backup og meta
สำรวจ
เครื่องมือตรวจเช็กสุขภาพ
ถามคุณหมอ
บันทึก
สารบัญ

ความบกพร่องของกระดูกไขสันหลัง (Spina Bifida)

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย จินดารัตน์ สิริวิจักษณ์ · แก้ไขล่าสุด 16/11/2020

ความบกพร่องของกระดูกไขสันหลัง (Spina Bifida)

ความบกพร่องของกระดูกไขสันหลัง (Spina Bifida) เกิดจากความผิดปกติของกระดูกสันหลังและไขสันหลัง เป็นความผิดปกติประเภทหนึ่งของท่อประสาท ที่เป็นโครงสร้างตัวอ่อนเกิดขึ้นระหว่างการจัดตัวของกระดูกสันหลังและไขสันหลังตั้งแต่อยู่ในครรภ์ (ท่อประสาทไม่ปิด) โดยปกติท่อประสาทจะเกิดขึ้นในช่วงตั้งครรภ์และจะปิดมันลงในวันที่ 28 หลังการตั้งครรภ์

คำจำกัดความ

ความบกพร่องของกระดูกไขสันหลัง (Spina Bifida) คืออะไร

ความบกพร่องของกระดูกไขสันหลัง (Spina Bifida) เกิดจากความผิดปกติของกระดูกสันหลังและไขสันหลัง เป็นความผิดปกติประเภทหนึ่งของท่อประสาท ที่เป็นโครงสร้างตัวอ่อนเกิดขึ้นระหว่างการจัดตัวของกระดูกสันหลังและไขสันหลังตั้งแต่อยู่ในครรภ์ (ท่อประสาทไม่ปิด) โดยปกติท่อประสาทจะเกิดขึ้นในช่วงตั้งครรภ์และจะปิดมันลงในวันที่ 28 หลังการตั้งครรภ์

อย่างไรก็ตาม ความผิดปกติเหล่านี้ส่งผลให้ผู้ป่วยมีกล้ามเนื้ออ่อนแรง ชัก และมีปัญหาเกี่ยวกับลำไส้หรือกระเพาะปัสสาวะ เป็นต้น

ความบกพร่องของกระดูกไขสันหลัง-spina-bifida

พบได้บ่อยเพียงใด

ความบกพร่องของกระดูกไขสันหลังเป็นภาวะที่พบได้บ่อยในทารกผิวขาว นอกจากนี้เพศหญิงที่เป็นโรคเบาหวานหรือโรคอ้วน มีโอกาสเสี่ยงที่ทารกจะเกิดความบกพร่องที่กระดูกไขสันหลัง

อาการ

อาการความบกพร่องของกระดูกไขสันหลัง

สัญญาณและอาการความบกพร่องของกระดูกไขสันหลังแตกต่างกันออกไปตามประเภทและความรุนแรงของแต่ละบุคคล โดยแบ่งออกเป็น 3 ประเภท ดังนี้

  • สไปนา ไบฟิดาชนิดมองไม่เห็นภายนอก (Spina Bifida Occulta : SBO) เป็นชนิดที่พบบ่อยที่สุดแต่มีความรุนแรงน้อยสุด ไขสันและเส้นประสาทไม่มีช่องเปิด แต่อาจจะมีช่องโหว่ขนาดเล็กในกระดูกสันหลัง ซึ่งความบกพร่องชนิดนี้นั้นจะไม่สร้างความเสียหายใด ๆ ให้กับร่างกาย ไม่ก่อให้เกิดความพิการ
  • สไปนา ไบฟิดาชนิดเมนนิ้งโกซีล (Meningocele) เป็นชนิดหายากที่เกิดขึ้นเมื่อถุงน้ำไขสันหลัง (แต่ถุงน้ำนี้ไม่มีส่วนประกอบของไขสันหลัง เป็นถุงน้ำนอกร่างกาย) ดันผ่านช่องเปิดที่ด้านหลังของทารก ส่งผลให้ผู้ป่วยมีปัญหาเกี่ยวกับกระเพาะปัสสาวะและลำไส้
  • สไปนา ไบฟิดาชนิดไมอีโลเมนนิ้งโกซีล (Myelomeningocele) เป็นชนิดที่รุนแรงที่สุด ผู้ป่วยจะมีถุงน้ำที่เป็นส่วนประกอบของไขสันหลังและเส้นประสาท เปิดอยู่ที่ใดที่หนึ่งหรืออยู่หลายที่นอกร่างกาย  ส่งผลให้ผู้ป่วยมีอาการชัก กล้ามเนื้ออ่อนแรง มีปัญหาเกี่ยวกับลำไส้และกระเพาะอาหาร เป็นต้น

