backup og meta
สำรวจ
เครื่องมือตรวจเช็กสุขภาพ
ถามคุณหมอ
บันทึก
สารบัญ

สมองบกพร่องระดับเบา (Mild cognitive impairment)

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย ปราโมทย์ วงศ์คำ · แก้ไขล่าสุด 11/05/2020

สมองบกพร่องระดับเบา (Mild cognitive impairment)

คำจำกัดความ

สมองบกพร่องระดับเบา คืออะไร

สมองบกพร่องระดับเบา (Mild Cognitive Impairment – MCI) เป็นระยะเริ่มต้นระหว่างอาการเสื่อมสภาพทางสมองเมื่ออายุเพิ่มขึ้นและอาการที่รุนแรงมากขึ้นของโรคสมองเสื่อม อาการนี้เกี่ยวข้องกับปัญหาทางความจำ ภาษา ความคิด และการตัดสินใจ ที่เกิดการเปลี่ยนแปลงมากกว่าช่วงอายุปกติ

หากคุณมีภาวะสมองบกพร่องระดับเบา คุณอาจตระหนักได้ว่าความทรงจำหรือสภาพจิตใจมีการถดถอย ครอบครัวและเพื่อนที่ใกล้ชิดอาจสังเกตได้ถึงการเปลี่ยนแปลง แต่การเปลี่ยนแปลงเหล่านี้ โดยทั่วไปไม่ได้รุนแรงพอที่จะปรากฏขึ้นชัดในชีวิตประจำวันหรือกิจวัตรทั่วไป

ภาวะสมองบกพร่องระดับเบา อาจเพิ่มความเสี่ยงของอาการสมองเสื่อมได้ในอนาคต ซึ่งมีสาเหตุมาจากโรคอัลไซเมอร์หรืออาการทางประสาทอื่นๆ แต่ในบางคนที่มีภาวะสมองบกพร่องระดับเบา ไม่ได้มีอาการทรุดลง และบางคนมีอาการดีขึ้น

สมองบกพร่องระดับเบา พบได้บ่อยแค่ไหน

ภาวะสมองบกพร่องระดับเบาเป็นอาการที่พบได้ทั่วไป โปรดปรึกษากับหมอของคุณ สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม

อาการ

อาการของภาวะสมองบกพร่องระดับเบา

อาการที่พบได้ทั่วไปของภาวะสมองบกพร่องระดับเบา ได้แก่

  • คุณลืมสิ่งของบ่อยครั้ง
  • คุณลืมเหตุการณ์สำคัญ อย่างเช่น การนัดหมายหรือการพบปะในสังคม
  • คุณลืมความคิดที่อยู่ในหัวหรือลืมหัวข้อสนทนา ชื่อหนังสือหรือชื่อหนัง
  • คุณรู้สึกกดดันมากขึ้นเมื่อคุณต้องทำการตัดสินใจ วางแผนการทำงานให้เสร็จ หรืออธิบายคำแนะนำต่างๆ
  • คุณเริ่มมีปัญหาในการหาเส้นทางในสิ่งแวดล้อมที่คุ้นเคย
  • คุณกลายเป็นคนใจร้อนมากขึ้นหรือแสดงถึงการติดสินใจพลาดบ่อยครั้ง
  • ครอบครัวหรือเพื่อนของคุณสังเกตได้ถึงการเปลี่ยนแปลงเหล่านี้
  • โรคซึมเศร้า
  • มีความฉุนเฉียวและรุนแรง
  • วิตกกังวล 
  • ไร้ความรู้สึก

อาจมีอาการบางประเภทที่ไม่ได้ปรากฏอยู่ข้างบน ถ้าคุณมีความกังวลเกี่ยวกับอาการ โปรดปรึกษาหมอของคุณ

ควรไปพบคุณหมอเมื่อใด

หากคุณมีสัญญาณหรืออาการอะไรก็ตามที่เหมือนอาการตามด้านบน หรือ หากคุณมีข้อสงสัย โปรดปรึกษากับหมอของคุณ ร่างกายของทุกคนแสดงออกแตกต่างกันไป มันจึงดีที่สุดเสมอในการปรึกษากับหมอของคุณ ว่าอะไรคือสิ่งที่ดีที่สุดสำหรับสถานการณ์ของคุณ

