backup og meta
สำรวจ
เครื่องมือตรวจเช็กสุขภาพ
ถามคุณหมอ
บันทึก
สารบัญ

หมอนรองกระดูกคอทับเส้นประสาท (Cervical herniated disc)

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย ธีรวิทย์ บุญราศรี · แก้ไขล่าสุด 13/05/2020

หมอนรองกระดูกคอทับเส้นประสาท (Cervical herniated disc)

หมอนรองกระดูกคอทับเส้นประสาท (Cervical herniated disc) อาจทำให้เกิดอาการปวด ชา หรือ เมื่อยล้าบริเวณคอ ไหล่ อก แขน และมือ ในบางกรณีอาจทำให้เกิดอาการปวดเสียวที่ส่วนอื่นของร่างกาย

คำจำกัดความ

หมอนรองกระดูกคอทับเส้นประสาท คืออะไร

หมอนรองกระดูกคอทับเส้นประสาท (Cervical herniated disc) เกิดจากการที่ส่วนใดส่วยหนึ่งของกระดูกสันหลัง ไปกดทับหรือรบกวนเส้นประสาทที่อยู่ใกล้เคียง และอาจทำให้เกิดอาการปวด อาการชา หรืออาการอ่อนแรงที่แขนหรือขาได้

อย่างไรก็ตาม มีหลายคนที่อาจจะไม่เกิดอาการจากการที่มีหมอนรองกระดูกคอทับเส้นประสาท และไม่จำเป็นต้องรับการรักษาเพิ่มเติมแต่อย่างใด

หมอนรองกระดูกคอทับเส้นประสาท พบบ่อยเพียงใด

หมอนรองกระดูกคอทับเส้นประสาทสามารถเกิดขึ้นในทุกส่วนของกระดูกสันหลังได้ แต่ที่พบได้มากที่สุดคือบริเวณคอและกระดูกสันหลังส่วนล่าง โรคนี้มักเกิดขึ้นในกลุ่มคนอายุ 30 ถึง 50 ปี โปรดปรึกษาแพทย์สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม

อาการ

หมอนรองกระดูกคอทับเส้นประสาท มีอาการอย่างไร

อาการหมอนรองกระดูกคอทับเส้นประสาท อาจทำให้เกิดอาการดังต่อไปนี้

  • อาการปวด ชา หรือ อาการเมื่อยล้าบริเวณ คอ ไหล่ อก แขน และมือ
  • ในบางกรณี หมอนรองกระดูกคอทับเส้นประสาทที่มีขนาดใหญ่มาก อาจทำให้เกิดอาการอ่อนแรง
  • มีอาการปวดเสียวผิดปกติบริเวณส่วนอื่นๆ ของร่างกาย

นอกจากนี้ อาจมีบางอาการที่ไม่ได้ระบุข้างต้น หากคุณมีข้อสงสัยเกี่ยวกับอาการของคุณ โปรดปรึกษาแพทย์

เมื่อไหร่ควรไปพบหมอ

หากคุณมีอาการหรือพบสัญญาณของอาการข้างต้น หรือมีข้อสงสัย โปรดปรึกษาแพทย์ เพราะร่างกายของแต่ละคนแสดงอาการต่างกัน โปรดปรึกษาแพทย์เพื่อการวินิจฉัยที่เหมาะสมกับคุณต่อไป

สาเหตุ

สาเหตุของอาการหมอนรองกระดูกคอทับเส้นประสาท 

อาการหมอนรองกระดูกคอทับเส้นประสาท เกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ ทั้งเรื่องของอายุที่มากขึ้น จึงทำให้ความยืดหยุ่นของหมอนรองกระดูกมีน้อยลง จนเสี่ยงที่จะเกิดการฉีกขาด หรือเป็นสาเหตุของอาการทางสุขภาพต่างๆ รวมถึงอาจเกิดจากการเสื่อมสภาพของหมอนรองกระดูกเองด้วย

อย่างไรก็ตาม คนส่วนใหญ่ที่มี อาการหมอนรองกระดูกคอทับเส้นประสาท ก็มักจะไม่สามารถระบุสาเหตุที่เฉพ่ะเจาะจงได้ว่าเกิดจากอะไร บางครั้งอาจเกินจากการใช้แรงในการยกสิ่งของต่าง ๆ ที่มีน้ำหนักมาก หรืออาจเกิดจากอุบัติเหตุ เช่น การล้มอย่างรุนแรง ทั้งล้มไปข้างหน้า หรือล้มไปข้างหลัง

ปัจจัยเสี่ยง

ปัจจัยเสี่ยงของอาการหมอนรองกระดูกคอทับเส้นประสาท

มีปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิด อาการหมอนรองกระดูกคอทับเส้นประสาท หลายประการ ดังนี้