ความบกพร่องของกระดูกไขสันหลัง-spina-bifida

ควรไปพบหมอเมื่อใด

หากคุณมีสิ่งบ่งชี้หรืออาการใด ๆ ตามที่ระบุข้างต้น หรือมีคำถาม โปรดปรึกษาแพทย์ ร่างกายของแต่ละบุคคลมีการตอบสนองแตกต่างกัน ทางที่ดีที่สุดให้ปรึกษาแพทย์เกี่ยวกับวิธีรักษาที่ดีที่สุดตามสถานการณ์ของคุณ

สาเหตุ

สาเหตุความบกพร่องของกระดูกไขสันหลัง

ในปัจจุบันยังไม่สามารถระบุสาเหตุที่แน่ชัดของความบกพร่องของกระดูกไขสันหลังได้ แต่มีข้อสันนิษฐานว่าอาจเป็นผลมาจากทางด้านพันธุกรรม โภชนาการ และสิ่งแวดล้อม เช่น สมาชิกในครอบครัวเคยมีประวัติเกี่ยวกับความผิดปกติทางท่อประสาท และการขาดวิตามินบี 9 (Vitamin B9) หรือ กรดโฟลิก (Folic acid)

ปัจจัยเสี่ยงความบกพร่องของกระดูกไขสันหลัง

ความบกพร่องของกระดูกไขสันหลัง พบได้บ่อยในคนผิวขาว เพศหญิง โดยมีปัจจัยเสี่ยงอื่น ๆ ดังนี้

  • การขาดวิตามินบี 9 (Vitamin B9) หรือ กรดโฟลิก (Folic acid)
  • สมาชิกในครอบครัวเคยมีประวัติเกี่ยวกับความบกพร่องของท่อประสาท
  • ยาบางชนิด เช่น ยาต้านอาการชัก
  • โรคอื่น ๆ เช่น โรเบาหวาน โรคอ้วน

 

การวินิจฉัยและการรักษา

การวินิจฉัยความบกพร่องของกระดูกไขสันหลัง

ในเบื้องต้นแพทย์จะสอบถามประวัติและอาการเบื้องต้น รวมถึงการทดสอบอื่น ๆ เพื่อหาความผิดปกติขณะที่ทารกยังอยู่ในครรภ์ ดังนี้

  • การตรวจเลือด แพทย์จะเจาะเลือกมารดาเพื่อตรวจหาโปรตีนที่ผลิตจากทารก (Alpha-Fetoprotein) หากระดับโปรตีนสูงกว่าปกติ นั่งอาจแสดงถึงความเสี่ยงของทารก
  • การอัลตราซาวด์และการเจาะน้ำคร่ำ เพื่อตรวจหาความผิดปกติของทารกในครรภ์
  • การรักษาความบกพร่องของกระดูกไขสันหลัง

    แพทย์สามารถผ่าตัดทารกได้เมื่ออายุเพียงไม่กี่วันหรือในขณะที่ยังอยู่ในครรภ์ หากทารกมีเยื่อหุ้มสมองอักเสบประมาณ 24 ถึง 48 ชั่วโมงหลังคลอดศัลยแพทย์จะใส่พังผืดรอบไขสันหลังกลับเข้าที่และปิดช่องเปิด

