backup og meta
สำรวจ
เครื่องมือตรวจเช็กสุขภาพ
ถามคุณหมอ
บันทึก
สารบัญ

ภาวะประสาทหูเสื่อมจากเสียง (Noise-induced Hearing Loss)

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย จิดาภา ติยะสิริทานนท์ · แก้ไขล่าสุด 11/05/2020

ภาวะประสาทหูเสื่อมจากเสียง (Noise-induced Hearing Loss)

ภาวะประสาทหูเสื่อมจากเสียง (Noise-induced Hearing Loss) เป็นภาวะที่หูไม่ได้ยินเสียงถาวร เกิดจากการอยู่ในที่ซึ่งมีเสียงดังเป็นเวลานาน หรืออยู่ในที่ซึ่งเสียงดังมากๆ ในระยะสั้น ยิ่งคุณอยู่ในที่ซึ่งมีเสียงดังมากเท่าใด ความเสี่ยงที่คุณจะไม่ได้ยินเสียงก็มากขึ้นเท่านั้น

คำจำกัดความ

ภาวะประสาทหูเสื่อมจากเสียงคืออะไร

ภาวะประสาทหูเสื่อมจากเสียง (Noise-induced Hearing Loss) เป็นภาวะที่หูไม่ได้ยินเสียงถาวร หรือที่เรียกว่าอาการ หูตึง สาเหตุเกิดจากการอยู่ในที่ซึ่งมีเสียงดังเป็นเวลานาน ภาวะนี้อาจเกิดขึ้นได้ หากคุณอยู่ในที่ซึ่งเสียงดังมากๆ ในระยะสั้น เช่นที่ซึ่งมีเสียงปืนหรือระเบิด ยิ่งคุณอยู่ในที่ซึ่งมีเสียงดังมากเท่าใด ความเสี่ยงที่คุณจะไม่ได้ยินเสียงก็มากขึ้นเท่านั้น

เสียงรบกวนจะส่งผลเสียต่อการได้ยินของคุณหรือไม่ ขึ้นอยู่กับความดังของเสียง ความแหลมสูงเสียง และระยะเวลาที่คุณได้ยินเสียง ความดังของเสียง (หน่วยวัดเป็นเดซิเบล หรือ dB) และระยะเวลาที่ได้ยินเสียงเป็นสิ่งที่สัมพันธ์กัน ความเสียหายจะเกิดขึ้น เมื่อได้ยินเสียงที่ดังยิ่งขึ้นในเวลาอันสั้น เช่น การได้ยินเสียงดัง 85 เดซิเบลเป็นเวลา 8 ชั่วโมงทุกวัน อาจทำให้หูเสียหายเมื่อเวลาผ่านไป การใช้เครื่องใช้ไฟฟ้าที่มีมอเตอร์ (เสียงดังประมาณ 100 เดซิเบล) ใช้หูฟังเสียงดัง (ประมาณ 110 เดซิเบล) เข้าร่วมคอนเสิร์ตเพลงร็อค (ประมาณ 120 เดซิเบล) หรือได้ยินเสียงปืน (140 ถึง 170 เดซิเบล) อาจทำให้การได้ยินเสียหายหลังจากได้ยินเสียงเหล่านี้เพียงไม่กี่ครั้ง

ภาวะประสาทหูเสื่อมจากเสียงพบได้บ่อยแค่ไหน

เด็กและวัยรุ่นที่มีอายุ 6- 19 ปี ประมาณ 12.5 เปอร์เซ็นต์ (คิดเป็นประมาณ 5.2 ล้านคน) และผู้ใหญ่อายุ 20 – 69 ปีจำนวน 17 เปอร์เซ็นต์ (คิดเป็นประมาณ 26 ล้านคน) มีภาวะประสาทหูเสื่อมจากเสียงถาวร เพราะได้ยินเสียงที่ดังมากเกินไป โปรดปรึกษาแพทย์เพื่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม

อาการ

อาการของภาวะประสาทหูเสื่อมจากเสียง

เหตุผลหนึ่งที่ผู้คนไม่ตระหนักถึงอันตรายของเสียงรบกวน เนื่องจากการได้ยินเสียงรบกวนเป็นระยะเวลานาน อาจทำให้เกิดอาการไม่กี่อย่าง การไม่ได้ยินไม่ทำให้เจ็บปวด ปกติแล้ว อาการที่เกิดขึ้นจะเป็นความรู้สึกที่คลุมเครือ ระหว่างแรงดันกับความรู้สึกอัดแน่นในหู เสียงพูดที่ฟังเหมือนเสียงพึมพำ หรืออยู่ห่างออกไป เสียงดังกังวานในหูเมื่ออยู่ในที่ซึ่งเงียบสงบ อาการเหล่านี้อาจหายไปในเวลาไม่กี่นาที หลายชั่วโมง หรือหลายวันหลังจากที่ได้ยินเสียงรบกวน

ผู้คนสันนิษฐานกันว่า หากอาการเหล่านี้หายไป หูของพวกเขาจะกลับมาเป็นปกติ แต่นี่ไม่ใช่ความจริง แม้ว่าจะไม่มีอาการเพิ่มเติม แต่เซลล์ในหูชั้นในอาจได้รับความเสียหายจากเสียงรบกวน การได้ยินของคุณจะกลับเป็นปกติ หากคุณมีเซลล์ที่มีประสิทธิภาพในหูหลงเหลืออยู่ แต่คุณจะสูญเสียการได้ยิน หากคุณยังคงได้ยินเสียงรบกวนซ้ำๆ เพราะเซลล์จะถูกทำลายเพิ่มขึ้น

สัญญาณแรกของภาวะประสาทหูเสื่อมจากเสียงก็คือ ไม่ได้ยินเสียงที่มีระดับสูง เช่น เสียงนก หรือไม่เข้าใจคำพูดของคนอื่น เมื่ออยู่ในที่ซึ่งผู้คนพลุกพล่านและเสียงดัง หากความเสียหายยังคงเกิดขึ้น การได้ยินก็จะลดลง และกลายเป็นเรื่องยากที่จะเข้าใจเสียงที่มีระดับต่ำ

อาจมีอาการที่ไม่ได้ระบุถึงข้างต้น หรือหากคุณมีข้อสงสัยเกี่ยวกับอาการ โปรดปรึกษาแพทย์

เมื่อไหร่ที่ควรไปโรงพยาบาล

หากคุณมีสัญญาณหรืออาการที่ระบุข้างต้น หรือมีคำถามอื่นๆ โปรดปรึกษาแพทย์ ร่างกายแต่ละคนตอบสนองต่างกัน ทางที่ดีที่สุดคือปรึกษาแพทย์ว่า อะไรเป็นทางออกที่ดีที่สุดสำหรับสถานการณ์ของคุณ

สาเหตุ

สาเหตุของภาวะประสาทหูเสื่อมจากเสียง

หูของคนแบ่งเป็นสามชั้น ชั้นนอก ชั้นกลาง และชั้นใน หูชั้นในอยู่ใกล้กับกระโหลกศีรษะ เป็นส่วนที่ซับซ้อนที่สุด เนื้อเยื่ออ่อนของหูชั้นในประกอบด้วยเซลล์และเส้นประสาทหลายชนิด ทั้งหมดจัดวางอยู่บนแผ่นเนื้อเยื่อบางๆ มีท่อขนาดใหญ่เต็มไปด้วยของเหลว ล้อมรอบเนื้อเยื่อบางของหูชั้นใน การไม่ได้ยินเสียงจะเกิดขึ้น เมื่อหูชั้นในถูกทำลาย

การอยู่ในที่ที่มีเสียงดังมาก หรือปานกลาง เป็นระยะเวลานาน อาจทำลายเนื้อเยื่ออ่อนในหูชั้นในได้ เซลล์และเส้นประสาทของหูชั้นในจะถูกทำลายจากการได้ยินเสียงดังอย่างต่อเนื่องหรือซ้ำๆ และหากเซลล์และเส้นประสาทถูกทำลายมากพอ คนจะไม่ได้ยินเสียงถาวร

ปัจจัยเสี่ยง

ปัจจัยเสี่ยงของอาการประสาทหูเสื่อมจากเสียง

  • การฟังเสียงดังเป็นเวลานาน
  • การฟังเสียงดังเกิดกว่าค่าที่กำหนด
  • การใช้หูฟังเป็นเวลานาน
  • อายุ อาจมีส่วนในการเพิ่มความเสี่ยงในการสูญเสียการได้ยิน

โปรดปรึกษาแพทย์เพื่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม

การวินิจฉัยและรักษาโรค

ข้อมูลนี้ไม่สามารถใช้แทนคำแนะนำทางการแพทย์ได้ โปรดปรึกษาแพทย์เพื่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม

การวินิจฉัยภาวะประสาทหูเสื่อมจากเสียง

การสูญเสียการได้ยินจะเริ่มขึ้น เมื่อเวลาผ่านไปหลายปี เนื่องจากว่าภาวะดังกล่าวไม่ได้ทำให้เจ็บปวด และเกิดขึ้นอย่างค่อยเป็นค่อยไป คุณจึงอาจไม่สังเกตถึงอาการ สิ่งที่คุณจะสังเกตได้ก็คือ เสียงวิ้งๆ หรือเสียงอื่นๆ ในหู (เสียงอื้อในหู) ที่อาจเป็นผลจากการได้ยินเสียงรบกวนอย่างยาวนาน จนะส่งผลกระทบต่อการได้ยิน

หรือคุณหากมีปัญหาในการเข้าใจสิ่งที่คนอื่นพูด คำพูดของคนอื่นอาจฟังดูไม่ชัดเจน โดยเฉพาะเมื่อคุณอยู่ในที่มีคนพลุกพล่านหรือปาร์ตี้ นี่อาจเป็นจุดเริ่มต้นของการสูญเสียการได้ยินเสียงที่มีความถี่สูง การตรวจสมรรถภาพการได้ยิน จะช่วยตรวจหาอาการนี้ได้

แต่ถ้าคุณมีอาการเหล่านี้ คุณอาจไม่ได้เป็นโรคอะไรที่ร้ายแรงก็ได้ อาจเป็นเพราะมีขี้หูอุดตัน หรือหูติดเชื้อ ซึ่งอาจรักษาได้โดยง่าย อย่างไรก็ตาม มันก็อาจเป็นอาการของประสาทหูเสื่อมจากเสี่ยงก็ได้เช่นกัน ไม่ว่าในกรณีใด อย่าเสี่ยงกับการได้ยินเสียงรบกวน เพราะการสูญเสียการได้ยินที่เกิดขึ้นนั้นเป็นผลถาวร

หากคุณสงสัยว่าตนเองไม่ได้ยินเสียง ปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญทางด้านโสตศอนาสิก (otolaryngologist) ในการรักษาหู และความผิดปกติทางการได้ยิน แพทย์จะวินิจฉัยปัญหาทางการได้ยิน และแนะนำวิธีที่ดีที่สุดในการรักษา

ผู้คนตอบสนองต่อเสียงรบกวนต่างกันไป โดยทั่วไปแล้ว เสียงรบกวนอาจส่งผลทางลบต่อการได้ยิน หากคุณจำเป็นต้องตะโกนท่ามกลางเสียงดังเพื่อให้ได้ยินเสียงของตนเอง เสียงรบกวนจะทำร้ายหูของคุณ ทำให้มีเสียงดังในหู หรือคุณอาจหูตึงเล็กน้อย เป็นระยะเวลาหลายชั่วโมง หลังจากได้ยินเสียงรบกวน

การรักษาภาวะประสาทหูเสื่อมจากเสียง

ไม่มีวิธีรักษาภาวะประสาทหูเสื่อม หนึ่งในการรักษาภาวะไม่ได้ยินที่เด่นชัดที่สุดก็คือ หลีกเลี่ยงการอยู่ในที่ซึ่งมีเสียงรบกวน ซึ่งอาจป้องกันไม่ให้ภาวะไม่ได้ยินของคุณแย่ลง

มีอุปกรณ์ที่ช่วยให้คุณฟังได้ดีขึ้น คุณอาจได้รับประโยชน์จากเครื่องช่วยฟัง (อุปกรณ์ที่คุณสวมบนหูเพื่อเพิ่มขนาดเสียง) ขึ้นอยู่กับระดับของภาวะไม่ได้ยิน สำหรับภาวะไม่ได้ยินขั้นรุนแรง คุณอาจต้องผ่าตัดฝังประสาทหูเทียม ประสาทหูเทียมเป็นเครื่องมืออิเล็กทรอนิกส์ที่ช่วยในการฟัง ซึ่งจะแทนที่หูชั้นในที่ได้รับความเสียหายด้วยรังสีจากขั้วไฟฟ้า ขั้วไฟฟ้าเหล่านี้จะได้รับการผ่าตัดเพื่อฝังในหูชั้นใน ขั้วไฟฟ้ามีหน้าที่ส่งสัญญาณเสียงไปสู่สมอง