สาเหตุ

สาเหตุของภาวะสมองบกพร่องระดับเบา

ภาวะสมองบกพร่องระดับเบานั้นไม่มีสาเหตุและอาการผิดปกติที่โดดเด่น อาการของภาวะสมองบกพร่องระดับเบา อาจคงที่เป็นเวลานานหลายปี และพัฒนาไปสู่โรคอัลไซเมอร์ หรือโรคสมองเสื่อมประเภทอื่น หรืออาการดีขึ้นเมื่อผ่านไปเป็นเวลานาน

มีหลักฐานชี้ชัดถึงภาวะสมองบกพร่องระดับเบาที่เพิ่มระดับของการเปลี่ยนทางสมองแบบเดิมอยู่บ่อยครั้ง ประเภทเดียวกันกับที่พบในโรคอัลไซเมอร์หรือโรคสมองเสื่อมประเภทอื่น การเปลี่ยนแปลงเหล่านี้บางส่วน ได้ถูกระบุไว้ในงานวิจัยศพของผู้ที่มีภาวะสมองบกพร่องระดับเบา การเปลี่ยนแปลงเหล่านี้ ได้แก่

  • ความผิดปกติของก้อนโปรตีนเบต้าอะไมลอยด์ (beta-amyloid protein) และก้อนโปรตีนขนาดเล็กเทา (tau) ซึ่งเป็นลักษณะของโปรตีนในโรคอัลไซเมอร์ (tangles)
  • เลวี บอดี้ (Lewy bodies) ซึ่งเป็นก้อนโปรตีนขนาดเล็กที่เกี่ยวข้องกับโรคพาร์กินสัน สมองเสื่อมด้วยเลวี บอดี้ และบางกรณีของโรคอัลไซเมอร์
  • มีอาการเส้นเลือดในสมองแตกเล็กน้อยหรือลดการไหลเวียนของเลือดเข้าสู่หลอดเลือดสมอง

การศึกษาผ่านการฉายภาพสมองแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงที่อาจเกี่ยวข้องกับภาวะสมองบกพร่องระดับเบา ได้แก่:

  • เกิดการหดตัวของฮิปโปแคมปัส (hippocampus) สมองส่วนที่สำคัญสำหรับการสร้างความทรงจำ
  • การขยายใหญ่ของโพรงสมอง (ventricles)
  • ลดการใช้กลูโคส น้ำตาลที่เป็นแหล่งพลังงานหลักสำหรับเซลล์สำคัญในสมอง

ปัจจัยเสี่ยง

ปัจจัยเสี่ยงของภาวะสมองบกพร่องระดับเบา

มีปัจจัยเสี่ยงมากมายสำหรับภาวะสมองบกพร่องระดับเบา ได้แก่

  • อายุที่เพิ่มขึ้น
  • มีรูปแบบของยีนส์ชนิดพิเศษที่เรียกว่า APOE-e4 ที่มีความเกี่ยวข้องกับโรคอัลไซเมอร์ แม้ว่าการมียีนส์เฉพาะนี้ จะไม่ได้การันตีว่าคุณจะประสบกับภาวะสมองบกพร่อง
  • เบาหวาน
  • การสูบบุหรี่ 
  • ความดันโลหิตสูง
  • คอเลสเตอรอลที่เพิ่มขึ้น
  • โรคซึมเศร้า
  • ออกกำลังกายไม่เพียงพอ

การวินิจฉัยและการรักษา

ข้อมูลในที่นี้ไม่มีเจตนาทดแทนคำแนะนำทางการแพทย์ใดๆ ทุกครั้งควรปรึกษาหมอของคุณเพื่อรับทราบข้อมูลเพื่อเติม

การวินิจฉัยภาวะสมองบกพร่องระดับเบา

ภาวะสมองบกพร่องระดับเบา เป็นการวินิจฉัยทางการแพทย์ที่จะเป็นสิ่งที่แสดงถึงการตัดสินอย่างมืออาชีพของหมอ เกี่ยวกับเหตุผลของอาการของบุคคลนั้นๆ หากหมอมีความลำบากในการยืนยันการวินิจฉัยภาวะสมองบกพร่องระดับเบาหรือสาเหตุของภาวะสมองบกพร่องระดับเบา การตรวจทางชีวภาพ อย่างเช่น การฉายภาพสมอง และ การตรวจของเหลวในไขสันหลัง อาจเป็นสิ่งจำเป็น เพื่อระบุว่าบุคคลนั้นมีภาวะสมองบกพร่องระดับเบา อันเนื่องมาจากอัลไซเมอร์หรือไม่

