติดเชื้อราแคนดิดา เชื้อราแอสเปอร์จิลลัส (Aspergillus) และเชื้อราฮิสโตพลาสมา (Histoplasma)  สารเคมีและยาบางชนิด เช่น ยาต้านอาการชัก ยาเพนิซิลลิน (Penicillin) ยาซัลโฟนาไมด์ (Sulfonamide) รังสีจากการรักษาโรคมะเร็ง เคมีบำบัดรักษามะเร็ง ก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์ ที่อาจทำให้กระทบต่อการทำงานของหัวใจ และเพิ่มความเสี่ยงให้กล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ โรคระบบภูมิคุ้มกันทำลายตัวเอง เช่น โรคลูปัส […]


สุขภาพหัวใจ

หัวใจเต้นกี่ครั้งต่อนาที และแบบไหนที่เรียกว่าผิดปกติ

หลายคนอาจสงสัยว่า หัวใจเต้นกี่ครั้งต่อนาที เพื่อช่วยเช็กตนเองได้ว่าหัวใจเต้นปกติหรือผิดปกติหรือไม่ และทำให้ทราบถึงปัญหาสุขภาพต่าง ๆ เช่น ภาวะหัวใจล้มเหลวหรือหัวใจวาย ภาวะหัวใจเต้นช้า และภาวะหัวใจเต้นเร็ว เพื่อเสริมสุขภาพหัวใจให้แข็งแรงและหัวใจเต้นปกติ ควรศึกษาวิธีการดูแลสุขภาพหรือขอคำปรึกษาจากคุณหมอโดยตรงได้ [embed-health-tool-heart-rate] หัวใจเต้นกี่ครั้งต่อนาที ปกติแล้วหัวใจจะเต้นประมาณ 60-100 ครั้งต่อนาที โดยสามารถวัดได้จากการวัดชีพจรที่สามารถวัดได้โดยการใช้นิ้วชี้และนิ้วกลางแตะบริเวณข้อมือทางนิ้วโป้งและจับเวลา 1 นาที พร้อมกับนับจำนวนการเต้นของชีพจร เพื่อดูแลสุขภาพหัวใจและควบคุมการเต้นหัวใจให้เป็นไปตามปกติ ควรหมั่นวัดการเต้นของหัวใจในขณะพักและดูแลสุขภาพหัวใจที่อาจทำได้ดังนี้ รับประทานอาหารที่ดีต่อสุขภาพหัวใจ เช่น ผักใบเขียว ผลไม้ ธัญพืชไม่ขัดสี เนื้อสัตว์ไร้ไขมัน เพราะอุดมไปด้วยวิตามินและสารอาหารต่าง ๆ เช่น วิตามินเอ วิตามินอี วิตามินซี โพแทสเซียม แมกนีเซียม ที่ช่วยควบคุมการทำงานของหัวใจให้เป็นไปตามปกติและต้านอนุมูลอิสระ ป้องกันเซลล์เสื่อมสภาพจากการทำลายของอนุมูลอิสระ หลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารที่มีแป้ง น้ำตาล เกลือและไขมันไม่ดีสูง เช่น อาหารแปรรูป ซีอิ๊ว น้ำปลา ขนมหวาน น้ำอัดลม น้ำผลไม้ที่น้ำตาลสูง น้ำมันหมู ซอสมะเขือเทศ ซอสพริก เพราะอาจทำให้ไขมันสะสมในหลอดเลือด ขัดขวางการไหลเวียนเลือดไปหล่อเลี้ยงหัวใจ ที่ทำให้หัวใจมีการทำงานแย่ลง ออกกำลังกายสม่ำเสมอ อย่างน้อยสัปดาห์ละ 150 นาที […]


