backup og meta
สำรวจ
เครื่องมือตรวจเช็กสุขภาพ
ถามคุณหมอ
บันทึก
สารบัญ

ลิ่มเลือดอุดกั้นในปอด (Pulmonary embolism)

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย พลอย วงษ์วิไล · แก้ไขล่าสุด 15/03/2021

ลิ่มเลือดอุดกั้นในปอด (Pulmonary embolism)

ลิ่มเลือดอุดกั้นในปอด (Pulmonary embolism) หมายถึงการที่มีลิ่มเลือดไปอุดกั้นในหลอดเลือดที่อยู่ภายในปอด โดยปกติแล้วลิ่มเลือดที่มาอุดตันนี้มักจะมาจากบริเวณส่วนขา แต่ก็สามารถเกิดขึ้นจากส่วนอื่น ๆ ได้เช่นกัน

คำจำกัดความ

ลิ่มเลือดอุดกั้นในปอด คืออะไร

ลิ่มเลือดอุดกั้นในปอด (Pulmonary embolism) หมายถึงการที่มีลิ่มเลือดไปอุดกั้นในหลอดเลือดที่อยู่ภายในปอด โดยปกติแล้วลิ่มเลือดที่มาอุดตันนี้มักจะมาจากบริเวณส่วนขา แต่ก็สามารถเกิดขึ้นจากส่วนอื่น ๆ ได้เช่นกัน

ลิ่มเลือดนี้จะไปปิดกั้นการไหลเวียนของเลือดเข้าสู่ปอด ทำให้เลือดไม่สามารถเข้าไปเลี้ยงปอดได้ ทำให้ขาดออกซิเจน และอาจทำให้ปอดและอวัยวะอื่น ๆ เกิดความเสียหายได้ หากลิ่มเลือดที่มาอุดกั้นนั้นมีขนาดใหญ่ เกิดหลายจุดพร้อมกัน หรือไม่ทำการรักษาให้ดี อาจทำให้ปอดเสียหายอย่างถาวร หรือทำให้เสียชีวิตได้

ลิ่มเลือดอุดกั้นในปอดพบได้บ่อยเพียงใด

โรคลิ่มเลือดอุดกั้นในปอดนี้สามารถเกิดขึ้นได้กับทุกคน แต่ผู้ที่มีปัญหาเกี่ยวกับหัวใจ ลิ่มเลือด หรือผู้สูงอายุ อาจจะมีความเสี่ยงมากกว่าผู้อื่น อย่างไรก็ตาม โรคนี้สามารถรับมือได้ด้วยการลดปัจจัยเสี่ยง โปรดปรึกษาแพทย์สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม

อาการ

อาการลิ่มเลือดอุดกั้นในปอด

อาการของโรคลิ่มเลือดอุดกั้นในปอด อาจจะแตกต่างกันออกไปตามปัจจัยต่าง ๆ เช่น ขนาดของลิ่มเลือด ลักษณะการอุดตัน หรือโรคประจำตัวอื่น ๆ แต่มีอาการที่พบได้บ่อยดังต่อไปนี้

ควรไปพบหมอเมื่อใด

การวินิจฉัยและรักษาแต่เนิ่น ๆ ช่วยให้อาการไม่รุนแรงขึ้น และช่วยป้องกันภาวะฉุกเฉินอื่น ๆ ดังนั้น จึงควรปรึกษาแพทย์โดยเร็วเพื่อป้องกันอาการรุนแรงไม่ให้เกิดขึ้น

หากคุณมีสิ่งบ่งชี้หรืออาการใด ๆ ตามที่ระบุข้างต้น หรือมีคำถาม โปรดปรึกษาแพทย์ ร่างกายของแต่ละบุคคลมีการตอบสนองแตกต่างกัน ทางที่ดีที่สุดให้ปรึกษาแพทย์ เกี่ยวกับวิธีรักษาที่ดีที่สุดตามสถานการณ์ของคุณ

สาเหตุ

สาเหตุของโรคลิ่มเลือดอุดกั้นในปอด

ลิ่มเลือดอุดกั้นในปอดนั้นเกิดจากการที่ ลิ่มเลือดไปอุดตันหลอดเลือดในบริเวณปอด ลิ่มเลือดนั้นเกิดขึ้นจากการแข็งตัวของเลือด เป็นปฏิกิริยาตามปกติของร่างกายที่มีไว้เพื่อช่วยห้ามเลือด ป้องกันไม่ให้เลือดไหลเวลาที่เกิดบาดแผล ลิ่มเลือดบางส่วนอาจหลุดเข้าสู่กระแสเลือด แล้วไปอุดตันในหลอดเลือดบริเวณต่าง ๆ ได้

