backup og meta
สำรวจ
เครื่องมือตรวจเช็กสุขภาพ
ถามคุณหมอ
บันทึก
สารบัญ

กลุ่มอาการแอสเพอร์เกอร์ (Asperger Syndrome)

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย จินดารัตน์ สิริวิจักษณ์ · แก้ไขล่าสุด 04/08/2020

กลุ่มอาการแอสเพอร์เกอร์ (Asperger Syndrome)

กลุ่มอาการแอสเพอร์เกอร์  (Asperger Syndrome) เป็นกลุ่มอาการเดียวกับออทิสติก เกิดจากความผิดปกติของพัฒนาการทางระบบประสาทที่มีผลกระทบต่อพฤติกรรม ผู้ป่วยส่วนใหญ่จะมีปัญหาในการดำเนินชีวิตประจำวัน เช่น การปฏิสัมพันธ์ทางสังคม การใช้ภาษา

คำจำกัดความ

กลุ่มอาการแอสเพอร์เกอร์ (Asperger Syndrome) คืออะไร

กลุ่มอาการแอสเพอร์เกอร์ หรือ แอสเพอร์เกอร์ซินโดรม (Asperger Syndrome) เป็นกลุ่มอาการเดียวกับออทิสติก เกิดจากความผิดปกติของพัฒนาการทางระบบประสาทที่มีผลกระทบต่อพฤติกรรม ผู้ป่วยส่วนใหญ่จะมีปัญหาในการดำเนินชีวิตประจำวัน เช่น การปฏิสัมพันธ์ทางสังคม การใช้ภาษา

อย่างไรก็ตาม ผู้ป่วยแอสเพอร์เกอร์บางรายมีสติปัญญาสูง มีทักษะการพูดและการใช้ภาษาได้ดี (ความรุนแรงของอาการอาจแตกต่างกันไปในแต่ละบุคคล)

พบได้บ่อยเพียงใด

โดยส่วนใหญ่ของกลุ่มอาการแอสเพอร์เกอร์สามารถพบได้ในทุกเพศทุกวัย โดยส่วนใหญ่จะเริ่มพบในวัยเด็ก

อาการ

อาการของ กลุ่มแอสเพอร์เกอร์ หรือ แอสเพอร์เกอร์ซินโดรม

อาการของผู้ป่วยกลุ่มอาการแอสเพอร์เกอร์ จะมีอาการแตกต่างกัน โดยแบ่งออกเป็น 3 ส่วน ดังนี้

อาการทางอารมณ์และพฤติกรรม

  • การแสดงพฤติกรรมซ้ำๆ การเคลื่อนไหวหรือทำกิจกรรมแบบเดิมๆ ซ้ำๆ
  • สภาวะทางอารมณ์ มีอารมณ์หงุดหงิดง่ายกว่าคนปกติทั่วไป
  • ความผิดปกติต่อสิ่งเร้า มีการรับรู้ประสาทสัมผัสไวกว่าคนปกติทั่วไป เช่น ความไวต่อแสง ความไวต่อเสียง ความไวต่อความรู้สึก

 อาการสื่อสาร

  • ปัญหาทางสังคม ไม่มีปฏิสัมพันธ์ทางสังคม ไม่สามารถสื่อสารหรือทำความเข้าใจในเชิงลึกได้
  • ปัญหาการพูด มีปัญหาในการควบคุมเสียง เช่น เวลาเข้าห้องสมุด ไปวัด และมีอาการพูดซ้ำๆ พูดเรื่องเดิมๆ
  • ไม่สบตา เมื่อผู้ป่วยมีการสื่อสารต่อบุคคลอื่นจะไม่สบตาผู้ที่สื่อสารด้วย

อาการอื่นๆ

ทักษะด้านอื่นๆ  เช่น เคลื่อนไหวไม่คล่องตัว ไม่สามารถเข้าใจความหมายต่างๆ ในเชิงลึก แต่จะทำคำศัพท์หรือคำเฉพาะได้

ควรไปพบหมอเมื่อใด

หากคุณมีสิ่งบ่งชี้หรืออาการใดๆ ตามที่ระบุข้างต้น หรือมีคำถาม โปรดปรึกษาแพทย์ ร่างกายของแต่ละบุคคลมีการตอบสนองแตกต่างกัน ทางที่ดีที่สุดให้ปรึกษาแพทย์เกี่ยวกับวิธีรักษาที่ดีที่สุดตามสถานการณ์ของคุณ