การสืบค้นภาวะทางการแพทย์ เพื่อหาภาวะสมองบกพร่องระดับเบา ได้แก่

  • ประวัติทางการแพทย์ ที่หมอจะจดบันทึกอาการปัจจุบัน โรคที่เคยเป็นในอดีต อาการทางการแพทย์และประวัติครอบครัว ที่เคยมีปัญหาเกี่ยวกับความทรงจำหรือภาวะสมองเสื่อม
  • การประเมินประสิทธิภาพต่างๆของร่างกายและกิจวัตรประจำวัน ซึ่งจะมุ่งเน้นไปที่การเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้น
  • เพิ่มข้อมูลจากสมาชิกในครอบครัวหรือเพื่อนที่ไว้ใจในการให้มุมมองเพิ่มเติมเกี่ยวกับประสิทธิภาพที่อาจมีการเปลี่ยนแปลง
  • การประเมินสภาวะทางจิตใจ โดยใช้การตรวจรูปแบบสํ้นๆ ซึ่งออกแบบมาเพื่อประเมินความจำ การวางแผน การตัดสินใจ ความสามารถในการเข้าใจข้อมูลจากการมอง และทักษะทางความคิดที่สำคัญอื่นๆ
  • การตรวจระบบประสาทเพื่อประเมินถึงประสิทธภาพของเส้นประสาทและการตอบสนอง การเคลื่อนไหว การประสานกัน สมดุลและประสาทสัมผัส
  • การประเมินอารมณ์เพื่อตรวจหาโรคซึมเศร้า อาการอาจรวมถึงปัญหาความจำ หรือรู้สึก “มืดมน’ โรคซึมเศร้าสามารถแพร่กระจายได้และอาจพบได้มากในผู้สูงอายุ
  • การตรวจแล็บ ได้แก่ การตรวจเลือดและการฉายภาพโครงสร้างของสมอง

หากการสืบค้นทางการแพทย์ไม่ได้สร้างภาพทางการแพทย์ที่แน่ชัด หมออาจแนะนำการตรวจทางประสาททางจิตวิทยา ซึ่งเกี่ยวข้องกับการตรวจต่างๆ เพื่อประเมินทักษะการคิดวิเคราะห์

การรักษาภาวะสมองบกพร่องระดับเบา

ไม่มียาหรือการรักษาเฉพาะทางใดๆสำหรับผู้ที่มีภาวะสมองบกพร่องระดับเบา ที่ได้รับการอนุมัติจากองค์การอาหารและยาของสหรัฐอเมริกา (FDA) อย่างไรก็ตาม ภาวะสมองบกพร่องระดับเบามีการศึกษาอย่างต่อเนื่อง การศึกษาทางการแพทย์ ที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องจะช่วยชี้ทางสว่างมากขึ้นเกี่ยวกับความผิดปกติ และค้นหาการรักษาที่อาจช่วยพัฒนาอาการหรือป้องกันหรือชะลอการเกิดภาวะสมองเสื่อมได้

ยารักษาอัลไซเมอร์

ในบางครั้ง หมอจะจ่ายยาอะซิติลโคลีนเอสเทอเรส อินฮิบิเตอร์ (cholinesterase inhibitors) ยาที่ได้รับการรับรองสำหรับโรคอัลไซเมอร์ สำหรับผู้ที่มีภาวะสมองบกพร่องระดับเบา ซึ่งมีอาการสูญเสียความทรงจำเป็นอาการหลัก อย่างไรก็ตาม ยาอะซิติลโคลีนเอสเทอเรส อินฮิบิเตอร์ ไม่เป็นที่แนะนำสำหรับการรักษาผู้ป่วยที่มีภาวะสมองบกพร่องระดับเบาทั่วไป

การรักษาอาการอื่นๆที่ส่งผลกระทบต่อสภาพจิตใจ

อาการอื่นๆที่พบได้ทั่วไปของภาวะสมองบกพร่องระดับเบา ทำให้คุณเป็นคนขี้ลืมหรือสภาพจิตใจต่ำกว่าปกติ การรักษาอาการเหล่านี้สามารถช่วยพัฒนาความจำของคุณและสภาพจิตใจโดยรวมของคุณได้ อาการที่สามารถส่งผลกระทบต่อความทรงจำ ได้แก่