ปัจจัยเสี่ยง

ปัจจัยเสี่ยงของโรคลิ่มเลือดอุดกั้นในปอด

คุณอาจมีความเสี่ยงมากขึ้นสำหรับโรคนี้ หากคุณมีสภาวะดังต่อไปนี้

  • โรคที่เกี่ยวข้องกับหัวใจและหลอดเลือด โดยเฉพาะภาวะหัวใจล้มเหลว ทำให้การก่อตัวของลิ่มเลือดเกิดขึ้นได้มากขึ้น
  • โรคมะเร็ง โรคมะเร็งบางชนิด โดยเฉพาะมะเร็งตับอ่อน มะเร็งรังไข่ และมะเร็งปอด พร้อมทั้งมะเร็งชนิดอื่นๆ ที่มีการ แพร่กระจายไปยังอวัยวะอื่นๆ (Metastasis) สามารถเพิ่มระดับของสารที่ก่อให้เกิดการก่อตัวของลิ่มเลือด และการทำเคมีบำบัดจะเพิ่มความเสี่ยงได้ต่อไปอีกด้วย
  • การผ่าตัด การผ่าตัดเป็นสาเหตุอันดับต้นๆ ของการก่อตัวของลิ่มเลือด
  • การนอนเป็นเวลานาน ๆ ผู้ที่นอนนิ่งอยู่กับที่ ไม่เคลื่อนไหวเป็นเวลานาน ๆ เช่น ผู้ป่วยติดเตียง อาจจะมีความเสี่ยงมากที่จะเกิดโรคนี้
  • การสูบบุหรี่
  • โรคอ้วน
  • การตั้งครรภ์

การวินิจฉัยและการรักษาโรค

ข้อมูลที่นำเสนอไม่สามารถใช้แทนข้อแนะนำทางการแพทย์ได้ โปรดปรึกษาแพทย์สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม

การวินิจฉัยลิ่มเลือดอุดกั้นในปอด

หากแพทย์สงสัยว่าคุณอาจเป็นโรคนี้ จะมีการตรวจร่างกาย และแพทย์จะแนะนำการตรวจบางประการสำหรับคุณ

การตรวจโดยทั่วไปที่แพทย์อาจสั่ง ได้แก่

  • การเอกซ์เรย์หน้าอก (Chest X-ray) ทำให้แพทย์มองเห็นหัวใจและปอดได้โดยละเอียด รวมทั้งภาวะใด ๆ ในบริเวณโดยรอบปอดของคุณ
  • การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ (ECG) เพื่อวัดการทำงานด้านไฟฟ้าของหัวใจ
  • การตรวจเอ็มอาร์ไอ (MRI) การตรวจวิธีนี้ใช้คลื่นวิทยุและสนามแม่เหล็ก เพื่อสร้างภาพอวัยวะภายในร่างกายโดยละเอียด
  • การตรวจซีทีสแกน (CT scan)
  • การฉีดสีดูหลอดเลือดปอด (Pulmonary angiography) การตรวจวิธีนี้จะมีการผ่าตัดขนาดเล็ก เพื่อให้แพทย์สามารถสอดเครื่องมือพิเศษเข้าไปในหลอดเลือดดำได้
  • การตรวจอัลตราซาวนด์หลอดเลือดดำแบบสองทิศทาง (Duplex venous ultrasound) การตรวจวิธีนี้จะใช้คลื่นวิทยุ เพื่อทำให้เกิดภาพการไหลเวียนของเลือด และเพื่อตรวจหาลิ่มเลือดที่ขาของคุณ
  • การตรวจวินิจฉัยหลอดเลือด (Venography) การตรวจวิธีนี้เป็นการตรวจเอกซเรย์พิเศษในบริเวณหลอดเลือดดำของขา
  • การตรวจแบบ D-dimer test เป็นการตรวจเลือดแบบพิเศษชนิดหนึ่ง

การรักษาลิ่มเลือดอุดกั้นในปอด

แพทย์อาจจะสั่งให้ใช้ยาบางชนิด เช่น

  • ยาต้านการแข็งตัวของเลือด (Anticoagulants) หรือยาเจือจางเลือด เพื่อช่วยลดการเกิดลิ่มเลือด
  • ยาสลายลิ่มเลือด (Thrombolytics) เพื่อเร่งการสลายตัวของลิ่มเลือด

นอกจากนี้ก็อาจจำเป็นต้องมีการผ่าตัด เพื่อกำจัดลิ่มเลือดที่อุดตันอยู่ให้ออกไป

การเปลี่ยนแปลงไลฟ์สไตล์และการเยียวยาตนเอง

การเปลี่ยนไลฟ์สไตล์และการเยียวยาตัวเองที่ช่วยจัดการกับลิ่มเลือดอุดกั้นในปอด

  • หลีกเลี่ยงการสวมใส่เสื้อผ้าที่รัดแน่น
  • หนุนขา การหนุนยกขาให้สูงขึ้น โดยเฉพาะเวลานอน อาจสามารถช่วยป้องกันลิ่มเลือดอุดกั้นในปอดได้
  • ออกกำลังกาย การเคลื่อนไหวร่างกายสามารถช่วยป้องกันการอุดตันของลิ่มเลือด อีกทั้งยังทำให้เรามีสุขภาพดี และช่วยให้ร่างกายฟื้นฟูตัวเองได้ดียิ่งขึ้น

หากมีคำถาม โปรดปรึกษาแพทย์เพื่อให้เข้าใจวิธีการรักษาที่ดีที่สุดสำหรับคุณ

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย พลอย วงษ์วิไล · แก้ไขล่าสุด 15/03/2021

advertisement iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

advertisement iconโฆษณา
advertisement iconโฆษณา