backup og meta
สำรวจ
เครื่องมือตรวจเช็กสุขภาพ

1

ถามคุณหมอ
บันทึก
สารบัญ

มะเร็งช่องคลอด (Vaginal Cancer) มะเร็งที่สาว ๆ ควรทำความรู้จัก


เขียนโดย ทีม Hello คุณหมอ · แก้ไขล่าสุด 20/07/2021

มะเร็งช่องคลอด (Vaginal Cancer) มะเร็งที่สาว ๆ ควรทำความรู้จัก

มะเร็งช่องคลอด (Vaginal Cancer) เป็นโรคมะเร็งชนิดที่พบได้ยากในบริเวณช่องคลอด ซึ่งเป็นกล้ามเนื้อรูปทรงท่อ ที่เชื่อมมดลูกกับอวัยวะเพศส่วนนอก

คำจำกัดความ

มะเร็งช่องคลอด คืออะไร

โรคมะเร็งช่องคลอด (Vaginal Cancer) เป็นโรคมะเร็งชนิดที่พบได้ยากในบริเวณช่องคลอด ซึ่งเป็นกล้ามเนื้อรูปทรงท่อที่เชื่อมมดลูกกับอวัยวะเพศส่วนนอก โรคมะเร็งช่องคลอด เริ่มขึ้นเมื่อเซลล์ในช่องคลอดมีการเติบโตเกินการควบคุม โดยมักจะเริ่มจากคอมดลูกหรือมดลูก แล้วลามไปที่ช่องคลอด

อาการ

อาการของโรค มะเร็งช่องคลอด

อาการที่พบได้บ่อยของโรคมะเร็งช่องคลอด คือมีเลือดออกผิดปกติที่ช่องคลอด ซึ่งได้แก่

อาการอื่น ๆ ได้แก่

อาจมีอาการหรือสัญญาณของโรคอื่น ๆ ที่ไม่ได้ระบุเอาไว้ในที่นี้ หากมีความกังวลเกี่ยวกับอาการ โปรดปรึกษาหมอของคุณ

ควรพบคุณหมอเมื่อไร

ควรปรึกษาหมอ หากพบสัญญาณหรือมีอาการที่เกี่ยวกับโรคมะเร็งช่องคลอด เช่น เลือดไหลผิดปกติที่ช่องคลอด เนื่องจากโรคมะเร็งช่องคลอดไม่ได้มีสัญญาณหรืออาการที่แสดงในระยะแรก ๆ ควรปฏิบัติตามคำแนะนำของหมอในเรื่องการตรวจเชิงกราน

สาเหตุ

สาเหตุของการเกิด มะเร็งช่องคลอด

โดยปกติ มะเร็งจะเกิดขึ้นเมื่อเซลล์ในบางบริเวณของร่างกายแบ่งตัวและเพิ่มจำนวนเร็วเกินไป จึงทำให้มีก้อนเนื้อเยื่อที่เรียกกันว่าเนื้องอก อย่างไรก็ตามสาเหตุที่แน่นอนของการเกิดโรคมะเร็งช่องคลอดยังไม่เป็นที่แน่ชัด แต่ปัจจัยบางอย่างก็สามารถเพิ่มโอกาสในการเป็นโรคมะเร็งช่องคลอดได้ ซึ่งก็ได้แก่

  • อายุ จากงานวิจัยพบว่า 7 ใน 10 ของโรคมะเร็งช่องคลอดนั้น เกิดกับผู้หญิงวัย 60 ปีขึ้นไป ถึงแม้ว่าบางครั้งก็สามารถเกิดกับเด็กสาววัยรุ่นและผู้หญิงในช่วงวัย 20-30 ปีได้เหมือนกัน แต่พบได้ค่อนข้างน้อย
  • ไวรัสเอชพีวี เอชพีวีนั้นเป็นไวรัสที่พบได้ในผู้หญิงวัยเจริญพันธุ์โดยทั่วไป ซึ่งอาจทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในเซลล์ภายในช่องคลอด หรือคอมดลูก เมื่อช่องคลอดนั้นได้รับเชื้อ แพทย์จะเรียกว่ามะเร็งระยะศูนย์ของช่องคลอด (Vaginal intra-epithelial neoplasia หรือ VAIN) หากคอมดลูกได้รับเชื้อ แพทย์จะเรียกว่ามะเร็งระยะศูนย์ของปากมดลูก  (vaginal intra-epithelial neoplasia หรือ VAIN)
  • รังสีบำบัดที่เชิงกราน ผู้หญิงที่ได้รับรังสีรักษาที่เชิงกรานอาจมีความเสี่ยงเพิ่มขึ้นเล็กน้อยในการเป็นโรคมะเร็งช่องคลอด
  • ยาไดเอธิลสติลเบสตรอล (Diethylstilbestrol) การใช้ยาไดเอธิลสติลเบสตรอล ซึ่งเป็นยาป้องกันการแท้งลูกนั้น ทำให้มีความเสี่ยงในการเป็นโรคมะเร็งช่องคลอด