  • ความดันโลหิตสูง ผู้ที่มีภาวะสมองบกพร่องระดับเบา มีแนวโน้มที่จะมีปัญหาทางหลอดเลือดในสมอง ความดันโลหิตสูงอาจทำให้อาการนี้ทรุดลงและก่อให้เกิดปัญหาด้านความทรงจำ หมอของคุณจะสังเกตความดันโลหิตของคุณและแนะนำขั้นตอนในการลดระดับลง หากความดันโลหิตสูงเกินไป
  • เมื่อคุณซึมเศร้า คุณมักจะรู้สึกหลงลืมอยู่บ่อยครั้งและสภาพจิตใจ “มืดมน’ โรคซึมเศร้าเป็นโรคที่พบได้ทั่วไปในผู้ที่มีภาวะสมองบกพร่องระดับเบา การรักษาโรคซึมเศร้าอาจช่วยพัฒนาความทรงจำ และช่วยให้คุณรับมือกับการเปลี่ยนแปลงในชีวิตของคุณได้ง่ายขึ้น
  • อาการหยุดหายใจขณะหลับ การหายใจของคุณจะมีอาการหยุดซ้ำๆในขณะที่คุณหลับ ทำให้การพักผ่อนในช่วงกลางคืนเป็นเรื่องลำบาก อาการหยุดหายใจขณะหลับ ทำให้คุณรู้สึกเหนื่อยมากขึ้น ขี้ลืมและไม่สามารถจดจ่ออยู่กับสิ่งใดๆได้ การรักษาสามารถพัฒนาอาการเหล่านี้และฟื้นฟูการตื่นตัวได้

การเปลี่ยนแปลงไลฟ์สไตล์และการเยียวยาตนเอง

การเปลี่ยนไลฟ์สไตล์และการเยียวยาตัวเองที่ช่วยจัดการกับภาวะสมองบกพร่องระดับเบา

การเปลี่ยนไลฟ์สไตล์และการเยียวยาตนเองต่อไปนี้ที่อาจช่วยให้คุณรับมือกับภาวะสมองบกพร่องระดับเบา ได้แก่

  • การออกกำลังกายเป็นประจำ จะส่งผลดีต่อสุขภาพหัวใจและอาจช่วยป้องกันหรือชะลอการเสื่อมของสมอง
  • อาหารที่มีไขมันต่ำและมีผลไม้และผักมาก เป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่ดีต่อสุขภาพหัวใจที่ยังช่วยป้องกันสุขภาพเสื่อม
  • กรดไขมันโอเมก้า 3 เป็นสิ่งที่มีประโยชน์ต่อหัวใจ งานวิจัยส่วนใหญ่แสดงให้เห็นถึงประโยชน์ที่มีต่อสุขภาพสมอง ซึ่งใช้การบริโภคปลาเป็นเกณฑ์สำหรับปริมาณกรดไขมันโอเมก้า 3 ที่รับประทานเข้าไป
  • การกระตุ้นสติปัญญา อาจป้องกันภาวะสมองเสื่อม งานวิจัยแสดงให้เห็นว่า การใช้คอมพิวเตอร์ การเล่นเกม การอ่านหนังสือ และกิจกรรมทางสติปัญญาอื่นๆ อาจช่วยรักษาประสิทธิภาพและป้องกันภาวะสมองเสื่อม
  • การพบปะทางสังคม อาจช่วยให้ชีวิตมีความอภิรมย์มากขึ้น และช่วยรักษาสภาพจิตใจและชะลอการเสื่อมสภาพทางจิตใจ
  • การฝึกความจำและการฝึกทางสมองอื่นๆ อาจช่วยพัฒนาประสิทธิภาพทางสมองของคุณ

หากมีข้อสงสัยใดๆ โปรดปรึกษากับหมอของคุณ เพื่อเข้าใจวิธีแก้ปัญหาที่ชัดเจนยิ่งขึ้นสำหรับตัวคุณเอง

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย ปราโมทย์ วงศ์คำ · แก้ไขล่าสุด 11/05/2020

advertisement iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

advertisement iconโฆษณา
advertisement iconโฆษณา