backup og meta
สำรวจ
เครื่องมือตรวจเช็กสุขภาพ
ถามคุณหมอ
บันทึก
สารบัญ

มะเร็งกระเพาะอาหาร (Stomach cancer)

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย ธีรวิทย์ บุญราศรี · แก้ไขล่าสุด 15/06/2021

มะเร็งกระเพาะอาหาร (Stomach cancer)

มะเร็งกระเพาะอาหาร (Stomach Cancer) หมายถึง การเจริญเติบโตของเนื้อร้ายในกระเพาะอาหาร ซึ่งมาจากการเจริญเติบโตแบบผิดปกติของเซลล์ต่าง ๆ ในกระเพาะอาหาร และพัฒนากลายเป็นเนื้องอก

คำจำกัดความ

มะเร็งกระเพาะอาหาร คืออะไร

โรคมะเร็งกระเพาะอาหาร (Stomach Cancer) หมายถึง การเจริญเติบโตของเนื้อร้ายในกระเพาะอาหาร เกิดจากการเจริญเติบโตแบบผิดปกติของเซลล์ต่าง ๆ ในกระเพาะอาหาร และพัฒนากลายเป็นเนื้องอก มะเร็งกระเพาะอาหารสามารถพบได้ทั่วไปและมักแพร่กระจายไปยังอวัยวะอื่น ๆ หากไม่ได้รับการรักษาอย่างทันเวลา โรคมะเร็งกระเพาะอาหาร ถือว่าเป็นอันตรายถึงชีวิต

มะเร็งกระเพาะอาหาร พบบ่อยเพียงใด

คนทุกวัยมีโอกาสเป็น โรคมะเร็งกระเพาะอาหาร อย่างไรก็ตาม ผู้ชายอายุมากกว่า 40 ปี มีความเสี่ยงมากกว่าผู้หญิง แต่สามารถลดโอกาสในการเกิด โรคมะเร็งกระเพาะอาหาร ได้โดยการลดความเสี่ยง โปรดปรึกษาแพทย์สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม

อาการ

อาการของ โรคมะเร็งกระเพาะอาหาร

ผู้ป่วย โรคมะเร็งกระเพาะอาหาร ในระยะเริ่มแรกอาจไม่มีอาการ แต่เมื่อมะเร็งมีการเจริญเติบโต ผู้ป่วยอาจมีอาการปวดท้องแบบผิดปกติ คลื่นไส้ เบื่ออาหาร ร่วมกับอาการอื่น ๆ ได้แก่ ท้องอืดหลังรับประทานอาหาร กลืนอาหารลำบาก แสบร้อนกลางอก น้ำหนักลด มีเลือดปนในอุจจาระ มีก้อนเนื้อที่สัมผัสได้ มีอาการแน่นในกระเพาะอาหารหลังจากรับประทานอาหาร และมีน้ำขังในช่องท้อง

อาจมีสิ่งบ่งชี้หรืออาการบางประการที่ไม่ได้กล่าวถึงข้างต้น หากมีข้อสงสัยเกี่ยวกับอาการ โปรดปรึกษาแพทย์

ควรไปพบคุณหมอเมื่อใด

หากคุณมีสิ่งบ่งชี้หรืออาการใด ๆ ตามที่ระบุข้างต้น หรือมีข้อคำถามใด ๆ โปรดปรึกษาแพทย์ เนื่องจาก ร่างกายของแต่ละบุคคลมีการตอบสนองแตกต่างกัน ทางที่ดีที่สุดให้ปรึกษาแพทย์เกี่ยวกับวิธีรักษาที่ดีที่สุดตามสถานการณ์ของคุณ

สาเหตุ

สาเหตุของ โรคมะเร็งกระเพาะอาหาร

สาเหตุของ โรคมะเร็งกระเพาะอาหาร ไม่เป็นที่ทราบแน่ชัด แต่มีปัจจัยบางประการที่เพิ่มความเสี่ยงในการเกิดโรคนี้ ได้แก่ อาหารที่มีสารจำพวกไนเตรทสูง สารจำพวกไนเตรทพบมากในอาหารรมควันและมีรสเค็ม เมื่อเข้าสู่ร่างกาย สารไนเตรทจะถูกเปลี่ยนสารไนไตรท์โดยเชื้อแบคทีเรีย ซึ่งเป็นสารก่อมะเร็ง นอกจากนี้ ผู้ที่มีอาการกระเพาะอาหารติดเชื้อแบคทีเรียที่เรียกว่า “Helicobacter Pylori’ ก็อาจมีโอกาสสูงขึ้นในการเป็น โรคมะเร็งกระเพาะอาหาร ได้เช่นกัน

