backup og meta
สำรวจ
เครื่องมือตรวจเช็กสุขภาพ
ถามคุณหมอ
บันทึก
สารบัญ

ข้อเคลื่อน (Dislocation)

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย pimruethai · แก้ไขล่าสุด 11/05/2020

ข้อเคลื่อน (Dislocation)

คำจำกัดความ

ข้อเคลื่อน คืออะไร

ข้อเคลื่อน หรือข้อหลุด (Dislocation of joint หรือ Dislocation) คือ ภาวะที่หัวกระดูกหรือปลายกระดูกสองอัน ที่มาชนกันเป็นข้อ เคลื่อนหรือหลุดออกจากตำแหน่งปกติ จนส่งผลกระทบต่อเนื้อเยื่อ เส้นเอ็น กล้ามเนื้อ เส้นเลือด และเส้นประสาทในบริเวณนั้น เช่น ทำให้ฉีกขาด ฟกช้ำ ยืด

ข้อเคลื่อนส่วนมากเกิดบริเวณหัวไหล่ และนิ้วมือ ส่วนอื่นที่มักเกิดข้อเคลื่อน เช่น ข้อศอก หัวเข่า สะโพก ส่วนใหญ่แล้ว หากข้อบริเวณใดเคยเกิดภาวะข้อเคลื่อนแล้ว ก็สามารถกลับมาเป็นซ้ำได้ในอนาคต

ข้อเคลื่อน พบได้บ่อยแค่ไหน

ภาวะข้อเคลื่อนหรือข้อหลุดสามารถเกิดขึ้นได้กับคนทุกเพศทุกวัย โดยเฉพาะ

  • ผู้สูงอายุ โดยเฉพาะ ผู้ที่ง่ายต่อการหกล้ม และขาดการเคลื่อนไหว
  • เด็กเล็ก หากผู้ปกครองไม่เฝ้าระวังให้ดี เด็กอาจเกิดอันตรายจนข้อเคลื่อนได้
  • ผู้ที่ฝึกออกกำลังกายสม่ำเสมอ ก็มีความเสี่ยงสูงกว่าสำหรับอุบัติเหตุอย่างข้อเคลื่อนเช่นกัน

อย่างไรก็ดี ภาวะนี้สามารถจัดการได้ด้วยการลดปัจจัยเสี่ยง โปรดปรึกษาแพทย์สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม

อาการ

อาการของข้อเคลื่อน

อาการทั่วไปของข้อเคลื่อน เช่น

  • เห็นชัดเจนว่าข้อกระดูกอยู่ผิดที่
  • ปูดบวม หรือเปลี่ยนสี
  • รู้สึกปวดเมื่อเคลื่อนไหว
  • อาการชา หรือรู้สึกเสียวแปลบรอบบริเวณที่ข้อเคลื่อน
  • สูญเสียการเคลื่อนไหว

สำหรับผู้ป่วยบางราย อาจมีอาการอื่นนอกเหนือจากที่กล่าวมาข้างต้น หากมีข้อสงสัยใดๆ โปรดปรึกษาแพทย์

ควรพบคุณหมอเมื่อใด

หากคุณมีสัญญาณหรืออาการที่ระบุข้างต้น หรือมีข้อสงสัยใดๆ โปรดปรึกษาแพทย์ แพทย์อาจแนะนำให้ใช้น้ำแข็งประคบข้อต่อที่เคลื่อน  และพยายามอย่าเคลื่อนไหวในขณะที่กำลังรอการรักษาทางการแพทย์

ร่างกายของแต่ละบุคคลมีการตอบสนองแตกต่างกัน ทางที่ดีที่สุดควรปรึกษาแพทย์ เกี่ยวกับวิธีรักษาที่ดีที่สุดตามสถานการณ์ของคุณ

สาเหตุ

ข้อเคลื่อนหรือข้อหลุดสามารถเกิดขึ้นได้จากอุบัติเหตุการเล่นกีฬา การออกกำลังกาย หรือโดนทำร้ายร่างกาย จนทำให้บริเวณข้อเคลื่อนออกจากกัน

ตัวอย่างสาเหตุของข้อเคลื่อน เช่น

  • การล้ม ซึ่งเป็นสาเหตุหลักที่ทำให้มือหัก หรือข้อมือหัก
  • ได้รับบาดเจ็บในระหว่างการเล่นกีฬา
  • ได้รับอุบัติเหตุทางรถยนต์ รถจักรยานยนต์ หรือจักรยาน

ปัจจัยเสี่ยง

ปัจจัยเสี่ยงของข้อเคลื่อน

ปัจจัยเสี่ยงในการเกิดภาวะข้อเคลื่อน หรือข้อหลุดนั้นมีอยู่หลายประการ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง หากคุณเป็นนักกีฬาประเภทที่ต้องมีการกระแทกหรือปะทะกันในการแข่งขัน เช่น บาสเก็ตบอล ฟุตบอล สกี ขี่ม้า ขับรถแข่ง

