backup og meta
สำรวจ
เครื่องมือตรวจเช็กสุขภาพ
ถามคุณหมอ
บันทึก
สารบัญ

พิษไซยาไนด์ (Cyanide Poisoning)

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย pimruethai · แก้ไขล่าสุด 11/05/2020

พิษไซยาไนด์ (Cyanide Poisoning)

ไซยาไนด์หาได้ยาก แต่เป็นพิษที่อันตรายถึงตายได้ ไซยาไนด์มีฤทธิ์ทำให้ร่างกายไม่สามารถใช้ออกซิเจนได้ การที่ร่างกายได้รับ พิษไซยาไนด์ (Cyanide Poisoning) ควรไปพบคุณหมอทันที

คำจำกัดความ

พิษไซยาไนด์ คืออะไร

ไซยาไนด์เป็นสารที่พบได้ยาก แต่เป็นพิษที่อันตรายถึงตายได้ ไซยาไนด์มีฤทธิ์ทำให้ร่างกายไม่สามารถใช้ออกซิเจนได้ ไซยาไนด์ที่มีพิษประกอบด้วยก๊าซไฮโดรเจนไซยาไนด์ ผลึกแข็ง โพแทสเซียมไซยาไนด์ และโซเดียมไซยาไนด์

อาการเป็นพิษจากไซยาไนด์พบได้บ่อยแค่ไหน

เนื่องจากไซยาไดน์เป็นสารที่สามารถพบได้ยาก การได้รับพิษจากไซยาไนด์จึงอาจไม่สามารถที่จะพบได้บ่อยครั้ง สำหรับความถี่ของการได้รับพิษจากไซยาไนด์ โปรดปรึกษาแพทย์เพื่อทราบข้อมูลเพิ่มเติม

อาการ

อาการที่เกิดขึ้นเมื่อได้รับ พิษไซยาไนด์

การตรวจว่าได้รับพิษจากไซยาไนด์หรือไม่นั้นเป็นเรื่องยาก การกลืนกินไซยาไนด์เกิดผลลัพธ์ใกล้เคียงกับการขาดอากาศหายใจ กลไกของพิษเกิดขึ้นเนื่องจากไซยาไนด์จะไปยับยั้งเซลล์ในร่างกายไม่ให้ใช้ออกซิเจนได้ ซึ่งออกซิเจนจำเป็นต่อการดำรงอยู่ของเซลล์

อาการที่เกิดจากการได้รับพิษจากไซยาไนด์นั้นคล้ายกับตอนที่เดินทางไกลหรือปีนภูเขาสูง ๆ นอกจากนี้ยังมีอาการดังต่อไปนี้

โดยปกติ การกลืนกินไซยาไนด์เข้าไปอย่างฉับพลันนั้นจะเกิดผลกระทบอย่างรวดเร็วและรุนแรงกับหัวใจ และทำให้หมดสติในทันที นอกจากนี้ยังมีผลกระทบต่อสมอง และอาจทำให้ชักและหมดสติได้

ถ้าได้รับไซยาไนด์เป็นระยะเวลานานผ่านทางการกลืนกิน หรือได้รับจากสภาพแวดล้อมที่เป็นพิษ ผลกระทบจะค่อย ๆ เกิดขึ้น ทำให้เกิดอาการดังต่อไปนี้

ในบางกรณี ถ้าผิวหนังได้รับพิษจากไซยาไนด์ อาจจะทำให้ผิวบริเวณนั้นกลายเป็นสีชมพูหรือแดง เนื่องจากออกซิเจนจะยังคงอยู่ในกระแสเลือดและเข้าไปในเซลล์ไม่ได้ ผู้ได้รับพิษอาจหายใจเร็วขึ้น และมีอัตรการเต้นของหัวใจที่เร็วขึ้นมากหรือช้าลงมาก บางกรณี ลมหายใจของผู้ได้รับพิษจากไซยาไนด์จะมีกลิ่นคล้ายอัลมอนด์ อย่างไรก็ตาม การตรวจว่าได้รับพิษหรือไม่นั้นเป็นเรื่องยาก

การที่จะทราบว่าใครได้รับพิษจากไซยาไนด์ได้นั้นอาจดูได้จากสภาพแวดล้อมที่คน ๆ นั้นอาศัยอยู่อาจจะได้ผลมากกว่าการสังเกตจากอาการ

ผู้ที่ทำงานในห้องทดลอง หรือโรงงานพลาสติกมีความเสี่ยงได้รับพิษจากไซยาไนด์มากกว่าคนปกติ

