backup og meta
สำรวจ
เครื่องมือตรวจเช็กสุขภาพ
ถามคุณหมอ
บันทึก
สารบัญ

respiratory failure คือ อะไร อาการ สาเหตุ และวิธีรักษา

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย สิฏฐิณิศา รัชตวโรทัย


เขียนโดย pimruethai · แก้ไขล่าสุด 22/02/2023

respiratory failure คือ อะไร อาการ สาเหตุ และวิธีรักษา

respiratory failure คือ ภาวะหายใจล้มเหลว หมายถึงภาวะที่ระบบทางเดินหายใจไม่สามารถแลกเปลี่ยนออกซิเจนและคาร์บอนไดออกไซด์ได้ตามปกติ ส่งผลให้มีออกซิเจนไปเลี้ยงส่วนต่าง ๆ ไม่เพียงพอ จนเซลล์ขาดออกซิเจน หรือมีคาร์บอนไดออกไซด์สะสมในร่างกายมากเกินไป ส่งผลให้ความเป็นกรดในร่างกายเสียสมดุล จนอาจทำให้การหายใจล้มเหลวได้ ภาวะนี้แบ่งออกเป็น 2 ชนิด คือ ภาวะหายใจล้มเหลวเฉียบพลัน และภาวะหัวใจล้มเหลวเรื้อรัง

คำจำกัดความ

respiratory failure คือ อะไร

respiratory failure คือ ภาวะหายใจล้มเหลว สามารถเกิดขึ้นได้เมื่อระบบทางเดินหายใจมีปัญหาในการแลกเปลี่ยนก๊าซ กล่าวคือ ไม่สามารถลำเลียงออกซิเจนไปเลี้ยงเซลล์ต่าง ๆ ในร่างกายได้อย่างเพียงพอ หรือไม่สามารถขจัดคาร์บอนไดออกไซด์ออกจากเลือดได้ ทำให้เกิดการสะสมในร่างกาย จนส่งผลให้เซลล์เสียหายและทำงานผิดปกติ ระบบทางเดินหายใจทำหน้าที่สำคัญในการการรับออกซิเจนและกำจัดคาร์บอนไดออกไซด์ จึงได้รับผลกระทบมากที่สุด และอาจนำไปสู่ภาวะหายใจล้มเหลวได้

การหายใจเข้า เป็นการรับออกซิเจนเข้าสู่ร่างกาย ออกซิเจนจะเคลื่อนเข้าไปในกระแสเลือด ไปยังอวัยวะและเนื้อเยื่อต่าง ๆ ในร่างกาย ออกซิเจนมีส่วนสำคัญในการทำให้ระบบต่าง ๆ ในร่างกายสามารถทำงานได้เป็นปกติ

การหายใจออก เป็นการปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ออกจากร่างกาย ซึ่งคาร์บอนไดออกไซด์เป็นของเหลือ ที่เกิดขึ้นเมื่อเซลล์ในร่างกายย่อยสลายน้ำตาลจากอาหารที่รับประทาน การขจัดคาร์บอนไดออกไซด์ออกจากเลือดถือเป็นกระบวนการสำคัญของร่างกาย เพราะหากมีก๊าซนี้ในร่างกายมากเกินไป อาจทำให้อวัยวะเสียหายได้

ภาวะหายใจล้มเหลวแบ่งเป็น 2 ชนิด ได้แก่

  1. ภาวะหัวใจล้มเหลวเฉียบพลัน เป็นภาวะหายใจล้มเหลวที่เกิดขึ้นอย่างฉับพลันทันใด และเสี่ยงเป็นอันตรายถึงชีวิต ต้องได้รับการช่วยเหลือฉุกเฉิน
  2. ภาวะหัวใจล้มเหลวเรื้อรัง เป็นภาวะหายใจล้มเหลวที่ค่อย ๆ พัฒนาขึ้นตามกาลเวลา และต้องทำการรักษายาวนาน

respiratory failure พบบ่อยเพียงใด

ภาวะหายใจล้มเหลวสามารถเกิดขึ้นได้กับคนทุกเพศทุกวัย แต่พบมากในผู้ชาย

อาการ

อาการของ respiratory failure

อาการที่พบได้เมื่อเกิดภาวะหายใจล้มเหลว อาจมีดังนี้

อาการเมื่อออกซิเจนในเลือดต่ำ

  • เหนื่อยง่ายมาก แม้จะแค่ทำกิจกรรมในชีวิตประจำวัน เช่น อาบน้ำ แต่งตัว ขึ้นบันได
  • หายใจลำบาก หรือหายใจถี่อย่างรุนแรง
  • เซื่องซึม
  • มีอาการเขียว สังเกตได้จากริมฝีปาก นิ้วมือ และนิ้วเท้าเป็นสีเขียว

อาการเมื่อมีคาร์บอนไดออกไซด์ในเลือดสูง 

  • มองเห็นไม่ชัด
  • สับสน
  • ปวดศีรษะ
  • หัวใจเต้นเร็วผิดปกติ

ผู้ป่วยบางรายอาจมีทั้งอาการของการขาดออกซิเจนและคาร์บอนไดออกไซด์ในเลือดสูง

ควรไปพบคุณหมอเมื่อใด

การได้รับการวินิจฉัยและรักษาตั้งแต่เนิ่น ๆ อาจช่วยไม่ให้ภาวะหายใจล้มเหลวแย่ลง และช่วยป้องกันอาการฉุกเฉินอื่น ๆ ที่อาจเกิดขึ้นได้ ดังนั้น เมื่อมีอาการข้างต้น ควรรีบปรึกษาคุณหมอ เพื่อไม่ให้อาการที่เป็นอยู่แย่ลง

