backup og meta
สำรวจ
เครื่องมือตรวจเช็กสุขภาพ
ถามคุณหมอ
บันทึก
สารบัญ

ปวดศีรษะแบบคลัสเตอร์ (Cluster Headache)

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย อนันตา นานา · แก้ไขล่าสุด 28/08/2020

ปวดศีรษะแบบคลัสเตอร์ (Cluster Headache)

การ ปวดศีรษะแบบคลัสเตอร์ (Cluster headache) คือการปวดศีรษะที่เกิดขึ้นเพียงด้านใดด้านหนึ่ง บ่อยครั้งเกิดขึ้นบริเวณรอบดวงตา

คำจำกัดความ

ปวดศีรษะแบบคลัสเตอร์ คืออะไร

การ ปวดศีรษะแบบคลัสเตอร์ (Cluster headache) คือการปวดศีรษะที่เกิดขึ้นเพียงด้านใดด้านหนึ่ง บ่อยครั้งเกิดขึ้นบริเวณรอบดวงตา อาการปวดศีรษะแบบคลัสเตอร์ นั้นมักมีอาการรุนแรง และถือเป็นหนึ่งในอาการปวดที่รุนแรงที่สุดประเภทหนึ่งของการปวดศีรษะ ที่จะเกิดขึ้นเป็นช่วงเวลาต่อเนื่องนานเป็นสัปดาห์ (ประมาณ 4-12 สัปดาห์) ตามด้วยช่วงเวลาที่อาการทุเลาลงเมื่ออาการปวดศีรษะหายไป

การ ปวดศีรษะแบบคลัสเตอร์ พบบ่อยเพียงใด

อาการปวดศีรษะแบบคลัสเตอร์ นั้นไม่ใช่โรคที่พบได้ทั่วไป สามารถจัดการได้ด้วยการลดปัจจัยเสี่ยง การปวดศีรษะแบบคลัสเตอร์ส่วนใหญ่มักพบในเพศชาย และจะมีอาการรุนแรงขึ้นเมื่ออายุเกิน 20 ปี โปรดปรึกษาแพทย์หากคุณต้องการข้อมูลและคำแนะนำเพิ่มเติม

อาการ

อาการปวดศีรษะแบบคลัสเตอร์ มีอะไรบ้าง

อาการส่วนใหญ่ของการปวดศีรษะแบบคลัสเตอร์ได้แก่

  • อาการปวดรุนแรงมาก และบ่อยครั้งมักได้รับการอธิบายว่ามีความรู้สึกเหมือนโดนของแหลมทิ่มแทง เหมือนโดนเผา หรือโดนเจาะที่ศีรษะด้านใดด้านหนึ่ง มักเกิดขึ้นบริเวณรอบดวงตาข้างใดข้างหนึ่ง บางครั้งอาจกินบริเวณกว้างทั่วใบหน้า ศีรษะ ต้นคอและหัวไหล่ การปวดศีรษะแบบคลัสเตอร์มักเกิดขึ้นทันทีทันใด และไม่มีสัญญาณเตือนล่วงหน้า
  • กระวนกระวายและกระสับกระส่ายระหว่างมีอาการ
  • ตาแดงและมีน้ำตาไหล
  • คัดจมูก หรือน้ำมูกไหลในด้านที่มีอาการปวด
  • เหงื่อออกทั่วใบหน้า
  • ผิวซีด หรือหน้าแดง
  • เปลือกตาตก หรือตาข้างหนึ่งมีอาการบวมที่เปลือกตา

อาการปวดศีรษะแบบคลัสเตอร์ นั้นจะหยุดหรือทุเลาลงในช่วงเวลา 1 เดือนหรือมากกว่า บางครั้งเรียกว่า การปวดแบบครั้งคราว

การปวดศีรษะคลัสเตอร์แบบเรื้อรังอาจมีอาการต่อเนื่องยาวนานเป็นปีๆ หรือมีช่วงเวลาที่ไม่แสดงอาการน้อยกว่า 1 เดือน

ในช่วงเวลาที่มีอาการปวด อาการปวดจะเกิดขึ้นทุกวัน บางครั้งเกิดขึ้นหลายครั้งในหนึ่งวัน ในเวลาเดิมๆ โดยการปวดแต่ละครั้งมักคงอยู่ราวๆ  15 นาที ถึง 3 ชั่วโมง

นอกจากนี้ อาจมีบางอาการที่ไม่ได้ระบุข้างต้น หากคุณมีข้อสงสัยเกี่ยวกับอาการของคุณ โปรดปรึกษาแพทย์

