backup og meta
สำรวจ
เครื่องมือตรวจเช็กสุขภาพ
ถามคุณหมอ
บันทึก
สารบัญ

ปริทันต์อักเสบ (Periodontitis)

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย จินดารัตน์ สิริวิจักษณ์ · แก้ไขล่าสุด 03/09/2020

ปริทันต์อักเสบ (Periodontitis)

ปริทันต์อักเสบ (Periodontitis) หรือโรคเหงือกอักเสบ เกิดจากเชื้อแบคทีเรียก่อตัวสะสมบนฟันและเหงือก เชื้อแบคทีเรียจะทำให้บริเวณเหงือกเกิดการระคายเคือง จนเกิดเป็นโรคเหงือกอักเสบได้

คำจำกัดความ

ปริทันต์อักเสบ (Periodontitis) คืออะไร   

ปริทันต์อักเสบ (Periodontitis)  หรือ โรคเหงือกอักเสบ เกิดจากเชื้อแบคทีเรียก่อตัวสะสมบนฟันและเหงือก เชื้อแบคทีเรียจะทำให้บริเวณเหงือกเกิดการระคายเคือง จนเกิดเป็นโรคเหงือกอักเสบได้

อย่างไรก็ตาม ผู้ป่วยโรคปริทันต์อักเสบส่วนใหญ่จะมีกลิ่นปาก มีเลือดออกขณะแปรงฟัน เหงือกมีอาการบวมแดง หากไม่ได้รับการรักษาที่เหมาะสมได้ทันท่วงที อาจส่งผลเสียต่อฟัน และเพิ่มความเสี่ยงของโรคหลอดเลือดสมอง โรคหัวใจวาย เป็นต้น

พบได้บ่อยเพียงใด

ปริทันต์อักเสบ หรือ โรคเหงือกอักเสบ มักเกิดขึ้นกับผู้ป่วยที่ไม่รักษาสุขอนามัยทางช่องปาก

อาการ

อาการของผู้ป่วย โรคปริทันต์อักเสบ

ผู้ป่วยโรคปริทันต์อักเสบ ส่วนใหญ่จะมีอาการ ดังต่อไปนี้

  • เหงือกมีอาการบวมแดง
  • เลือดออกขณะแปรงฟัน
  • มีกลิ่นปาก
  • มีหนองระหว่างฟันและเหงือก
  • ฟันหลุด หรือฟันผุง่าย
  • รู้สึกเจ็บปวดขณะเคี้ยว
  • เหงือกกร่อน

ควรไปพบหมอเมื่อใด

หากคุณมีสิ่งบ่งชี้หรืออาการใด ๆ ตามที่ระบุข้างต้น หรือมีคำถาม โปรดปรึกษาแพทย์ ร่างกายของแต่ละบุคคลมีการตอบสนองแตกต่างกัน ทางที่ดีที่สุดให้ปรึกษาแพทย์เกี่ยวกับวิธีรักษาที่ดีที่สุดตามสถานการณ์ของคุณ

สาเหตุ

สาเหตุของ โรคปริทันต์อักเสบ

โรคปริทันต์อักเสบ มักเกิดขึ้นกับผู้ที่ไม่รักษาสุขอนามัยช่องปาก คราบจุลินทรีย์ (เชื้อแบคทีเรีย) จะเกาะบริเวณเหงือกและฟัน หากไม่ได้รับการรักษาอย่างเหมาะสม จะเกิดเป็นคราบหินปูน  เมื่อเหงื่อและฟันเกิดการอักเสบเรื่อย ๆ จะทำให้เกิดช่องว่างระหว่างเหงือกและฟันที่เต็มไปด้วยคราบจุลินทรีย์หินปูนและเชื้อแบคทีเรียเมื่อเชื้อมีการฝังลึกมากขึ้นอาจร้ายแรงถึงขั้นทำให้คุณสูญเสียฟันได้

ปัจจัยเสี่ยงของปริทันต์อักเสบ หรือ โรคเหงือกอักเสบ

  • เหงือกอักเสบ
  • ไม่รักษาสุขอนามัยช่องปาก
  • สูบบุหรี่
  • ฮอร์โมนมีการเปลี่ยนแปลง เช่น การตั้งครรภ์ หรือวัยหมดประจำเดือน
  • ใช้สารเสพติด เช่น สูบกัญชา
  • โรคอ้วน
  • ขาดสารอาหาร เช่น วิตามินซี
  • ผลข้างเคียงจากการรับประทานยา เช่น ยาลดความดันโลหิต ยาขยายหลอดเลือด
  • ภูมิคุ้มกันบกพร่อง เช่น มะเร็งเม็ดเลือดขาว การติดเชื้อเอชไอวี (HIV)
  • โรคบางชนิด เช่น โรคเบาหวาน ไขข้ออักเสบ โรคโครห์น

การวินิจฉัยและการรักษา

ข้อมูลในที่นี้ไม่มีเจตนาให้ใช้ทดแทนคำแนะนำทางการแพทย์ ควรปรึกษาแพทย์ทุกครั้งเพื่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม

การวินิจฉัย โรคปริทันต์อักเสบ

ในเบื้องต้นแพทย์จะสอบถามประวัติผู้ป่วย และอาการ หลังจากนั้นจะทำการตรวจฟัน โดยใช้เครื่องมือตรวจปริทันต์ที่เรียกว่า “โพรบ”  (Periodontal Probe) ตรวจตามซี่ฟัน วัดร่องเหงือก ว่ามีอาการผิดปกติหรือไม่ รวมถึงการเอ็กซ์เรย์ฟันเพื่อให้ทราบรายละเอียดความผิดปกติมากยิ่งขึ้น

วิธีการรักษา โรคปริทันต์อักเสบ

โรคปริทันต์อักเสบ มีวิธีการรักษาที่มุ่งเน้นการขจัดคราบจุลินทรีย์และเชื้อแบคทีเรียคราบหินปูนบนฟันและเหงือก  โดยการขูดหินปูน ขัดฟัน และเคลือบด้วยฟลูออไรด์ ในผู้ป่วยบางรายแพทย์อาจสั่งปฏิชีวนะในรูปแบบยารับประทานและน้ำยาบ้วนปากเพื่อลดการสะสมของเชื้อแบคทีเรีย

การเปลี่ยนไลฟ์สไตล์และการเยียวยาตัวเอง

การเปลี่ยนไลฟ์สไตล์และการเยียวยาตัวเองเพื่อรักษา โรคปริทันต์อักเสบ

การเปลี่ยนไลฟ์สไตล์และการเยียวยาตัวเองเพื่อรักษาโรคปริทันต์อักเสบ มีดังนี้

การรักษาสุขอนามัยช่องปากเป็นประจำอยู่เสมอจะช่วยลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคปริทันต์อักเสบ รวมถึงเคล็ดลับในการดูแลสุขภาพฟัน ดังต่อไปนี้

  • แปรงฟันอย่างน้อยวันละ 2 ครั้ง ด้วยยาสีฟันผสมฟลูออไรด์
  • ใช้ไหมขัดฟันอย่างน้อยวันละ 1 ครั้ง เพื่อขจัดคราบจุลินทรีย์
  • พบทันตแพทย์อย่างน้อยปีละ 2 ครั้ง เพื่อตรวจสุขภาพช่องปากและฟัน
  • หลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย จินดารัตน์ สิริวิจักษณ์ · แก้ไขล่าสุด 03/09/2020

advertisement iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

advertisement iconโฆษณา
advertisement iconโฆษณา