ปัจจัยเสี่ยง

ปัจจัยเสี่ยงของ โรคมะเร็งกระเพาะอาหาร

  • อาหารรมควันและมีรสเค็ม
  • การรับประทานผักและผลไม้น้อยเกินไป
  • การรับประทานอาหารที่ปนเปื้อนเชื้อราอะฟลาท็อกซิน
  • มีประวัติสมาชิกในครอบครัวเป็นโรคมะเร็งกระเพาะอาหาร
  • ติดเชื้อแบคทีเรียชนิด Helicobacter Pylori
  • มีอาการอักเสบเรื้อรังในกระเพาะอาหาร
  • โลหิตจางขั้นรุนแรง
  • การสูบบุหรี่
  • มีติ่งเนื้อในกระเพาะอาหาร

การไม่มีความเสี่ยงไม่ได้หมายความว่าไม่มีโอกาสเป็น โรคมะเร็งกระเพาะอาหาร ปัจจัยเหล่านี้เป็นเพียงข้อมูลอ้างอิงเท่านั้น ดังนั้น ควรปรึกษาแพทย์สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม

การวินิจฉัยและการรักษา

ข้อมูลที่นำเสนอในที่นี้ ไม่สามารถใช้แทนข้อแนะนำทางการแพทย์ ให้ปรึกษาแพทย์สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม

การวินิจฉัย โรคมะเร็งกระเพาะอาหาร

การทดสอบที่สามารถช่วยวินิจฉัย โรคมะเร็งกระเพาะอาหาร ได้แก่

การรักษาโรคมะเร็งกระเพาะอาหาร

การรักษาขึ้นอยู่กับว่ามะเร็งแพร่กระจายออกไปมากน้อยเพียงใดและอยู่ในระยะใดของโรค การผ่าตัดเป็นหนทางเดียวในการรักษาให้หายขาดได้ โดยมีหลายวิธี ได้แก่ การผ่าตัดนำก้อนมะเร็งออกทั้งหมด โดยการตัดนำกระเพาะอาหารออกบางส่วน และการผ่าตัดนำกระเพาะอาหารบางส่วนที่อยู่ใกล้ต่อมน้ำเหลืองออกเกือบทั้งหมด

สำหรับผู้ป่วยมะเร็งในระยะร้ายแรงและไม่สามารถเข้ารับการผ่าตัด อาจจำเป็นต้องเข้ารับเคมีบำบัดหรือการฉายรังสี แต่จะไม่ช่วยให้หายขาดได้ สำหรับผู้ป่วยบางราย การผ่าตัดทำทางเบี่ยงกระเพาะอาหาร อาจบรรเทาอาการต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นได้

การเปลี่ยนไลฟ์สไตล์และการเยียวยาตัวเอง

การเปลี่ยนไลฟ์สไตล์และการเยียวยาตัวเองที่ช่วยจัดการกับมะเร็งกระเพาะอาหาร

  • ปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์
  • ไม่สูบบุหรี่
  • รับประทานอาหารที่ดีต่อสุขภาพ โดยเน้นจำพวกผักและผลไม้
  • หลีกเลี่ยงอาหารเค็มและอาหารรมควัน
  • ไม่ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
  • เข้ารับการตรวจด้วยการส่องกล้องเป็นประจำเพื่อเฝ้าระวังการแพร่กระจายของ โรคมะเร็งกระเพาะอาหาร
  • หากคุณมีข้อสงสัย โปรดปรึกษาแพทย์เพื่อให้เข้าใจได้ดีขึ้นถึงวิธีการรักษาที่ดีที่สุดสำหรับคุณ

    หมายเหตุ

    Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

    ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

    ทีม Hello คุณหมอ


    เขียนโดย ธีรวิทย์ บุญราศรี · แก้ไขล่าสุด 15/06/2021

    advertisement iconโฆษณา

    คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

    advertisement iconโฆษณา
    advertisement iconโฆษณา