เมื่อไหร่ควรไปพบหมอ

หากคุณมีอาการหรือพบสัญญาณของอาการข้างต้น หรือมีข้อสงสัย โปรดปรึกษาแพทย์ เพราะร่างกายของแต่ละคนแสดงอาการต่างกัน โปรดปรึกษาแพทย์เพื่อการวินิจฉัยที่เหมาะสมกับคุณต่อไป

สาเหตุ

สาเหตุของอาการปวดศีรษะแบบคลัสเตอร์

ปัจจุบัน ยังไม่ทราบสาเหตุของ อาการปวดศีรษะแบบคลัสเตอร์ ที่แน่ชัด แต่รูปแบบการปวดศีรษะแบบคลัสเตอร์นั้น อาจเกิดจากการทำงานที่ผิดปกติของนาฬิกาชีวภาพของร่างกาย (ไฮโปทารามัส) เป็นส่วนสำคัญ โดยผู้ป่วยจำนวนมากมักแจ้งว่าอาการปวดศีรษะมักเกิดขึ้นในขณะหลับ

ปัจจัยกระตุ้นอาการมีหลายสาเหตุที่เป็นไปได้ เช่น แอลกอฮอล์ และ ยาขยายหลอดเลือด ไนโตรไกลเซริน (Nitroglycerin) ในขณะที่ ปัจจัยด้านฮอร์โมนหรือการมีรอบเดือนนั้นไม่ถือเป็นตัวกระตุ้นให้เกิดอาการปวดศีรษะแบบคลัสเตอร์แต่อย่างใด

ปัจจัยเสี่ยง

ปัจจัยเสี่ยงที่ก่อให้เกิด อาการปวดศีรษะแบบคลัสเตอร์

ปัจจัยเสี่ยงที่เป็นสาเหตุของ อาการปวดศีรษะแบบคลัสเตอร์ ได้แก่

  • เพศ เพศชายมีแนวโน้มจะเกิดอาการปวดศีรษะแบบคลัสเตอร์มากกว่าเพศหญิง 2-4 เท่า
  • อายุ ผู้ที่มีอาการปวดศีรษะแบบคลัสเตอร์มักมีอายุเกินกว่า 20 ปี แม้ว่าอาการปวดศีรษะจะเกิดขึ้นได้กับทุกช่วงวัย
  • การสูบบุหรี่ ผู้ที่มีอาการปวดศีรษะแบบคลัสเตอร์นั้นมักเป็นผู้ที่สูบบุหรี่
  • การดื่มแอลกอฮอล์ แอลกอฮอล์สามารถเป็นตัวกระตุ้นให้เกิดอาการปวดศีรษะแบบคลัสเตอร์ได้ หากคุณมีปัจจัยเสี่ยงที่จะมีอาการอยู่แล้ว ผู้ป่วยควรหลีกเลี่ยงการดื่มแอลกอฮอล์ในระยะเวลาที่แสดงอาการปวดศีรษะแบบคลัสเตอร์
  • ประวัติครอบครัว ครอบครัวมีประวัติการเจ็บป่วยด้วยอาการปวดศีรษะแบบคลัสเตอร์ โดยการมีพ่อแม่หรือสมาชิกในครอบครัวที่มีอาการปวดศีรษะแบบคลัสเตอร์อาจเพิ่มความเสี่ยงที่ก่อให้เกิดอาการปวดศีรษะชนิดนี้ได้

การวินิจฉัยและการรักษา

ข้อมูลในที่นี้ไม่มีเจตนาให้ใช้ทดแทนคำแนะนำทางการแพทย์ ควรปรึกษาแพทย์ทุกครั้งเพื่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม

การวินิจฉัยอาการปวดศีรษะแบบคลัสเตอร์

แพทย์อาจสอบถามประวัติและลักษณะอาการปวดศีรษะของคุณและอาจมีการตรวจร่างกาย ร่วมด้วยการตรวจอื่นๆ เช่น เอ็กซ์เรย์ หรือ เอ็มอาร์ไอ เพื่อการค้นหาสาเหตุของอาการปวดศีรษะในรายที่มีอาการรุนแรง เช่น จากเนื้องอก หรือ หลอดเลือดสมองโป่งพอง (aneurysm)

ในบางกรณี อาจมีการตรวจทางจักษุวิทยาร่วมด้วยเพื่อตรวจวินิจฉัยหากพบว่ามีปัญหาเกิดขึ้นที่ดวงตาและเป็นสาเหตุของอาการดังกล่าว

การรักษาอาการปวดศีรษะแบบคลัสเตอร์

การรักษา อาการปวดศีรษะแบบคลัสเตอร์ สามารถแบ่งออกเป็น 2 ประเภทได้แก่ บรรเทาอาการปวดศีรษะที่เกิดขึ้นอย่างรุนแรง และ ป้องการกันการเกิดการปวดศีรษะในอนาคต