โรคหลอดเลือดหัวใจ

โรคหัวใจขาดเลือด สาเหตุ อาการ และการรักษา

โรคหัวใจขาดเลือด หรือโรคหลอดเลือดหัวใจ เป็นโรคหัวใจและหลอดเลือดชนิดหนึ่งที่เมื่อเป็นแล้วจะมีอาการเจ็บหน้าอก หายใจไม่ออก และเสี่ยงต่อการมีภาวะหัวใจวาย ซึ่งเป็นอันตรายถึงชีวิต ทั้งนี้ เพื่อป้องกันโรคหัวใจขาดเลือด ควรเลือกรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ ออกกำลังกายสม่ำเสมอ เลิกสูบบุหรี่ และดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในปริมาณจำกัด [embed-health-tool-heart-rate] คำจำกัดความ โรคหัวใจขาดเลือดคืออะไร โรคหัวใจขาดเลือด (Ischemic Heart Disease) หรือโรคหลอดเลือดหัวใจ เป็นภาวะที่หัวใจขาดออกซิเจน เนื่องจากมีเลือดไหลไปหล่อเลี้ยงไม่เพียงพอ ส่งผลให้เสี่ยงที่จะหัวใจวายหรือเสียชีวิตได้ ศูนย์ควบคุมและป้องกันโรคแห่งสหรัฐอเมริกา รายงานว่า โรคหัวใจขาดเลือดเป็นโรคหัวใจและหลอดเลือดที่พบได้บ่อยที่สุด และในปี พ.ศ. 2563 ชาวอเมริกันเสียชีวิตจากโรคหัวใจขาดเลือดจำนวน 382,820 ราย อาการ อาการของ โรคหัวใจขาดเลือด เมื่อเป็นโรคหัวใจขาดเลือด จะรู้สึกแน่นหน้าอก บริเวณด้านซ้ายของหน้าอก โดยอาการมักเกิดขึ้นตอนกลางคืนหรือหลังจากออกกำลังกายหรือมีอารมณ์รุนแรง เช่น โกรธ เครียด โดยทั่วไป อาการแน่นหน้าอกจะหายเองได้ภายในไม่กี่นาที แต่บางรายโดยเฉพาะผู้หญิง อาจมีอาการเจ็บบริเวณคอ แขน หรือหลัง ร่วมด้วย ทั้งนี้ อาการอื่น ๆ ของโรคหัวใจขาดเลือด ได้แก่ หายใจไม่ออก ใจสั่น อ่อนเพลีย เหงื่อออก นอกจากนี้ โรคหัวใจขาดเลือดยังอาจนำไปสู่ภาวะแทรกซ้อนดังต่อไปนี้ หัวใจวาย หรือภาวะกล้ามเนื้อหัวใจตาย เป็นภาวะที่กล้ามเนื้อบางส่วนของหัวใจได้รับเลือดไม่เพียงพอ ส่งผลให้มีอาการเจ็บหน้าอก หายใจไม่ออก อ่อนแรง […]


โรคลิ้นหัวใจ

Mitral Valve Prolapse คือ อาการ สาเหตุและการรักษา

Mitral Valve Prolapse คือ ลิ้นหัวใจหย่อน ซึ่งเกิดจากความผิดปกติของลิ้นหัวใจที่ทำให้ลิ้นหัวใจมีลักษณะหย่อนยาน จนบางครั้งเลือดอาจไหลย้อนกลับได้ แม้ภาวะลิ้นหัวใจหย่อนจะไม่เป็นอันตายถึงชีวิตและอาจไม่จำเป็นต้องรักษา แต่สำหรับผู้ที่ลิ้นหัวใจหย่อยมากจนทำให้เลือดไหลย้อนกลับอย่างรุนแรง จำเป็นต้องใช้ยาหรือการผ่าตัดรักษาร่วมด้วย เพื่อป้องกันอาการที่อาจรุนแรงขึ้น [embed-health-tool-heart-rate] คำจำกัดความ Mitral Valve Prolapse คืออะไร Mitral Valve Prolapse คือ โรคลิ้นหัวใจชนิดหนึ่งที่ส่งผลต่อลิ้นหัวใจระหว่างห้องหัวใจด้านซ้าย ทำให้ห้องหัวใจมีลักษณะพองตัวย้อยไปด้านหลัง เข้าไปในห้องบนซ้ายของหัวใจลักษณะคล้ายร่มชูชีพ โดยจะเกิดขึ้นในขณะที่หัวใจบีบตัว ซึ่งบางครั้งอาจส่งผลให้เลือดไหลย้อนเข้าลิ้นหัวใจได้ อาการ อาการของ Mitral Valve Prolapse อาการลิ้นหัวใจหย่อน อาจเกิดจากปริมาณเลือดที่ไหลย้อนกลับผ่านลิ้นหัวใจ ซึ่งอาการที่เกิดขึ้นอาจแตกต่างกันไปขึ้นอยู่แต่ละบุคคล ดังนี้ หน้ามืด วิงเวียนศีรษะ เหนื่อยล้า อ่อนเพลีย การเต้นของหัวใจผิดปกติ หายใจลำบาก หายใจถี่ โดยเฉพาะเมื่อออกกำลังกายหรือนอนราบ อย่างไรก็ตาม หากมีอาการเจ็บหน้าอกอย่างกะทันหันหรือเจ็บรุนแรงอย่างผิดปกติ ควรรีบเข้าพบคุณหมอเพื่อตรวจหัวใจ เพราะอาจเป็นสัญญาณของลิ้นหัวใจหย่อนหรือโรคหัวใจชนิดอื่น สาเหตุ สาเหตุ Mitral Valve Prolapse ภาวะลิ้นหัวใจหย่อนมีสาเหตุมาจากความผิดปกติของลิ้นหัวใจไมตรัล (Mitral Valve) กั้นระหว่างหัวใจห้องบนซ้ายและห้องล่างซ้าย ซึ่งมีหน้าที่ช่วยให้เลือดไหลเวียนไปในทิศทางที่ถูกต้อง ภาวะความผิดปกติของลิ้นหัวใจไมตรัลอาจเกิดขึ้นข้างใดข้างหนึ่งหรือทั้ง 2 ข้าง โดยมีเนื้อเยื่อเกินหรือยืดออกกว่าปกติ สามารถพองตัวไปด้านหลังลักษณะคล้ายร่มชูชีพเข้าไปในหัวใจห้องบนซ้ายทุกครั้งที่หัวใจหดตัวเพื่อสูบฉีดเลือด การพองตัวที่เกิดขึ้นอาจทำให้ลิ้นหัวใจปิดไม่สนิท ซึ่งอาจทำให้เลือดไหลย้อนกลับและส่งผลให้เลือดไหลเวียนผ่านหัวใจไปเลี้ยงร่างกายได้ลดลง ปัจจัยเสี่ยง ปัจจัยเสี่ยง Mitral Valve Prolapse ภาวะลิ้นหัวใจหย่อนสามารถเกิดขึ้นได้กับทุกเพศทุกวัย โดยเฉพาะผู้ที่มีปัจจัยเสี่ยง […]