สาเหตุ

สาเหตุของกลุ่มอาการแอสเพอร์เกอร์

ในปัจจุบันยังไม่สามารถระบุสาเหตุที่แน่ชัดของกลุ่มอาการแอสเพอร์เกอร์ โดยกลุ่มอาการแอสเพอร์เกอร์นั้นเป็นหนึ่งในความผิดปกติของโรคออทิสติก ดังนั้นสาเหตุของอาการแอสเพอร์เกอร์คาดว่าน่าจะเกิดจากสาเหตุเดียวกับโรคออทิสติก โดยเกิดจากสาเหตุและปัจจัยต่างๆ ดังนี้

  • สมาชิกในครอบครัวมีประวัติที่เกี่ยวข้องกับโรคออทิสติก (ถ่ายทอดทางพันธุกรรม)
  • ปัญหาเกี่ยวกับการตั้งครรภ์ การติดเชื้อก่อนคลอด
  • ความผิดปกติทางพันธุกรรม

การวินิจฉัยและการรักษา

ข้อมูลในที่นี้ไม่มีเจตนาให้ใช้ทดแทนคำแนะนำทางการแพทย์ ควรปรึกษาแพทย์ทุกครั้งเพื่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม

การวินิจฉัยกลุ่มอาการแอสเพอร์เกอร์

ปัจจุบันยังไม่มีการวินิจฉัยโรคกลุ่มอาการแอสเพอร์เกอร์ที่แน่ชัด ในเบื้องต้นแพทย์จะสอบถามประวัติและอาการของผู้ป่วย เช่น  การตรวจร่างกาย การประเมินทักษะทางสังคมและการตอบโต้กับผู้อื่น รวมถึงวิธีอื่นๆ ดังนี้

  • นักจิตวิทยา วินิจฉัยผู้ป่วยจากทดสอบทางอารม์และพฤติกรรม
  • กุมารแพทย์ทางด้านพัฒนาการและพฤติกรรรม ทดสอบทักษะการพูด ภาษา และปัญหาการพัฒนาอื่นๆ
  • จิตแพทย์ แพทย์จะให้คำแนะนำดูแลปัญหาด้านสุขภาพจิต

การรักษากลุ่มอาการแอสเพอร์เกอร์

วิธีการรักษากลุ่มอาการแอสเพอร์เกอร์จะแตกต่างกันไปขึ้นอยู่สาเหตุและอาการ โดยมีวิธีการรักษาดังต่อไปนี้

  • การฝึกทักษะทางสังคม แพทย์จะบำบัดโดยฝึกวิธีการตอบโต้กับผู้อื่นและการแสดงออกด้วยท่าทาง การสร้างแบบจำลองการเรียนรู้ทางสังคม
  • การบำบัดโดยการสื่อสาร ให้ผู้ป่วยเรียนรู้การสื่อสารกับผู้อื่น การใช้ท่าทางในการสนทนา เช่น การสบตา การแสดงท่าท่าง
  • การบำบัดความคิดและพฤติกรรม สอนผู้ป่วยปรับทัศนคติความคิด พฤติกรรม และการควบคุมอารมณ์
  • การรักษาด้วยยา ปัจจุบันยังไม่มียาที่รักษากลุ่มอาการแอสเพอร์เกอร์หรือโรคออทิสติกโดยเฉพาะ แพทย์อาจจ่ายยาเพื่อควบคุมอาการของผู้ป่วย เช่น ยาต้านเศร้าเอสเอสอาร์ไอ

การเปลี่ยนไลฟ์สไตล์และการเยียวยาตัวเอง

การเปลี่ยนไลฟ์สไตล์และการเยียวยาตัวเองเพื่อรับมือกับแอสเพอร์เกอร์

การเปลี่ยนไลฟ์สไตล์และการเยียวยาตัวเองเพื่อรับมือกับแอสเพอร์เกอร์ มีวิธี ดังนี้

กลุ่มอาการแอสเพอร์เกอร์ไม่สามารถรักษาให้หายได้ แต่สามารถควบคุมและดูแลอาการให้ดีขึ้นได้ โดยรับการบำบัดและคำแนะนำจากแพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทาง ในการแก้ไขปัญหาการใช้ทักษาทางภาษา การสื่อสาร การเข้าสังคม การควบคุมอารมณ์  เพิ่อให้ผู้ป่วยสามารถดำเนินชีวิตประจำวัน เข้ากับสังคมได้

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย จินดารัตน์ สิริวิจักษณ์ · แก้ไขล่าสุด 04/08/2020

advertisement iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

advertisement iconโฆษณา
advertisement iconโฆษณา