ปัจจัยเสี่ยง

ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิด มะเร็งช่องคลอด

ปัจจัยเสี่ยงการเกิดโรคมะเร็งช่องคลอดมีหลายอย่างเช่น

  • อายุมากกว่า 60 ขึ้นไป
  • การสัมผัสกับยาไดเอธิลสติลเบสตรอลในระหว่างอยู่ในครรภ์มารดา
  • การติดเชื้อไวรัสเอชพีวี
  • การมีประวัติของเซลล์ผิดปกติในคอมดลูก หรือมะเร็งปากมดลูก
  • การมีประวัติของเซลล์ผิดปกติในมดลูก หรือมะเร็งมดลูก
  • มีคู่นอนหลายคน
  • มีเพศสัมพันธ์ในวัยเด็ก
  • สูบบุหรี่
  • การวินิจฉัยและการรักษาโรค

    ข้อมูลนี้ไม่ใช่คำแนะนำจากแพทย์โดยตรง ดังนั้น ควรปรึกษาแพทย์เพื่อขอรับขอมูลเพิ่มเติมอยู่เสมอ

    การวิเคราะห์โรคมะเร็งช่องคลอด

    แพทย์ผู้เชี่ยวชาญจะสอบถามเกี่ยวกับอาการ และความเจ็บป่วยอื่น ๆ รวมถึงปัญหาสุขภาพที่เคยประสบมา แพทย์อาจมีการตรวจทดสอบดังนี้

    • การตรวจร่างกายและสอบถามประวัติ แพทย์ผู้เชี่ยวชาญจะสอบถามเกี่ยวกับอาการของคุณ และความเจ็บป่วยอื่น ๆ หรือปัญหาสุขภาพที่เคยประสบมา
    • การตรวจเชิงกราน ในระหว่างการตรวจเชิงกราน แพทย์จะตรวจสอบอวัยวะเพศจากภายนอก แล้วสอดสองนิ้วเข้าไปในช่องคลอด และใช้อีกมือหนึ่งกดตรงท้องน้อยของท่านเพื่อสัมผัสมดลูกและรังไข่ แพทย์จะทำการสอดเครื่องมือที่เรียกว่า “สเปกคูลัม’ เข้าไปในช่องคลอดด้วย “สเปกคูลัม’ จะทำการเปิดช่องคลอด เพื่อให้แพทย์ตรวจสอบหาความผิดปกติในช่องคลอดและคอมดลูกได้สะดวก
    • การตรวจแป๊บสเมียร์ ระหว่างการตรวจปากมดลูก แพทย์อาจเก็บตัวอย่างเนื้อเยื่อจากบริเวณที่ดูไม่ปกติ เพื่อทำการตรวจสอบด้วยกล้องจุลทรรศน์

    การรักษาโรคมะเร็งช่องคลอด

    การรักษาโรคมะเร็งช่องคลอดขึ้นอยู่กับว่าเกิดขึ้นในส่วนใดของช่องคลอด ซึ่งการรักษาโรคมะเร็งช่องคลอดหลักๆ ก็คือ

  • รังสีบำบัด การฉายรังสีเพื่อเป็นการทำลายเซลล์มะเร็ง แต่เซลล์ธรรมดานั้นอาจถูกทำลายไปด้วย
  • การผ่าตัด เพื่อเอาเนื้องอกที่เป็นปัญหาออกไป
  • เคมีบำบัด มีการใช้ยาในการฆ่าเซลล์มะเร็งที่ปกติจะใช้ร่วมกับรังสีบำบัด (เซลล์ธรรมดานั้นอาจถูกทำลายไปด้วย)
  • การรักษาเหล่านี้อาจก่อให้เกิดผลข้างเคียงได้ทั้งในระยะสั้นและระยะยาว ซึ่งควรปรึกษากับผู้ดูแลการรักษาก่อนเข้ารับการรักษา

    การเปลี่ยนไลฟ์สไตล์และการเยียวยาตนเอง

    การเปลี่ยนไลฟ์สไตล์และการเยียวยาตนเองแบบใดช่วยรับมือกับโรคมะเร็งช่องคลอด

    การใช้ชีวิตและการรักษาแบบพื้นบ้านที่อาจช่วยในการจัดการกับโรคมะเร็งช่องคลอดได้

    • เลือกกินอาหารที่มีดัชนีวัดค่าคาร์โบไฮเดรตต่ำ เช่น ผักที่ไม่มีแป้ง ผลไม้ พืชมีฝักต่างๆ และธัญพืช เพื่อให้ระดับน้ำตาลในเลือดเสถียร และระดับอินซูลินอยู่ในระดับสุขภาพดี
    • หลีกเลี่ยงการกินอาหารที่มีโปรตีนมากเกินไป
    • การมีชีวิตทางเพศที่ดี คือ การดูแลสุขภาวะทางเพศอย่างปลอดภัย

    หากมีคำถามหรือข้อสงสัย โปรดปรึกษาแพทย์เพื่อให้เข้าใจวิธีการรักษาที่ดีที่สุดสำหรับคุณ

    หมายเหตุ

    Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด


    เขียนโดย ทีม Hello คุณหมอ · แก้ไขล่าสุด 20/07/2021

    advertisement iconโฆษณา

    คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

    advertisement iconโฆษณา
    advertisement iconโฆษณา