การบรรเทาอาการปวดศีรษะ

  • สวมหน้ากากออกซิเจน เพื่อเพิ่มออกซิเจนสามารถช่วยผู้ป่วยส่วนใหญ่ได้ในทันที ออกซิเจนนั้นปลอดภัยและไม่มีผลข้างเคียง
  • ฉีดด้วยยาซูมาทริปแทน (Sumatriptan) ซึ่งโดยทั่วไปใช้รักษาอาการปวดศีรษะแบบไมเกรน ก็สามารถใช้ได้ผลดีกับผู้ป่วยที่มีอาการปวดศีรษะคลัสเตอร์แบบรุนแรงเช่นกัน

    อย่างไรก็ตาม ยาซูมาทริปแทนนั้น ห้ามใช้ในผู้ป่วยโรคหัวใจ หรือ โรคความดันโลหิตสูง ตัวยาอีกตัวในกลุ่มยาซูมาทริปแทน ได้แก่ ยาโซลมิทริปแทน (zolmitriptan) ซึ่งสามารถใช้ฉีดพ่นทางจมูก หรือ รับประทานในรูปแบบยาชนิดเม็ด เพื่อบรรเทาอาการปวดศีรษะแบบคลัสเตอร์

  • ยาชาเฉพาะที่ ยาพ่นทางจมูกลิโดเคน (lidocaine) เป็นอีกตัวเลือกที่สามารถใช้เพื่อรักษาอาการได้ แต่ต้องอยู่ภายใต้การควบคุมของแพทย์
  • ยาฉีดดิไฮโดรเออโกทามีน (dihydroergotamine) อาจใช้ได้ผลมีประสิทธิภาพดีเพื่อบรรเทาอาการปวดในผู้ป่วยที่มีอาการปวดศีรษะแบบคสัสเตอร์บางราย ห้ามใช้รักษาในกรณีที่ผู้ป่วยเคยได้รับยาซูมาทริปแทนภายใน 24 ชั่วโมง

แนวทางการรักษาแบบป้องกัน

  • ยาปิดกั้นแคลเซียม (Calcium channel blockers) หรือ วีราปามิล (Verapamil) บ่อยครั้งถูกใช้เป็นทางเลือกแรกในการป้องกันการเกิดอาการปวดศีรษะแบบคลัสเตอร์
  • ยาคอติคอสเตียรอยด์ (Corticosteroids) สามารถใช้ได้ผลได้อย่างมีประสิทธิภาพเพื่อลดรอบของการเกิดอาการปวดศีรษะ แต่ไม่สามารถใช้ยาวนานต่อเนื่อง เหมาะสำหรับใช้ในระยะสั้นเท่านั้น
  • ยาลิเธียมคาบอเนต (Lithium carbonate) สามารถใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพในการป้องกันการเกิดอาการปวดศีรษะแบบคลัสเตอร์ ในกรณีที่ยาชนิดอื่นใช้ไม่ได้ผล
  • เมลาโทนิน (Melatonin) อาจช่วยลดความถี่ของการปวดศีรษะแบบคลัสเตอร์
  • การเปลี่ยนไลฟ์สไตล์และการเยียวยาตัวเอง

    การเปลี่ยนไลฟ์สไตล์เพื่อเยียวยาตนเองเพื่อรับมือกับ อาการปวดศีรษะแบบคลัสเตอร์

    การปรับเปลี่ยนไลฟ์สไตล์และการเยียวยาตนเองดังต่อไปนี้ สามารถช่วยคุณรับมือกับ อาการปวดศีรษะแบบคลัสเตอร์ ได้

    • เข้านอนตามเวลา ทั้งนี้อาการปวดศีรษะแบบคลัสเตอร์สามารถเกิดขึ้นได้เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงเวลานอนหลับจากเวลาปกติ ดังนั้นคุณควรตามเวลาปกติในระยะแสดงอาการปวดศีรษะแบบคลัสเตอร์
    • หยุดดื่มแอลกอฮอล์ การบริโภคแอลกอฮอล์สามารถกระตุ้นให้เกิดอาการปวดศีรษะในระยะแสดงอาการปวดศีรษะแบบคลัสเตอร์

    หากคุณมีข้อสงสัย กรุณาปรึกษาแพทย์เพื่อทำความเข้าใจและหากทางออกที่ดีที่สุดสำหรับคุณ

    หมายเหตุ

    Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

    ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

    ทีม Hello คุณหมอ


    เขียนโดย อนันตา นานา · แก้ไขล่าสุด 28/08/2020

    advertisement iconโฆษณา

    คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

    advertisement iconโฆษณา
    advertisement iconโฆษณา