โรคลิ้นหัวใจ

ลิ้นหัวใจรั่ว อาการ สาเหตุและการรักษา

ลิ้นหัวใจรั่ว เป็นความผิดปกติที่เกิดจากลิ้นหัวใจไม่สามารถเปิดปิดได้อย่างสมบูรณ์ ทำให้เลือดที่ไหลผ่านห้องหัวใจอาจไหลย้อนกลับ ส่งผลให้เลือดไหลเวียนไปเลี้ยงร่างกายได้ลดลง และยังทำให้หัวใจทำงานหนักขึ้น หากปล่อยไว้ไม่ทำการรักษาอาจนำไปสู่ภาวะหัวใจล้มเหลว หัวใจหยุดเต้นกะทันหันและเสียชีวิตได้ [embed-health-tool-heart-rate] คำจำกัดความ ลิ้นหัวใจรั่ว คืออะไร ลิ้นหัวใจรั่ว คือ ความผิดปกติของลิ้นหัวใจที่มีหน้าที่เปิดปิดเพื่อควบคุมทิศทางการไหลเวียนของเลือดผ่านห้องหัวใจให้เป็นปกติ เมื่อลิ้นหัวใจมีความผิดปกติหรือที่เรียกว่า ภาวะลิ้นหัวใจรั่ว อาจทำให้เลือดไหลย้อนกลับสู่หัวใจห้องเดิม และเลือดอาจไหลเวียนไปเลี้ยงร่างกายลดน้อยลง ส่งผลให้หัวใจทำงานหนักขึ้นเพื่อสูบฉีดเลือดให้เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย นอกจากนี้ ภาวะลิ้นหัวใจรั่วยังอาจมีแนวโน้มนำไปสู่ภาวะหัวใจล้มเหลว หัวใจหยุดเต้นกะทันหันและเสียชีวิตได้ อาการ อาการ ลิ้นหัวใจรั่ว ภาวะลิ้นหัวใจรั่วที่ไม่รุนแรงมักไม่ก่อให้เกิดอันตราย แต่หากปล่อยไว้เป็นเวลานานอาจทำให้มีอาการ ดังนี้ วิงเวียนศีรษะ หรือเป็นลม หัวใจเต้นเร็ว หรือหัวใจเต้นผิดปกติ รู้สึกเจ็บปวด หรือรู้สึกเหมือนโดนกดทับบริเวณหน้าอก หายใจถี่ หายใจลำบาก โดยเฉพาะเมื่อออกกำลังกาย หรือนอนราบ ข้อเท้าหรือเท้าบวมน้ำ ความเมื่อยล้าและเหนื่อยล้าผิดปกติ โดยเฉพาะเมื่อทำกิจกรรมหนัก ๆ สาเหตุ สาเหตุของลิ้นหัวใจรั่ว ลิ้นหัวใจมีหน้าที่ช่วยให้เลือดไหลเวียนไปยังทิศทางที่ถูกต้องและป้องกันเลือดไหลย้อนกลับ โดยลิ้นหัวใจที่อาจเกิดเป็นภาวะลิ้นหัวใจรั่วสามารถแบ่งออกเป็น 4 ประเภท ดังนี้ ลิ้นหัวใจไมตรัล (Mitral Valve) กั้นระหว่างหัวใจห้องบนซ้ายและล่างซ้าย ความผิดปกติของลิ้นหัวใจที่ปิดไม่สนิท ส่งผลให้เลือดไหลย้อนกลับไปยังห้องบนซ้าย เรียกว่า ภาวะลิ้นหัวใจไมตรัลรั่ว (Mitral Valve Regurgitation) ลิ้นหัวใจเอออร์ติก (Aortic Valve) กั้นระหว่างหัวใจห้องล่างซ้ายและหลอดเลือดแดงใหญ่ ความผิดปกติของลิ้นหัวใจที่ปิดไม่สนิท ส่งผลให้เลือดไหลย้อนกลับไปยังห้องล่างซ้าย […]