บ้าน รถบ้าน (Recreational vehicle: RV) เรือ และอาคารที่เกิดเพลิงไหม้ก็มีส่วนเป็นสาเหตุที่ทำให้ได้รับไซยาไนด์ได้เช่นกัน

ถ้าคุณรู้จักคนที่มีอาการซึมเศร้า หรือผ่านการใช้สารเคมีใด ๆ อย่างผิด ๆ มาก่อน และคน ๆ นั้นมีอาการใดอาการหนึ่งที่บ่งบอกว่าได้รับพิษจากไซยาไนด์ เป็นไปได้ว่าบุคคลนั้นอาจกำลังพยายามจะฆ่าตัวตายด้วยไซยาไนด์ ดังนั้น การสังเกตุจากอาการอาจได้ผลน้อยกว่าการสังเกตุจากสถานการณ์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นกับบุคคล

ทั้งนี้อาจมีอาการอื่น ๆ นอกเหนือจากที่กล่าวไปข้างต้น หากคุณมีข้อสงสัยเกี่ยวกับอาการ โปรดปรึกษาแพทย์

ควรไปพบคุณหมอเมื่อใด

ถ้าคนใกล้ตัวคุณกลืนกิน สูดดม หรือสัมผัสไซยาไนด์ และมีสัญญาณหรืออาการต่าง ๆ อันได้แก่ ร่างกายอ่อนแรง เวียนหัว หายใจลำบาก มีอาการงุนงง หรือชัก คุณควรรีบเรียกรถพยาบาล หรือศูนย์แจ้งเหตุฉุกเฉินใกล้บ้าน หรือศูนย์ที่ทำงานเกี่ยวกับพิษ

สาเหตุ

สาเหตุที่ทำให้ได้รับพิษไซยาไนด์

การได้รับพิษจากไซยาไนด์เกิดจากสิ่งต่าง ๆ ดังต่อไปนี้

  • ไฟที่เผาวัตถุต่าง ๆ เช่น ยาง พลาสติก และผ้าอาจทำให้เกิดควันซายาไนด์ เมื่อสูดดมเข้าไปก็ทำให้ได้รับพิษได้
  • กระบวนการเกี่ยวกับภาพถ่าย การวิจัยสารเคมี การสังเคราะห์เส้นใยและพลาสติก งานโลหะ การรมควันและการใช้ยาฆ่าแมลง การทำเหมืองแร่ อุตสาหกรรมการชุบโลหะ ล้วนใช้ไฮโดรเจนไซยาไนด์ทั้งสิ้น ส่วนโพแทสเซียมไซยาไนด์จะใช้ในการสกัดเงินและทอง ใช้วิเคราะห์สารเคมี ใช้เป็นส่วนประกอบของสารเคมีอื่น ๆ เช่น ยาฆ่าแมลง
  • พืชชนิดต่าง ๆ ส่วนมากเป็นพืชวงศ์กุหลาบ (Rosaceae) นอกจากนี้ในเมล็ดและเปลือกของพืชบางชนิด เช่น แอพริคอต บิทเทอร์อัลมอนด์ ลอร์เรลอังกฤษ พลัม พีช แพร์ และแอปเปิ้ล ก็มีไซยาโนเจนิก ไกลโคไซด์ (Cyanogenic glycosides) มันสำปะหลังก็มีไซยาไนด์เช่นกัน แต่ต้องบริโภคพืชเหล่านี้เป็นจำนวนมากและเป็นระยะเวลาติดต่อกันนาน ๆ เท่านั้นจึงจะเกิดอันตราย
  • วิตามินบี 17 หรือเลไทรล์ (Laetrile) มีอะมิกดาลิน (Amygdalin) เป็นสารเคมีที่พบในเปลือกของผลไม้ดิบ เปลือกถั่ว และพืชอื่น ๆ เลไทรล์ใช้ในการรักษามะเร็งทั่วโลก แต่การใช้เลไทรล์มีผลข้างเคียงคือพิษจากไซยาไนด์ สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาของสหรัฐอเมริกายังไม่ยอมรับว่าเลไทรล์สามารถนำมาใช้รักษามะเร็งได้ แต่ในเม็กซิโก เลไทรล์เป็นยาที่ใช้รักษามะเร็ง
  • มีสารเคมีบางชนิดที่เมื่อกินเข้าไปแล้วร่างกายจะเปลี่ยนให้กลายเป็นไซยาไนด์ สารเคมีเหล่านี้ถูกห้ามไม่ให้วางขาย แต่ในน้ำยาล้างเล็บสังเคราะห์แบบเก่า สารละลาย และกระบวนการผลิตพลาสติกก็อาจมีสารเหล่านี้อยู่
  • ควันบุหรี่เป็นสาเหตุที่ทำให้คนส่วนมากได้รับไซยาไนด์ ไซยาไนด์พบได้ในบุหรี่ ผู้ที่สูบบุหรี่จะมีไซยาไนด์ในกระแสเลือดมากกว่าผู้ที่ไม่สูบ 2.5 เท่า อย่างไรก็ตาม การได้รับไซยาไนด์ด้วยสาเหตุนี้ไม่เป็นอันตราย