    การผ่าตัดแพทย์สามารถผ่าตัดขณะทารกอยู่ในครรภ์ ก่อน 26 สัปดาห์ของการตั้งครรภ์ ศัลยแพทย์จะทำการผ่าตัดเย็บปิดช่องไขสันหลังของทารก

    การเปลี่ยนไลฟ์สไตล์และการเยียวยาตัวเอง

    การเปลี่ยนไลฟ์สไตล์และการเยียวยาตัวเองเพื่อรักษาความบกพร่องของกระดูกไขสันหลัง

    การเปลี่ยนไลฟ์สไตล์และการเยียวยาตัวเองเพื่อลดความเสี่ยงต่อความบกพร่องของกระดูกไขสันหลัง ดังนี้

    • รับประทานอาหารเสริมหรืออาหารที่อุดมด้วย กรดโฟลิก (Folic) หรือ วิตามินบี 9 (Vitamin B9)

    จากการศึกษาที่น่าเชื่อถือหลายชิ้น พบว่า การรับประทานอาหารเสริมที่มีกรดโฟลิก (Folic acid) จะสามารถช่วยในการป้องกันและลดความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะบกพร่องของกระดูกไขสันหลังและภาวะทางสุขภาพต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในทารกได้ คุณแม่ตั้งครรภ์หรือผู้ที่กำลังวางแผนจะมีบุตร ควรได้รับ กรดโฟลิก 400 ไมโครกรัม ต่อวัน

    ในกรณีที่คุณมีภาวะบกพร่องของกระดูกไขสันหลัง หรือบุตรของคุณประสบกับโรคดังกล่าว คุณแม่ควรได้รับกรดโฟลิกในปริมาณ 400 ไมโครกรัมต่อวัน อย่างน้อยติดต่อกันเป็นระยะเวลา 1 เดือนโดยเฉพาะอย่างยิ่งก่อนการตั้งครรภ์ในช่วงไตรมาสแรก

    แหล่งอาหารที่มีการเสริมแร่ธาตุที่คุณจะได้รับ กรดโฟลิก ในปริมาณ 400 ไมโครกรัมต่อ 1 หน่วยการรับประทาน มีดังนี้

    • แป้งพาสต้า
    • ข้าว
    • ธัญญาหารหรือซีเรียลสำหรับมื้อเช้า
    • ขนมปังที่มีส่วนผสมของแร่ธาตุหรือสารอาหารต่าง ๆ (Fortified bread หรือ Enriched bread)

    ความบกพร่องของกระดูกไขสันหลัง-กรดโฟลิก

    นอกจากการรับประทานอาหารที่มีส่วนผสมของแร่ธาตุต่าง ๆ แล้ว ยังมีอาหารที่อุดมไปด้วยกรดโฟลิกที่คุณสามารถหาทานได้ง่าย ดังนี้

    • ไข่แดง
    • นม
    • ผลไม้และน้ำผลไม้ตระกูลซิตรัส
    • อะโวคาโด
    • ถั่วต่าง ๆ
    • ผักชนิดใบเขียว เช่น ผักโขม บร็อคโคลี่

    มากกว่าไปนั้นแล้ว คุณยังสามารถรับประทานอาหารที่มีบรรจุภัณฑ์ระบุว่ามีส่วนประกอบของ โฟเลต (Folate) ที่ถือเป็นรูปแบบของกรดโฟลิกที่พบในอาหารได้เช่นกัน 

    หมายเหตุ

    Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

    ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

    ทีม Hello คุณหมอ


    เขียนโดย จินดารัตน์ สิริวิจักษณ์ · แก้ไขล่าสุด 16/11/2020

    advertisement iconโฆษณา

    คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

    advertisement iconโฆษณา
    advertisement iconโฆษณา