  • น้ำหนักตัว: การมีน้ำหนักตัวที่มากเกินไป จะส่งผลให้ให้หมอนรองกระดูกบริเวณหลังส่วนล่างเกิดอาการตึง
  • การประกอบอาชีพ: การทำงานใดๆ ก็แล้วแต่ ที่จะต้องมีการยกสิ่งของที่ค่อนข้างมีน้ำหนักมาก จะทำให้หมอนรองกระดูกเกิดการโค้งงอ หรือบิดตัวจนผิดรูป ซึ่งเสี่ยงที่จะเกิดอาการหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท
  • พันธุกรรม: หากสมาชิกในครอบครัวมีประวัติของโรคหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท ก็อาจมีความเสี่ยงที่จะเป็นโรคเดียวกันได้
  • การสูบบุหรี่: การสูบบุหรี่จะทำให้ระดับออกซิเจนที่หมอนรองกระดูกลดลง ทำให้หมอนรองกระดูกมีการสลายตัว หรือทำให้หมอนรองกระดูกเสื่อมสภาพ

การวินิจฉัยและการรักษา

ข้อมูลในที่นี้ไม่มีเจตนาให้ใช้ทดแทนคำแนะนำทางการแพทย์ ควรปรึกษาแพทย์ทุกครั้งเพื่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม

การวินิจฉัยอาการหมอนรองกระดูกคอทับเส้นประสาท

มีการทดสอบหลายประการที่สามารถใช้เพื่อวินิจฉัย อาการหมอนรองกระดูกคอทับเส้นประสาท ได้แก่

  • ประวัติของผู้ป่วย: เพื่อที่แพทย์จะได้ทราบประวัติการรักษาและประวัติการเจ็บป่วยของผู้ป่วยเกี่ยวกับอาการปวดหลังหรือปวดคอ และข้อมูลอาการเจ็บป่วยในปัจจุบัน
  • การตรวจร่างกาย: แพทย์อาจทำการตรวจสภาพร่างกายบริเวณคอ หรือบริเวณที่มีอาการปวดหลัง และระบบเส้นประสาทต่างๆ
  • การเอกซเรย์: แพทย์อาจทำการตรวจสภาพร่างกายด้วยระบบซีทีสแกน (CT) ระบบเอ็มอาร์ไอ (MRI) เพื่อตรวจสอบหาข้อผิดพลาดเกี่ยวกับหมอนรองกระดูก

การรักษาอาการหมอนรองกระดูกคอทับเส้นประสาท

  • ยารักษาโรค: แพทย์อาจพิจารณาให้จ่ายยาเพื่อระงับอาการปวดหรืออาการอักเสบจากหมอนรองกระดูก
  • กายภาพบำบัด: การทำกายภาพบำบัดที่บริเวณศีรษะและลำคอ เพื่อให้กล้ามเนื้อในบริเวณนั้นมีแนวโน้มของอาการที่ดีขึ้นและลดอาการตึงของหมอนรองกระดูก

รวมถึงวิธีการรักษาแบบอื่นๆ ตามที่แพทย์เห็นสมควร เช่น

  • การบำบัดด้วยความร้อน หรือการบำบัดด้วยความเย็น
  • การทำกายภาพบำบัดด้วยการดึง
  • การบำบัดรักษาด้วยการนวด

การเปลี่ยนไลฟ์สไตล์และการเยียวยาตัวเอง

การเปลี่ยนไลฟ์สไตล์และการเยียวยาตัวเองเพื่อรับมือกับอาการหมอนรองกระดูกคอทับเส้นประสาท

การเปลี่ยนไลฟ์สไตล์และการเยียวยาตนเองดังต่อไปนี้ อาจช่วยให้คุณรับมือกับ อาการหมอนรองกระดูกคอทับเส้นประสาท ได้

  • การออกกำลังกาย: เพื่อช่วยเสริมสร้างกล้ามเนื้อลำตัวและกระดูกสันหลังให้มั่นคง
  • ปรับปรุงท่าทาง: การจัดระเบียบร่างกายให้ตัวตรง เช่น การนั่งหลังตรง การยืนตัวตรง จะช่วยลดแรงกดดันที่กระดูกสันหลัง
  • ดูแลเรื่องน้ำหนักให้เหมาะสม: การมีน้ำหนักตัวที่มากจนเกินไปจะทำให้เกิดความเสี่ยงทำให้กระดูกสันหลังและหมอนรองกระดูกเกิดแรงกดทับมากขึ้น
  • เลิกสูบบุหรี่: เพราะการสูบบุหรี่จะทำให้ระดับของออกซิเจนที่หมอนรองกระดูกลดลง ดังนั้นเพื่อลดความเสี่ยงของ อาการหมอนรองกระดูกคอทับเส้นประสาท จึงควรเลิกสูบบุหรี่

หากคุณมีข้อสงสัย โปรดปรึกษาแพทย์ เพื่อให้เข้าใจถึงวิธีการรักษาที่ดีที่สุดสำหรับคุณได้ดีขึ้น

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำปรึกษาด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด 

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย ธีรวิทย์ บุญราศรี · แก้ไขล่าสุด 13/05/2020

advertisement iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

advertisement iconโฆษณา
advertisement iconโฆษณา