ปัจจัยเสี่ยง

ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้ได้รับพิษไซยาไนด์

มีปัจจัยเสี่ยงหลายประการที่ทำให้ได้รับพิษจากไซยาไนด์ เช่น

  • ทำงานในโรงงานที่ใช้สารเคมีที่มีไซยาไนด์ และมีความพยายามจะฆ่าตัวตาย
  • คนที่พยายามฆ่าตัวตายด้วยไซยาไนด์แบบแคปซูลหรือแบบเม็ด เนื่องจากเชื่อว่าเป็นวิธีที่รวดเร็วและไม่เจ็บปวด แต่ไซยาไนด์จะเข้าไปทำลายกระเพาะอาหารและยับยั้งไม่ให้ร่างกายดึงออกซิเจนมาใช้ และจะทำให้เสียชีวิตอย่างทรมาน
  • สำหรับคนทั่วไป ไซยาไนด์จะเป็นอันตรายก็ต่อเมื่อสูดดมจากควันไฟ หรือกลืนกินสารประกอบไซยาไนด์เข้าไปโดยไม่ได้ตั้งใจ

การวินิจฉัยและการรักษา

ข้อมูลในที่นี้ไม่มีเจตนาให้ใช้ทดแทนคำแนะนำทางการแพทย์ ควรปรึกษาแพทย์ทุกครั้งเพื่อรับทราบข้อมูลเพิ่มเติม

การวินิจฉัยผู้ป่วยที่ได้รับพิษไซยาไนด์

พิษจากไซยาไนด์รักษาได้หากตรวจพบและเริ่มรักษาได้อย่างทันท่วงที คนส่วนมากที่เสียชีวิตเพราะไซยาไนด์ คือ คนที่ไม่ได้รับการวินิจฉัยรวดเร็วพอ หรือไม่ทราบว่าได้รับพิษจากไซยาไนด์ ไม่ค่อยมีคนที่ได้รับพิษจากไซยาไนด์มากนัก ดังนั้นสิ่งสำคัญสำหรับแพทย์คือ แพทย์ควรมีความพร้อมรับสถานการณ์อยู่เสมอ เพื่อที่จะได้ช่วยผู้ป่วยได้ทัน

ถ้าคุณเป็นคนที่ช่วยเหลือคนที่ได้รับสารไซยาไนด์ คุณอาจต้องตอบคำถามว่าเกิดอะไรขึ้นกับผู้ป่วย อาจมีคำถามว่าคุณพบขวดอะไรอยู่ที่พื้นตอนที่พบผู้ป่วยบ้างหรือไม่ ถ้าผู้ป่วยใช้ยาบางอย่างอยู่ มีปัญหาเกี่ยวกับสุขภาพจิต หรืออื่น ๆ ให้คุณใจเย็น ๆ และตอบคำถาม เพราะเป็นข้อมูลสำคัญที่จำเป็นสำหรับการรักษา

นอกจากนี้ยังมีการตรวจเลือด เอ็กซเรย์ และกระบวนการรักษาอื่น ๆ เพื่อระบุให้แน่ชัดว่าได้รับพิษจากไซยาไนด์ และได้รับพิษร้ายแรงแค่ไหน หรือมีอาการเป็นพิษอื่น ๆ

การวินิจฉัยเกี่ยวกับการได้รับพิษจากไซยาไนด์จะใช้เวลาเป็นชั่วโมงหรืออาจเป็นวัน ดังนั้น แพทย์จะยึดเอาข้อมูลที่คุณบอก อาการของผู้ป่วย รวมถึงข้อมูลจากห้องปฏิบัติการเพื่อระบุว่าผู้ป่วยได้รับไซยาไนด์มากเท่าใด

การรักษาผู้ป่วยที่ได้รับพิษไซยาไนด์

การรักษาแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับระดับอาการของผู้ป่วย