การเปลี่ยนไลฟ์สไตล์และการเยียวยาตนเอง

การเปลี่ยนไลฟ์สไตล์และการเยียวยาตนเองที่จะช่วยรับมือกับภาวะประสาทหูเสื่อมจากเสียง

การเปลี่ยนไลฟ์สไตล์และการเยียวยาตนเองต่อไปนี้ อาจช่วยป้องกันภาวะประสาทหูเสื่อมจากเสียงได้

  • ลดการอยู่ในที่ซึ่งมีเสียงรบกวน ขั้นตอนนี้สำคัญอย่างยิ่ง สำหรับคนที่ทำงานในที่ซึ่งมีเสียงดัง และคนที่เดินทางไปกลับระหว่างบ้านกับที่ทำงาน ท่ามกลางสภาพแวดล้อมที่มีเสียงอึกทึก ควรสวมที่ปิดหูพิเศษที่ช่วยปกป้องหู คุณอาจจะลดการอยู่ในที่ซึ่งมีเสียงรบกวน โดยเลือกกิจกรรมผ่อนคลายที่ไม่ต้องใช้เสียงดัง แทนที่จะเป็นกิจกรรมที่ต้องใช้เสียงดัง
  • เสริมสร้างนิสัยในการสวมที่อุดหู เมื่อคุณรู้ว่าคุณจะต้องอยู่ในที่ซึ่งมีเสียงดังเป็นเวลานาน โฟมอุดหูแบบใช้แล้วทิ้งมีราคาไม่แพง และหาซื้อได้ตามขายในร้านยาทั่วไป ที่อุดหูที่ช่วยให้เสียงลดลง 25 เดซิเบล ซึ่งอาจหมายถึงเสียงที่แตกต่างกันระหว่างระดับเสียงที่อันตรายกับปลอดภัย คุณควรสวมที่อุดหูอยู่เสมอระหว่างขี่จักรยานยนต์ เข้าชมคอนเสิร์ต ระหว่างใช้เครื่องใช้ไฟฟ้าที่มีมอเตอร์ เครื่องตัดหญ้า หรือเครื่องตัดแต่งกิ่งไม้ หรือเมื่อท่องเที่ยวด้วยรถยนต์ที่มีมอเตอร์เสียงดัง
  • ใช้วัสดุดูดซับเสียงเพื่อลดเสียง ที่บ้านและที่ทำงาน อาจวางแผ่นยางไว้ใต้อุปกรณ์ในครัวที่มีเสียงดังและปริ้นเตอร์ เพื่อลดเสียงรบกวน ผ้าม่านและพรมจะช่วยลดเสียงภายในบ้าน หน้าต่างสองชั้นอาจช่วยลดเสียงจากภายนอกที่เข้ามาในบ้าน หรือที่ทำงาน
  • อย่าใช้เครื่องจักรที่มีเสียงดังหลายเครื่องในเวลาเดียวกัน พยายามที่จะเปิดเสียงโทรทัศน์ สเตอริโอและหูฟังในระดับต่ำ การฟังเสียงดังเป็นนิสัยที่ไม่ถูกต้อง
  • อย่ากลบเสียงที่ไม่ต้องการฟังด้วยเสียงอื่น เช่น อย่าเปิดเสียงของวิทยุในรถ หรือหูฟัง ให้ดังเพื่อกลบเสียงรบกวนบนท้องถนน หรือเพิ่มเสียงของโทรทัศน์ระหว่างใช้เครื่องดูดฝุ่น
  • ตรวจสมรรถภาพการได้ยิน หากคุณต้องทำงานหรืออยู่ในที่ซึ่งมีเสียงดังบ่อยๆ
  • หากคุณมีคำถามเพิ่มเติม โปรดปรึกษาแพทย์เพื่อให้ได้ทางออกที่ดีที่สุดสำหรับคุณ

    Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำทางการแพทย์ การวินิจฉัยโรค และการรักษาโรคแต่อย่างใด

    หมายเหตุ

    Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

    ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

    ทีม Hello คุณหมอ


    เขียนโดย จิดาภา ติยะสิริทานนท์ · แก้ไขล่าสุด 11/05/2020

    advertisement iconโฆษณา

    คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

    advertisement iconโฆษณา
    advertisement iconโฆษณา