สาเหตุ

สาเหตุของ respiratory failure

ปัจจัยต่อไปนี้อาจเป็นสาเหตุทำให้เกิดภาวะหายใจล้มเหลวขึ้นได้

  • โรคที่ส่งผลต่อปอด เช่น ปอดอุดกั้นเรื้อรัง (COPD) โรคซิสติกไฟโบรซิส โรคปอดอักเสบ โรคลิ่มเลือดอุดกั้นในปอด โรคโควิด-19
  • โรคที่ส่งผลต่อระบบประสาทและกล้ามเนื้อที่มีหน้าที่ควบคุมการหายใจ เช่น โรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง โรคกล้ามเนื้อเสื่อมดูเชน การบาดเจ็บที่กระดูกสันหลัง โรคกระดูกสันหลังคด โรคหลอดเลือดสมอง
  • การบาดเจ็บที่เนื้อเยื่อและซี่โครงบริเวณปอด
  • การใช้ยาและเครื่องดื่มแอลกอฮอล์มากเกินไป
  • การสูดสำลักควัน เช่น ควันจากไฟไหม้

ปัจจัยเสี่ยง

ปัจจัยเสี่ยง respiratory failure

ภาวะดังต่อไปนี้ อาจเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดภาวะหายใจล้มเหลว

  • โรคหลอดลมอุดกั้นเรื้อรัง
  • ปอดบวม
  • โรคซิสติก ไฟโบรซิส เป็นโรคเรื้อรังทางพันธุกรรม ที่ทำให้เกิดการสร้างเสมหะข้นในปอด เมือกในตับอ่อน และอวัยวะอื่นๆในร่างกาย
  • การบาดเจ็บที่กระดูกสันหลัง
  • การอุดตันของเส้นโลหิตที่ไปเลี้ยงสมอง
  • โรคกล้ามเนื้อเสื่อม
  • การบาดเจ็บบริเวณทรวงอก
  • การดื่มแอลกอฮอล์และการเสพยา
  • การสูบบุหรี่

การวินิจฉัยและการรักษาโรค

ข้อมูลในที่นี้ไม่มีเจตนาให้ใช้ทดแทนคำแนะนำทางการแพทย์ ควรปรึกษาคุณหมอทุกครั้งเพื่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม

การวินิจฉัย respiratory failure

คุณหมอจะวินิจฉัยภาวะหายใจล้มเหลวด้วยการซักประวัติ และการตรวจร่างกายด้วยวิธีต่อไปนี้

  • การวัดปริมาณออกซิเจนในเลือด
  • การฟังเสียงหัวใจและปอด
  • การวัดความดันเลือด
  • การตรวจวิเคราะห์ก๊าซในหลอดเลือดแดง
  • การตรวจฉายภาพ เช่น การเอกซเรย์ทรวงอก การทำซีทีสแกน
  • การตรวจหัวใจด้วยคลื่นเสียงสะท้อนความถี่สูง
  • การส่องกล้องหลอดลม

การรักษาภาวะหายใจล้มเหลว

หากการหายใจล้มเหลวเฉียบพลัน อาจต้องวินิจฉัยและรับการรักษาฉุกเฉินในโรงพยาบาลโดยเร็วที่สุด เพื่อให้สามารถหายใจได้ดีขึ้น และช่วยให้เนื้อเยื่อส่วนต่าง ๆ ได้รับออกซิเจนอย่างเพียงพอ ป้องกันอวัยวะถูกทำลาย หรือการทำงานล้มเหลว

วิธีที่นิยมใช้ในการรักษาภาวะหายใจล้มเหลว เช่น

  • การบำบัดด้วยออกซิเจน อาจช่วยให้ปอดได้รับออกซิเจนเพิ่มขึ้นได้ โดยออกซิเจนจะถูกลำเลียงจากถังออกซิเจนผ่านท่อเข้าสู่ปอดผ่านหน้ากาก ท่อจมูก หรือท่อที่ใช้สอดเข้าหลอดลมโดยตรง
  • การเจาะคอ คุณหมอจะสอดท่อเข้าไปในหลอดลมเพื่อให้หายใจได้สะดวกขึ้น ซึ่งท่อจะถูกสอดผ่านรอยผ่าตรงหน้าคอที่หลอดลม ท่อนี้เป็นท่อชั่วคราวหรือถาวรก็ได้
  • เครื่องช่วยหายใจ หากรักษาด้วยวิธีอื่นแล้วยังไม่ดีขึ้น คุณหมออาจให้ใช้เครื่องช่วยหายใจ เครื่องนี้จะสูบออกซิเจนผ่านท่อที่สอดไว้ที่ปากหรือจมูกลงไปยังหลอดลม

การเปลี่ยนไลฟ์สไตล์และการดูแลตัวเอง

การปรับไลฟ์สไตล์และการดูแลตัวเองเพื่อป้องกัน respiratory failure

วิธีต่อไปนี้อาจช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดภาวะหายใจล้มเหลวได้

  • เลิกสูบบุหรี่
  • หลีกเลี่ยงการรับควันบุหรี่มือสอง
  • รับประทานอาหารที่อุดมด้วยผักและผลไม้
  • ออกกำลังกายเป็นประจำ

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

สิฏฐิณิศา รัชตวโรทัย


เขียนโดย pimruethai · แก้ไขล่าสุด 22/02/2023

advertisement iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

advertisement iconโฆษณา
advertisement iconโฆษณา