  • ถ้าผู้ป่วยอยู่ในภาวะหมดสติ แพทย์จะมุ่งทำการช่วยชีวิตผู้ป่วย อาจต้องเตรียมเครื่องมือหลากหลายแบบไว้ใช้สำหรับดูแลและประเมินอาการผู้ป่วยอย่างใกล้ชิด
  • ถ้าผู้ป่วยอาการไม่หนัก จะต้องทำการตรวจต่อไป ในการตรวจโดยทั่วไปจะต้องให้ผู้ป่วยถอดเสื้อผ้าออกเพราะไซยาไนด์อาจติดอยู่ตามเสื้อผ้าและจะทำให้เป็นอันตรายทั้งต่อตัวผู้ป่วยเองและบุคลากรทางแพทย์ผู้ทำการรักษา
  • แพทย์อาจใช้ชุดยาแก้พิษไซยาไนด์ (CAK) หรือไฮดรอกโซโคบาลามิน (Cyanokit) ในกรณีที่ค่อนข้างแน่ใจว่าผู้ป่วยได้รับพิษจากไซยาไนด์ แม้ว่าจะไม่ใช่วิธีที่รักษาได้ผล 100% แต่ยาแก้พิษนี้จะช่วยหยุดยั้งไม่ให้พิษของไซยาไนด์ลุกลาม
  • ในสหราชอาณาจักร ไดโคบาลท์ เอเดเทท (Dicobalt edetate) เป็นสารที่ใช้ตรวจจับไซยาไนด์และช่วยขับให้ไซยาไนด์ออกไปจากร่างกาย แต่การใช้สารนี้อาจทำให้เกิดผลข้างเคียงที่ร้ายแรงได้ เช่น ชัก มีอาการแพ้รุนแรง ความดันเลือดต่ำลง และหัวใจเต้นผิดปกติ ดังนั้นจะใช้สารนี้ในกรณีที่วินิจฉัยแน่ชัดแล้วว่าได้รับพิษจากไซยาไนด์จริง และไม่สามารถรักษาด้วยวิธีอื่นได้แล้ว
  • ถ้าผู้ป่วยได้รับพิษจากคาร์บอนมอนอกไซด์ด้วย อาจใช้การรักษาด้วยออกซิเจนความกดบรรยากาศสูง (Hyperbaric oxygen therapy) เป็นการรักษาด้วยการให้ผู้ป่วยได้รับออกซิเจนที่มีความเข้มข้นสูง

โดยปกติศูนย์ควบคุมเรื่องพิษหรือผู้เชี่ยวชาญด้านพิษจะเป็นผู้รับแจ้งเหตุ หากมีผู้ได้รับอันตรายจากพิษ ผู้ช่วยของผู้เชี่ยวชาญจะพิจารณาว่าควรดูแลผู้ป่วยอย่างไร ถ้าพิจารณาแล้วความเสี่ยงจากพิษของไซยาไนด์ยังอยู่ในระดับที่ต่ำ จะเฝ้าสังเกตอาการอยู่เป็นชั่วโมง และถ้าอาการยังไม่แย่มากก็จะให้ผู้ป่วยกลับบ้าน และแนะนำว่าให้กลับมาอีกครั้งทันทีถ้ามีสัญญาณหรืออาการใด ๆ ที่แย่ลง

ถ้าผู้ป่วยที่ได้รับไซยาไนด์มีอาการป่วยใด ๆ อยู่ก่อนแล้ว หรือยังวินิจฉัยอาการได้ไม่แน่นอน และอาการหนักเกินกว่าจะให้กลับบ้านได้ ผู้ป่วยจะต้องเข้าโรงพยาบาลเพื่อรับการตรวจรักษาต่อไป

การเปลี่ยนไลฟ์สไตล์และการเยียวยาตนเอง

การเปลี่ยนไลฟ์สไตล์และการเยียวยาตนเองที่ช่วยรับมือจากการได้รับพิษไซยาไนด์

พิษไซยาไนด์นั้นไม่สามารถรักษาเองได้ที่บ้าน ควรรีบไปพบแพทย์ให้เร็วที่สุด

หากคุณมีข้อสงสัย โปรดปรึกษาแพทย์เพื่อให้เข้าใจได้ดีขึ้นถึงวิธีการรักษาที่ดีที่สุดสำหรับคุณ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำปรึกษาด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย pimruethai · แก้ไขล่าสุด 11/05/2020

advertisement iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

advertisement iconโฆษณา
advertisement iconโฆษณา