นอกจากนั้น ปัจจัยต่างๆ เหล่านี้ก็ทำให้คุณเสี่ยงข้อเคลื่อนได้ เช่น

  • บาดเจ็บจากการหกล้ม คุณอาจใช้แขน สะโพก หรือไหล่ลงพื้นเมื่อหกล้ม ซึ่งเป็นสาเหตุของข้อเคลื่อน
  • พันธุกรรม บางคนเกิดมาพร้อมกับเอ็นที่หย่อนยาน และมีแนวโน้มที่จะเป็นข้อเคลื่อนหลังจากเกิดอุบัติเหตุ
  • บาดเจ็บจากการเล่นกีฬา เช่น ฟุตบอล บาสเกตบอล ยิมนาสติก ฯลฯ
  • อุบัติเหตุทางรถยนต์

การวินิจฉัยและการรักษาโรค

ข้อมูลที่นำเสนอไม่สามารถใช้แทนข้อแนะนำทางการแพทย์ได้ โปรดปรึกษาแพทย์สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม

การวินิจฉัยข้อเคลื่อน

การวินิจฉัยขึ้นอยู่กับจุดที่ข้อเคลื่อน แพทย์อาจต้องใช้การทดสอบอื่นๆ ดังต่อไป เพื่อช่วยในการวินิจฉัยอาการของคุณ เช่น

  • เอกซ์เรย์ ตรวจเช็คจุดที่ข้อเคลื่อน และการแตกหักอื่น หรือส่วนที่บาดเจ็บของข้อต่อ
  • MRI (การเอกซ์เรย์คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า) ช่วยให้เข้าถึงบริเวณเนื้อเยื่อที่บาดเจ็บของข้อเคลื่อน

การรักษาข้อเคลื่อน

  • หลักการ RICE คือ พักผ่อน ประคบน้ำแข็ง พันกระชับส่วนที่มีอาการ และยกส่วนนั้นให้สูงกว่าระดับหัวใจ ซึ่งอาจช่วยให้ข้อต่อที่เคลื่อนกลับสู่ตำแหน่งที่ถูกต้องในบางกรณี
  • การตรึงกระดูก แพทย์อาจใช้เฝือก หรือเชือกสำหรับแขวน เพื่อไม่ให้ข้อต่อเคลื่อนไหวประมาณ 2-3 สัปดาห์
  • การผ่าตัด หากกระดูกเคลื่อน และไม่สามารถย้ายกลับเข้าสู่ตำแหน่งปกติได้ แพทย์อาจต้องรักษาด้วยการผ่าตัด
  • การฟื้นฟูสมรรถภาพ เมื่อนำเฝือก หรือเชือกสำหรับแขวนออก แพทย์อาจแนะนำให้คุณทำกายภาพบำบัด

การเปลี่ยนไลฟ์สไตล์และการเยียวยาตนเอง

การเปลี่ยนไลฟ์สไตล์และการเยียวยาตัวเองที่ช่วยจัดการกับภาวะข้อเคลื่อน

การเปลี่ยนไลฟ์สไตล์และการเยียวยาตนเองดังต่อไปนี้ อาจช่วยจัดการกับภาวะข้อเคลื่อนของคุณได้

  • ให้ข้อต่อที่เคลื่อนได้พักผ่อน อย่าทำกิจกรรมที่เป็นสาเหตุการบาดเจ็บซ้ำอีก และพยายามอย่าเคลื่อนไหวร่างกายใดๆ ที่ทำให้เจ็บปวด
  • ประคบร้อนหรือเย็นบริเวณข้อต่อที่เคลื่อน การประคบเย็นช่วยลดอาการแดงและอาการปวด ในช่วง 1-2 วันแรก คุณควรประคบด้วยเจลประคบเย็นประมาณ 15-20 นาที จากนั้นเปลี่ยนเป็นประคบร้อนประมาณ 20 นาทีเพื่อช่วยคลายกล้ามเนื้อ
  • ใช้ยาแก้ปวด เช่น ไอบูโพรเฟน (ibuprofen) นาพรอกเซน (naproxen) แอคตามิโนเฟน (acetaminophen) ไทลินอล (Tylenol)
  • ออกกำลังกายเพื่อป้องกันข้อติด (Range-of-motion exercises) หลังจากภาวะข้อเคลื่อนดีขึ้นแล้ว เพื่อช่วยให้ข้อต่อของคุณทำงานได้เป็นปกติ

หากมีคำถาม โปรดปรึกษาแพทย์เพื่อให้เข้าใจวิธีการรักษาที่ดีที่สุดสำหรับคุณ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำปรึกษาด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย pimruethai · แก้ไขล่าสุด 11/05/2020

advertisement iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

advertisement iconโฆษณา
advertisement iconโฆษณา