สุขภาพหัวใจ

กล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ อาการ สาเหตุ และการรักษา

กล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ (Myocarditis) เป็นการอักเสบของกล้ามเนื้อหัวใจที่ลดการทำงานของหัวใจในการสูบฉีดเลือด ซึ่งอาจทำให้มีอาการเจ็บหน้าอก หายใจถี่ และการเต้นของหัวใจผิดปกติ จึงควรเข้ารับการรักษาด้วยการใช้ยา การทำหัตถการ หรือการผ่าตัดอย่างเหมาะสม เพราะหากปล่อยไว้ไม่ทำการรักษาอาจมีแนวโน้มทำให้เกิดโรคหลอดเลือดสมองและหัวใจวายได้ [embed-health-tool-heart-rate] คำจำกัดความ กล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ คืออะไร กล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ คือ การอักเสบของกล้ามเนื้อหัวใจที่อาจลดการทำงานของหัวใจในการสูบฉีดเลือด โดยอาจมีสาเหตุมาจากการติดเชื้อไวรัส ปฏิกิริยาของยาบางชนิด หรือการอักเสบภายในร่างกาย นอกจากนี้ หากเป็นกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบรุนแรงอาจทำให้หัวใจอ่อนแอลงจนร่างกายส่วนอื่น ๆ ได้รับเลือดไม่เพียงพอ ซึ่งอาจก่อให้เกิดลิ่มเลือดในหัวใจ ที่อาจนำไปสู่โรคหลอดเลือดสมองหรือหัวใจวายได้ อาการ อาการ กล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ สำหรับผู้ที่เป็นกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบระยะแรกอาจไม่มีอาการแสดงให้เห็นหรืออาจมีอาการเพียงเล็กน้อย โดยอาการทั่วไปที่พบได้บ่อย อาจมีดังนี้ เจ็บหน้าอก เหนื่อยล้า บวมที่ขา ข้อเท้า และเท้า หัวใจเต้นเร็วกว่าปกติ หรือเต้นผิดปกติ หายใจถี่ขณะพัก หรือระหว่างทำกิจกรรม วิงเวียนศีรษะ หรือรู้สึกเหมือนจะเป็นลม อาการคล้ายไข้หวัด เช่น ปวดศีรษะ ปวดเมื่อยตามตัว ปวดข้อ มีไข้ เจ็บคอ สำหรับอาการกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบที่เกิดขึ้นในเด็ก อาจมีดังนี้ เจ็บหน้าอก หายใจลำบาก หายใจเร็ว จังหวะหัวใจเต้นเร็วกว่าปกติ หรือเต้นผิดปกติ มีไข้ เป็นลม สาเหตุ สาเหตุ กล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ กล้ามเนื้อหัวใจอักเสบอาจเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ ดังนี้ การติดเชื้อไวรัส เช่น […]

advertisement iconโฆษณา
advertisement iconโฆษณา
advertisement iconโฆษณา

ทีมผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์ของเรา

ทีมผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ของ Hello คุณหมอ ประกอบไปด้วยแพทย์และผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางที่มาร่วมสร้างสรรค์บทความในเว็บไซต์ของเราตามความเชี่ยวชาญในแต่ละด้าน ทีมแพทย์และผู้เชี่ยวชาญของเราจะช่วยรับรองว่าข้อมูลด้านสุขภาพของเราถูกต้อง เป็นปัจจุบัน และตรงตามหลักฐานจากงานวิจัยล่าสุด
ทีมผู้เชี่ยวชาญของเรามุ่งมั่นเต็มที่ในการช่วยให้คุณได้รับข้อมูลและความรู้ด้านสุขภาพที่น่าเชื่อถือ เข้าใจง่าย และเป็นประโยชน์ และพร้อมให้คำแนะนำในการดูแลสุขภาพกับคุณเสมอ เพื่อให้คุณได้รับทางเลือกที่ดีต่อสุขภาพ และใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขมากยิ่งขึ้น

ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม
ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม